พบผลลัพธ์ทั้งหมด 62 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1664-1665/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดิน: การครอบครองแทนเจ้าของไม่ทำให้ได้กรรมสิทธิ์ทางปรปักษ์ หากไม่ได้แจ้งเปลี่ยนเจตนา
ฉ. เข้าครอบครองที่ดินจัดหาผลประโยชน์แทนจำเลยที่ 2 หาใช่จัดทำในฐานะตนเองเป็นเจ้าของไม่ แม้จะนานสักปานใดก็ตาม หาทำให้ได้กรรมสิทธิ์ทางปรปักษ์ไม่เว้นแต่จะได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ โดยบอกกล่าวไปยังเจ้าของว่าไม่มีเจตนายึดถือทรัพย์แทนเจ้าของต่อไป
เมื่อที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 ฉ. ย่อมไม่มีสิทธิที่จะยกที่ดินพิพาทซึ่งไม่ใช่ของตนให้แก่ผู้อื่น
เมื่อที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 ฉ. ย่อมไม่มีสิทธิที่จะยกที่ดินพิพาทซึ่งไม่ใช่ของตนให้แก่ผู้อื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1682/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความต้องเกิดจากการใช้สิทธิโดยปรปักษ์หลังการแบ่งแยกที่ดิน การเรียกร้องทางเดินต้องเป็นที่ดินเดิมที่แบ่งแยก
เมื่อก่อนแยกโฉนดที่ดินกัน ที่ดินโฉนดที่ 7371 ของจำเลยกับโฉนดที่ 7372 ของโจทก์ และที่ดินโฉนดอื่น ๆ รวมอยู่ในที่ดินโฉนดที่ 3604 ซึ่งเดิมเป็นของโจทก์กับบุคคลอื่น ดังนั้น แม้โจทก์จะได้เดินในที่ดินซึ่งภายหลังออกเป็นโฉนดที่ 7371 มานานเท่าใด ก็เป็นการใช้สิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์ มิใช่เป็นการใช้โดยปรปักษ์อันจะทำให้เกิดภารจำยอมโดยอายุความ
ที่ของโจทก์ตกอยู่ในที่ล้อมโดยรอบ มีความจำเป็นจะต้องมีทางออกสู่ทางสาธารณะ แต่ที่โจทก์เป็นที่ที่แบ่งแยกออกมาจากที่ดินโฉนดที่ 3604 โจทก์มีสิทธิจะเรียกร้องเอาทางเดินจากที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยก จะเอาทางเดินจากที่ดินแปลงอื่นหาได้ไม่
ที่ของโจทก์ตกอยู่ในที่ล้อมโดยรอบ มีความจำเป็นจะต้องมีทางออกสู่ทางสาธารณะ แต่ที่โจทก์เป็นที่ที่แบ่งแยกออกมาจากที่ดินโฉนดที่ 3604 โจทก์มีสิทธิจะเรียกร้องเอาทางเดินจากที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยก จะเอาทางเดินจากที่ดินแปลงอื่นหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 790/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการหมดสิทธิเรียกร้องคืนการครอบครองภายใน 1 ปี
การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินมือเปล่าอันต้องฟ้องภายในปีหนึ่งนับแต่ถูกอย่งการครอบครองนั้น เมื่อไม่ได้ฟ้องภายในกำหนดก็ย่อมหมดสิทธิที่จะเอาคืนซึ่งการครอบครองที่หลุดมือไปแล้วทันที
คดีที่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้แย่งการครอบครองไปจากโจทก์เกินกว่า 1 ปีแล้ว แม้จำเลยจะมิได้ยกมาตรา 1375 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ขี้นต่อสู้ ศาลก็ย่อมจะพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์เสียได้.
