พบผลลัพธ์ทั้งหมด 314 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1434/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ: สิทธิเรียกร้องที่มีข้อต่อสู้ไม่อาจนำมาหักกลบลบหนี้ได้
แม้แผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้มิได้มีข้อกำหนดห้ามมิให้มีการหักกลบลบหนี้ในหนี้ของเจ้าหนี้ ผู้บริหารแผนชอบที่จะใช้สิทธิแสดงเจตนาขอหักกลบลบหนี้ระหว่างหนี้ที่ลูกหนี้กับเจ้าหนี้ต่างมีความผูกพันซึ่งกันและกันโดยมูลหนี้อันมีวัตถุเป็นอย่างเดียวกันได้ก็ตาม แต่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าในคดีฟื้นฟูกิจการของเจ้าหนี้ ลูกหนี้คดีนี้โดยผู้บริหารแผนได้นำมูลหนี้ที่ขอหักกลบลบหนี้กับเจ้าหนี้ดังกล่าวไปขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของเจ้าหนี้ ซึ่งเจ้าหนี้ได้โต้แย้งคำขอรับชำระหนี้และขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ดังนั้น สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ในหนี้ดังกล่าวจึงยังมีข้อต่อสู้อยู่ หาอาจจะเอามาหักกลบลบหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 344 ได้ไม่
แม้เจ้าหนี้เพิ่งหยิบยกปัญหานี้ขึ้นอ้างในชั้นพิจารณาของศาลล้มละลายกลาง โดยมิได้กล่าวอ้างมาก่อนในชั้นไต่สวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ตาม แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ต้องพิจารณาให้ได้ความจริงถึงสิทธิในการขอหักกลบลบหนี้ของผู้บริหารแผนว่าอาจจะกระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงดังกล่าวปรากฏอยู่ในสำนวนคดีและกระบวนการดำเนินการชั้นฟื้นฟูกิจการของทั้งสองฝ่ายแล้ว การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้หยิบยกข้อเท็จจริงถึงการเป็นหนี้ของลูกหนี้ที่ยังมีข้อต่อสู้ขึ้นมาวินิจฉัย จึงเป็นการไม่ชอบและศาลชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยได้
แม้เจ้าหนี้เพิ่งหยิบยกปัญหานี้ขึ้นอ้างในชั้นพิจารณาของศาลล้มละลายกลาง โดยมิได้กล่าวอ้างมาก่อนในชั้นไต่สวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ตาม แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ต้องพิจารณาให้ได้ความจริงถึงสิทธิในการขอหักกลบลบหนี้ของผู้บริหารแผนว่าอาจจะกระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงดังกล่าวปรากฏอยู่ในสำนวนคดีและกระบวนการดำเนินการชั้นฟื้นฟูกิจการของทั้งสองฝ่ายแล้ว การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้หยิบยกข้อเท็จจริงถึงการเป็นหนี้ของลูกหนี้ที่ยังมีข้อต่อสู้ขึ้นมาวินิจฉัย จึงเป็นการไม่ชอบและศาลชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี, การหักกลบลบหนี้, ดอกเบี้ย, และสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินฝากประกัน
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนดแล้ว โจทก์ยังยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกถอนเงินจากบัญชีและนำเงินเข้าบัญชีเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไปอีก และโจทก์ก็มิได้บอกเลิกสัญญาถือได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงต่ออายุสัญญาบัญชีเดินสะพัดออกไปโดยไม่มีกำหนดเวลา แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ถอนเงินจากบัญชีเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม2534 แล้ว หลังจากนั้นไม่ปรากฏรายการเดินสะพัด คงมีแต่การคิดดอกเบี้ยที่จำเลยที่ 1ค้างชำระในแต่ละเดือนทบเป็นต้นเงิน โดยมีการหักทอนบัญชีกันในวันที่ 30 ธันวาคม2534 แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ 1 ว่าไม่ประสงค์จะให้มีการสะพัดทางบัญชีระหว่างกันอีกต่อไป สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงเป็นอันเลิกกันในวันที่ 30 ธันวาคม2534 อันเป็นวันหักทอนบัญชีกันครั้งสุดท้าย หาได้เลิกกันในวันที่ 30 กันยายน 2536 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์หักเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 ชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่ค้างชำระของจำเลยที่ 1 ไม่ ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2534 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1
