พบผลลัพธ์ทั้งหมด 91 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องผิดสัญญาซื้อขายและก่อสร้างที่ดิน/อาคาร โอนทรัพย์แล้ว ไม่เป็นคดีอสังหาริมทรัพย์
คำฟ้องโจทก์หาว่าจำเลยผิดสัญญาวางมัดจำซื้อที่ดินและว่าจ้างก่อสร้างอาคาร ซึ่งจำเลยได้โอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้โจทก์แล้ว ให้ชดใช้ค่าเสียหายนั้น มิได้บ่งถึงการที่จะบังคับแก่ตัวทรัพย์คือที่ดินและอาคารที่ปลูกสร้างจึงไม่เป็นคำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ หรือสิทธิ หรือประโยชน์ใด ๆ อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ โจทก์จึงยื่นฟ้องต่อศาลซึ่งจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1410/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกโดยผู้จัดการที่เป็นทายาท การโอนทรัพย์มรดก และอายุความฟ้องคดี
การที่ผู้จัดการมรดกซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกโอนทรัพย์มรดกให้แก่ตนเองและทายาทอื่นซึ่งมีสิทธิได้รับมรดก หาใช่เป็นการทำนิติกรรมซึ่งคนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1722 ไม่
การที่ผู้จัดการมรดกมิได้ทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาล ศาลอาจถอนผู้จัดการมรดกได้ แต่เมื่อยังมิได้ถอน ผู้จัดการมรดกยังคง มีอำนาจจัดการมรดก
การที่ผู้จัดการมรดกโอนทรัพย์มรดกให้ทายาทไปจนหมดสิ้นแล้วในวันใด ถือว่าการจัดการมรดกสิ้นสุดในวันดังกล่าว การที่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกเกินกว่า 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกเสร็จ คดีย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1733
การที่ผู้จัดการมรดกมิได้ทำบัญชีทรัพย์มรดกยื่นต่อศาล ศาลอาจถอนผู้จัดการมรดกได้ แต่เมื่อยังมิได้ถอน ผู้จัดการมรดกยังคง มีอำนาจจัดการมรดก
การที่ผู้จัดการมรดกโอนทรัพย์มรดกให้ทายาทไปจนหมดสิ้นแล้วในวันใด ถือว่าการจัดการมรดกสิ้นสุดในวันดังกล่าว การที่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกเกินกว่า 5 ปี นับแต่การจัดการมรดกเสร็จ คดีย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1733
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 111/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดกโดยมิชอบ ทายาทมีสิทธิเพิกถอนได้ แม้การโอนจะอ้างเพื่อแบ่งปัน
คำฟ้องของโจทก์กล่าวโดยชัดแจ้งแล้วว่า จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. ตามคำสั่งศาล สมคบกับจำเลยที่ 2 ทำนิติกรรมโอนทรัพย์มรดกส่วนของโจทก์มาเป็นของจำเลยที่ 1 แต่ผู้เดียวแล้วจดทะเบียนโอนขายให้จำเลยที่ 2 โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอม ขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าว แม้จะกล่าวว่าเป็นการฉ้อฉล ก็หาได้ทำให้สาระสำคัญของคำฟ้องเสียไปไม่ และโจทก์ไม่จำต้องกล่าวซ้ำอีกว่าจำเลยที่ 2 ใช้วิธีการฉ้อฉลอย่างไร การที่จำเลยที่ 1 ผู้จัดการมรดกโอนทรัพย์มรดกทั้งหมดมาเป็นของตนผู้เดียว ย่อมเป็นการกระทำที่ผิดหน้าที่ของผู้จัดการมรดก เป็นการกระทำโดยปราศจากอำนาจ โจทก์ซึ่งเป็นทายาทย่อมมีสิทธิที่จะขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1142/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย & การผิดสัญญา: โจทก์โอนทรัพย์ให้ผู้อื่นก่อนย่อมเป็นฝ่ายผิดสัญญา
