คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หลบหนี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 297 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6982/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลยชอบด้วยกฎหมายเมื่อจำเลยไม่มาศาลตามนัดผ่อนชำระหนี้และมีเหตุอันควรสงสัยว่าหลบหนี
ในวันนัดสืบพยานโจทก์และจำเลย จำเลยขอถอนคำให้การเดินแล้วให้การใหม่เป็นรับสารภาพ และตกลงกับผู้เสียหายขอผ่อนชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในเดือนธันวาคม 2548 ศาลชั้นต้นจึงนัดฟังคำพิพากษาหรือฟังผลการชำระหนี้ในวันที่ 25 สิงหาคม 2548 ซึ่งการที่ศาลชั้นต้นกำหนดวันนัดโดยระบุว่า นัดฟังคำพิพากษาหรือฟังผลการชำระหนี้ย่อมมีนัยว่าโจทก์จำเลยตกลงผ่อนชำระหนี้รายเดือนภายในวันที่นัดฟังผลการชำระหนี้นั้น หรือภายในวันที่ 25 ของเดือนซึ่งหากจำเลยผ่อนชำระหนี้ตามที่ตกลงกับผู้เสียหายไว้ ศาลก็จะเลื่อนนัดฟังคำพิพากษาออกไปเพื่อให้โอกาสจำเลยผ่อนชำระหนี้ต่อไปให้ครบถ้วน แต่ถ้าหากจำเลยไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามข้อตกลงที่ได้แถลงไว้และผู้เสียหายไม่ประสงค์ให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ต่อไป ศาลก็อาจใช้ดุลพินิจอ่านคำพิพากษาไปได้ วันดังกล่าวจึงเป็นวันนัดฟังคำพิพากษาตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ซึ่งจำเลยได้ทราบวันนัดโดยชอบแล้ว เมื่อปรากฏว่าในวันนัดจำเลยมิได้ชำระหนี้ให้แก่ผู้เสียหายอันเป็นการผิดเงื่อนไขที่ตกลงไว้กับผู้เสียหาย และผู้เสียหายแถลงว่าไม่ประสงค์ให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ต่อไปหากในวันดังกล่าวจำเลยมาศาล ศาลย่อมมีคำพิพากษาไปได้ในวันเดียวกันนั้น แต่จำเลยไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง พฤติการณ์แสดงว่าจำเลยไม่สามารถผ่อนชำระหนี้ตามข้อตกลงได้ และกรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่าจำเลยหลบหนี หรือจงใจไม่มาฟังคำพิพากษา ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นให้ออกหมายจับจำเลยมาฟังคำพิพากษากับให้นัดฟังคำพิพากษาใหม่ในวันที่ 10 กันยายน 2548 เมื่อถึงวันนัดซึ่งพ้น 1 เดือน นับแต่วันออกหมายจับแล้วไม่ได้ตัวจำเลยมาศาล ศาลชั้นต้นย่อมอ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลยได้ จึงเป็นการอ่านคำพิพากษาโดยชอบด้วยกฎหมาย และถือว่าจำเลยได้ฟังคำพิพากษาในวันดังกล่าวแล้ว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 182 วรรคสาม ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2563 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5095/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยในคดีขับรถขณะเมาสุราและหลบหนีขัดขวางเจ้าพนักงาน ศาลอุทธรณ์แก้ไขบทลงโทษได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (2), 160 ตรี วรรคหนึ่ง ป.อ. มาตรา 138 วรรคสอง ให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 138 วรรคสอง ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักสุดตาม ป.อ. มาตรา 90 เท่ากับศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43,160 ตรี ตามฟ้องโจทก์แล้ว และคดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า การขับรถในขณะเมาสุราของจำเลยเป็นเหตุให้ น. ได้รับอันตรายแก่กาย จำเลยให้การรับสารภาพ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 160 ตรี วรรคสอง เมื่อศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษจำเลยผิด ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ย่อมปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ ทั้งบทบัญญัติให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของจำเลยเป็นมาตรการทำนองเดียวกันกับวิธีการเพื่อความปลอดภัยในการที่จะคุ้มครองประชาชนทั่วไปมิให้ได้รับอันตรายที่อาจเกิดจากการกระทำของจำเลย และเป็นบทบัญญัติที่บังคับให้ศาลต้องมีคำสั่งดังกล่าว ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ภาค 5 มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง และไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือมิได้กล่าวในฟ้องอุทธรณ์
การวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำความผิดหรือไม่ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบในศาลชั้นต้น เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพและมิได้ยกปัญหาข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิดขึ้นต่อสู้ในชั้นศาลชั้นต้น ดังนี้ ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิดตามที่จำเลยยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามฟ้องว่า จำเลยขับรถในขณะเมาสุรา เมื่อถึงที่เกิดเหตุ ดาบตำรวจ ป. และ น. ผู้ซึ่งต้องช่วยเหลือเจ้าพนักงานตามกฎหมายกับพวก ตั้งจุดตรวจสกัดเพื่อป้องกันอาชญากรรม ดาบตำรวจ ป.ได้แสดงตนเป็นเจ้าพนักงานเพื่อขอตรวจสอบ แต่จำเลยขับรถหลบหนีและพุ่งชนแผงกั้นถนนจนกระเด็นถูก น. ได้รับอันตรายแก่กาย การกระทำของจำเลยเป็นการขับรถในขณะเมาสุราเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายและต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1522/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีผู้ติดยาเสพติดหลบหนีระหว่างฟื้นฟูสมรรถภาพ ต้องดำเนินการตามขั้นตอน พ.ร.บ.ฟื้นฟูฯ ก่อนฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานในระหว่างการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ผู้ติดยาเสพติดหลบหนีจากการควบคุมหรือหลบหนีออกนอกเขตศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามพ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 29 และ ป.อ. มาตรา 190 มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 อันจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 ให้ครบถ้วนก่อนที่จะฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2659/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีอาญา – การหลบหนี – ผลกระทบต่ออายุความตาม พ.ร.บ. ป.ป.ช. และประมวลกฎหมายอาญา
หมายจับเป็นหมายอาญาตามที่ ป.วิ.อ. บัญญัติไว้ใน หมวด 2 เมื่อตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 บัญญัติให้ผู้พิพากษาคนหนึ่งมีอำนาจดังต่อไปนี้ (1) ออกหมายเรียก หมายอาญา... ดังนั้นผู้พิพากษาคนเดียวจึงมีอำนาจในการออกหมายอาญาประเภทหมายจับได้ รวมทั้งให้หมายความถึงมีอำนาจพิจารณาการยกคำร้องขอออกหมายจับโดยพิจารณาว่าคดีอาญาตามที่ขอออกหมายจับนั้นขาดอายุความหรือไม่ ทั้งนี้ ในการออกหมายจับนั้นต้องพิจารณาประกอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 68 ซึ่งบัญญัติว่า หมายจับคงใช้ได้อยู่จนกว่าจะจับได้ เว้นแต่ความผิดอาญาตามหมายนั้นขาดอายุความหรือศาลซึ่งออกหมายนั้นได้ถอนหมายคืน อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าในการออกหมายจับ ผู้พิพากษาคนเดียวที่จะพิจารณาออกหมายจับมีอำนาจพิจารณาว่า คดีที่จะออกหมายจับนั้นขาดอายุความแล้วหรือไม่ด้วย การสั่งยกคำร้องขอออกหมายจับของศาลชั้นต้นจึงไม่เป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบการนับอายุความตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 7 แตกต่างจากบทบัญญัติเรื่องอายุความในประมวลกฎหมายอาญาที่บัญญัติให้นับแต่วันกระทำความผิดเท่านั้น โดยไม่มีข้อยกเว้นไม่ให้นับวันที่หลบหนีรวมเข้าด้วยดังที่ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 7 บัญญัติไว้ และตามมาตรา 3 แห่ง ป.