พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,640 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1072/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตอุทธรณ์แบบอนาถา ต้องยื่นภายใน 7 วัน หากเกินกำหนดเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอให้พิจารณาคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาใหม่ของจำเลยโดยเห็นว่าจำเลยมิใช่คนยากจนไม่มีทรัพย์สินเพียงพอที่จะเสียค่าธรรมเนียมศาลและไม่อนุญาตให้อุทธรณ์อย่างคนอนาถา จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10298/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์หลังศาลมีคำสั่งให้ล้มละลายแล้ว ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดและพิพากษาให้จำเลยทั้งสองล้มละลาย คดีถึงที่สุดแล้ว โดยจำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งว่ามีการพิจารณาที่ผิดระเบียบแต่อย่างใด และในชั้นนี้มีประเด็นในศาลล้มละลายกลางเพียงว่าศาลล้มละลายกลางสมควรที่จะมีคำสั่งให้หยุดนับระยะเวลาในการที่จำเลยที่ 1 จะได้รับการปลดจากล้มละลายหรือไม่ การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษจำคุกต้องพิจารณาความผิดโดยประมาทหรือไม่ หากความผิดทั้งหมดเป็นการประมาท ไม่อาจบวกโทษที่รอการลงโทษได้
ป.อ. มาตรา 58 บัญญัติหลักเกณฑ์เรื่องการบวกโทษว่า ศาลที่พิพากษาคดีหลังจะนำโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนบวกเข้ากับโทษคดีหลังได้ก็ต่อเมื่อผู้กระทำความผิดคดีหลังถูกศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุกในความผิดที่มิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ซึ่งเมื่อแปลความในทางกลับกันก็คือศาลที่พิพากษาคดีหลังจะนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษจำคุกคดีหลังได้ ก็ต่อเมื่อผู้กระทำความผิดคดีหลังกระทำความผิดที่มิใช่ความผิดลหุโทษและความผิดนั้นเป็นการกระทำโดยเจตนา มิใช่ความผิดที่เกิดจากการกระทำโดยประมาทนั่นเอง คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขับรถโดยประมาทขณะเมาสุราเป็นเหตุให้รถยนต์ที่จำเลยขับชนกับรถยนต์ที่ผู้ตายขับ ทำให้รถยนต์ทั้งสองคันได้รับความเสียหาย จำเลย อ. ย. ป. ร. และ ณ. ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ส่วน ม. ได้รับอันตรายสาหัส และผู้ตายได้รับบาดเจ็บและถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 58, 291, 300, 390 และ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (2) (4), 157, 160 ตรี จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามบทกฎหมายที่โจทก์ขอให้ลงโทษ เท่ากับจำเลยมีความผิดฐานกระทำโดยประมาทจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ได้รับอันตรายสาหัสและได้รับอันตรายต่อจิตใจ ตาม ป.อ. มาตรา 291, 300, 390 ด้วย เพียงแต่การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ศาลจึงต้องลงโทษจำเลยฐานขับรถในขณะเมาสุราเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (2), 160 ตรี วรรคสี่ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียว ตาม ป.อ. มาตรา 90 แต่การที่ศาลจะปรับบทตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (2), 160 ตรี วรรคสี่ เป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดเช่นคดีนี้ได้ก็ต่อเมื่อเป็นการกระทำความผิดโดยประมาทเท่านั้น เพราะหากเป็นการกระทำโดยเจตนาแล้ว เท่ากับผู้กระทำความผิดมีเจตนาฆ่า ซึ่งศาลต้องปรับบทลงโทษฐานเจตนาฆ่าผู้อื่น ไม่อาจที่จะนำบทบัญญัติฐานขับรถในขณะเมาสุราเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 42 (2), 160 ตรี วรรคสี่ มาปรับใช้เป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดเช่นคดีนี้ ดังนั้น แม้คดีนี้ศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลย แต่เมื่อกฎหมายที่ศาลปรับบทพิพากษาลงโทษแก่จำเลยล้วนเป็นบทความผิดที่เกิดจากการกระทำโดยประมาททั้งสิ้น กรณีจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตาม ป.อ. มาตรา 58 ศาลจึงไม่อาจนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษจำคุกของจำเลยในคดีนี้ได้ ที่ศาลล่างทั้งสองนำโทษจำคุก 6 เดือน ของจำเลยที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษจำคุกของจำเลยคดีนี้จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4200/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำท้าทางศาล: การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขต้องได้รับความยินยอมจากคู่ความ การพิพากษาต้องเป็นไปตามคำท้า
