พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2156/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพ.ร.บ.วิทยุคมนาคม: การมี-ใช้เครื่องวิทยุโดยไม่ได้รับอนุญาต และการรบกวนสัญญาณ การพิพากษาลงโทษและดุลพินิจศาล
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตามบทมาตราที่โจทก์ฟ้องว่าเป็นความผิดและตามบทกฎหมายที่กำหนดโทษไว้ การที่ศาลอุทธรณ์ยกข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติ ซึ่งจำเลยทราบแล้วไม่ได้โต้เถียงหรือคัดค้านมากล่าวในคำพิพากษาประกอบการพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการร้ายแรงหรือไม่เพียงใด เพื่อที่ศาลอุทธรณ์จะได้ใช้ดุลพินิจพิจารณาว่าสมควรจะลงโทษหรือรอการลงโทษให้แก่จำเลย หาใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวมาในฟ้องไม่
ความผิดตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 ฐานมีโทรศัพท์มือถืออันเป็นเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 23 และความผิดฐานจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคมตามมาตรา 26 มีองค์ประกอบความผิดต่างกัน กล่าวคือความผิดตามมาตรา 23 เป็นความผิดเพราะจำเลยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจออกใบอนุญาตส่วนความผิดมาตรา 26 เป็นความผิดเพราะจำเลยจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคม แม้จำเลยจะมีโทรศัพท์มือถือโดยได้รับหรือไม่ได้รับอนุญาตก็ตามหากจำเลยจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคมแล้วการกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดตาม มาตรา 26 ซึ่งเป็นความผิด 2 กรรม เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระเป็น 2 กรรม ชอบแล้ว
ความผิดตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 ฐานมีโทรศัพท์มือถืออันเป็นเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 23 และความผิดฐานจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคมตามมาตรา 26 มีองค์ประกอบความผิดต่างกัน กล่าวคือความผิดตามมาตรา 23 เป็นความผิดเพราะจำเลยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจออกใบอนุญาตส่วนความผิดมาตรา 26 เป็นความผิดเพราะจำเลยจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคม แม้จำเลยจะมีโทรศัพท์มือถือโดยได้รับหรือไม่ได้รับอนุญาตก็ตามหากจำเลยจงใจกระทำให้เกิดการรบกวนหรือขัดขวางต่อการวิทยุคมนาคมแล้วการกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดตาม มาตรา 26 ซึ่งเป็นความผิด 2 กรรม เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระเป็น 2 กรรม ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3105/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามปล้นทรัพย์, สนับสนุนความผิด, มีอาวุธปืน, วิทยุคมนาคม, และบทลงโทษ
จำเลยที่ 2 ร่วมกับพวกอีก 2 คน กระทำความผิดฐานพยายาม ปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิง โดยมีจำเลยที่ 3 เป็นผู้วางแผนการปล้นทรัพย์ผู้เสียหายโดยกำหนดให้จำเลยที่ 2 และ ส.กับพวกเข้าไปปล้นทรัพย์ในบ้านผู้เสียหาย ส่วนจำเลยที่ 3กับจำเลยที่ 1 ร่วมกันไปส่งจำเลยที่ 2 กับพวกเข้าทำการปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย จากนั้นจำเลยที่ 3 และที่ 1 ไปรออยู่ที่ร้านอาหาร และย้อนกลับมาดูจำเลยที่ 2 กับพวก เมื่อทราบว่าจำเลยที่ 2 กับพวกปล้นทรัพย์ผู้เสียหายไม่สำเร็จและจำเลยที่ 2 ถูกเจ้าพนักงานตำรวจสกัดจับโดยพวกของจำเลยที่ 2 หลบหนีไปได้การที่จำเลยที่ 3 อยู่กับจำเลยที่ 1และที่ 2 ในเวลาใกล้ชิดกับเวลาเกิดเหตุ และจำเลยที่ 3เป็นผู้วางแผนในการปล้นทรัพย์ครั้งนี้ แม้จำเลยที่ 3จะไม่ได้ร่วมลงมือกระทำการปล้นทรัพย์กับจำเลยที่ 2 และพวกอีก 2 คนก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 กับพวกดังกล่าวคิดจะไปปล้นทรัพย์ผู้เสียหายอยู่ก่อนแล้ว กรณีถือได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้ก่อหรือผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84 โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวการร่วมกันปล้นทรัพย์กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 และพวกอีก 2 คนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาได้ความว่า จำเลยที่ 3 เป็นผู้ก่อหรือผู้ใช้อื่นกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84 จึงแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 