คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงินบำเหน็จ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 179 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อบกพร่องคำฟ้องคดีอาญา: จำเป็นต้องแนบระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาคำขอเงินบำเหน็จ
ตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2490 มาตรา 71การที่ศาลจะสั่งให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จจำต้องพิจารณาจากระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดขึ้นระเบียบดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริง รัฐมนตรีได้ออกระเบียบไว้หรือไม่ มีเงื่อนไขการจ่ายเงินบำเหน็จไว้อย่างไร จึงเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์ต้องบรรยายฟ้องมาให้ศาลทราบหรือแนบระเบียบดังกล่าวมาด้วย เพื่อที่ศาลจะได้พิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จโดยถูกต้อง เมื่อโจทก์มิได้แนบระเบียบดังกล่าวมาให้ศาลทราบ ศาลจึงไม่อาจที่จะพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จได้ ทั้งนี้เนื่องจากการที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยจ่ายบำเหน็จเป็นเรื่องสำคัญมีผลเท่ากับลงโทษทางอาญาแก่จำเลย เพราะหากจำเลยไม่จ่ายเงินบำเหน็จแล้ว บทบัญญัติมาตรานี้ให้บังคับชำระเช่นเดียวกับการบังคับชำระค่าปรับในคดีอาญาโจทก์จึงต้องบรรยายฟ้องหรือแนบระเบียบดังกล่าวมาให้ศาลทราบระเบียบดังกล่าวคือข้อเท็จจริงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดี ตามมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ.2499 ปัญหาเรื่องข้อบกพร่องของคำฟ้องเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยศาลย่อมยกขึ้นมาพิพากษาให้เป็นประโยชน์แก่จำเลยได้ ดังนี้ การที่ศาลยกเรื่องการจ่ายเงินบำเหน็จขึ้นมาพิพากษา จึงมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องคดีอาญาต้องระบุข้อเท็จจริงตามกฎหมายอย่างครบถ้วน โดยเฉพาะระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายเงินบำเหน็จ
ตามบทบัญญัติพระราชบัญญัติการประมงฯ มาตรา 71 บัญญัติ ให้ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ต้องจ่ายเงินบำเหน็จ แก่ผู้นำจับตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด การที่ศาลจะสั่งให้ จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จจำต้องพิจารณาจากระเบียบที่ รัฐมนตรีกำหนดขึ้นและระเบียบดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์ต้องบรรยายมาให้ศาลทราบหรือแนบระเบียบดังกล่าวมาด้วย เพื่อที่ศาลจะได้พิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จโดยถูกต้อง เมื่อโจทก์มิได้แนบระเบียบดังกล่าวมา ศาลจึงไม่อาจพิพากษา ให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จได้ ทั้งนี้เนื่องจากการที่ศาลจะ พิพากษาให้จำเลยจ่ายบำเหน็จเป็นเรื่องสำคัญมีผลเท่ากับลงโทษ ทางอาญาแก่จำเลยและระเบียบดังกล่าวคือข้อเท็จจริงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีตามมาตรา 19แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 การที่ศาลอุทธรณ์ยกเรื่องการจ่ายเงินบำเหน็จตาม พระราชบัญญัติการประมงฯ มาตรา 71 ขึ้นมาพิพากษามิใช่ เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง หากแต่ เป็นการยกเรื่องข้อบกพร่องของคำฟ้องซึ่งเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยมาพิพากษาให้เป็นประโยชน์แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาให้จ่ายเงินบำเหน็จผู้นำจับต้องอาศัยระเบียบของรัฐมนตรี โจทก์ต้องแนบระเบียบดังกล่าวต่อศาล
ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490มาตรา 71 การที่ศาลจะสั่งให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จจำต้อง พิจารณาจากระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดขึ้นระเบียบดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริง รัฐมนตรีได้ออกระเบียบไว้หรือไม่มีเงื่อนไขการจ่ายเงินบำเหน็จไว้อย่างไร จึงเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์ต้องบรรยายฟ้องมาให้ศาลทราบหรือแนบระเบียบดังกล่าวมาด้วย เพื่อที่ศาลจะได้พิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินบำเหน็จโดยถูกต้อง เมื่อโจทก์มิได้แนบระเบียบดังกล่าวมาให้ศาลทราบศาลจึงไม่อาจที่จะพิพากษาให้จำเลยจ่ายบำเหน็จได้ ทั้งนี้เนื่องจากการที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยจ่ายบำเหน็จเป็นเรื่องสำคัญมีผลเท่ากับลงโทษทางอาญาแก่จำเลย เพราะหากจำเลยไม่จ่ายเงินบำเหน็จแล้ว บทบัญญัติมาตรานี้ให้บังคับชำระเช่นเดียวกับการบังคับชำระค่าปรับในคดีอาญาโจทก์จึงต้องบรรยายฟ้องหรือแนบระเบียบดังกล่าวมาให้ศาลทราบ ระเบียบดังกล่าวคือข้อเท็จจริงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดี ตามมาตรา 19 แห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499ปัญหาเรื่องข้อบกพร่องของคำฟ้องเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยศาลย่อมยกขึ้นมาพิพากษาให้เป็นประโยชน์แก่จำเลยได้ ดังนี้ การที่ศาลยกเรื่องการจ่ายเงินบำเหน็จขึ้นมาพิพากษา จึงมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการได้รับเงินชดเชย/บำเหน็จของพนักงานรัฐวิสาหกิจเมื่อเกษียณอายุ และการจ่ายเงินตามข้อบังคับ
จำเลยจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลพ.ศ.2496 และ พ.ร.ฎ.จัดตั้งองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็น พ.ศ.2501 จำเลยจึงเป็นรัฐวิสาหกิจ โจทก์เป็นพนักงานของจำเลย โจทก์จึงเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ
ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 45 ได้กำหนดรายละเอียดและเงื่อนไขให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานรัฐวิสาหกิจซึ่งเลิกจ้าง แต่ในข้อ 47 วรรคหนึ่ง แห่งระเบียบดังกล่าวระบุไว้ชัดแจ้งว่า พนักงานที่ต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามข้อ 45 ดังนี้เมื่อโจทก์ต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชยจากจำเลย จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อ 45 แห่งระเบียบดังกล่าวให้โจทก์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุเกษียณอายุและโจทก์มีระยะเวลาการทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปี โดยทำงานมานาน 19 ปีเศษ ดังนี้แม้โจทก์จะขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวันนอกเหนือจากเงินบำเหน็จมาด้วย ซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 47 วรรคหนึ่ง ก็ตามแต่ก็แปลได้ว่าโจทก์ประสงค์ได้รับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเป็นจำนวนเท่ากับเงินเดือนค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวันตามบทบัญญัติในข้อดังกล่าว โดยเรียกผิดเป็นเงินค่าชดเชยนั่นเองเมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติงานในช่วงก่อนเกษียณอายุติดต่อกันครบ 5 ปีขึ้นไป โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ตามข้อ 47 วรรคหนึ่ง
จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ มีข้อบังคับองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็นว่าด้วยกองทุนบำเหน็จของผู้ปฏิบัติงานองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็น ว่า เงินบำเหน็จที่จำเลยจ่ายให้แก่ผู้ปฏิบัติงานซึ่งเกษียณอายุตามข้อบังคับนี้ ให้ถือว่าเป็นการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานด้วย แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีระเบียบข้อบังคับในการจ่ายเงินค่าชดเชยกรณีพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุ และให้ถือว่าเงินดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของเงินที่จ่ายให้เพื่อตอบแทนความชอบในการทำงาน สอดคล้องกับข้อ 47 วรรคสอง แห่งระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จของผู้ปฏิบัติงานองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็นดังกล่าว จึงไม่ขัดกฎหมายและมีผลบังคับได้ไม่ จำเลยจึงชอบที่จะจ่ายเงินบำเหน็จให้ตามสิทธิของโจทก์เพียงจำนวนเดียว โดยไม่ต้องจ่ายเงินค่าชดเชยหรือเงินค่าตอบแทนความชอบในการทำงานต่างหากอีกจำนวนหนึ่ง