คดีที่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้แย่งการครอบครองไปจากโจทก์เกินกว่า 1 ปีแล้ว แม้จำเลยจะมิได้ยกมาตรา 1375 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ขี้นต่อสู้ ศาลก็ย่อมจะพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์เสียได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 217/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ทางเดินโดยถือวิสาสะ ไม่ถือเป็นการใช้สิทธิโดยปรปักษ์ ไม่เกิดภาระจำยอม
คำว่า วิสาสะ พจนานุกรมวิเคราะห์ศัพท์ว่า ความคุ้นเคย สนิทสนม การถือว่าเป็นกันเอง
เมื่อข้อเท็จจริงฟังโจทก์ได้ถือวิสาสะใช้ทางเดินผ่านที่จำเลยทางพิพาทก็ไม่ตกเป็นภาระจำยอมตามกฎหมาย
เมื่อข้อเท็จจริงฟังโจทก์ได้ถือวิสาสะใช้ทางเดินผ่านที่จำเลยทางพิพาทก็ไม่ตกเป็นภาระจำยอมตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 217/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ทางเดินโดยถือวิสาสะไม่ถือเป็นการได้สิทธิภารยทรัพย์โดยการครอบครองปรปักษ์
คำว่าวิสาสะพจนานุกรมวิเคราะห์ศัพท์ว่าความคุ้นเคยสนิทสนมการถือว่าเป็นกันเอง
เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่าโจทก์ได้ถือวิสาสะใช้ทางเดินผ่านที่จำเลยทางพิพาทก็ไม่ตกเป็นภาระจำยอมตามกฎหมาย
เมื่อข้อเท็จจริงฟังว่าโจทก์ได้ถือวิสาสะใช้ทางเดินผ่านที่จำเลยทางพิพาทก็ไม่ตกเป็นภาระจำยอมตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1537/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว การครอบครองปรปักษ์ และอำนาจฟ้องคดีขับไล่
สามีเช่าเคหะ เมื่อสามีตาย ภริยาซึ่งอยู่ร่วมกันเช่าเป็นเคหะต่อไปดังนี้ เมื่อบุตรเลี้ยงซึ่งเป็นผู้อาศัยแสดงตนเป็นปฏิปักษ์ต่อการครอบครองเคหะภริยาหรือมารดาเลี้ยงนั้นฟ้องขับไล่ได้
ข้ออ้างที่ว่าโจทก์มิได้บอกกล่าวเลิกสิทธิอาศัยก่อนฟ้องจึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลยมิได้อ้างไว้ในศาลชั้นต้น จึงมาอ้างในชั้นอุทธรณ์ไม่ได้
สิทธิการเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว เมื่อผู้เช่าตายก็ย่อมระงับไป ไม่เป็นมรดกตกทอดไปยังทายาท
ข้ออ้างที่ว่าโจทก์มิได้บอกกล่าวเลิกสิทธิอาศัยก่อนฟ้องจึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลยมิได้อ้างไว้ในศาลชั้นต้น จึงมาอ้างในชั้นอุทธรณ์ไม่ได้
สิทธิการเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว เมื่อผู้เช่าตายก็ย่อมระงับไป ไม่เป็นมรดกตกทอดไปยังทายาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองปรปักษ์และการสละมรดก: การนำสืบพยานบุคคล
เมื่อปรากฏว่าฟ้องของโจทก์ไม่ได้อ้างสิทธิเฉพาะการสละมรดกของจำเลยเท่านั้น แต่โจทก์ยังยืนยันสิทธิครอบครองที่ดินรายพิพาทซึ่งไม่มีหนังสือสำคัญมาฝ่ายเดียวถึง 7 ปี เศษ ดังนี้เรื่องการสละมรดกจึงเป็นแต่เหตุประการหนึ่งที่แสดงว่าจำเลยตกลงใจสละให้แล้ว จึงได้ไม่เข้ามาเกี่ยวข้อง ฉนั้นโจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบพยานบุคคลได้ หาเป็นการต้องห้ามที่จะไม่ให้รับฟังพยานบุคคลตาม ป.พ.พ. ม.1612 ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 195/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ แม้ชื่อในโฉนดไม่ตรงกับผู้ครอบครอง
เจ้าของที่ดินหลายคนสมยอมลงชื่อภรรยาผู้ใหญ่บ้านในหน้าโฉนดแต่ผู้เดียวโดยประสงค์จะให้เสียค่าธรรมเนียมน้อยและสดวก แต่ก่อนหรือหลังออกโฉนดตลอดมาแต่ละเจ้าของก็ได้ครอบครองเป็นสัดส่วนโดยสงบเปิดเผยติดต่อกันเกิน 10 ปีดังนี้เจ้าของนั้นมีกรรมสิทธิ์++แม้ภรรยาผู้ใหญ่บ้านจะมีชื่อในหน้าโฉนดแต่ผู้เดียวก็หาได้กรรมสิทธิทั้งหมดไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1211/2498 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: การกระทำที่มิถึงขนาดเป็นการครอบครองตามกฎหมาย
