พบผลลัพธ์ทั้งหมด 99 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2212/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกความในคดีแพ่งเพื่อสนับสนุนข้ออ้างทางคดี ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
จำเลยบรรยายฟ้องในคดีที่จำเลยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยขอให้เพิกถอนโจทก์จากการเป็นผู้อนุบาลของ จ. และตั้งจำเลยเป็นผู้อนุบาลแทนว่าโจทก์เล่นการพนัน ไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้อนุบาลจ. แม้ในคดีดังกล่าวศาลจะมิได้ตั้งประเด็นเรื่องคุณสมบัติของโจทก์ไว้โดยตรง แต่ก็มีข้อที่จะต้องพิจารณาว่าโจทก์หรือจำเลยควรจะเป็นผู้อนุบาลของ จ. การที่จำเลยเบิกความว่า บ้านของโจทก์ตั้งเป็นบ่อนการพนันก็เพื่อสนับสนุนคดีของจำเลยในข้อที่ว่าจำเลยเป็นผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะเป็นผู้อนุบาลของ จ. ส่วนโจทก์ไม่เหมาะสม ถือได้ว่าข้อความดังกล่าวเป็นข้อความในกระบวนพิจารณาคดีในศาลเพื่อประโยชน์แก่คดีของตน ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 331
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2169/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกความพยาน, เช็คไม่มีวันที่, และขอบเขตอำนาจศาลในการพิจารณาคดี
การเป็นพยานในศาลจะต้องสาบานตนหรือกล่าวคำปฏิญาณว่าจะให้การตามสัตย์จริงเสียก่อนเบิกความ และในการเบิกความศาลมีอำนาจที่จะซักถามพยานและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งชอบที่จะถามค้านพยานได้ แม้พยานจะพูดภาษาไทยไม่ได้ก็สามารถใช้ล่ามแปลได้ การที่ตัวโจทก์เป็นชาวจีนฮ่องกงก็ไม่เป็นข้อขัดข้องที่จะมาเป็นพยาน ดังนั้นการที่ตัวโจทก์ไม่มาเป็นพยานในศาลจึงทำให้พยานหลักฐานโจทก์มีน้ำหนักน้อยและเป็นข้อพิรุธ
จำเลยที่ 2 ออกเช็คโดยไม่ได้ลงวันที่สั่งจ่าย ย่อมถือได้ว่าไม่มีวันที่ผู้ออกเช็คกระทำความผิด แม้ต่อมาจะมีการประทับตรายางวันที่ตามข้อตกลงอันมีต่อกันระหว่างคู่กรณีก็ตาม ก็มีผลเพียงให้เช็คพิพาทนั้นสมบูรณ์ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ในทางแพ่งเท่านั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3 แม้จำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียวฎีกา จำเลยที่ 1 มิได้ฎีกาด้วยก็ตาม แต่เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาให้มิต้องถูกรับโทษด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
จำเลยที่ 2 ออกเช็คโดยไม่ได้ลงวันที่สั่งจ่าย ย่อมถือได้ว่าไม่มีวันที่ผู้ออกเช็คกระทำความผิด แม้ต่อมาจะมีการประทับตรายางวันที่ตามข้อตกลงอันมีต่อกันระหว่างคู่กรณีก็ตาม ก็มีผลเพียงให้เช็คพิพาทนั้นสมบูรณ์ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ในทางแพ่งเท่านั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3 แม้จำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียวฎีกา จำเลยที่ 1 มิได้ฎีกาด้วยก็ตาม แต่เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาให้มิต้องถูกรับโทษด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3367/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งเรื่องคำพิพากษาคดีอาญาต่อธนาคารและเบิกความต่อศาล ไม่ถือเป็นการละเมิด
การที่จำเลยที่ 1 ทำหนังสือร้องเรียนต่อธนาคารออมสินให้ลงโทษโจทก์ เนื่องจากโจทก์ถูกลงโทษจำคุกนั้น เป็นการแจ้งให้ธนาคารออมสินทราบเท่านั้น ธนาคารออมสินจะพิจารณาและมีคำสั่งลงโทษโจทก์หรือไม่เป็นเรื่องของธนาคารออมสิน แม้การกระทำดังกล่าวจะทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แต่ก็เป็นการใช้สิทธิในฐานะประชาชนที่จะเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ได้ ส่วนการที่จำเลยที่ 1และที่ 3 เบิกความต่อศาลถึงคำพิพากษาที่โจทก์ถูกลงโทษ ก็เป็นการกระทำตามหน้าที่ในฐานะพยาน อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย มิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยเจตนาให้โจทก์เสียหายฝ่ายเดียวอีกทั้งเป็นการไขข่าวตามความจริง จึงไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3367/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งเรื่องคำพิพากษาคดีอาญาต่อบุคคลที่สาม และการเบิกความต่อศาล ไม่ถือเป็นการละเมิด
เหตุที่โจทก์ถูกออกจากงานเนื่องจากจำเลยที่ 1 ทำหนังสือร้องเรียนต่อธนาคารให้พิจารณาลงโทษโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของธนาคาร เนื่องจากโจทก์ถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุก แต่การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการแจ้งให้ธนาคารทราบเท่านั้น ธนาคารจะพิจารณาและมีคำสั่งลงโทษโจทก์หรือไม่เป็นเรื่องของธนาคาร แม้การที่จำเลยที่ 1 มีหนังสือถึงธนาคารเป็นการกระทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแต่ก็เป็นการใช้สิทธิในฐานะประชาชนที่จะเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ได้ส่วนการที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 เบิกความต่อศาลในคดีอาญาที่โจทก์ฟ้อง ร. โดยกล่าวถึงคำพิพากษาที่โจทก์ถูกลงโทษจำคุก ก็เป็นการกระทำตามหน้าที่ในฐานะพยาน อันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายมิใช่เป็นการใช้สิทธิของจำเลยโดยเจตนาแกล้งให้โจทก์เสียหายฝ่ายเดียวทั้งเป็นการไขข่าวตามความเป็นจริง จึงไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดต่างกรรมกับการกระทำต่อเนื่อง: การฟ้องฎีกาคัดค้านคำพิพากษาและการเบิกความต่อ
การที่จำเลยยื่นคำฟ้องฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโจทก์ในเรื่องเดิมนั้น เป็นการกระทำโดยมีเจตนาให้ศาลฎีกาพิพากษาลงโทษโจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีเรื่องเดิมที่จำเลยได้ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการไว้ เป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องเป็นกรรมเดียวกันกับการที่จำเลยได้ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการไว้ตั้งแต่ศาลชั้นต้น ไม่เป็นความผิดต่างกรรม แม้คำฟ้องฎีกาจะเป็นคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3)ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ก็ตาม
จำเลยเบิกความในคดีเรื่องเดิมครั้งแรก แต่เบิกความไม่จบปาก ศาลมีคำสั่งให้เลื่อนไปซักค้านต่อในนัดต่อไป ข้อความที่เบิกความครั้งแรกและครั้งหลังก็ต่อเนื่องกัน การเบิกความของจำเลยในครั้งหลังเจตนาที่จะให้โจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นจำเลยในคดีเรื่องเดิมได้รับโทษเช่นเดียวกับการเบิกความในครั้งแรก ถือว่าเป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องเป็นกรรมเดียวกัน มิใช่เป็นความผิดต่างกรรม
โจทก์ทั้งสองในคดีนี้ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยร่วมกันในความผิดเดียวกัน และศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องของโจทก์ที่ 1 แล้ว ดังนี้ การที่โจทก์ที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้เรียงฟ้องแต่เพียงคนเดียวโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 เป็นทนายความหรือได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ที่ 2 ให้เป็นผู้แทนตนในคดีนี้นั้น ฟ้องของโจทก์ที่ 2จะชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) หรือไม่ ก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ปัญหาข้อกฎหมายนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยเบิกความในคดีเรื่องเดิมครั้งแรก แต่เบิกความไม่จบปาก ศาลมีคำสั่งให้เลื่อนไปซักค้านต่อในนัดต่อไป ข้อความที่เบิกความครั้งแรกและครั้งหลังก็ต่อเนื่องกัน การเบิกความของจำเลยในครั้งหลังเจตนาที่จะให้โจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นจำเลยในคดีเรื่องเดิมได้รับโทษเช่นเดียวกับการเบิกความในครั้งแรก ถือว่าเป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องเป็นกรรมเดียวกัน มิใช่เป็นความผิดต่างกรรม