หากจะถือว่าจำเลยสามารถยกข้ออ้างที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยสามารถยกข้ออ้างว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติงานเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้ก็ตามแต่ คดีนี้ ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติแล้วว่าโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อจนเป็นช่องทางให้อ.ทุจริตเบียดบังเงินกู้กองทุนสวัสดิการและกองทุนบำเหน็จของจำเลย ดังนี้ ย่อมไม่อาจทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไปอุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิประโยชน์พนักงานรัฐวิสาหกิจ: เงินบำเหน็จ vs. ค่าชดเชย กรณีเกษียณอายุ และผลของการตีความระเบียบข้อบังคับ
โจทก์พ้นจากการเป็นพนักงานของจำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ เพราะเหตุเกษียณอายุจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามระเบียบ คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของ สิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 47 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชยให้ นอกเหนือจากเงินบำเหน็จก็พอจะแปลคำฟ้องได้ว่า โจทก์ประสงค์ จะได้รับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานดังกล่าว แต่เนื่องจากตามข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ ของผู้ปฏิบัติงานองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2524 ข้อ 9 วรรคท้าย กำหนดว่า เงินบำเหน็จที่จำเลยจ่ายให้แก่ผู้ปฏิบัติงานซึ่งเกษียณอายุตามข้อบังคับนี้ให้ถือว่าเป็นการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานด้วยแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีระเบียบข้อบังคับในการจ่ายเงินค่าชดเชยกรณีพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุ และให้ถือว่าเงินดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของเงินที่จ่ายเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงาน สอดคล้องกับ ข้อ 47 วรรคสองแห่งระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ดังกล่าวข้อบังคับของจำเลยจึงไม่ขัดต่อกฎหมายและมีผลใช้บังคับได้จำเลยชอบที่จะจ่ายเงินบำเหน็จให้ตามสิทธิของโจทก์เพียงจำนวนเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการได้รับค่าชดเชยของพนักงานรัฐวิสาหกิจที่เกษียณอายุ และความสัมพันธ์กับเงินบำเหน็จ
จำเลยจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของ รัฐบาล พ.ศ. 2496 และพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็นพ.ศ. 2501 จำเลยจึงเป็นรัฐวิสาหกิจ โจทก์เป็นพนักงานของจำเลย โจทก์จึงเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่องมาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจพ.ศ. 2534 ข้อ 45 ได้กำหนดรายละเอียดและเงื่อนไขให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานรัฐวิสาหกิจซึ่ง เลิกจ้าง แต่ในข้อ 47 วรรคหนึ่ง แห่งระเบียบดังกล่าวระบุไว้ชัดแจ้งว่าพนักงานที่ต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามข้อ 45 ดังนี้เมื่อโจทก์ต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชยจากจำเลย จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อ 45 แห่งระเบียบดังกล่าวให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการได้รับค่าชดเชยและเงินบำเหน็จของพนักงานรัฐวิสาหกิจที่เกษียณอายุ โดยข้อบังคับขององค์กรไม่ขัดแย้งกับกฎหมาย
จำเลยจัดตั้งขึ้นตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งองค์การ ของรัฐบาล พ.ศ. 2496 และ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การ อุตสาหกรรมห้องเย็น พ.