พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2452/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานไม่ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิและหน้าที่ และไม่มีผลบังคับทางกฎหมาย ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
กรมแรงงานจำเลยที่ 2 แจ้งต่อโจทก์ว่า การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานของจำเลยที่ 2 ที่ให้โจทก์จ่ายค่าชดเชยแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างโจทก์เป็นการผิดกฎหมาย เป็นเพียงการแสดงความคิดเห็น มิใช่เป็นการชี้ขาด และไม่มีผลบังคับโจทก์ให้ต้องปฏิบัติตาม จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิและหน้าที่ของโจทก์โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2135/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานไม่ใช่คำวินิจฉัยชี้ขาด ไม่สร้างผลผูกพันทางกฎหมาย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานได้ทำคำเตือนถึงโจทก์ เพราะเห็นว่าโจทก์ฝ่าฝืนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน โดยไม่จ่ายค่าทำงานในวันหยุดแก่ลูกจ้างคำเตือนนี้มิใช่คำวินิจฉัยชี้ขาดอันมีผลทางกฎหมาย แม้จะกำหนดให้โจทก์ชำระเงินแก่ลูกจ้างโจทก์หาจำต้องปฏิบัติตามไม่คำเตือนดังกล่าวจึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์แต่อย่างใดและไม่ใช่กรณีที่โจทก์จำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาลขอให้เพิกถอนคำเตือนของจำเลยโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1903/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานไม่ใช่คำวินิจฉัยที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย นายจ้างไม่ต้องปฏิบัติตามหากเห็นว่าไม่ถูกต้อง
พนักงานตรวจแรงงานได้ออกคำเตือนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานให้บริษัทโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างจ่ายค่าชดเชยแก่ ฉ. ลูกจ้างโจทก์ คำเตือนนี้ไม่มีลักษณะเป็นคำวินิจฉัยชี้ขาดที่มีผลบังคับในกฎหมาย ทั้งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ก็มิได้ระบุกรณีฝ่าฝืนคำเตือนว่าเป็นผิดอาญา การออกคำเตือนจึงไม่ใช่การโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ และไม่ใช่กรณีที่จำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาลบริษัทโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้เพิกถอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1701/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: คำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานไม่ถือเป็นข้อพิพาทที่โจทก์มีอำนาจฟ้อง
การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานเห็นว่าโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างได้ฝ่าฝืนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานจึงให้คำเตือนแก่โจทก์โดยอาศัยอำนาจตามข้อ 77 แห่งประกาศดังกล่าวเช่นนี้ แม้จะได้พิจารณาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายแล้วก็ไม่ใช่เป็นกรณีที่จะถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ตามกฎหมายแพ่ง ดังที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 คำวินิจฉัยของกรมแรงงานจำเลยที่ 2 ก็ไม่มีผลบังคับเป็นพิเศษไปกว่าคำเตือนของจำเลยที่ 1โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 เช่นกันจำเลยไม่ยกขึ้นอ้างในคำแก้อุทธรณ์ ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 695/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำเตือนพนักงานตรวจแรงงานไม่ใช่คำวินิจฉัยชี้ขาด สิทธิหน้าที่ยังไม่เกิด โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอน
คำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานตามข้อ 77 ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานออกตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 103นายจ้างไม่ปฏิบัติตามก็ได้ ถ้าเห็นว่าไม่ถูกต้อง ไม่มีโทษตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 8 ซึ่งเป็นเรื่องไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของกระทรวงมหาดไทยออกตามข้อ 2 ไม่ใช่ไม่ปฏิบัติตามคำเตือนอย่างคดีนี้ โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำเตือนไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1311/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานกรณีค่าชดเชย ไม่สร้างผลผูกพันทางกฎหมาย นายจ้างไม่มีอำนาจฟ้อง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 77ให้อำนาจพนักงานตรวจแรงงานที่จะให้คำเตือนเพื่อให้นายจ้างปฏิบัติการให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด ในกรณีที่เห็นว่านายจ้างฝ่าฝืนประกาศกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง คำเตือนดังกล่าวมีลักษณะเป็นการไกล่เกลี่ยเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง มิใช่คำวินิจฉัยชี้ขาด ว่านายจ้างฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดคุ้มครองแรงงาน และไม่มีผลบังคับให้นายจ้างต้องปฏิบัติตาม จึงไม่เป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของนายจ้างตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 นายจ้างไม่มีอำนาจฟ้องพนักงานตรวจแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 60/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำเตือนพนักงานตรวจแรงงานไม่ใช่ข้อบังคับและไม่สร้างความผิดให้นายจ้าง นายจ้างมีสิทธิฟ้องเพิกถอนคำเตือน
คำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน วันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 77 ให้จ่ายเงินชดเชยแก่ลูกจ้าง มิใช่บทบังคับให้นายจ้างต้องปฏิบัติตาม มิใช่เป็นองค์ประกอบความผิดของนายจ้าง ซึ่งนายจ้างมีอยู่ก่อนคำเตือนแล้วไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิที่นายจ้างจะฟ้องอธิบดีกรมแรงงานและพนักงานตรวจแรงงานที่จะฟ้องให้เพิกถอนคำเตือน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1649/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำเตือนพนักงานตรวจแรงงานไม่ใช่คำชี้ขาด ไม่ผูกมัดนายจ้าง
คำเตือนของพนักงานตรวจแรงงาน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยข้อ 77 มิใช่คำชี้ขาด แต่เป็นคำชี้แจงให้นายจ้างทราบว่าฝ่าฝืนประกาศและควรปฏิบัติอย่างไร ไม่มีผลในกฎหมายให้นายจ้างต้องปฏิบัติ ไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของนายจ้างที่จะฟ้องให้เพิกถอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2428/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีขับไล่ของผู้ทรงสิทธิเก็บกิน และผลของการไม่ได้แจ้งคำเตือนก่อนฟ้อง
แม้ที่ดินที่อยู่ในบังคับสิทธิเก็บกินจะเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เยาว์แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1417 วรรคสองบัญญัติให้ผู้ทรงสิทธิเก็บกินมีอำนาจจัดการทรัพย์สิน และการฟ้องขับไล่ออกจากที่ดินและบ้านพิพาทที่อยู่ในบังคับสิทธิเก็บกินก็เป็นการจัดการทรัพย์สินอย่างหนึ่ง ดังนี้ ผู้ทรงสิทธิเก็บกินจึงมีอำนาจฟ้องขับไล่ได้เองโดยมิต้องได้รับอนุญาตจากศาลคดีเด็กเยาวชนเสียก่อน
โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิเก็บกินในขณะยื่นฟ้องย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งเป็นเพียงผู้อาศัยได้ แม้โจทก์จะมิได้มีคำบอกกล่าวให้คำเตือนแก่จำเลยก่อนยื่นฟ้องก็ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์ต้องเสียไปแต่อย่างใด
โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิเก็บกินในขณะยื่นฟ้องย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งเป็นเพียงผู้อาศัยได้ แม้โจทก์จะมิได้มีคำบอกกล่าวให้คำเตือนแก่จำเลยก่อนยื่นฟ้องก็ไม่ทำให้ฟ้องของโจทก์ต้องเสียไปแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9774/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากกระทำผิดซ้ำคำเตือน ขัดคำสั่งนายจ้าง และการพิจารณาเหตุผลในการเลิกจ้าง
เหตุที่โจทก์ยกขึ้นเป็นข้อเลิกจ้าง ข. ลูกจ้างเพราะกระทำผิดซ้ำคำเตือนในข้อขัดคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่ได้เตือนเป็นหนังสือแล้ว การเตือนในครั้งแรกตามหนังสือเตือน ลงวันที่ 8 มิถุนายน 2553 เป็นการเตือนเนื่องจาก ข. ขัดคำสั่งและโต้เถียงผู้บังคับบัญชาระดับสูงอันเป็นผลมาจากการที่ ข. ถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมในฐานดื่มสุราขณะขับขี่ยานพาหนะและไม่สามารถมาปฏิบัติงานได้ แต่ในการกระทำผิดครั้งหลังเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2553 เป็นเรื่อง ข. ไม่ไปตรวจสอบสถานที่ตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาแล้วทำรายงานเท็จเสนอต่อโจทก์ว่าตรวจสอบแล้ว ซึ่งเป็นคนละกรณีกันไม่ถือว่าเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือน อันจะมีผลให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (4)
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าการที่ ข. ไม่ไปตรวจสถานที่ตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาและทำรายงานเท็จต่อโจทก์เป็นการกระทำผิดกรณีร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือนนั้น ไม่ใช่เหตุที่โจทก์อ้างในการเลิกจ้าง ข. ตามหนังสือเลิกจ้าง โจทก์จึงไม่สามารถยกขึ้นอ้างในการเลิกจ้าง ข. โดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 119 วรรคท้าย
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าการที่ ข. ไม่ไปตรวจสถานที่ตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาและทำรายงานเท็จต่อโจทก์เป็นการกระทำผิดกรณีร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือนนั้น ไม่ใช่เหตุที่โจทก์อ้างในการเลิกจ้าง ข. ตามหนังสือเลิกจ้าง โจทก์จึงไม่สามารถยกขึ้นอ้างในการเลิกจ้าง ข. โดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 119 วรรคท้าย