แม้ตามหนังสือยินยอมมอบเงินฝากเป็นประกันหนี้ของผู้อื่นซึ่งจำเลยที่ 2 ทำกับโจทก์ โจทก์จะสามารถนำเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 หักทอนบัญชีหักลบกลบหนี้กับยอดเงินเบิกเกินบัญชีได้เมื่อใดก็ตาม แต่สิทธิและอำนาจนี้โจทก์ต้องดำเนินการในระหว่างสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีผลใช้บังคับ เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงในวันที่30 ธันวาคม 2534 และจำเลยทั้งสองมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธินำเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 มาหักโอนชำระหนี้ให้แก่โจทก์ทันที หลังจากนั้นหากจำเลยที่ 1 ยังค้างชำระหนี้อยู่จำนวนเท่าใด โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำนวนเงินดังกล่าวแบบไม่ทบต้นจนกว่าจะชำระเสร็จ เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงโจทก์จะคิดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่พึงเรียกเก็บได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของธนาคารโจทก์ซึ่งปรับเปลี่ยนอีกต่อไปไม่ได้ คงเรียกได้ตามอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีคือ อัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี อันเป็นสิทธิตามสัญญาที่พึงได้โดยชอบมาแต่เดิมเท่านั้น
แม้ตามหนังสือยินยอมมอบเงินฝากเป็นประกันหนี้ของผู้อื่นซึ่งจำเลยที่ 2 ทำกับโจทก์ โจทก์จะสามารถนำเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 หักทอนบัญชีหักลบกลบหนี้กับยอดเงินเบิกเกินบัญชีได้เมื่อใดก็ตาม แต่สิทธิและอำนาจนี้โจทก์ต้องดำเนินการในระหว่างสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีผลใช้บังคับ เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงในวันที่30 ธันวาคม 2534 และจำเลยทั้งสองมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธินำเงินฝากประจำของจำเลยที่ 2 มาหักโอนชำระหนี้ให้แก่โจทก์ทันที หลังจากนั้นหากจำเลยที่ 1 ยังค้างชำระหนี้อยู่จำนวนเท่าใด โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำนวนเงินดังกล่าวแบบไม่ทบต้นจนกว่าจะชำระเสร็จ เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงโจทก์จะคิดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่พึงเรียกเก็บได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของธนาคารโจทก์ซึ่งปรับเปลี่ยนอีกต่อไปไม่ได้ คงเรียกได้ตามอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีคือ อัตราร้อยละ 16.5 ต่อปี อันเป็นสิทธิตามสัญญาที่พึงได้โดยชอบมาแต่เดิมเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6034/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ค่าฝากทรัพย์กับค่าเสียหายจากเหตุเพลิงไหม้ ต้องแสดงเจตนาและจำนวนที่แน่นอน
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ยังค้างชำระเงินบำเหน็จค่าฝากปลาทูนึ่ง ซึ่งจำเลยที่ 1 มีสิทธินำมาหักกลบลบหนี้กับค่าเสียหายของโจทก์ได้ แต่ตามคำให้การ จำเลยที่ 1 มิได้แสดงเจตนาที่จะหักกลบลบหนี้แก่โจทก์ และทางนำสืบของจำเลยที่ 1 ก็ปรากฏว่าเงินบำเหน็จค่าฝากทรัพย์ดังกล่าวยังคงมีข้อโต้แย้งและเป็นจำนวนที่ไม่แน่นอน สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ยังมีข้อต่อสู้อยู่ จึงไม่อาจนำมาหักกลบลบหนี้กันได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 342 วรรคหนึ่ง และมาตรา 344
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างแรงงานโดยชอบธรรม การหักกลบลบหนี้ค่าจ้าง และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์จำเลยไม่ได้กำหนดระยะเวลาจ้างไว้ โจทก์และจำเลยจึงมีสิทธิเลิกสัญญาได้ด้วยการบอกกล่าวให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 582 วรรคหนึ่ง และ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสอง การที่จำเลย(นายจ้าง)ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานจึงเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายโดยชอบ ไม่ใช่เป็นการผิดสัญญา และไม่ใช่เป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อโจทก์(ลูกจ้าง) โดยผิดกฎหมายทำให้โจทก์เสียหายตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 จำเลยจึงมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์
การบอกกล่าวเลิกสัญญาจ้างที่ไม่ได้กระทำให้ถูกต้องตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดเป็นเรื่องที่โจทก์ชอบจะได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า หรือค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสี่, 121 วรรคสอง ป.พ.พ. มาตรา 582 วรรคสอง แล้วแต่กรณี และหากการเลิกจ้างนั้นเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม โจทก์ก็ชอบจะได้ค่าเสียหายตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 มิใช่ได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด
ระหว่างที่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยโจทก์ได้กู้ยืมเงินจากประธานกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยรวม 2 ครั้ง โจทก์ตกลงผ่อนชำระโดยให้หักจากค่าจ้างโจทก์แต่ละเดือน และโจทก์ยังคงค้างชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าว เหตุที่จำเลย ไม่จ่ายค่าจ้างและค่าชดเชยให้แก่โจทก์เป็นเพราะเมื่อหักกลบลบหนี้เงินกู้แล้วโจทก์ยังเป็นหนี้ประธานกรรมการ ผู้จัดการบริษัทจำเลยอยู่อีกมากและโจทก์ไม่เคยทวงถาม จำเลยเชื่อโดยสุจริตว่าจำเลยสามารถจะหักกลบลบหนี้ค่าจ้างและค่าชดเชยกับหนี้เงินกู้ดังกล่าวได้ แม้จำเลยไม่อาจหักกลบลบหนี้เงินกู้กับค่าจ้างที่จำเลยจะต้องจ่ายให้แก่โจทก์ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 76 ก็ตาม แต่พฤติการณ์ของจำเลยยังถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจไม่จ่ายค่าจ้างและค่าชดเชยแก่โจทก์โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร
การบอกกล่าวเลิกสัญญาจ้างที่ไม่ได้กระทำให้ถูกต้องตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดเป็นเรื่องที่โจทก์ชอบจะได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า หรือค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสี่, 121 วรรคสอง ป.พ.พ. มาตรา 582 วรรคสอง แล้วแต่กรณี และหากการเลิกจ้างนั้นเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม โจทก์ก็ชอบจะได้ค่าเสียหายตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 มิใช่ได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด
ระหว่างที่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยโจทก์ได้กู้ยืมเงินจากประธานกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยรวม 2 ครั้ง โจทก์ตกลงผ่อนชำระโดยให้หักจากค่าจ้างโจทก์แต่ละเดือน และโจทก์ยังคงค้างชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าว เหตุที่จำเลย ไม่จ่ายค่าจ้างและค่าชดเชยให้แก่โจทก์เป็นเพราะเมื่อหักกลบลบหนี้เงินกู้แล้วโจทก์ยังเป็นหนี้ประธานกรรมการ ผู้จัดการบริษัทจำเลยอยู่อีกมากและโจทก์ไม่เคยทวงถาม จำเลยเชื่อโดยสุจริตว่าจำเลยสามารถจะหักกลบลบหนี้ค่าจ้างและค่าชดเชยกับหนี้เงินกู้ดังกล่าวได้ แม้จำเลยไม่อาจหักกลบลบหนี้เงินกู้กับค่าจ้างที่จำเลยจะต้องจ่ายให้แก่โจทก์ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 76 ก็ตาม แต่พฤติการณ์ของจำเลยยังถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจไม่จ่ายค่าจ้างและค่าชดเชยแก่โจทก์โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ค่าเสียหาย และการหักกลบลบหนี้ค่าจ้าง
สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์จำเลยไม่ได้กำหนดระยะเวลาจ้างไว้ โจทก์และจำเลยจึงมีสิทธิเลิกสัญญาได้ด้วยการบอกกล่าวให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 วรรคหนึ่ง และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสองการที่จำเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงาน จึงเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายโดยชอบ ไม่ใช่เป็นการผิดสัญญาและไม่ใช่เป็นการกระทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420ส่วนการบอกกล่าวเลิกสัญญาจ้างที่ไม่ได้กระทำให้ถูกต้องตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดก็เป็นเรื่องที่โจทก์ชอบจะได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541มาตรา 17 วรรคสี่,121 วรรคสอง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 วรรคสอง แล้วแต่กรณี และหากการเลิกจ้างนั้นเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมโจทก์ก็ชอบจะได้รับค่าเสียหายตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 49 มิใช่ได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด
ระหว่างที่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยโจทก์ได้กู้ยืมเงินจาก ค. ประธานกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลย โจทก์ตกลงผ่อนชำระโดยให้หักจากค่าจ้างโจทก์แต่ละเดือน โจทก์ยังค้างชำระอยู่ประมาณ330,000 บาท เหตุที่จำเลยไม่จ่ายค่าจ้างและค่าชดเชยให้แก่โจทก์เพราะเมื่อหักกลบลบหนี้เงินกู้แล้วโจทก์ยังเป็นหนี้ ค. อยู่อีกมากและโจทก์ไม่เคยทวงถาม ดังนี้จำเลยจึงเชื่อโดยสุจริตว่าจำเลยสามารถจะหักกลบลบหนี้ค่าจ้างและค่าชดเชยกับเงินกู้ซึ่งโจทก์เป็นหนี้ ค. ได้แม้จำเลยจะไม่อาจหักกลบลบหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มาตรา 76 ก็ตาม แต่ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจไม่จ่ายค่าจ้างและค่าชดเชยแก่โจทก์โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่มแก่โจทก์
โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างค้างจ่ายของเดือนพฤศจิกายน 2541จำนวน 30,300 บาท และของวันที่ 1 ถึง 8 ธันวาคม 2541 จำนวน8,000 บาท ต่อมาโจทก์จำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงกันว่าจำเลยยังคงค้างชำระค่าจ้างโจทก์เป็นเงิน 10,300 บาท ซึ่งศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายให้โจทก์แล้ว ส่วนค่าจ้างของวันที่ 9 ถึง 31ธันวาคม 2541 และเงินโบนัสโจทก์ไม่ได้บรรยายและขอมาในคำฟ้องโจทก์เพิ่งจะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ระหว่างที่โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยโจทก์ได้กู้ยืมเงินจาก ค. ประธานกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลย โจทก์ตกลงผ่อนชำระโดยให้หักจากค่าจ้างโจทก์แต่ละเดือน โจทก์ยังค้างชำระอยู่ประมาณ330,000 บาท เหตุที่จำเลยไม่จ่ายค่าจ้างและค่าชดเชยให้แก่โจทก์เพราะเมื่อหักกลบลบหนี้เงินกู้แล้วโจทก์ยังเป็นหนี้ ค. อยู่อีกมากและโจทก์ไม่เคยทวงถาม ดังนี้จำเลยจึงเชื่อโดยสุจริตว่าจำเลยสามารถจะหักกลบลบหนี้ค่าจ้างและค่าชดเชยกับเงินกู้ซึ่งโจทก์เป็นหนี้ ค. ได้แม้จำเลยจะไม่อาจหักกลบลบหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มาตรา 76 ก็ตาม แต่ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจไม่จ่ายค่าจ้างและค่าชดเชยแก่โจทก์โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่มแก่โจทก์
โจทก์ฟ้องเรียกค่าจ้างค้างจ่ายของเดือนพฤศจิกายน 2541จำนวน 30,300 บาท และของวันที่ 1 ถึง 8 ธันวาคม 2541 จำนวน8,000 บาท ต่อมาโจทก์จำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงกันว่าจำเลยยังคงค้างชำระค่าจ้างโจทก์เป็นเงิน 10,300 บาท ซึ่งศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายให้โจทก์แล้ว ส่วนค่าจ้างของวันที่ 9 ถึง 31ธันวาคม 2541 และเงินโบนัสโจทก์ไม่ได้บรรยายและขอมาในคำฟ้องโจทก์เพิ่งจะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4844/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชดใช้ค่าเสียหายจากสินค้าสูญหาย, ค่าขาดกำไร, และการหักกลบลบหนี้ค่าระวาง
การที่จำเลยจัดการหาสถานที่รับฝากสินค้าให้โจทก์ในประเทศสหราชอาณาจักรและเรียกเก็บเงินค่าเก็บรักษาสินค้าดังกล่าวจากโจทก์ในนามของจำเลยนั้น มิใช่เป็นการงานที่จำเลยทำให้เปล่าในฐานะที่จำเลยเป็นตัวแทนของโจทก์และตัวแทนของบริษัท อ. แต่จำเลยและบริษัท อ. มีผลประโยชน์ร่วมกันในการรับฝากสินค้าของโจทก์ จึงถือได้ว่าจำเลยกับพวกดังกล่าวเป็นตัวการร่วมกันในการรับฝากสินค้าที่สูญหายจากโจทก์โดยมีบำเหน็จค่าฝากตาม ป.พ.พ. มาตรา 657 และมาตรา 659 วรรคสอง เมื่อจำเลยกับพวกมิได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อรักษาสินค้าของโจทก์ในฐานะเป็นผู้มีวิชาชีพในกิจการค้าขายของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 659 วรรคสาม จำเลยจึงต้องรับผิดในการสูญหายของสินค้าดังกล่าวต่อโจทก์ตามที่โจทก์ฟ้อง จำเลยจะอ้างว่าเป็นเหตุสุดวิสัยหรือเป็นพฤติการณ์ซึ่งเกิดขึ้นโดยจำเลยไม่ต้องรับผิดชอบหาได้ไม่
โจทก์ประกอบธุรกิจขายสินค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่และโจทก์ได้สั่งซื้อสินค้ามาเพื่อขายหากำไรในประเทศไทย ซึ่งน่าเชื่อว่าจำเลยเองก็ทราบดีอยู่แล้วถึงความในข้อนี้เพราะสินค้าดังกล่าวมีจำนวนมาก และจำเลยได้ติดต่อทำธุรกิจรับจัดการขนส่งสินค้าให้แก่โจทก์มาเป็นเวลานานหลายปีแล้ว การที่สินค้าของโจทก์สูญหายไปจำเลยควรจะคาดเห็นได้ว่าโจทก์จะต้องได้รับความเสียหายในส่วนที่เป็นค่าขาดกำไรจากการขายสินค้าดังกล่าว ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์สำหรับความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษนี้ด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคสอง
หนี้ค่าระวางการขนสินค้าตามฟ้องแย้งเป็นหนี้เงิน เมื่อโจทก์มิได้ชำระหนี้ดังกล่าวแก่จำเลยนับแต่วันครบกำหนด 45 วัน ที่โจทก์ได้รับใบเรียกเก็บเงินจากจำเลย โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด จำเลยจึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากโจทก์ในระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง โจทก์จะนำหนี้ค่าระวางการขนส่งสินค้าที่โจทก์ค้างชำระแก่จำเลยมาขอหักกลบลบหนี้กับหนี้ค่าเสียหายนับแต่วันที่สินค้าของโจทก์สูญหายไปหาได้ไม่ เพราะหนี้ค่าเสียหายหรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจำเลยยังมีข้อต่อสู้อยู่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 344
การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้ตามฟ้องแย้งแก่จำเลยเกินคำขอของจำเลยในส่วนที่เป็นระยะเวลาคิดดอกเบี้ยช่วงก่อนฟ้องแย้งนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องเองได้ ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 ประกอบด้วยมาตรา 26 และ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
โจทก์ประกอบธุรกิจขายสินค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่และโจทก์ได้สั่งซื้อสินค้ามาเพื่อขายหากำไรในประเทศไทย ซึ่งน่าเชื่อว่าจำเลยเองก็ทราบดีอยู่แล้วถึงความในข้อนี้เพราะสินค้าดังกล่าวมีจำนวนมาก และจำเลยได้ติดต่อทำธุรกิจรับจัดการขนส่งสินค้าให้แก่โจทก์มาเป็นเวลานานหลายปีแล้ว การที่สินค้าของโจทก์สูญหายไปจำเลยควรจะคาดเห็นได้ว่าโจทก์จะต้องได้รับความเสียหายในส่วนที่เป็นค่าขาดกำไรจากการขายสินค้าดังกล่าว ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์สำหรับความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษนี้ด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคสอง
หนี้ค่าระวางการขนสินค้าตามฟ้องแย้งเป็นหนี้เงิน เมื่อโจทก์มิได้ชำระหนี้ดังกล่าวแก่จำเลยนับแต่วันครบกำหนด 45 วัน ที่โจทก์ได้รับใบเรียกเก็บเงินจากจำเลย โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด จำเลยจึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากโจทก์ในระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง โจทก์จะนำหนี้ค่าระวางการขนส่งสินค้าที่โจทก์ค้างชำระแก่จำเลยมาขอหักกลบลบหนี้กับหนี้ค่าเสียหายนับแต่วันที่สินค้าของโจทก์สูญหายไปหาได้ไม่ เพราะหนี้ค่าเสียหายหรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจำเลยยังมีข้อต่อสู้อยู่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 344
การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้ตามฟ้องแย้งแก่จำเลยเกินคำขอของจำเลยในส่วนที่เป็นระยะเวลาคิดดอกเบี้ยช่วงก่อนฟ้องแย้งนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องเองได้ ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 ประกอบด้วยมาตรา 26 และ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4844/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดชอบของผู้รับขนส่งต่อสินค้าสูญหาย, ค่าเสียหาย, ค่าขาดกำไร, การหักกลบลบหนี้
การที่จำเลยจัดการหาสถานที่รับฝากสินค้าให้โจทก์ในประเทศสหราชอาณาจักรและเรียกเก็บเงินค่าเก็บรักษาสินค้าดังกล่าวจากโจทก์ในนามของจำเลยนั้น มิใช่เป็นการงานที่จำเลยทำให้เปล่าในฐานะที่จำเลยเป็นตัวแทนของโจทก์และตัวแทนของบริษัท อ. แต่จำเลยและบริษัท อ. มีผลประโยชน์ร่วมกันในการรับฝากสินค้าของโจทก์ จึงถือได้ว่าจำเลยกับพวกดังกล่าวเป็นตัวการร่วมกันในการรับฝากสินค้าที่สูญหายจากโจทก์ โดยมีบำเหน็จค่าฝากตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 657และมาตรา 659วรรคสอง เมื่อจำเลยกับพวกมิได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อรักษาสินค้าของโจทก์ในฐานะเป็นผู้มีวิชาชีพในกิจการค้าขายของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 659 วรรคสาม จำเลยจึงต้องรับผิดในการสูญหายของสินค้าดังกล่าวต่อโจทก์ตามที่โจทก์ฟ้อง จำเลยจะอ้างว่าเป็นเหตุสุดวิสัยหรือเป็นพฤติการณ์ซึ่งเกิดขึ้นโดยจำเลยไม่ต้องรับผิดชอบหาได้ไม่
โจทก์ประกอบธุรกิจขายสินค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่และโจทก์ได้สั่งซื้อสินค้ามาเพื่อขายหากำไรในประเทศไทย ซึ่งน่าเชื่อว่าจำเลยเองก็ทราบดีอยู่แล้วถึงความในข้อนี้เพราะสินค้าดังกล่าวมีจำนวนมาก และจำเลยได้ติดต่อทำธุรกิจรับจัดการขนส่งสินค้าให้แก่โจทก์มาเป็นเวลานานหลายปีแล้ว การที่สินค้าของโจทก์สูญหายไปจำเลยควรจะคาดเห็นได้ว่าโจทก์จะต้องได้รับความเสียหายในส่วนที่เป็นค่าขาดกำไรจากการขายสินค้าดังกล่าว ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ สำหรับความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษนี้ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรคสอง
หนี้ค่าระวางการขนสินค้าตามฟ้องแย้งเป็นหนี้เงิน เมื่อโจทก์มิได้ชำระหนี้ดังกล่าวแก่จำเลยนับแต่วันครบกำหนด 45 วัน ที่โจทก์ได้รับใบเรียกเก็บเงินจากจำเลย โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด จำเลยจึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากโจทก์ในระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละ7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง โจทก์จะนำหนี้ค่าระวางการขนส่งสินค้าที่โจทก์ค้างชำระแก่จำเลยมาขอหักกลบลบหนี้กับหนี้ค่าเสียหายนับแต่วันที่สินค้าของโจทก์สูญหายไปหาได้ไม่ เพราะหนี้ค่าเสียหายหรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจำเลยยังมีข้อต่อสู้อยู่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 344
การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้ตามฟ้องแย้งแก่จำเลยเกินคำขอของจำเลยในส่วนที่เป็นระยะเวลาคิดดอกเบี้ยช่วงก่อนฟ้องแย้งนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องเองได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 ประกอบด้วยมาตรา 26 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
โจทก์ประกอบธุรกิจขายสินค้าโทรศัพท์เคลื่อนที่และโจทก์ได้สั่งซื้อสินค้ามาเพื่อขายหากำไรในประเทศไทย ซึ่งน่าเชื่อว่าจำเลยเองก็ทราบดีอยู่แล้วถึงความในข้อนี้เพราะสินค้าดังกล่าวมีจำนวนมาก และจำเลยได้ติดต่อทำธุรกิจรับจัดการขนส่งสินค้าให้แก่โจทก์มาเป็นเวลานานหลายปีแล้ว การที่สินค้าของโจทก์สูญหายไปจำเลยควรจะคาดเห็นได้ว่าโจทก์จะต้องได้รับความเสียหายในส่วนที่เป็นค่าขาดกำไรจากการขายสินค้าดังกล่าว ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ สำหรับความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษนี้ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 วรรคสอง
หนี้ค่าระวางการขนสินค้าตามฟ้องแย้งเป็นหนี้เงิน เมื่อโจทก์มิได้ชำระหนี้ดังกล่าวแก่จำเลยนับแต่วันครบกำหนด 45 วัน ที่โจทก์ได้รับใบเรียกเก็บเงินจากจำเลย โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด จำเลยจึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากโจทก์ในระหว่างผิดนัดได้ในอัตราร้อยละ7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง โจทก์จะนำหนี้ค่าระวางการขนส่งสินค้าที่โจทก์ค้างชำระแก่จำเลยมาขอหักกลบลบหนี้กับหนี้ค่าเสียหายนับแต่วันที่สินค้าของโจทก์สูญหายไปหาได้ไม่ เพราะหนี้ค่าเสียหายหรือสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจำเลยยังมีข้อต่อสู้อยู่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 344
การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้ตามฟ้องแย้งแก่จำเลยเกินคำขอของจำเลยในส่วนที่เป็นระยะเวลาคิดดอกเบี้ยช่วงก่อนฟ้องแย้งนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องเองได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 ประกอบด้วยมาตรา 26 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4198/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัญชีเดินสะพัด, การหักกลบลบหนี้, อายุความ 10 ปี, หลักฐานการใช้บัตรเครดิตปลอม, ความรับผิดตามสัญญา
จำเลยเป็นลูกค้าของโจทก์ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด ต่อมาจำเลยทำความตกลงกับโจทก์เพื่อเป็นร้านค้าสมาชิกรับบัตรเครดิต ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้ใช้บัญชีเดินสะพัดของจำเลยเป็นบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยในการเรียกเก็บเงินตามหลักฐานการใช้บัตรเครดิตแทนการชำระเงินสดหรือเซลสลิปด้วย โดยยินยอมให้โจทก์หักทอนบัญชีหนี้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยหักกลบลบหนี้กันได้ ตามวิธีและประเพณีปฏิบัติของธนาคารเกี่ยวกับบัญชีเดินสะพัด โจทก์จะเรียกเก็บเงินตามเซลสลิปโดยคิดค่าธรรมเนียมเรียกเก็บแล้วจะโอนเงินเข้าบัญชีของจำเลย หากโจทก์ไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามเซลสลิปได้ จำเลยต้องคืนเงินให้แก่โจทก์ และถ้าเงินในบัญชีไม่มีให้หักหรือมีแต่ไม่พอให้หักชำระหนี้ได้ครบจำนวน จำเลยยินยอมให้โจทก์นำหนี้ทั้งจำนวนนั้น หรือจำนวนที่คงเหลือหลังจากหักชำระแล้วนั้นลงจ่ายในบัญชีเพื่อให้เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชี และยินยอมเสียดอกเบี้ยทบต้นของจำนวนเงินที่เป็นหนี้ตามประเพณีการคิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดของธนาคารด้วย ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการกำหนดสิทธิหน้าที่ความรับผิดของคู่สัญญาโดยมีการตัดทอนบัญชีอันเกิดแต่กิจการในระหว่างโจทก์กับจำเลยหักกลบลบกัน และคงชำระแต่ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือโดยดุลภาค อันเป็นลักษณะของสัญญาบัญชี้เดินสะพัด จำเลยจึงมีความรับผิดตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด
เมื่อกฎหมายในเรื่องบัญชีเดินสะพัดมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะจำนวนเงินที่ให้จำเลยรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ แต่มิได้กล่าวด้วยว่านอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น มีผลทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่สั่งให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในศาลชั้นต้นแทนโจทก์อันเพิกถอนไป เป็นการไม่ถูกต้อง เมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาและศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาเห็นสมควรสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์เสียใหม่ให้ถูกต้อง
เมื่อกฎหมายในเรื่องบัญชีเดินสะพัดมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะจำนวนเงินที่ให้จำเลยรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ แต่มิได้กล่าวด้วยว่านอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น มีผลทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่สั่งให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความในศาลชั้นต้นแทนโจทก์อันเพิกถอนไป เป็นการไม่ถูกต้อง เมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาและศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาเห็นสมควรสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นและชั้นอุทธรณ์เสียใหม่ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801-3802/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ ดอกเบี้ย และการหักกลบลบหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การชำระหนี้แต่ละครั้งเมื่อไม่มีการตกลงเป็นอย่างอื่นต้องชำระดอกเบี้ยที่ค้างอยู่เสียก่อน หลังจากนั้นเหลือเงินเท่าใดจึงนำไปชำระต้นเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 วรรคหนึ่ง จำเลยผ่อนชำระหนี้ด้วยการออกและโอนเช็คให้โจทก์รวม 20 ครั้ง ซึ่งต้องถือว่าหนี้ส่วนที่ชำระด้วยเช็คระงับสิ้นไปเมื่อเช็คได้ใช้เงินแล้วตามมาตรา 321 วรรคสาม โดยถือเป็นการชำระหนี้ในวันที่เรียกเก็บเงินจากธนาคารและต้องชำระดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นก่อนวันชำระหากมีเงินเหลือก็นำไปชำระต้นเงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3045/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ระหว่างมูลหนี้อันมีวัตถุเป็นอย่างเดียวกัน ไม่ต้องได้รับความยินยอม
ตามบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 341 ไม่ได้กำหนดเป็นเงื่อนไขไว้แต่ประการใดว่าการหักกลบลบหนี้ระหว่างกันนั้นจะต้องได้รับความยินยอมของอีกฝ่ายหนึ่ง จำเลยได้แสดงเจตนาหักกลบลบหนี้ไปยังโจทก์แล้ว ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฎว่าการฝากเงินของโจทก์ไว้กับจำเลยนั้นได้มีการกำหนดเวลาคืนเงินฝากไว้แน่นอน กรณีจึงต้องถือว่าหนี้เงินฝากดังกล่าวถึงกำหนดชำระหนี้ทันทีที่โจทก์ได้ฝากเงินไว้กับจำเลยและก็ไม่ปรากฎเช่นกันว่าทั้งสองฝ่ายได้แสดงเจตนาไม่ให้นำหนี้ที่มีอยู่ต่อกันมาหักกลบลบกันไว้แต่อย่างใด จำเลยจึงมีสิทธิที่จะนำเงินฝากในบัญชีของโจทก์ไปหักกลบลบกับหนี้ที่โจทก์กู้เงินไปจากจำเลยได้