3 ฐานเป็นตัวการผู้ร่วมกระทำความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสอง แต่การที่จำเลยที่ 3 เป็นผู้วางแผนในการปล้นทรัพย์ และจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 ไปส่งจำเลยที่ 2 กับพวกอีก 2 คน ลงจากรถยนต์กระบะไปทำการปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดก่อนกระทำความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิง จึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 วรรคสี่ ประกอบด้วยมาตรา 80 และ 86 และลงโทษจำเลยที่ 3 ในความผิดฐานดังกล่าวได้ ไม่เกินคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคหนึ่ง แม้ในการปล้นทรัพย์ครั้งนี้มีการใช้อาวุธปืนยิงต่อสู้กับผู้เสียหาย แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที 2 หรือจำเลยที่ 3 เป็นผู้มีอาวุธปืนกระบอกดังกล่าวไว้ในครอบครองและพาติดตัวมาใช้ในการปล้นทรัพย์ครั้งนี้ และไม่ปรากฏว่าคนร้ายคนใดเป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิง ทั้งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็ให้การปฏิเสธในข้อหามีและพาอาวุธปืนตลอดมา จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดฐานร่วมกันมีและพาอาวุธปืนโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จำเลยที่ 1 เพียงแต่ขับรถยนต์กระบะไปส่งจำเลยที่ 2กับพวกอีก 2 คน ไปทำการปล้นทรัพย์บ้านผู้เสียหายและกลับไปพบจำเลยที่ 2 กับพวก ภายหลังจากที่ปล้นทรัพย์ผู้เสียหายไม่สำเร็จและรับจำเลยที่ 2 กับพวกขึ้นรถแล้วมาถูกจับเท่านั้น กรณีเช่นนี้จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 กับพวกใช้รถยนต์ดังกล่าวเป็นยานพาหนะเพื่อกระทำความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์ หรือเพื่อให้พ้นการจับกุม และเมื่อฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำความผิดในข้อหาร่วมกันมีและพาอาวุธปืนดังกล่าว และไม่อาจทราบได้ว่าผู้ที่ร่วมลงมือปล้นทรัพย์ครั้งนี้ผู้ใดเป็นผู้มีและใช้อาวุธปืน และยังฟังไม่ได้ว่าได้มีการใช้ยานพาหนะในการกระทำความผิดฐาน พยายามปล้นทรัพย์ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคสี่ประกอบมาตรา 80 และ 86 เท่านั้น ส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 3ต้องรับผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าวกรณีไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานพยายามปล้นทรัพย์โดยมีหรือใช้อาวุธปืนและใช้ยานพาหนะและลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3ฐานเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดดังกล่าวได้ และจะปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรีด้วยมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1147/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานลักทรัพย์และการมีวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน
จำเลยเอาวิทยุมือถือของผู้เสียหายไปโดยปราศจากความรู้เห็นยินยอมของผู้เสียหายเพราะขณะนั้นผู้เสียหายนอนหลับแม้จำเลยจะรู้จักกับผู้เสียหายแต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยและผู้เสียหายมีความสนิทสนมกันถึงขนาดที่จำเลยสามารถหยิบฉวยสิ่งของของผู้เสียหายไปได้โดยพลการแสดงให้เห็นว่าจำเลยเอาวิทยุมือถือของผู้เสียหายไปเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเอง การที่จำเลยลักเอาเครื่องส่งวิทยุไปเป็นความผิดสำเร็จกระทงหนึ่งและเมื่อจำเลยครอบครองเครื่องส่งวิทยุนั้นต่อมาก็ย่อมเป็นความผิดอีกกระทงหนึ่งการกระทำของจำเลยจึงถือได้ว่าเป็นความผิดสองกรรมต่างหากจากกันแต่เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานมีเครื่องส่งวิทยุมือถือโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจึงไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดกระทงนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5632/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สภาพวิทยุคมนาคมและการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม: เครื่องชำรุด/ถอดชิ้นส่วน