โจทก์และจำเลยตกลงท้ากันให้ถือเอาผลการตรวจดีเอ็นเอว่า โจทก์และจำเลยเป็นบุตรของ น. หรือจำเลยคนเดียวเป็นบุตรของ น. เป็นข้อแพ้ชนะคดี โดยกำหนดให้แพทย์โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นผู้ทำการตรวจ อันเป็นเงื่อนไขสำคัญอย่างหนึ่งของคำท้า เมื่อโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ไม่พร้อมให้บริการตรวจดีเอ็นเอ จึงเป็นกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามเงื่อนไขในคำท้าได้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยต่อไป การที่จำเลยฝ่ายเดียวยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น เป็นผู้ตรวจดีเอ็นเอ เป็นการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสำคัญของคำท้าและนอกเหนือคำท้า ซึ่งจะต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ด้วย เพราะคำท้าของคู่ความนั้นจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขหรือยกเลิกได้ก็โดยคู่ความตกลงกันเท่านั้น จำเลยหาอาจเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขหรือยกเลิกคำท้าแต่เพียงฝ่ายเดียวได้ไม่ ฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โรงพยาบาลศรีนครินทร์เป็นผู้ตรวจดีเอ็นเอแทนตามคำร้องของจำเลย โดยมิได้สอบถามความประสงค์ของโจทก์ก่อนและโจทก์มิได้ตกลงยินยอมด้วย จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4154/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจดุลพินิจศาลในการไม่อนุญาตถอนคำร้องขอถอนฟ้องคดีอาญา แม้มีการตกลงกันระหว่างคู่ความ
คดีความผิดต่อส่วนตัว ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ทำคำพิพากษาเสร็จแล้วส่งไปให้ศาลชั้นต้นอ่านให้คู่ความฟัง ก่อนวันอ่านคำพิพากษา โจทก์ยื่นคำร้องว่าคู่ความตกลงกันได้ขอถอนฟ้อง ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ทำคำสั่งเสร็จแล้วส่งไปให้ศาลชั้นต้นอ่านให้คู่ความฟัง ก่อนอ่านคำพิพากษา โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องขอถอนฟ้อง และขอให้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 แม้โจทก์ขอถอนคำร้องขอถอนฟ้องก่อนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง เมื่อไม่มีเหตุสมควร ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจที่จะไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนคำร้องขอถอนฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3607/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค้างจ่ายในศาล ผู้รับต้องเรียกรับภายใน 5 ปี มิฉะนั้นตกเป็นของแผ่นดิน
เงินค้างจ่ายที่อยู่ในศาล ผู้มีสิทธิรับเงินต้องเรียกเอาเงินหรือขอรับเงินที่ตนมีสิทธิจะได้รับจากศาลและต้องมารับเงินตามที่เรียกหรือขอด้วย หรือในกรณีที่ศาลออกเช็คให้ผู้มีสิทธิรับเงินแทนการจ่ายเป็นเงินสด ผู้มีสิทธิรับเงินก็ต้องนำเช็คไปเรียกเก็บเงินจากธนาคาร หากผู้มีสิทธิรับเงินเพียงแต่แถลงขอรับเงินจากศาล แต่ไม่มารับเงินตามที่ขอหรือมิได้นำเช็คไปเรียกเก็บเงินจากธนาคาร ภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่ศาลอนุญาต เงินค้างจ่ายดังกล่าวจึงตกเป็นของแผ่นดินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 (เดิม) จำเลยจะขอให้ศาลออกเช็คฉบับใหม่แทนเช็คฉบับเดิมเพื่อสั่งจ่ายเงินที่ตกเป็นของแผ่นดินแล้วมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3562/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟื้นฟูกิจการล้มละลาย-งดการพิจารณาคดี-ฟ้องแย้ง: ศาลต้องงดพิจารณาคดีเมื่อมีการฟื้นฟูกิจการ และอาจงดพิจารณาฟ้องแย้งควบคู่ไปด้วย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามสัญญาเช่าซื้อแก่โจทก์ หนี้ที่โจทก์ขอบังคับเป็นหนี้กระทำการในคดีแพ่งที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลย เมื่อต่อมาศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของจำเลยไว้พิจารณาและไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตจากศาลล้มละลายกลางให้ดำเนินคดีนี้ต่อไป ศาลชั้นต้นย่อมต้องงดการพิจารณาคดีดังกล่าวไว้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (4) ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในเรื่องนี้ว่า ไม่มีอำนาจพิจารณาคดีนี้ ให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความและศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาโดยไม่ได้แก้ไขเรื่องดังกล่าวจึงไม่ถูกต้อง เพราะกรณีนี้เป็นเรื่องคดีค้างพิจารณา เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของจำเลยและมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้วย่อมเป็นหน้าที่ของผู้บริหารแผนที่จะต้องเข้ามาดำเนินคดีแทนจำเลย ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความอ้างว่าศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจพิจารณาคดีนี้จึงไม่ชอบ ปัญหาเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 252