โจทก์ทั้งสองในคดีนี้ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยร่วมกันในความผิดเดียวกัน และศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องของโจทก์ที่ 1 แล้ว ดังนี้ การที่โจทก์ที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้เรียงฟ้องแต่เพียงคนเดียวโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 เป็นทนายความหรือได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ที่ 2 ให้เป็นผู้แทนตนในคดีนี้นั้น ฟ้องของโจทก์ที่ 2จะชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) หรือไม่ ก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ปัญหาข้อกฎหมายนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1286/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการกู้ยืมเงินจากการเบิกความต่อศาลในคดีอื่น ย่อมใช้ฟ้องร้องบังคับคดีได้ แม้ไม่มีสัญญาเป็นหนังสือ
หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรคแรกนั้น อาจเกิดขึ้นในขณะกู้ยืมเงินกันหรือภายหลังจากนั้นก็ได้ บันทึกคำให้การพยานที่จำเลยเบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีอาญาว่า จำเลยกู้เงินจากโจทก์คดีนี้จริงและยังมิได้ชำระหนี้คืนนั้น เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ ใช้ฟ้องร้องบังคับคดีแก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลคำนวณจากจำนวนข้อหา, การร้องเรียนต่อผู้ว่าจ้างชอบธรรม, เบิกความไม่เป็นเท็จ ไม่เป็นการละเมิด
ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. เรื่อง ค่าขึ้นศาล ไม่ได้บัญญัติว่าคดีหนึ่งเสียค่าขึ้นศาลไม่เกิน 200,000 บาท ดังนั้นในการพิจารณาว่าคดีใดจะต้องเสียค่าขึ้นศาลเท่าใด จำต้องพิจารณาคำฟ้องเป็นเกณฑ์ ดังนี้ การเรียกค่าขึ้นศาลจึงต้องดูว่าคำฟ้องที่เสนอต่อศาลมีกี่ข้อหา แต่ละข้อหาเกี่ยวข้องกันหรือแยกจากกัน
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานผิดสัญญาข้อหาหนึ่ง และฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดอีกข้อหาหนึ่ง เป็นการเสนอข้อหาต่อศาล 2 ข้อหาและแยกออกจากกันได้ โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลทั้ง 2 ข้อหา
ปัญหาว่าการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ส่งมอบลิฟต์และติดตั้งลิฟต์ให้แก่โจทก์ และตามสัญญาโจทก์มีสิทธิปรับจำเลยที่ 1 ได้ แต่โจทก์ไม่ได้สงวนสิทธิที่จะเรียกเบี้ยปรับจากจำเลยที่ 1 สิทธิตามสัญญาจึงเป็นอันระงับสิ้นไปนั้นเมื่อเป็นข้อที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงไม่มีประเด็นที่ศาลล่างจะต้องวินิจฉัยและประเด็นดังกล่าวไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
การที่โจทก์อ้างว่าถูกยึดและอายัดทรัพย์ในคดีแพ่งเนื่องจากการเบิกความเท็จของจำเลยที่ 2 และการที่จำเลยทั้งสองร้องเรียนโจทก์ต่อส.ผู้ว่าจ้างโจทก์เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ และจำเลยทั้งสองสมคบกับ ย.หน่วงเหนี่ยวการทำงานของโจทก์ ทำให้โจทก์ทำงานไม่ทันตามกำหนดเวลาจนถูกส.บอกเลิกสัญญานั้น เมื่อปรากฏว่าก่อนที่จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ และจำเลยที่ 2ได้เบิกความในชั้นไต่สวนขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา และก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยึดและอายัดทรัพย์โจทก์ จำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบลิฟต์และติดตั้งลิฟต์ให้แก่โจทก์ตามสัญญาซื้อขายลิฟต์เรียบร้อยแล้ว และโจทก์ได้รับเงินจาก ส.ในงานส่วนติดตั้งลิฟต์แล้ว แต่โจทก์ไม่ยอมจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ตามสัญญา จำเลยที่ 1 จึงได้ร้องเรียนต่อ ส. ส.