เครื่องรับส่งวิทยุคมนาคมตามความในมาตรา 4 และ 6แห่ง พ.ร.บ. วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 นั้น หมายถึงเครื่องรับส่งวิทยุคมนาคมที่มีสภาพสามารถใช้งานได้หรือชิ้นส่วนของเครื่องรับส่งวิทยุคมนาคมที่อาจนำมาประกอบเข้ากันแล้วสามารถใช้งานได้ จึงจะมีสภาพเป็นวิทยุคมนาคม และมีความ-ผิดได้ หากเครื่องวิทยุคมนาคมนั้นตามสภาพแล้วชำรุดจนไม่สามารถใช้งานได้ตลอดไปก็ไม่มีสภาพเป็นวิทยุคมนาคมและไม่มีความผิด สำหรับเครื่องรับส่งวิทยุของกลางไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากมีการถอดอุปกรณ์ชิ้นส่วนในเครื่องออก เป็นเหตุขัดข้องชั่วคราว เมื่อประกอบอุปกรณ์ครบถ้วนก็สามารถใช้งานได้ จึงเป็นเครื่องรับส่งวิทยุคมนาคม ตาม พ.ร.บ. วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 มาตรา 4
โทษจำคุกเมื่อรวมโทษทุกระทงแล้วต้องไม่เกินกำหนดตามที่ ป.อ.มาตรา 91 บัญญัตินั้น ใช้บังคับในกรณีที่จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมเกี่ยวพันกันและศาลพิจารณาพิพากษาเป็นคดีเดียวกัน หรือมีการรวมพิจารณาพิพากษาหลายคดีเข้าด้วยกัน หรือมีการนับโทษต่อในกรณีที่จำเลยยังไม่พ้นโทษ จำเลยพ้นโทษคดีก่อนแล้วจึงถูกฟ้องคดีนี้ กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.อ. มาตรา 91
โทษจำคุกเมื่อรวมโทษทุกระทงแล้วต้องไม่เกินกำหนดตามที่ ป.อ.มาตรา 91 บัญญัตินั้น ใช้บังคับในกรณีที่จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมเกี่ยวพันกันและศาลพิจารณาพิพากษาเป็นคดีเดียวกัน หรือมีการรวมพิจารณาพิพากษาหลายคดีเข้าด้วยกัน หรือมีการนับโทษต่อในกรณีที่จำเลยยังไม่พ้นโทษ จำเลยพ้นโทษคดีก่อนแล้วจึงถูกฟ้องคดีนี้ กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.อ. มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5632/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต และขอบเขตการรวมโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
เครื่องรับส่งวิทยุคมนาคมตามความในมาตรา 4 และ 6 แห่งพระราชบัญญัติ วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 นั้น หมายถึงเครื่องรับส่งวิทยุคมนาคมที่มีสภาพสามารถใช้งานได้หรือชิ้นส่วนของเครื่องรับส่งวิทยุคมนาคมที่อาจนำมาประกอบเข้ากันแล้วสามารถใช้งานได้ จึงจะมีสภาพเป็นวิทยุคมนาคม และมีความผิดได้ หากเครื่องวิทยุคมนาคมนั้นตามสภาพแล้วชำรุดจนไม่สามารถใช้งานได้ตลอดไปก็ไม่มีสภาพเป็นวิทยุคมนาคมและไม่มีความผิด สำหรับเครื่องรับส่งวิทยุของกลางไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากมีการถอดอุปกรณ์ชิ้นส่วนในเครื่องออกเป็นเหตุขัดข้องชั่วคราว เมื่อประกอบอุปกรณ์ครบถ้วนก็สามารถใช้งานได้ จึงเป็นเครื่องรับส่งวิทยุคมนาคม ตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 มาตรา 4 โทษจำคุกเมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วต้องไม่เกินกำหนดตามที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 บัญญัตินั้น ใช้บังคับในกรณีที่จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมเกี่ยวพันกันและศาลพิจารณาพิพากษาเป็นคดีเดียวกัน หรือมีการรวมพิจารณาพิพากษาหลายคดีเข้าด้วยกันหรือมีการนับโทษต่อในกรณีที่จำเลยยังไม่พ้นโทษ จำเลยพ้นโทษคดีก่อนแล้วจึงถูกฟ้องคดีนี้ กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1044/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องแยกกระทงความผิด - การกระทำความผิดฐานมีและใช้เครื่องวิทยุคมนาคมถือเป็นกรรมเดียว
ฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายแยกการกระทำของจำเลยแต่ละกรรมให้เห็นชัดว่า การกระทำความผิดทั้งสองข้อหาแยกออกสำเร็จเป็นความผิดแต่ละกรรมเป็นกระทงความผิดอย่างไร โจทก์คงบรรยายฟ้องรวมกันว่าจำเลยมีเครื่องวิทยุคมนาคมไว้ในความครอบครองโดยมิได้รับอนุญาตและจำเลยได้นำเครื่องวิทยุคมนาคมดังกล่าวไปใช้โดยมิได้รับอนุญาตซึ่งไม่สามารถแยกการกระทำทั้งสองอย่างออกต่างหากจากกันได้ เพราะการกระทำความผิดฐานใช้เครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นอาจเกิดขึ้นได้ในวาระเดียวกันกับความผิดฐานมีวิทยุคมนาคมไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2616/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจออกประกาศของอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข และการต่ออายุใบอนุญาตวิทยุคมนาคมตามเงื่อนไขที่กำหนด