จำเลยฟ้องแย้งขอให้ขับไล่โจทก์และบริวารออกจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทพร้อมชำระค่าเสียหาย แม้มิใช่การฟ้องเกี่ยวกับทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (4) แต่เป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดภาระในทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (9) เมื่อปรากฏว่า ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีในส่วนฟ้องแย้งแล้ว ศาลชั้นต้นย่อมสามารถยกคดีในส่วนฟ้องแย้งขึ้นพิจารณาต่อไปได้ ตามข้อยกเว้นที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (9) ที่บัญญัติว่า "...เว้นแต่ศาลที่รับคำร้องขอจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น" แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อฟ้องแย้งของจำเลยเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมซึ่งพิพาทเกี่ยวกับที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเดียวกัน จำต้องพิจารณาไปในทางเดียวกัน ประกอบกับศาลต้องงดพิจารณาในส่วนของคำฟ้องไว้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (4) ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการดำเนินกระบวนพิจารณา และก่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อคู่ความทั้งสองฝ่ายในการฟ้องและต่อสู้คดี ย่อมมีเหตุสมควรที่ศาลฎีกาจะงดการพิจารณาในส่วนฟ้องแย้งไว้ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 39 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 7 หากต่อมาคดีฟื้นฟูกิจการสิ้นสุดลงหรือศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตให้ดำเนินคดีนี้ในส่วนของโจทก์ต่อไป จึงให้ยกคดีทั้งในส่วนคำฟ้องและฟ้องแย้งขึ้นพิจารณาต่อไป ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีในส่วนฟ้องแย้งของจำเลยออกจากสารบบความและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงไม่ถูกต้อง
จำเลยฟ้องแย้งขอให้ขับไล่โจทก์และบริวารออกจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทพร้อมชำระค่าเสียหาย แม้มิใช่การฟ้องเกี่ยวกับทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (4) แต่เป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดภาระในทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (9) เมื่อปรากฏว่า ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีในส่วนฟ้องแย้งแล้ว ศาลชั้นต้นย่อมสามารถยกคดีในส่วนฟ้องแย้งขึ้นพิจารณาต่อไปได้ ตามข้อยกเว้นที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (9) ที่บัญญัติว่า "...เว้นแต่ศาลที่รับคำร้องขอจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น" แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อฟ้องแย้งของจำเลยเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมซึ่งพิพาทเกี่ยวกับที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเดียวกัน จำต้องพิจารณาไปในทางเดียวกัน ประกอบกับศาลต้องงดพิจารณาในส่วนของคำฟ้องไว้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (4) ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการดำเนินกระบวนพิจารณา และก่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อคู่ความทั้งสองฝ่ายในการฟ้องและต่อสู้คดี ย่อมมีเหตุสมควรที่ศาลฎีกาจะงดการพิจารณาในส่วนฟ้องแย้งไว้ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 39 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 7 หากต่อมาคดีฟื้นฟูกิจการสิ้นสุดลงหรือศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตให้ดำเนินคดีนี้ในส่วนของโจทก์ต่อไป จึงให้ยกคดีทั้งในส่วนคำฟ้องและฟ้องแย้งขึ้นพิจารณาต่อไป ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีในส่วนฟ้องแย้งของจำเลยออกจากสารบบความและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2563 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลายื่นฎีกาและการวินิจฉัยข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของศาล
ศาลจังหวัดกำแพงเพชรอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ให้จำเลยฟังวันที่ 1 กรกฎาคม 2562 แล้วศาลชั้นต้นจึงอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ให้โจทก์และทนายจำเลยฟังวันที่ 12 กรกฎาคม 2562 ต้องถือว่าศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ให้จำเลยฟังตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 ไม่ใช่วันที่อ่านให้ทนายจำเลยฟัง จำเลยมีอำนาจยื่นฎีกาภายในหนึ่งเดือน นับแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง จึงต้องยื่นฎีกาภายในวันที่ 1 สิงหาคม 2562 การที่ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาในวันที่ 6 สิงหาคม 2562 ซึ่งล่วงเลยกำหนดระยะเวลายื่นฎีกาของจำเลย โดยไม่มีพฤติการณ์พิเศษและไม่ใช่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบ จำเลยไม่มีสิทธิยื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ให้จำเลยฟัง