คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ถอนฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 516 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3443/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีแพ่ง: ศาลต้องพิจารณาแยกส่วนจำเลยที่ยื่นคำให้การแล้ว กับจำเลยที่ยังไม่ได้ยื่น
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2) ไม่ได้หมายความว่า เมื่อศาลกำหนดระยะเวลาให้โจทก์ดำเนินคดีในเรื่องใดแล้ว โจทก์เพิกเฉยจะเป็นกรณีทิ้งฟ้องเสมอไป จะต้องพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป การที่โจทก์ไม่มาศาลในวันชี้สองสถานหรือวันสืบพยานไม่ว่าจะเป็นของฝ่ายใดก็ตาม แม้โจทก์จะเพิกเฉย ก็ไม่ใช่กรณีที่ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง ศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาตามที่กฎหมายในเรื่องดังกล่าวบัญญัติไว้ต่อไป
การยื่นคำร้องขอถอนฟ้องเป็นสิทธิของโจทก์ เพียงแต่ถ้าจำเลยยื่นคำให้การแล้วประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 วรรคสอง (1) ห้ามมิให้ศาลอนุญาตโดยมิได้ฟังจำเลยก่อน ดังนั้น การที่โจทก์ไม่ดำเนินการส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอถอนฟ้องให้จำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นไม่อาจสอบถามจำเลยที่ 1 ได้นั้น ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะยกคำร้องขอถอนฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เสียได้แต่จะยกคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ไม่ได้ เพราะมาตรา 175 วรรคหนึ่ง บัญญัติชัดว่าถ้าเป็นการถอนฟ้องก่อนจำเลยยื่นคำให้การ โจทก์อาจถอนคำฟ้องโดยยื่นคำบอกกล่าวเป็นหนังสือต่อศาลฉะนั้น คำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นต้องสั่งอนุญาตเพราะเป็นคนละส่วนกับจำเลยที่ 1 ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งยกคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์เสียทั้งหมดและสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์เพราะเหตุทิ้งฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3443/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องและการทิ้งฟ้อง: ศาลต้องพิจารณาเป็นรายกรณี และให้โอกาสจำเลยคัดค้านก่อน
เมื่อศาลกำหนดระยะเวลาให้โจทก์ดำเนินคดีในเรื่องใดแล้ว โจทก์เพิกเฉย มิได้หมายความว่า จะเป็นกรณีทิ้งฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2) เสมอไป เช่น โจทก์ไม่มาศาลในวันชี้สองสถานหรือวันสืบพยานไม่ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง และศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาตามที่กฎหมายในเรื่องดังกล่าวบัญญัติไว้ต่อไป
การยื่นคำร้องขอถอนฟ้องเป็นสิทธิของโจทก์เพียงแต่ถ้าจำเลยยื่นคำให้การแล้วห้ามมิให้ศาลอนุญาตโดยมิได้ฟังจำเลยก่อน ตามมาตรา 175 วรรคสอง (1) ดังนั้น การที่โจทก์ไม่ดำเนินการส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอถอนฟ้องให้จำเลยที่ 1 ศาลก็ชอบที่จะยกคำร้องขอถอนฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เสียได้ ส่วนคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นต้องสั่งอนุญาตเพราะเป็นคนละส่วนกับจำเลยที่ 1 ดังนั้นศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจที่จะสั่งยกคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์เสียทั้งหมดและสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์เพราะเหตุทิ้งฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3443/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องก่อน-หลังยื่นคำให้การ และอำนาจศาลในการยกคำร้อง/จำหน่ายคดี
การยื่นคำร้องขอถอนฟ้องเป็นสิทธิของโจทก์ เพียงแต่ถ้าจำเลยยื่นคำให้การแล้วประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 วรรคสอง(1) ห้ามมิให้ศาลอนุญาตโดยมิได้ฟังจำเลยก่อน การที่โจทก์ไม่ดำเนินการส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอถอนฟ้องให้จำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้ศาลไม่อาจสอบถามจำเลยที่ 1 ซึ่งได้ยื่นคำให้การแล้วได้นั้น ศาลก็ชอบที่จะยกคำร้องขอถอนฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เสียได้ แต่จะยกคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งยังไม่ได้ยื่นคำให้การไม่ได้เพราะมาตรา 175 วรรคหนึ่งได้บัญญัติไว้ว่า ถ้าเป็นการถอนฟ้องก่อนจำเลยยื่นคำให้การ โจทก์อาจถอนคำฟ้องโดยยื่นเป็นคำบอกกล่าวเป็นหนังสือต่อศาล ดังนั้น คำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นต้องสั่งอนุญาตเพราะเป็นคนละส่วนกับจำเลยที่ 1 ศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจที่จะสั่งยกคำร้องขอถอนฟ้องของโจทก์เสียทั้งหมดและสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์เพราะเหตุทิ้งฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1020/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีแพ่ง: ศาลมีดุลพินิจอนุญาตได้หากไม่ทำให้คู่ความเสียเปรียบ