ได้เรียกโจทก์และจำเลยที่ 1 ไปไกล่เกลี่ย โจทก์ตกลงจ่ายงินค่าลิฟต์ให้แก่จำเลยที่ 1 แต่ในที่สุดก็ไม่จ่าย ดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 ร้องเรียนโจทก์ต่อ ส. จึงเป็นสิทธิของจำเลยที่ 1 ที่จะกระทำได้โดยชอบธรรม หาเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ไม่ และการที่จำเลยที่ 2 เบิกความในชั้นไต่สวนขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา ไปตามที่จำเลยที่ 2 รู้เห็นและเข้าใจ และหาเป็นความเท็จไม่ ส่วนคำเบิกความของจำเลยที่ 2 ที่แม้เป็นการเบิกความลอย ๆ ไม่ยืนยันว่าเป็นผู้รู้เห็นในเรื่องการขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากบริเวณก่อสร้าง แต่โจทก์ก็นำสืบรับว่าโจทก์ขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากบริเวณก่อสร้างจริง สำหรับในเรื่องเสนอขายเครื่องมือเครื่องจักร แก่ธนาคาร ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 อาจเข้าใจเอาเองเพราะเป็นข้อที่ทราบกันทั่วไป คำเบิกความของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นเท็จ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานผิดสัญญาข้อหาหนึ่ง และฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดอีกข้อหาหนึ่ง เป็นการเสนอข้อหาต่อศาล 2 ข้อหาและแยกออกจากกันได้ โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลทั้ง 2 ข้อหา
ปัญหาว่าการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ส่งมอบลิฟต์และติดตั้งลิฟต์ให้แก่โจทก์ และตามสัญญาโจทก์มีสิทธิปรับจำเลยที่ 1 ได้ แต่โจทก์ไม่ได้สงวนสิทธิที่จะเรียกเบี้ยปรับจากจำเลยที่ 1 สิทธิตามสัญญาจึงเป็นอันระงับสิ้นไปนั้นเมื่อเป็นข้อที่จำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงไม่มีประเด็นที่ศาลล่างจะต้องวินิจฉัยและประเด็นดังกล่าวไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
การที่โจทก์อ้างว่าถูกยึดและอายัดทรัพย์ในคดีแพ่งเนื่องจากการเบิกความเท็จของจำเลยที่ 2 และการที่จำเลยทั้งสองร้องเรียนโจทก์ต่อส.ผู้ว่าจ้างโจทก์เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ และจำเลยทั้งสองสมคบกับ ย.หน่วงเหนี่ยวการทำงานของโจทก์ ทำให้โจทก์ทำงานไม่ทันตามกำหนดเวลาจนถูกส.บอกเลิกสัญญานั้น เมื่อปรากฏว่าก่อนที่จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ และจำเลยที่ 2ได้เบิกความในชั้นไต่สวนขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา และก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยึดและอายัดทรัพย์โจทก์ จำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบลิฟต์และติดตั้งลิฟต์ให้แก่โจทก์ตามสัญญาซื้อขายลิฟต์เรียบร้อยแล้ว และโจทก์ได้รับเงินจาก ส.ในงานส่วนติดตั้งลิฟต์แล้ว แต่โจทก์ไม่ยอมจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ตามสัญญา จำเลยที่ 1 จึงได้ร้องเรียนต่อ ส. ส.ได้เรียกโจทก์และจำเลยที่ 1 ไปไกล่เกลี่ย โจทก์ตกลงจ่ายงินค่าลิฟต์ให้แก่จำเลยที่ 1 แต่ในที่สุดก็ไม่จ่าย ดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 ร้องเรียนโจทก์ต่อ ส. จึงเป็นสิทธิของจำเลยที่ 1 ที่จะกระทำได้โดยชอบธรรม หาเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์ไม่ และการที่จำเลยที่ 2 เบิกความในชั้นไต่สวนขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา ไปตามที่จำเลยที่ 2 รู้เห็นและเข้าใจ และหาเป็นความเท็จไม่ ส่วนคำเบิกความของจำเลยที่ 2 ที่แม้เป็นการเบิกความลอย ๆ ไม่ยืนยันว่าเป็นผู้รู้เห็นในเรื่องการขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากบริเวณก่อสร้าง แต่โจทก์ก็นำสืบรับว่าโจทก์ขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากบริเวณก่อสร้างจริง สำหรับในเรื่องเสนอขายเครื่องมือเครื่องจักร แก่ธนาคาร ก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 อาจเข้าใจเอาเองเพราะเป็นข้อที่ทราบกันทั่วไป คำเบิกความของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นเท็จ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5633/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ: เบิกความได้โดยไม่ต้องยื่นบัญชีระบุพยาน
ในคดีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยมีสิทธิอ้างตนเองเบิกความเป็นพยานได้โดยไม่จำต้องยื่นบัญชีระบุพยานตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88 เพราะเป็นการสืบพยานตามที่กฎหมายบัญญัติอนุญาตให้จำเลยซึ่งขาดนัดยื่นคำให้การมาศาลสาบานตนให้การเป็นพยานเองได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3849/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเห็นผู้ชำนาญการพิเศษต้องเบิกความประกอบ หากไม่เบิกความ ความเห็นนั้นใช้ฟังไม่ได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 243 วรรคสอง เป็นบทบังคับว่าในกรณีมีการทำความเห็นเป็นหนังสือ ผู้ชำนาญการพิเศษจำต้องมาเบิกความประกอบความเห็นเป็นหนังสือนั้นด้วย ไม่ใช่เป็นบทบัญญัติให้ศาลใช้ดุลพินิจให้ผู้ชำนาญการพิเศษทำความเห็นเป็นหนังสือโดยไม่ต้องมาเบิกความประกอบ
คดีนี้ ก. ผู้ชำนาญการพิเศษเป็นผู้ตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อโจทก์ในหนังสือสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติม และได้ทำบันทึกความเห็นไว้ในรายงานการตรวจพิสูจน์ เมื่อโจทก์ไม่นำ ก.มาเบิกความประกอบ บันทึกความเห็นดังกล่าวย่อมรับฟังไม่ได้ ข้อเท็จจริงคงรับฟังได้เพียงว่าจำเลยที่ 1เป็นผู้พิมพ์สัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติม ขณะพิมพ์มีจำเลยที่ 2 กับพวกอยู่ด้วย ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ลงลายมือชื่อโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานอื่นมารับฟังประกอบเพื่อให้ได้ความว่าจำเลยทั้งสองมีส่วนร่วมกันปลอมสัญญาดังกล่าว การกระทำของจำเลยทั้งสองย่อมไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185
คดีนี้ ก. ผู้ชำนาญการพิเศษเป็นผู้ตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อโจทก์ในหนังสือสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติม และได้ทำบันทึกความเห็นไว้ในรายงานการตรวจพิสูจน์ เมื่อโจทก์ไม่นำ ก.มาเบิกความประกอบ บันทึกความเห็นดังกล่าวย่อมรับฟังไม่ได้ ข้อเท็จจริงคงรับฟังได้เพียงว่าจำเลยที่ 1เป็นผู้พิมพ์สัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติม ขณะพิมพ์มีจำเลยที่ 2 กับพวกอยู่ด้วย ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ลงลายมือชื่อโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานอื่นมารับฟังประกอบเพื่อให้ได้ความว่าจำเลยทั้งสองมีส่วนร่วมกันปลอมสัญญาดังกล่าว การกระทำของจำเลยทั้งสองย่อมไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3849/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ (ลายมือชื่อ) ต้องมีการเบิกความประกอบจากผู้เชี่ยวชาญตามกฎหมาย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 243 วรรคสอง เป็นบทบังคับว่าในกรณีมีการทำความเห็นเป็นหนังสือ ผู้ชำนาญการพิเศษจำต้องมาเบิกความประกอบความเห็นเป็นหนังสือนั้นด้วย ไม่ใช่เป็นบทบัญญัติให้ศาลใช้ดุลพินิจให้ผู้ชำนาญการพิเศษทำความเห็นเป็นหนังสือโดยไม่ต้องมาเบิกความประกอบ คดีนี้ ก. ผู้ชำนาญการพิเศษเป็นผู้ตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อโจทก์ในหนังสือสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติม และได้ทำบันทึกความเห็นไว้ในรายงานการตรวจพิสูจน์ เมื่อโจทก์ไม่นำ ก.มาเบิกความประกอบ บันทึกความเห็นดังกล่าวย่อมรับฟังไม่ได้ ข้อเท็จจริงคงรับฟังได้เพียงว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้พิมพ์สัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติมขณะพิมพ์มีจำเลยที่ 2 กับพวกอยู่ด้วย ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ลงลายมือชื่อโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานอื่นมารับฟังประกอบเพื่อให้ได้ความว่าจำเลยทั้งสองมีส่วนร่วมกันปลอมสัญญาดังกล่าว การกระทำของจำเลยทั้งสองย่อมไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185