ศ. 2501 จำเลยจึงเป็นรัฐวิสาหกิจ โจทก์เป็นพนักงานของจำเลย โจทก์จึงเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534 ข้อ 45ได้กำหนดรายละเอียดและเงื่อนไขให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าชดเชยให้แก่พนักงานรัฐวิสาหกิจซึ่งเลิกจ้าง แต่ในข้อ 47 วรรคหนึ่งแห่งระเบียบดังกล่าวระบุไว้ชัดแจ้งว่า พนักงานที่ต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามข้อ 45ดังนี้เมื่อโจทก์ต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชยจากจำเลย โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุเกษียณอายุและโจทก์มีระยะเวลาการทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปี โดยทำงานมานาน 19 ปีเศษ ดังนี้แม้โจทก์จะขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวันนอกเหนือจากเงินบำเหน็จมาด้วย ซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534ข้อ 47 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่ก็แปลได้ว่าโจทก์ประสงค์ได้รับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเป็นจำนวนเท่ากับเงินเดือนค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวันตามบทบัญญัติในข้อดังกล่าว โดยเรียกผิดเป็นเงินค่าชดเชยนั่นเองเมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติงานในช่วงก่อนเกษียณอายุติดต่อกันครบ5 ปีขึ้นไป โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวันตามข้อ 47 วรรคหนึ่ง จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ มีข้อบังคับองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็นว่าด้วยกองทุนบำเหน็จของผู้ปฏิบัติงานองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็นว่า เงินบำเหน็จที่จำเลยจ่ายให้แก่ผู้ปฏิบัติงานซึ่งเกษียณอายุตามข้อบังคับนี้ ให้ถือว่าเป็นการจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานด้วย แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีระเบียบข้อบังคับในการจ่ายเงินค่าชดเชยกรณีพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุเกษียณอายุ และให้ถือว่าเงินดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของเงินที่จ่ายให้เพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานสอดคล้องกับข้อ 47 วรรคสอง แห่งระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จของผู้ปฏิบัติงานองค์การอุตสาหกรรมห้องเย็นดังกล่าวจึงไม่ขัดกฎหมายและมีผลบังคับได้ จำเลยจึงชอบที่จะจ่ายเงินบำเหน็จให้ตามสิทธิของโจทก์เพียงจำนวนเดียว โดยไม่ต้องจ่ายเงินค่าชดเชยหรือเงินค่าตอบแทนความชอบในการทำงานต่างหากอีกจำนวนหนึ่ง หากจะถือว่าจำเลยสามารถยกข้ออ้างที่จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยสามารถยกข้ออ้างว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติงานเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้ก็ตาม แต่คดีนี้ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติแล้วว่า โจทก์ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อจนเป็นช่องทางให้ อ.ทุจริตเบียดบังเงินกู้กองทุนสวัสดิการและกองทุนบำเหน็จของจำเลย ดังนี้ย่อมไม่อาจทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป อุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3994/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณอายุงานและสิทธิรับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับบริษัท: การปัดเศษปีและระยะเวลาทำงานที่เข้าข่ายเป็นอายุงาน
ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเรื่องเงินบำเหน็จ กำหนดว่า บริษัทฯ จะพิจารณาจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่พนักงาน ที่มีอายุการทำงาน ดังนี้ (ก) ทำงานติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี จะได้รับเงินบำเหน็จเป็นจำนวนเงินเท่ากับเงินเดือนเต็มเดือนสุดท้าย คูณด้วยจำนวนปีของอายุงาน หารด้วย 2 (ข) ทำงานติดต่อกันไม่น้อยกว่า 10 ปี จะได้รับเงินบำเหน็จเป็นจำนวนเงินเท่ากับเงินเดือนเต็มเดือนสุดท้าย คูณด้วยจำนวนปีของอายุงาน 1 1 อายุงาน ถืออายุการทำงาน 365 วัน เป็นหนึ่งปีเศษของปี ถ้าถึง 183 วัน ให้ปัดเป็นหนึ่งปี ถ้าไม่ถึง183 วัน ตัดทิ้ง 2 อายุการทำงาน หมายความว่า ระยะเวลาตั้งแต่วันที่พนักงาน เข้าประจำทำงานในบริษัทฯ ในฐานะพนักงานจนถึงก่อนวันพ้น จากตำแหน่งในบริษัทฯ ตามเงื่อนไข ดังนี้โดย มิได้รับเงินเดือน ไม่ให้นับเป็นอายุการทำงาน (2) ระยะเวลาที่พนักงานหยุดงานเพื่อพักรักษาตัวเนื่องจาก การประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย เพราะเหตุปฏิบัติงานให้แก่บริษัทฯ และได้รับเงินเดือนตามปกติ ให้นับเป็นอายุการทำงานเต็มตามระยะเวลานั้น เห็นได้ว่าตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยดังกล่าว คำว่า อายุงานกับ อายุการทำงาน มีความหมายแตกต่างกัน กล่าวคือ อายุงานคิดเป็นจำนวนปีเพื่อใช้ในการคำนวณเงินบำเหน็จของลูกจ้างแต่ละคนโดยใช้เป็นตัวคูณเงินเดือนเต็มเดือนสุดท้ายว่าลูกจ้าง คนใดมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จจำนวนเท่าใด การนับอายุงาน ให้ถือ 365 วันเป็นหนึ่งปี เศษของปี ถ้าถึง 183 วันให้ปัดเป็นหนึ่งปี ถ้าไม่ถึง 183 วัน ก็ให้ตัดทิ้งส่วนอายุการทำงานนั้น เป็นระยะเวลาตามที่ลูกจ้างแต่ละคนได้ทำงานจริง ๆ โดยนับเวลาทำงานตั้งแต่วันที่ลูกจ้างคนนั้นเข้าทำงานกับจำเลยจนถึงวันที่ออกจากงานตามเงื่อนไขที่ว่า ระยะเวลาที่ลูกจ้างลา ขาดงาน หรือถูกสั่งพักงานโดยมิได้รับเงินเดือนไม่ให้นับเป็นอายุการทำงาน แต่ระยะเวลาที่ลูกจ้างหยุดงานเพื่อรักษาตัวเนื่องจากการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เพราะเหตุปฏิบัติงานให้แก่นายจ้างและได้รับเงินเดือนตามปกติให้นับเป็นอายุการทำงานเต็มตามระยะเวลานั้นเมื่อข้อเท็จจริงเป็นยุติว่า โจทก์ทำงานกับจำเลยติดต่อกันเป็นเวลา 9 ปี 6 เดือน 16 วัน หรือ 9 ปี 196 วันกรณีถือได้ว่าโจทก์มีอายุการทำงานติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี แต่ไม่ถึง 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 360/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการได้รับเงินบำเหน็จเมื่อถูกเลิกจ้าง ไม่ใช่การเกษียณอายุ
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดไว้ว่า พนักงานมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเมื่อทำงานครบเกษียณอายุ โดยต้องมีคุณสมบัติต่อไปนี้ (1) ปฏิบัติงานกับจำเลยในฐานะพนักงานเป็นเวลาอย่างน้อย15 ปี ติดต่อกัน (2) มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และ (3) ทำงานให้จำเลยด้วยความขยันหมั่นเพียรและปราศจากข้อตำหนิในประวัติการทำงาน ซึ่งจำเลยจะจ่ายเงินบำเหน็จในวันที่โจทก์ออกจากงาน ตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าวมีเจตนารมณ์ที่จะจ่ายเงินบำเหน็จหรือเงินค่าเกษียณอายุเมื่อพนักงานทำงานครบเกษียณอายุเท่านั้น ดังนี้ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์มิใช่เป็นการให้โจทก์ออกจากงานโดยเหตุครบเกษียณอายุ แต่เป็นกรณีที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุที่จำเลยประสบปัญหาการขาดทุนและจำเป็นต้องลดอัตรากำลังคน ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมีเจตนาไม่ให้โจทก์ได้รับเงินบำเหน็จตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จหรือเงินค่าเกษียณอายุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 360/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเกษียณอายุ กรณีเลิกจ้างไม่ใช่เพราะครบเกษียณอายุ
ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเรื่องเงินบำเหน็จกำหนดไว้ว่า พนักงานมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จเมื่อทำงานครบเกษียณอายุ โดยต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (1) ปฏิบัติงานในฐานะพนักงานเป็นเวลาอย่างน้อย15 ปี ติดต่อกัน (2) มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และ(3) ทำงานให้จำเลยด้วยความขยันหมั่นเพียรและปราศจากข้อตำหนิในประวัติการทำงาน เห็นได้ว่าตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าวมีเจตนารมณ์ที่จะจ่ายเงินบำเหน็จหรือเงินค่าเกษียณอายุเมื่อพนักงานทำงานครบเกษียณอายุเท่านั้น แต่การเลิกจ้างของจำเลยตามหนังสือแจ้งการเลิกจ้าง มิใช่เป็นการให้โจทก์ออกจากงานโดยเหตุครบเกษียนอายุ แต่เป็นกรณีที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วย เหตุที่จำเลยประสบปัญหาการขาดทุนและจำเป็นต้องลดอัตรากำลังคน ทั้งไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมีเจตนาไม่ให้โจทก์ได้รับเงินบำเหน็จตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จหรือเงินค่าเกษียณอายุ
of 18