พบผลลัพธ์ทั้งหมด 51 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3681/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายไม้แปรรูปโดยไม่ได้รับอนุญาตฝ่าฝืนข้อกำหนดควบคุมการแปรรูปไม้
ไม้ของกลางของ ท. ซึ่งเป็นไม้ที่ได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมายถูกส่งไปที่โรงงานของจำเลยซึ่งเป็นโรงงานแปรรูปไม้เพื่อทำเป็นเครื่องเรือนสำเร็จรูปตามคำสั่งของ ท. จำเลยทำไม้แล้วส่งต่อไปยังบริษัท ม. จำกัด เพื่อบรรจุหีบห่อเมื่อข้อเท็จจริงฟังว่าไม้ของกลางยังเป็นไม้แปรรูปไม่ใช่สิ่งประดิษฐ์ จำเลยส่งไม้ออกไปที่อื่นจึงเป็นการจำหน่ายหรือโอนออกไป เป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดฉบับที่ 6(พ.ศ.2520)ข้อ 15 ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484ว่าด้วยการควบคุมการแปรรูปไม้ อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช2484 มาตรา 58,73 ทวิ และความผิดดังกล่าวโจทก์ไม่ต้องบรรยายฟ้องว่าที่เกิดเหตุอยู่ในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ และเขตควบคุมสิ่งประดิษฐ์ เครื่องใช้หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่ทำด้วยไม้หวงห้ามตามมาตรา 47 และ53 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2839/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: ระยะเวลาคำตักเตือน, การฝ่าฝืนไม่ร้ายแรง, และผลกระทบต่อค่าชดเชย
ลูกจ้างเข้าทำงานกะบ่ายตั้งแต่เวลา 15 นาฬิกา ซึ่งจะ ต้องทำงานจนถึงเวลา23 นาฬิกาแต่เวลา22.55 นาฬิกา ลูกจ้างออกไปนอกบริษัทนายจ้างโดยไม่มีบัตรผ่าน และไม่ได้ขออนุญาตผู้บังคับบัญชาก่อนแล้วกลับเข้ามาปั๊มบัตรลงชื่อเลิกงานตามกะดังนี้ลูกจ้างไม่ทำงานให้นายจ้างเพียง 5นาที การปั๊มบัตรลงชื่อทำงานเต็มเวลา 8 ชั่วโมงนั้นเกิด โทษแก่บริษัทนายจ้างน้อยมากยังไม่พอถือว่าลูกจ้างทำการทุจริตต่อหน้าที่และยังไม่เป็นการกระทำผิดทางอาญาแก่นายจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 47(1) แม้ประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 47(3) มิได้กำหนดว่าคำตักเตือนเป็นหนังสือมีระยะเวลานานเท่าใดจึงจะหมดอายุหรือระยะเวลานานเท่าใดจึงจะเป็นระยะเวลาที่นานเกินสมควรที่ไม่สามารถนำมาเป็นเหตุในการเลิกจ้างโดยไม่ ต้องจ่ายค่าชดเชยแต่ก็ไม่หมายความว่า เมื่อนายจ้าง ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว คำตักเตือนนั้นจะมีผลอยู่ตลอดไปหากลูกจ้างรู้สำนึกตัวและปรับปรุงแก้ไขการทำงานการประพฤติ ตัวของตนแล้ว คำตักเตือนนั้นก็ควรสิ้นผลไปและการ พิจารณาว่าระยะเวลาคำตักเตือนเป็นหนังสือกับการฝ่าฝืน ข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างครั้งหลัง เป็นระยะเวลาเนิ่นนานหรือไม่เพียงใดนั้นจะต้องพิจารณาตามพฤติการณ์เป็นเรื่องๆ ไป โจทก์ออกไปนอกบริเวณโรงงานเพื่อซื้อก๋วยเตี๋ยวหน้าโรงงานเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2526 เป็นเวลา 10 นาทีและได้ รับคำเตือนเป็นหนังสือแล้วต่อมาโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับฯ อีก ในวันที่ 16 เมษายน 2527 โดยออกจากบริเวณโรงงานก่อนครบ กำหนดกะทำงาน 5 นาทีดังนี้เมื่อพิจารณาถึงเหตุที่ โจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับฯ ความเสียหายการงานของบริษัทจำเลยซึ่ง เป็นนายจ้างและระยะเวลาของคำตักเตือนเป็นหนังสือครั้งแรกกับการกระทำผิดครั้งนี้แล้วถือว่าคำตักเตือนนั้นมีอายุ เนิ่นนานเกินสมควรที่จะนำมาพิจารณาสำหรับการเลิกจ้างในการ ฝ่าฝืนข้อบังคับฯครั้งหลัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1283/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีต้องกระทำ ณ สถานการค้า การฝ่าฝืนถือเป็นเหตุไม่อาจอ้างเหตุสุดวิสัยได้
มาตรา 77 แห่งประมวลรัษฎากรบัญญัติว่า สถานการค้าหมายความว่าสถานที่ซึ่งผู้ประกอบการค้าใช้ประกอบการค้าเป็นประจำ และให้หมายความรวมถึงสถานที่ซึ่งใช้เป็นที่ทำการผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำด้วย โจทก์ประกอบการค้าและเก็บสินค้าไว้ที่สำนักงานห้างโจทก์ เพียงแต่เก็บบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ที่บ้านเลขที่ 137 เท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่าบ้านเลขที่ 137 เป็นสถานการค้าหรือส่วนหนึ่งของสถานการค้าของโจทก์
โจทก์มีหน้าที่ตามกฎหมายต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานการค้าของตน แต่กลับกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายโดยนำสมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไปเก็บไว้ที่อื่นอันมิใช่สถานการค้าของโจทก์ ต่อมาเกิดเพลิงไหม้สมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชี แม้โจทก์มิได้เป็นผู้กระทำก็ตาม โจทก์ย่อมอ้างเอาเหตุที่บัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีของโจทก์ถูกเพลิงไหม้อันสืบเนื่องมาจากที่โจทก์กระทำการฝ่าฝืนกฎหมายมาเป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจส่งบัญชีและเอกสารให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบตามหมายเรียกหาได้ไม่ (วรรคนี้วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2526)
โจทก์มีหน้าที่ตามกฎหมายต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานการค้าของตน แต่กลับกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายโดยนำสมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไปเก็บไว้ที่อื่นอันมิใช่สถานการค้าของโจทก์ ต่อมาเกิดเพลิงไหม้สมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชี แม้โจทก์มิได้เป็นผู้กระทำก็ตาม โจทก์ย่อมอ้างเอาเหตุที่บัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีของโจทก์ถูกเพลิงไหม้อันสืบเนื่องมาจากที่โจทก์กระทำการฝ่าฝืนกฎหมายมาเป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจส่งบัญชีและเอกสารให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบตามหมายเรียกหาได้ไม่ (วรรคนี้วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2526)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3696/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจนายจ้างออกระเบียบปฏิบัติงาน และสิทธิเลิกจ้างเมื่อลูกจ้างจงใจฝ่าฝืนโดยมีการตักเตือนแล้ว
นายจ้างมีอำนาจที่จะออกระเบียบกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในหน้าที่พนักงานขายของลูกจ้างเพื่อให้ผลงานของนายจ้างเจริญก้าวหน้าได้ ระเบียบเช่นนี้ไม่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหรือขัดแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งเป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของลูกจ้างโดยทั่วไป จึงเป็นระเบียบที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อลูกจ้างจงใจฝ่าฝืนและนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้วนายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2191/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์เพื่อบังคับคดี: การเพิกถอนการบังคับคดีต้องยื่นภายใน 8 วันนับแต่วันทราบการฝ่าฝืน
ปัญหาว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีจะยึดทรัพย์ได้หรือไม่นั้นแม้ทรัพย์สินในคดีที่พิพาทราคาไม่เกิน 50,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นก็ไม่ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
จำเลยอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 285 ต้องยื่นคำร้องให้เพิกถอนการบังคับนั้นไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันทราบการฝ่าฝืน
จำเลยอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 285 ต้องยื่นคำร้องให้เพิกถอนการบังคับนั้นไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันทราบการฝ่าฝืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 433/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรู้ประกาศเป็นองค์ความผิดฐานฝ่าฝืนประกาศห้ามขนย้ายข้าว โจทก์ต้องพิสูจน์จำเลยทราบประกาศ
การที่จะเอาความผิดแก่จำเลยในกรณีฝ่าฝืนประกาศของคณะกรรมการสำรวจและห้ามกักกันข้าวนั้น การที่จำเลยได้ทราบประกาศของคณะกรรมการดังกล่าวหรือไม่ ย่อมเป็นองค์ความผิดอยู่ด้วย โจทก์มีหน้าที่จะต้องสืบให้ได้ความว่าจำเลยได้ทราบประกาศนั้นแล้ว ลำพังแต่ได้ความว่าประกาศดังกล่าวได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วหาเพียงพอที่จะถือว่าได้รู้ถึงประชาชนแล้วไม่ เมื่อโจทก์นำสืบให้เห็นไม่ได้ว่าจำเลยได้ทราบประกาศแล้ว จำเลยจงใจฝ่าฝืน กรณีจึงไม่มีทางลงโทษจำเลย (อ้างฎีกาที่ 1176/2492)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2067/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายน้ำแข็งข้ามเขตจังหวัดและการตีความข้อหาฝ่าฝืนประกาศคณะกรรมการส่วนจังหวัด
ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยฝ่าฝืนประกาศของคณะกรรมการส่วนจังหวัดป้องกันการค้ากำไรเกินควรจังหวัดพระนคร-ธนบุรี โดยนำน้ำแข็งจากจังหวัดสมุทรสาครเข้ามาจำหน่ายในเขตจังหวัดพระนคร โดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานตามกฎหมาย เมื่อตามฟ้องบรรยายว่าเจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมทั้งน้ำแข็งของกลางที่เชิงสะพานบางไผ่ตำบลปากคลอง อำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี ย่อมแสดงว่าจำเลยยังไม่ทันนำน้ำแข็งเข้ามาในเขตจังหวัดพระนคร อันเป็นความผิดตามที่โจทก์กล่าวหา แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ จำเลยก็ไม่มีความผิดตามฟ้อง และปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาเลี่ยงคำบังคับศาล: การปิดเหมืองใหม่หลังเปิดตามคำสั่งเดิมถือเป็นการฝ่าฝืน
ศาลออกคำบังคับให้จำเลยเปิดเหมืองตรงที่ปิดไว้ให้เป็นไปตามสภาพเดิม การที่จำเลยเปิดเหมืองตามคำบังคับของศาลแล้วต่อมาเพียงเดือนเดียวกลับปิดเสียใหม่ในที่ห่างกันเพียงแขนเดียว ทำให้น้ำกลับท่วมเต็มดังเช่นเดิมอีก การกระทำของจำเลยเช่นนี้ย่อมส่อให้เห็นเจตนาว่าทำไปเพื่อเลี่ยงในการที่จะไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลนั้นเอง(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 14/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 294/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประมาทจากการฝ่าฝืนกฎจราจร: การตีความความประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา
การฝ่าฝืนกฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับรถยนต์และการจราจรโดยมิได้ตั้งใจ แม้ตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 43บัญญัติว่าเป็นประมาทก็ตาม แต่เมื่อประมวลกฎหมายอาญามาตรา 59 หาได้บัญญัติไว้เช่นนั้นไม่จึงถือไม่ได้ว่า การฝ่าฝืนกฎหมายและข้อบังคับดังกล่าวเป็นการกระทำโดยประมาทไปด้วยทั้งนี้โดยอาศัยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1204/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขต 'ท้องที่' ในประกาศควบคุมการค้า: การขนย้ายภายในอำเภอไม่ถือเป็นการฝ่าฝืน
คำว่า "ท้องที่" ในม.8 (6) หมายความถึงเขตท้องที่แห่งการปกครองอันได้แบ่งไว้แล้วอย่างแจ้งชัด เช่น จังหวัด, ตำบล, อำเภอ, หมู่บ้าน
เมื่อประกาศคณะกรรมการฯ ระบุห้ามการขนย้ายเพียงเขตอำเภอ แม้จำเลยขนย้ายข้ามเขตตำบล แต่อยู่ในอำเภอเดียวกัน ก็ไม่เป็นผิดตามประกาศฯ.
เมื่อประกาศคณะกรรมการฯ ระบุห้ามการขนย้ายเพียงเขตอำเภอ แม้จำเลยขนย้ายข้ามเขตตำบล แต่อยู่ในอำเภอเดียวกัน ก็ไม่เป็นผิดตามประกาศฯ.