การยื่นคำร้องขอถอนฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175วรรคสอง มิได้ระบุให้โจทก์ต้องแสดงเหตุผลในการถอนฟ้องให้จำเลยทราบแต่อย่างใดเพียงแต่กฎหมายห้ามไม่ให้ศาลอนุญาตโดยมิได้ฟังจำเลยก่อนเท่านั้น ส่วนที่จำเลยอ้างว่าศาลอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจะทำให้ตนเสียเปรียบในการต่อสู้คดีนั้น ก็ปรากฏว่าคดียังไม่มีการนำพยานทั้งของโจทก์และจำเลยเข้าสืบ ฉะนั้น หากจำเลยมิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา การที่โจทก์ขอถอนฟ้องก็มิได้ทำให้โจทก์ได้เปรียบหรือทำให้จำเลยเสียเปรียบในเชิงคดีแต่อย่างใด จึงเห็นควรอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9195/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการจ่ายเงินวางศาลคืนให้ผู้ฟ้อง เมื่อศาลสั่งจำหน่ายคดีเนื่องจากถอนฟ้อง ตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน
ตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 มาตรา 53 วรรคสาม ศาลจะมีอำนาจจ่ายเงินที่ผู้นำคดีไปสู่ศาลวางไว้ต่อศาลให้แก่สำนักงานประกันสังคม เพื่อให้สำนักงาน ฯ จ่ายเงินทดแทนดังกล่าวแก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 ต่อไปได้ก็เฉพาะแต่ในกรณีที่คดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาให้ผู้นำคดีไปสู่ศาลจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 เท่านั้น แต่กรณีคดีถึงที่สุดโดยศาลแรงงานมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ขอถอนฟ้อง ศาลแรงงานจึงไม่มีอำนาจจ่ายเงินที่โจทก์วางไว้ต่อศาลแก่สำนักงาน ฯ เพื่อให้สำนักงาน ฯ จ่ายเงินดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างต่อไปได้ ชอบที่จะคืนให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9195/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลจ่ายเงินทดแทนเมื่อถอนฟ้อง: ศาลไม่มีอำนาจจ่ายเงินให้ลูกจ้าง ต้องคืนให้ผู้วางเงิน
ตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 53 วรรคสามศาลจะมีอำนาจจ่ายเงินที่ผู้นำคดีไปสู่ศาลวางไว้ต่อศาลให้แก่สำนักงานเพื่อให้สำนักงานจ่ายเงินทดแทนดังกล่าวแก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 ต่อไปได้ก็เฉพาะแต่ในกรณีที่คดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาให้ผู้นำคดีไปสู่ศาลจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 เท่านั้น ดังนั้น เมื่อคดีถึงที่สุดโดยศาลแรงงานกลางมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ขอถอนฟ้อง ศาลแรงงานกลางจึงไม่มีอำนาจจ่ายเงินที่โจทก์วางไว้ต่อศาลแก่สำนักงานเพื่อให้สำนักงานจ่ายให้แก่ ช. ลูกจ้างต่อไปได้ ชอบที่จะคืนให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8804/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีอาญาและการระบุประเด็นข้อกฎหมายที่เกินกำหนดอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง หากโจทก์เห็นว่าคำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ชอบจะอุทธรณ์ได้ภายใน 1 เดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำสั่งให้โจทก์ฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 วรรคหนึ่งเมื่อโจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจนพ้นกำหนด 1 เดือน ย่อมต้องถือว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้นั้นเป็นอันยุติแล้ว โจทก์อุทธรณ์ฎีกาในปัญหาดังกล่าวต่อไปไม่ได้ ที่โจทก์ยื่นคำร้องครั้งหลังอ้างว่ามีเหตุสงสัยในคำสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้อง ขอให้เพิกถอนคำสั่ง เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คดีถึงที่สุดและคำสั่งชอบแล้ว ไม่มีเหตุเพิกถอนคำสั่งโจทก์ก็ยื่นอุทธรณ์คำสั่งนั้นเห็นได้ว่าไม่ใช่เหตุตามกฎหมายแต่เป็นการพยายามเชื่อมโยงเหตุการณ์เพื่อให้กลับไปสู่การวินิจฉัยเรื่องถอนฟ้องซึ่งยุติไปแล้ว เท่ากับเป็นการหลีกเลี่ยงให้โจทก์สามารถอุทธรณ์ได้แม้จะพ้นกำหนดเวลาอันเป็นการไม่ถูกต้องการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ให้โจทก์เป็นการไม่ชอบและถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ฎีกาต่อไปได้ ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ไว้ไม่ชอบเช่นกัน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8463/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรมต่างกันในคดีพรากเด็กและกระทำอนาจาร ศาลพิจารณาความผิดฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารที่ผู้เสียหายถอนฟ้อง
ปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยที่ว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกันนั้น โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดหลายกรรม จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง และต่อมาอุทธรณ์เพียงขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษ ฎีกาข้อนี้ของจำเลยจึงมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างทั้งสองแต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยจึงมีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้
ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากมารดาเพื่อการอนาจารสำเร็จตั้งแต่จำเลยเริ่มพรากเด็กไปโดยมีเจตนาดังกล่าว และเป็นเจตนาที่กระทำต่อผู้เสียหายซึ่งเป็นมารดาเด็ก ส่วนการที่จำเลยได้กระทำอนาจารแก่เด็กโดยใช้กำลังประทุษร้ายตบตีและขู่เข็ญว่าจะฆ่าเด็กหากขัดขืนมิให้จำเลยกระทำอนาจาร ย่อมเป็นความผิดสำเร็จฐานกระทำอนาจารและพาเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเพื่อการอนาจารอีกกรรมหนึ่ง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
ความผิดฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคแรก เป็นความผิดอันยอมความได้ และก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาผู้เสียหายได้ยื่นคำร้องและเบิกความว่าผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความกับจำเลยต่อไปอีก เนื่องจากฝ่ายจำเลยได้จ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้แก่ผู้เสียหายจนเป็นที่พอใจของฝ่ายผู้เสียหายแล้ว คำร้องและคำเบิกความของผู้เสียหายพอแปลได้ว่าผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์แล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องสำหรับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคแรก จึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7321/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว และการพิพากษาเกินคำขอ/ข้อเท็จจริงไม่ตรงตามฟ้อง
คดีอาญาที่เป็นความผิดต่อส่วนตัว โจทก์จะถอนฟ้องในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่คัดค้านจึงอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 2 ได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
การที่ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ยักยอกทรัพย์ของโจทก์ไปเพียง 200,000 บาท มิใช่จำนวน 325,000 บาท ตามที่โจทก์ฟ้อง เป็นเพียงข้อแตกต่างกันในรายละเอียดของทรัพย์ที่ถูกจำเลยที่ 1 ยักยอก มิใช่การ แตกต่างกันในข้อเท็จจริงอันจะทำให้การกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิด ทั้งจำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธต่อสู้คดี โดยตลอดมิได้หลงต่อสู้คดีแต่อย่างใด ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับ ข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญและไม่ใช่กรณีที่ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานยักยอก เกินคำขอแต่อย่างใด
เมื่อโจทก์ประกอบกิจการขายรถยนต์โดยมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการสาขา ดำเนินการติดต่อลูกค้าแทนโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 ครอบครองเงินที่นาย อ. ลูกค้าชำระให้โจทก์แล้วไม่ส่งมอบให้โจทก์ตามหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็น การกระทำความผิดหน้าที่ของตนด้วยประการใด ๆ โดยทุจริตเบียดบังเอาทรัพย์นั้นไว้เป็นของตน จำเลยที่ 1 จึงมี ความผิดฐานยักยอก แต่การทำสัญญาซื้อขายและการชำระราคารถยนต์เป็นเรื่องความไว้วางใจกันระหว่างโจทก์กับ ลูกค้าเป็นการเฉพาะราย มิใช่กับประชาชนทั่วไป การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ตามมาตรา 354 คงมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ตามมาตรา 352 เพียงมาตราเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7241/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนตัวจากการเป็นโจทก์ร่วมมีผลเป็นการถอนฟ้องเสร็จเด็ดขาด สิทธิการอุทธรณ์จึงระงับ
การที่โจทก์ร่วมขอถอนตัวจากการเป็นโจทก์ร่วม โดยระบุว่ามีความเห็นหลายอย่างไม่ตรงกับความเห็นของโจทก์ หากโจทก์ร่วมดำเนินคดีนี้ต่อไปอีกอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่รูปคดีของโจทก์ การขอถอนตัวจากการเป็นโจทก์ร่วมดังกล่าวไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมจะไปดำเนินการอะไรอีก ถือได้ว่าโจทก์ร่วมไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไป มีผลเท่ากับเป็นการถอนฟ้องในส่วนของโจทก์ร่วมเสร็จเด็ดขาดแล้ว โจทก์ร่วมจะไปขอเข้าร่วมเป็นโจทก์อีกไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 36
of 52