ในการซื้อขายบ้านและที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยมีการทำหลักฐานกันไว้ตามใบสั่งจองเอกสารหมาย จ. 1 ฉบับ เดียว ซึ่ง มี ใจ ความ ว่า จำเลย ได้ ตกลง จอง บ้าน แบบ พ. พร้อม ที่ดิน แปลง หมายเลข ที่ 128 ของ โจทก์ ผู้ขาย โดย จำเลย ตกลง ชำระ เงินดาวน์ ให้ โจทก์ ใน วัน สั่ง จอง เป็นเงิน 40,600 บาทและจะชำระต่อไป งวดที่หนึ่งในวันที่ 20 มิถุนายน 2518 เป็นเงิน 19,000 บาท ส่วนค่าบ้านและค่าที่ดิน งวดต่างๆ จะชำระภายใน 30 วัน นับจากได้รับแจ้งจากโจทก์ทุกครั้งไป ถ้าจำเลยไม่ชำระตามกำหนดเวลาให้ถือว่าจำเลยผิดนัดและสละสิทธิ ในบ้านและที่ดินที่สั่งจองไว้ ยอมให้โจทก์ริบเงินที่ชำระแล้วทั้งสิ้น แล้วลงชื่อโจทก์จำเลย ใบสั่งจองนี้จึงมีลักษณะเป็น หลักฐานแห่งสัญญาจะซื้อจะขายอสังหาริมทรัพย์รายพิพาทและชำระ เงินดาวน์กันเท่านั้น หาใช่เป็นสัญญาเช่าซื้อ ไม่ สัญญาเช่าซื้อมีกฎหมายบังคับในเรื่องแบบไว้เป็นพิเศษในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 ถ้าไม่ทำเป็นหนังสือ เป็นโมฆะ ฉะนั้น เมื่อไม่มีการทำสัญญากันไว้เป็นหนังสือให้แจ้งชัดว่าเป็นการเช่าซื้อ จะฟังว่าเป็นการเช่าซื้อหาได้ไม่ เพราะเป็นการขัดต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 โจทก์ได้นำบ้านและที่ดินพิพาทที่ตกลงขายให้จำเลยตามใบสั่งจองเอกสารหมาย จ. 1 ไปโอนให้ ก. เสียก่อนที่จะโอนให้จำเลย เมื่อจำเลยทราบความจริงข้อนี้จึงไม่ชำระค่าผ่อนซื้อ ดังนี้โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาและไม่อยู่ในฐานะที่สามารถชำระหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 211 โจทก์จะหาว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดสัญญาเพราะผิดนัดไม่ชำระค่าผ่อนซื้อตามงวดหาได้ไม่ ในใบสั่งจองเอกสารหมาย จ.1 ไม่มีข้อความใดที่ระบุว่าโจทก์จะต้องจัดหาธนาคารมารับจำนองบ้านและที่ดินพิพาทเพื่อให้จำเลยกู้เงินมาชำระค่าบ้านและที่ดินแก่โจทก์ ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์จัดหาธนาคารมารับจำนองบ้านและที่ดินรายนี้เพื่อนำเงินมาชำระราคาที่ค้างแก่โจทก์นั้นจึงเป็นการนอกเหนือข้อสัญญาที่ตกลงกันไว้เป็นหนังสือเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3085/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โกงเจ้าหนี้: การโอนทรัพย์เพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้ แม้ทรัพย์ที่เหลืออยู่น้อยเกินไป ก็ถือเป็นความผิด
ทรัพย์ที่ได้มีการย้าย ซ่อนเร้นหรือโอนไปให้แก่ผู้อื่นอันจะเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้นั้น หาได้มีข้อจำกัดเฉพาะทรัพย์ที่เจ้าหนี้พึงจะยึดถือหรืออายัดไว้ไม่ แต่หมายถึงทรัพย์สินใด ๆ ของลูกหนี้ที่มีอยู่ได้มีการย้าย ซ่อนเร้นหรือโอนไปเพียงเพื่อเจตนามิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน และแม้ลูกหนี้จะยังมีทรัพย์อย่างอื่นเหลืออยู่ แต่ไม่พอชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ได้ ก็ไม่ใช่เหตุที่จะอ้างเพื่อให้พ้นจากการกระทำอันเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3085/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โกงเจ้าหนี้: การโอนทรัพย์เพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้ แม้ทรัพย์เหลือไม่พอชำระ ก็เป็นความผิด
ทรัพย์ที่ได้มีการย้าย ซ่อนเร้นหรือโอนไปให้แก่ผู้อื่นอันจะเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้นั้น หาได้มีข้อจำกัดเฉพาะทรัพย์ที่เจ้าหนี้พึงจะยึดถือหรืออายัดไว้ไม่แต่หมายถึงทรัพย์สินใดๆ ของลูกหนี้ที่มีอยู่ได้มีการย้าย ซ่อนเร้นหรือโอนไปเพียงเพื่อเจตนามิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน และแม้ลูกหนี้จะยังมีทรัพย์อย่างอื่นเหลืออยู่ แต่ไม่พอชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ได้ก็ไม่ใช่เหตุที่จะอ้างเพื่อให้พ้นจากการกระทำอันเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2084/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์มรดกที่เป็นทางเสียเปรียบแก่ผู้มีสิทธิได้รับมรดก การเพิกถอนนิติกรรมเมื่อผู้รับโอนไม่สุจริต
การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์มรดกที่ตกได้แก่จำเลยที่ 1 และโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 ทำให้โจทก์ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิได้อยู่ก่อนต้องเสียเปรียบ การโอนดังกล่าวจึงอาจถูกเพิกถอนได้ เว้นแต่จะเป็นการโอนอันมีค่าตอบแทนซึ่งผู้รับโอนกระทำการโดยสุจริต กรณีเช่นนี้เป็นเรื่องการจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์เป็นทางเสียเปรียบแก่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา 1300 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มิใช่กรณีเพิกถอนการฉ้อฉลตามมาตรา 237
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสินสมรสหลังมีคำพิพากษาชดใช้ค่าทดแทนเพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับคดี ถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
ผู้ร้องกับจำเลยจดทะเบียนหย่ากันหลังจากศาลพิพากษาให้จำเลยชำระค่าทดแทนแก่โจทก์ โดยตกลงกันให้ทรัพย์สินทั้งหมดรวมทั้งบ้านพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสตกได้แก่ผู้ร้อง เป็นการกระทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเสียเปรียบ เป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าผู้ร้องกับจำเลยได้ร่วมกันทำขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการที่จำเลยจะต้องถูกยึดทรัพย์มาเพื่อการบังคับคดีตามกฎหมาย เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จึงไม่มีผลให้บ้านพิพาทตกเป็นสิทธิของผู้ร้องแต่ผู้เดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3835/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดตึกแยกจากที่ดิน และผลของการโอนทรัพย์หลังการยึดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เมื่อการยึดตึกพิพาทเป็นการยึดแต่ตัวตึกโดยไม่ได้ยึดรวมกับที่ดินที่ตึกตั้งอยู่ด้วยพนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับอสังหาริมทรัพย์เช่นนี้ได้แก่นายอำเภอหรือผู้ทำการแทน ดังนั้นเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดตึกพิพาทและได้มีหนังสือแจ้งการยึดไปยังหัวหน้าเขตแล้ว ย่อมเป็นการเพียงพอที่จะถือได้ว่ามีการแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินผู้มีหน้าที่ทราบแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 304 และย่อมมีผลตามมาตรา 305 การที่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้โอนตึกพิพาทที่ถูกยึดแก่ผู้ร้องในภายหลัง จึงหาอาจใช้ยันแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 879/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์ตามพินัยกรรมและการเพิกถอนข้อกำหนดพินัยกรรมเมื่อมีการโอนทรัพย์สิน
ห. ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้จำเลย และได้ทำนิติกรรมโอนทรัพย์เหล่านั้นให้จำเลยด้วย ถ้านิติกรรมการโอนสมบูรณ์ข้อกำหนดพินัยกรรมย่อมเป็นอันเพิกถอน จำเลยไม่ได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นตามพินัยกรรมแต่ย่อมได้กรรมสิทธิ์ตามนิติกรรมนั้น ถ้านิติกรรมการโอนไม่สมบูรณ์ข้อกำหนดพินัยกรรมย่อมไม่ถูกเพิกถอน จำเลยไม่ได้กรรมสิทธิ์ตามนิติกรรมนั้น แต่ก็ได้กรรมสิทธิ์ตามพินัยกรรม ดังนั้นไม่ว่านิติกรรมโอนทรัพย์สินให้จำเลยจะเป็นโมฆะหรือไม่ จำเลยก็ได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์เหล่านั้น