พ.ร.บ. วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 มาตรา 6 กำหนดห้ามมิให้ผู้ใด ทำ มี ใช้ นำเข้า หรือนำออก ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม ฯลฯเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต และมาตรา 11 กำหนดให้อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้มีอำนาจควบคุมและกำหนดการใช้ความถี่ คลื่นของสถานีวิทยุคมนาคมต่าง ๆ ดังนั้น ประกาศของกรมไปรษณีย์โทรเลขโดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงนามและระบุตำแหน่งไว้ท้ายประกาศด้วยว่า "อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข"กำหนดให้ผู้ยื่นขอต่อใบอนุญาตให้มี ใช้ เครื่องวิทยุคมนาคมและตั้งสถานีวิทยุคมนาคม ทำการแก้ไขเครื่องรับส่งวิทยุให้มีกำลังส่งไม่เกิน 10 วัตต์ หรือความถี่ไม่เกินย่าน144-146 เมกะเฮิรตซ์ จึงเป็นประกาศของอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขผู้มีอำนาจและชอบด้วยกฎหมาย ไม่ขัดกับมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2616/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจออกประกาศของอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขในการกำหนดเงื่อนไขการต่ออายุใบอนุญาตเครื่องวิทยุคมนาคมชอบด้วยกฎหมาย
พระราชบัญญัติ ญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 มาตรา 6 กำหนดห้ามมิให้ผู้ใด ทำ มี ใช้ นำเข้า หรือนำออก ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคม ฯลฯเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต และมาตรา 11กำหนดให้อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้มีอำนาจควบคุมและกำหนดการใช้ความถี่คลื่นของสถานีวิทยุคมนาคมต่าง ๆดังนั้น ประกาศของกรมไปรษณีย์โทรเลขโดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงนามและระบุตำแหน่งไว้ท้ายประกาศด้วยว่า "อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข"กำหนดให้ผู้ยื่นขอต่อใบอนุญาตให้มี ใช้ เครื่องวิทยุคมนาคมและตั้งสถานีวิทยุคมนาคม ทำการแก้ไขเครื่องรับส่งวิทยุให้มีกำลังส่งไม่เกิน 10 วัตต์ หรือความถี่ไม่เกินย่าน144-146เมกะเฮิรตซ์จึงเป็นประกาศของอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขผู้มีอำนาจและชอบด้วยกฎหมายไม่ขัดกับมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2616/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจออกประกาศกรมไปรษณีย์โทรเลขในการกำหนดเงื่อนไขต่อใบอนุญาตวิทยุคมนาคม ชอบด้วยกฎหมายและไม่ขัดกับ พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม
พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 มาตรา 11 กำหนดให้อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้มีอำนาจควบคุมและกำหนดการใช้ความถี่ คลื่นของสถานีวิทยุคมนาคมต่าง ๆดังนั้น การที่มีประกาศของกรมไปรษณีย์โทรเลข ฉบับลงวันที่ 21กุมภาพันธ์ 2527 กำหนดให้ผู้ยื่นขอต่อใบอนุญาตให้มี ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม และตั้งสถานีวิทยุคมนาคม ประจำปี พ.ศ. 2528ทำการแก้ไขเครื่องรับ-ส่งวิทยุให้มีกำลังส่งไม่เกิน 10 วัตต์ หรือความถี่ไม่เกินย่าน144-146เมกะเฮิรตซ์ โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงนามและระบุตำแหน่งไว้ท้ายประกาศด้วยว่า"อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข" จึงถือได้ว่าประกาศฉบับดังกล่าวเป็นประกาศของอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขผู้มีอำนาจแล้ว และเป็นประกาศที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ขัดกับมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4238/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบเครื่องวิทยุคมนาคมและส่วนประกอบที่ใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม
เมื่อศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานมีเครื่องวิทยุคมนาคมและส่วนใด ๆ แห่งเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต บรรดาเครื่องวิทยุคมนาคมหรือส่วนใด ๆ แห่งเครื่องวิทยุคมนาคมที่จำเลยมีไว้โดยยังมิได้รับอนุญาตจึงเป็นทรัพย์ที่มีไว้เป็นความผิดและต้องริบตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498
ฎีกาของจำเลยว่าทรัพย์สองรายการตามบัญชีทรัพย์ของโจทก์ไม่ได้เกี่ยวข้องหรือใช้ประกอบเครื่องวิทยุคมนาคมในการสื่อสารจึงไม่ใช่ส่วนใด ๆ แห่งเครื่องวิทยุคมนาคมนั้นเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ฎีกาของจำเลยว่าทรัพย์สองรายการตามบัญชีทรัพย์ของโจทก์ไม่ได้เกี่ยวข้องหรือใช้ประกอบเครื่องวิทยุคมนาคมในการสื่อสารจึงไม่ใช่ส่วนใด ๆ แห่งเครื่องวิทยุคมนาคมนั้นเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง