พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1841/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักเขตที่ลงโทษได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน ต้องเป็นหลักเขตที่จัดทำเพื่อออกโฉนดเท่านั้น
การที่ผู้ใดเคลื่อนย้ายหลักเขตอันจะมีโทษตาม ม.109 ได้นั้นจะต้องเป็นหลักเขตซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินได้จัดทำขึ้นเพื่อการออกโฉนดตาม ม.65,66 เท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1841/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักเขตที่ลงโทษได้ตามกฎหมายที่ดิน ต้องเป็นหลักเขตที่เจ้าพนักงานที่ดินจัดทำเพื่อออกโฉนดเท่านั้น
การที่ผู้ใดเคลื่อนย้ายหลักเขตอันจะมีโทษตาม มาตรา 109ได้นั้นจะต้องเป็นหลักเขตซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินได้จัดทำขึ้นเพื่อการออกโฉนดตาม มาตรา 65,66 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 287/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิในที่ดินและการขอออกโฉนด: จำเลยไม่ต้องรับผิดหากเจ้าพนักงานไม่ออกโฉนดเพราะโจทก์ยังไม่ได้ครอบครอง
โจทย์ฟ้องจำเลยหาว่า เจ้าพนักงานไม่ออกดตราจองที่ดินให้โจทก์ เพราะจำเลยไปร้องคัดค้าน แต่ทางพิจารณาได้ความว่าเจ้าพนักงานไม่ออกดตราจองให้โจทก์เพราะโจทก์ยังไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินนั้นเลยจำเลยจะคัดค้านหรือไม่ ก็ไม่อาจทำให้โจทก์ได้ตราจองตามขอได้ ดังนี้ จำเลยจึงไม่ได้เป็นผู้ทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 731/2481
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการสั่งแก้ทะเบียนหรือออกโฉนดที่ดินหลังยึดและขายทอดตลาดได้
จำเลยแพ้ความและมิได้ชำระเงินให้โจทก์ตามคำ+ของศาล ๆ จึงยึดที่ดินของจำเลยและนำออกขายทอดตลาดมีผู้ซื้อไปได้ดังนี้ศาลก็ย่อมมีอำนาจที่จะสั่ง+แก้ทะเบียนโฉนดหรือ+โฉนดสำหรับที่ดินแปลง+ได้โดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 335/2474
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ออกโฉนดตามลายพระราชหัตถ์ การอยู่อาศัยโดยไม่คัดค้านถือเป็นผู้บุกรุก
ที่ดิน ออกโฉนดตามลายพระราชหัดถ์ผู้รับได้กรรมสิทธิ ผู้ที่อยู่ในที่ดินไม่คัดค้านการออกโฉนดให้ถูกต้องถือว่าอยู่โดยทางอาศัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 987/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดิน: การครอบครองดูแลแทนเจ้าของ ไม่ถือเป็นเจ้าของสิทธิในการคัดค้านการออกโฉนด
การพิจารณาว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์หรือไม่ มิใช่พิจารณาเฉพาะคำขอท้ายฟ้องของโจทก์เพียงอย่างเดียว แต่จะต้องพิจารณาคำให้การของจำเลยประกอบด้วย โจทก์อ้างว่า โจทก์เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาททั้งสี่แปลง จำเลยขอออกโฉนดที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงโดยมิชอบ ขอให้จำเลยไปเพิกถอนคำขอออกโฉนดที่ดินพิพาท จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยเป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาททั้งสี่แปลง โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยไปเพิกถอนการขอออกโฉนดดังกล่าว ขอให้ยกฟ้อง คำให้การของจำเลยถือว่าเป็นการกล่าวแก้ข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ แม้โจทก์จะมีคำขอให้จำเลยไปเพิกถอนคำขอออกโฉนดที่ดินพิพาท ก็เป็นผลต่อเนื่องมาจากประเด็นในเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2322/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาที่ดินและค่าธรรมเนียมการโอน กรณีที่ดินติดถนนสาธารณะหรือไม่ การออกโฉนดที่ดิน
ที่ดินพิพาททิศเหนือจดที่ดินโฉนดเลขที่ 122317 ซึ่งที่ดินดังกล่าวมีทิศตะวันออกจดและเชื่อมต่อกับที่ดินโฉนดเลขที่ 529 เป็นแนวยาวระดับเดียวกันจากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก ส่วนทิศตะวันตกจดซอยทองหล่อ (สุขุมวิท 55) ซึ่งรูปแผนที่ของที่ดินโฉนดเลขที่ 529 ระบุว่าทิศใต้จดที่ดินพิพาท เมื่อที่ดินโฉนดเลขที่ 529 ออกโฉนดปี 2537 ภายหลังจากที่ ล. กับจำเลยที่ 9 ทำสัญญาขายที่ดินพิพาทนานถึง 5 ปี ยังเป็นที่ดินที่เชื่อมต่อกับที่ดินโฉนดเลขที่ 122317 เช่นเดิมจึงมิใช่ถนนซอยทองหล่อ 12 เพราะมิฉะนั้นการออกโฉนดที่ดินดังกล่าวย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายต้องสั่งเพิกถอนตาม ป.ที่ดิน มาตรา 61 แม้ตามรูปแผนที่และสภาพที่ดินโฉนดเลขที่ 122317 และ 529 เจ้าของที่ดินทั้งแปลงไม่สามารถนำที่ดินทั้งสองแปลงไปทำประโยชน์ได้ นอกจากจัดมีไว้ให้ประชาชนใช้เป็นทางสัญจรเข้าออกไปสู่ถนนสุขุมวิท 55 เท่านั้นก็ตาม แต่ขณะที่มีการทำสัญญาขายที่ดินพิพาท ไม่ปรากฏว่าเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 122317 และเจ้าของที่ดินส่วนที่จะเป็นที่ดินโฉนดเลขที่ 529 ได้อุทิศ หรือให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แล้ว จะถือว่าที่ดินพิพาทอยู่ติดถนนซอยทองหล่อ 12 หาได้ไม่ เพราะเจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิติดตามเอาคืนและขัดขวางได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 คดีฟังไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทอยู่ติดถนนซอยทองหล่อ 12