อ. บัญญัติว่า ถ้ากฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด เว้นแต่คดีถึงที่สุดแล้ว... เมื่อบทบัญญัติตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 7 ที่แก้ไขใหม่ดังกล่าวมีผลใช้บังคับวันที่ 22 กรกฎาคม 2561 ซึ่งเป็นระยะเวลาภายหลังการกระทำความผิดของผู้ถูกกล่าวหาทั้งเก้า และการนับอายุความโดยมิให้นับระยะเวลาที่หลบหนีเข้าด้วยตามมาตราดังกล่าวมีผลทำให้ผู้ถูกกล่าวหาทั้งเก้าถูกฟ้องร้องดำเนินคดีอาญาได้ ทั้งที่ผู้ร้องไม่ได้ตัวผู้ถูกกล่าวหาทั้งเก้ามาฟ้องภายใน 15 ปี ซึ่งไม่เป็นคุณแก่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งเก้า จึงต้องนําอายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 (2) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่าผู้ถูกกล่าวหาทั้งเก้ากระทำความผิดมาบังคับใช้เพราะเป็นคุณแก่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งเก้ามากกว่า ไม่อาจนําบทบัญญัติเรื่องการนับอายุความตามมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาใช้บังคับแก่ผู้ถูกกล่าวหาทั้งเก้าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1921/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรถจักรยานยนต์ไม่ต้องรับผิดชอบหากจำเลยใช้รถหลบหนีการจับกุมโดยไม่ได้ประสงค์จะกระทำผิดแต่แรก
แม้ผู้ร้องจะมิได้เก็บรักษากุญแจรถจักรยานยนต์ของกลางไว้ในที่มิดชิด แต่เสียบกุญแจรถจักรยานยนต์คาไว้ที่รูกุญแจรถจักรยานยนต์ ทำให้บุคคลภายในครอบครัวสามารถนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้โดยง่าย ซึ่งเป็นพฤติการณ์ที่แสดงออกว่าผู้ร้องมิได้เข้มงวดในการที่จำเลยและบุคคลภายในครอบครัวนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ก็ตาม แต่ได้ความว่าบุคคลภายในครอบครัวเพียงแต่นำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ขับซื้อของและทำธุระทั่วไปเท่านั้น โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยและบุคคลในครอบครัวเคยมีพฤติการณ์นำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ในการกระทำความผิด พฤติการณ์ของผู้ร้องดังกล่าวจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการยินยอมหรืออนุญาตโดยปริยายให้จำเลยนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ในการกระทำความผิด ก่อนเกิดเหตุจำเลยขับรถจักรยานยนต์ของกลางเพื่อจะไปตกปลากับเพื่อน ไม่ได้ประสงค์จะนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปกระทำความผิด แต่เหตุที่จำเลยกระทำความผิดตามที่ถูกฟ้องเนื่องจากกลัวว่าจะถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุม เพราะมีบุหรี่ไฟฟ้าในครอบครองโดยผิดกฎหมาย การที่จำเลยขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานตำรวจที่สั่งให้หยุดรถและขับรถจักรยานยนต์หลบหนีการจับกุม จึงเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันทันทีในขณะนั้นอันเป็นการกระทำความผิดของจำเลยโดยลำพัง ผู้ร้องย่อมไม่อาจทราบหรือคาดหมายได้ว่าจะเกิดเหตุการณ์ที่จำเลยนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้กระทำความผิดดังกล่าว ตามพฤติการณ์แห่งคดีจึงยังฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4049/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถยนต์ที่ใช้ขนส่งผู้ลักลอบเข้าเมือง ต้องพิจารณาว่าใช้เพื่อหลบหนีหรือหลีกเลี่ยงการจับกุมโดยตรงหรือไม่
จำเลยทั้งหกใช้รถยนต์ของกลาง 4 คัน พาคนต่างด้าว 47 คน ที่ลักลอบเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทยไปส่งยังจุดหมายปลายทางที่อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย จึงเป็นการใช้รถยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะให้คนต่างด้าวนั่งโดยสารมาในรถด้วยเท่านั้น มิได้เป็นการใช้รถยนต์ของกลางเพื่อพาคนต่างด้าวหลบหนีให้พ้นจากการจับกุม หรือเพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบจับกุมของเจ้าพนักงานตำรวจตามฟ้องของโจทก์โดยตรง รถยนต์ของกลางจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่จำเลยทั้งหกได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
of 30