เข้าไปตัดไม้แสมเอาไปทำฟืนกับให้ผู้อื่นไปตัดเอามาใช้บ้างและทำคันหวงกันป่าแสมไว้ด้านหนึ่งนั้นยังถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้อำนาจครอบครอง ตาม ก.ม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 662/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ธรณีสงฆ์: การครอบครองปรปักษ์ใช้ไม่ได้ แม้ระยะเวลานาน
ที่ธรณีสงฆ์นั้นแม้ผู้ใดจะครอบครองมาช้านานเพียงใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิหรือสิทธิครอบครอง ทั้งนี้ก็เพราะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นแนวเดียวกันตามนัยที่ว่านี้มาแต่เดิม คือ พ.ร.บ.ลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.121 ม.7 ความว่า " ที่วัดก็ดีที่ธรณีสงฆ์ก็ดีเป็นสมบัติทางศาสนาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นอัครศาสนูปถัมภก ทางปกครองรักษาโดยพระบรมราชานุภาพ ผู้ใดผู้หนึ่งจะโอนกรรมสิทธิที่นั้นไปไม่ได้ " แม้กฎหมายมาตรานี้จะได้ถูกแก้ไขโดย พ.ร.บ.ลักษณปกครองคณะสงฆ์แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2477 ให้มีการโอนกรรมสิทธิที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์ได้โดยอำนาจแห่งกฎหมายเฉพาะ และแม้ พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2484 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันจะมีความในมาตรา 41 ว่า " ที่วัดและที่ธรณีสงฆ์จะโอนกรรมสิทธิได้แต่โดยพระราชบัญญัติ " หลักการในเรื่องสิทธิของบุคคลเกี่ยวกันที่วัดก็คงเป็นไปเช่นเดิม คือบุคคลจะอ้างเอาที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์เป็นกรรมสิทธิของตนโดยอาศัยอำนาจปกครองโดยปรปักษ์หรือโดยอายุความไม่ได้ ทั้งนี้เป็นคนละเรื่องกันปัญหาข้อเท็จจริงที่ว่าที่แปลงใดเป็นที่วัดได้ประกอบกับพฤติการณ์แวดล้อมเป็นสำคัญ ถึงโจทก์สืบไม่ได้ความชัดว่าโจทก์ได้ที่พิพาทมาอย่างไร เพียงแต่นำสืบว่าเป็นที่ของวัดก็เพียงพอแล้วตามนัยแห่งคำพิพากษาฎีกาที่ 948/2474 ระหว่างพระยาเพ็ชร์พิสัยศรีสวัสดิ์โจทก์ นายกบ นางเฮือน จำเลย กลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นไล่จำเลยออกจากที่พิพาท เพิกถอนโฉนดที่ 5140 เฉพาะตอนที่ทับที่พิพาท
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาเห็นฟ้องกับศาลอุทธรณ์ในข้อกฎหมายในเบื้องต้นว่าที่ธรณีสงฆ์นั้นถึงแม้ผู้ใดจะครอบครองมาช้านานเพียงใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิหรือสิทธิครอบครอง ทั้งนี้ก็เพราะมีตัวบทกฎหมายบัญญัติไว้เป็นแนวเดียวกันตามนัยที่ว่านี้มาแต่เดิม คือพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 มาตรา 7 ความว่า " ที่วัดก็ดี ที่ธรณีสงฆ์ก็ดี เป็นสมบัติสำหรับทางศาสนาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้เป็นอัครศาสนูปถัมภก ทรงปกครองรักษาโดยพระบรมราชานุภาพ ผู้ใดผู้หนึ่งจะโอนกรรมสิทธิที่นั้นไปไม่ได้ " แม้กฎหมายมาตรานี้จะได้ถูกแก้ไขโดยพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2477 ให้มีการโอนกรรมสิทธิที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์ได้โดยอำนาจแห่งกฎหมายเฉพาะ และแม้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2484 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันจะมีความนมาตรา 41 ว่า " ที่วัดและที่ธรณีสงฆ์จะโอนกรรมสิทธิได้แต่โดยพระราชบัญญัติ หลักการในเรื่องสิทธิของบุคคลเกี่ยวกับที่วัดก็คงเป็นไปเช่นเดิมคือบุคคลจะอ้างเอาที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์เป็นกรรมสิทธิของตนโดยอาศัยอำนาจปกครองโดยปรปักษ์หรือโดยอาศัยอายุความไม่ได้ ทั้งนี้เป็นคนละเรื่องกับปัญหาข้อเท็จจริงที่ว่า ที่แปลงหนึ่งๆ เป็นที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์หรือมิใช่ คดีนี้พิพาทกันในปัญหาข้อเท็จจริง คือโจทก์ว่าที่พิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ การที่จำเลยไปขอรังวัดออกโฉนดทับที่พิพาทนี้จึงเป็นการไม่ชอบ จำเลยว่าที่พิพาทไม่ใช่ที่ธรณณีสงฆ์
ศาลฎีกาเห็นว่าข้อนำสืบของโจทก์เลื่อนลอย ฟังไม่ได้ว่าที่พิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ ณ เวลาใดๆ จำเลยสืบได้ชัดว่าเป็นที่ของนางคำแม่ยายจำเลยและพวกจำเลยได้ปกครองติดต่อกันมาเป็นเวลาหลายสิบปี โดยมิได้เสียค่าเช่าให้แก่ผู้ใด จำเลยจึงมีสิทธิครอบครองดีกว่าบุคคลอื่น ๆ เมื่อจำเลยไปร้องขอให้เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนด เจ้าพนักงานได้ไต่สวนแล้วได้ความว่าเป็นที่ว่างเปล่า แม้ศึกษาธิการจังหวัดจะคัดค้านแทนวัดดาวเรื่องเจ้าพนักงานที่ดินก็เห็นว่าหลักฐานทางวัดสู้ทางจำเลยไม่ได้ เจ้าพนักงานที่ดินจึงได้ออกโฉนดสำหรับที่รายพิพาทให้จำเลยรวมไปกับที่ดินซึ่งจำเลยซื้อนายเบิ้ม คำพิพากษาฎีกาที่ 984/2474 ที่ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นอ้าง ข้อเท็จจริงไม่ตรงกับคดีนี้ คดีนั้นศาลเชื่อว่าที่ที่พิพาทกันเป็นที่ธรณีสงฆ์มาแต่เดิม คดีนี้ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าที่รายพิพาทเคยเป็นที่ธรณีสงฆ์ พิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ยืนตามศาลชั้นต้น
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาเห็นฟ้องกับศาลอุทธรณ์ในข้อกฎหมายในเบื้องต้นว่าที่ธรณีสงฆ์นั้นถึงแม้ผู้ใดจะครอบครองมาช้านานเพียงใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิหรือสิทธิครอบครอง ทั้งนี้ก็เพราะมีตัวบทกฎหมายบัญญัติไว้เป็นแนวเดียวกันตามนัยที่ว่านี้มาแต่เดิม คือพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 มาตรา 7 ความว่า " ที่วัดก็ดี ที่ธรณีสงฆ์ก็ดี เป็นสมบัติสำหรับทางศาสนาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้เป็นอัครศาสนูปถัมภก ทรงปกครองรักษาโดยพระบรมราชานุภาพ ผู้ใดผู้หนึ่งจะโอนกรรมสิทธิที่นั้นไปไม่ได้ " แม้กฎหมายมาตรานี้จะได้ถูกแก้ไขโดยพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2477 ให้มีการโอนกรรมสิทธิที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์ได้โดยอำนาจแห่งกฎหมายเฉพาะ และแม้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2484 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันจะมีความนมาตรา 41 ว่า " ที่วัดและที่ธรณีสงฆ์จะโอนกรรมสิทธิได้แต่โดยพระราชบัญญัติ หลักการในเรื่องสิทธิของบุคคลเกี่ยวกับที่วัดก็คงเป็นไปเช่นเดิมคือบุคคลจะอ้างเอาที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์เป็นกรรมสิทธิของตนโดยอาศัยอำนาจปกครองโดยปรปักษ์หรือโดยอาศัยอายุความไม่ได้ ทั้งนี้เป็นคนละเรื่องกับปัญหาข้อเท็จจริงที่ว่า ที่แปลงหนึ่งๆ เป็นที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์หรือมิใช่ คดีนี้พิพาทกันในปัญหาข้อเท็จจริง คือโจทก์ว่าที่พิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ การที่จำเลยไปขอรังวัดออกโฉนดทับที่พิพาทนี้จึงเป็นการไม่ชอบ จำเลยว่าที่พิพาทไม่ใช่ที่ธรณณีสงฆ์
ศาลฎีกาเห็นว่าข้อนำสืบของโจทก์เลื่อนลอย ฟังไม่ได้ว่าที่พิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ ณ เวลาใดๆ จำเลยสืบได้ชัดว่าเป็นที่ของนางคำแม่ยายจำเลยและพวกจำเลยได้ปกครองติดต่อกันมาเป็นเวลาหลายสิบปี โดยมิได้เสียค่าเช่าให้แก่ผู้ใด จำเลยจึงมีสิทธิครอบครองดีกว่าบุคคลอื่น ๆ เมื่อจำเลยไปร้องขอให้เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนด เจ้าพนักงานได้ไต่สวนแล้วได้ความว่าเป็นที่ว่างเปล่า แม้ศึกษาธิการจังหวัดจะคัดค้านแทนวัดดาวเรื่องเจ้าพนักงานที่ดินก็เห็นว่าหลักฐานทางวัดสู้ทางจำเลยไม่ได้ เจ้าพนักงานที่ดินจึงได้ออกโฉนดสำหรับที่รายพิพาทให้จำเลยรวมไปกับที่ดินซึ่งจำเลยซื้อนายเบิ้ม คำพิพากษาฎีกาที่ 984/2474 ที่ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นอ้าง ข้อเท็จจริงไม่ตรงกับคดีนี้ คดีนั้นศาลเชื่อว่าที่ที่พิพาทกันเป็นที่ธรณีสงฆ์มาแต่เดิม คดีนี้ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าที่รายพิพาทเคยเป็นที่ธรณีสงฆ์ พิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ยืนตามศาลชั้นต้น