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12525/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การโต้แย้งสิทธิเมื่อมีการขอออกโฉนดโดยผู้ไม่มีสิทธิ
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นสมาชิกนิคมสหกรณ์และได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 แต่จำเลยไม่เคยเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท โดยจำเลยได้ขายสิทธิและส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่ บ. ทำให้จำเลยขาดจากการเป็นสมาชิกนิคมสหกรณ์และหมดสิทธิในที่ดินพิพาท ต่อมาเมื่อ บ. ขายสิทธิและส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่บิดาโจทก์ บิดาโจทก์ได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท จนเมื่อบิดาโจทก์ถึงแก่กรรม โจทก์ซึ่งเป็นทายาทจึงเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท การบรรยายฟ้องดังกล่าวเท่ากับเป็นการยืนยันว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ส่วนจำเลยไม่มีคุณสมบัติที่จะมีสิทธิไปออกโฉนดที่ดินพิพาทได้ แม้ตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 มาตรา 11 และมาตรา 12 ได้กำหนดให้ทางราชการออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ให้แก่สมาชิกนิคมที่ได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน ซึ่งสมาชิกสามารถนำหนังสือดังกล่าวไปขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดิน แต่ภายในห้าปีนับแต่วันได้รับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะโอนที่ดินไปยังผู้อื่นไม่ได้ นอกจากตกทอดทางมรดกหรือโอนไปยังสหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่แล้วแต่กรณี แต่เมื่อที่ดินพิพาทยังไม่มีการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นที่ดินของรัฐซึ่งราษฎรสามารถมีสิทธิครอบครองได้ และไม่มีกฎหมายห้ามโอนสิทธิครอบครองระหว่างราษฎรด้วยกันเพียงแต่ราษฎรไม่สามารถยกการครอบครองขึ้นอ้างต่อรัฐได้เท่านั้น แต่สามารถใช้ยันกันระหว่างราษฎรด้วยกันได้ โจทก์จึงสามารถมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทได้ เมื่อจำเลยซึ่งไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทไปขอออกโฉนดที่ดินพิพาทจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12122/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณีถูกโต้แย้งสิทธิครอบครองที่ดิน: การยื่นขอออกโฉนดถือเป็นการโต้แย้งสิทธิ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของผู้มีสิทธครอบครองที่ดินพิพาททั้งสองแปลง ซึ่งมีเอกสารสิทธิเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ต่อมาปรากฎว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงวางทะเบียนในเอกสารสิทธิดังกล่าวไปเป็นของจำเลยทั้งสองและจำเลยทั้งสองได้ยื่นเรื่องขอออกโฉนดในที่ดินดังกล่าวพร้อมนำเจ้าพนักงานที่ดินทำการรังวัดที่ดิน ตามคำฟ้องดังกล่าวโจทก์แสดงว่า โจทก์อ้างความเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่า แต่ต่อมาปรากฏว่ามีชื่อจำเลยทั้งสองเป็นผู้ครอบครองในทะเบียนที่ดิน แล้วจำเลยทั้งสองยังยื่นเรื่องขอออกโฉนดและนำเจ้าพนักงานที่ดินทำการรังวัดเพื่อออกโฉนดให้แก่จำเลยทั้งสองการกระทำของจำเลยทั้งสอง จึงเป็นการอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของตน และกำลังดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เช่นนี้ย่อมถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิครอบครองที่ดินของโจทก์โดยตรงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าถูกจำเลยทั้งสองกระทำการโต้แย้งสิทธิในที่ดินอย่างไร โจทก์จึงไม่มีข้อโต้แย้งสิทธิแล้วพิพากษายกฟ้องมานั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา เนื่องจากคดีนี้ยังมิได้มีการสืบพยานจึงเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาแล้วพิพากษาใหม่ต่อไป ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 247
ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าถูกจำเลยทั้งสองกระทำการโต้แย้งสิทธิในที่ดินอย่างไร โจทก์จึงไม่มีข้อโต้แย้งสิทธิแล้วพิพากษายกฟ้องมานั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา เนื่องจากคดีนี้ยังมิได้มีการสืบพยานจึงเห็นสมควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาแล้วพิพากษาใหม่ต่อไป ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9696/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาท การออกโฉนดที่ดินโดยไม่ชอบ และสิทธิของผู้อยู่อาศัยเดิม
การฟ้องคดีเพื่อปลดเปลื้องการรบกวนการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1374 โจทก์ผู้ครอบครองที่ดินพิพาทจะต้องถูกรบกวนโดยการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากฝ่ายจำเลย การที่ฝ่ายจำเลยเพียงแต่ไปขอออกโฉนดที่ดินพิพาทยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นการรบกวนการครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ที่โจทก์จะต้องฟ้องขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินภายใน 1 ปี นับแต่วันออกโฉนดที่ดิน