คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พิจารณาคดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 477 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 945/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานและการพิจารณาคดีต่อเนื่อง ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกามีคำพิพากษายกคำสั่งงดสืบพยานและให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป
การขอเลื่อนคดีของโจทก์นัดแรกสืบเนื่องมาจากโจทก์ถูกกระทรวงการคลังเพิกถอนใบอนุญาตและปิดกิจการลง คณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินได้เข้ามาควบคุมกิจการของโจทก์ และเก็บเอกสารต่าง ๆ ไว้ ไม่สามารถจะนำมาสืบได้ ส่วนจำเลยขอเลื่อนคดีอ้างว่าทนายจำเลยติดว่าความคดีอื่น ส่วนการเลื่อนคดีครั้งที่สองก็สืบเนื่องมาจากโจทก์จำเลยขอเลื่อน อ้างว่าคดีมีทางตกลงกันได้ การเลื่อนคดีทั้งสองครั้งนั้นจำเลยก็ขอเลื่อนด้วยทุกครั้ง ส่วนในการขอเลื่อนคดีครั้งที่สามโจทก์อ้างว่า พยานทั้งสองคนของโจทก์มีกิจธุระจำเป็นไม่สามารถมาศาลได้ เป็นการอ้างเหตุที่พยานไม่มาศาลเป็นครั้งแรก โดยจำเลยก็ไม่ได้คัดค้าน จึงรับฟังได้ว่าพยานโจทก์ทั้งสองมีกิจธุระจำเป็นไม่สามารถมาศาลได้ เป็นเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์นั้น เป็นที่เห็นว่าจะทำให้เสียความยุติธรรม ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งและคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไปนั้นจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9319/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเนื่องจากจำเลยทิ้งฟ้องฎีกา และการพิจารณาคดีตามรูปคดีเดิมหลังยกคำร้อง
หลังจากที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยทั้งสองแล้ว โจทก์ทั้งสองยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งว่าจำเลยทั้งสองทิ้งฟ้องฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องดังกล่าวว่า จำเลยทั้งสองนำส่งสำเนาคำฟ้องฎีกาแล้ว ค่าคำร้องเป็นพับ อันมีผลเป็นการยกคำร้องของโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวต่อศาลฎีกา ที่จำเลยทั้งสองแก้อุทธรณ์ว่าโจทก์ทั้งสองต้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์นั้น ปัญหาดังกล่าวเป็นกระบวนพิจารณาที่เกี่ยวเนื่องกับฎีกาของจำเลยทั้งสอง เนื่องจากหากฟังว่าจำเลยทั้งสองทิ้งฟ้องฎีกา ศาลฎีกาก็ไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวต่อศาลฎีกาได้ การพิจารณาสั่งว่าจำเลยทั้งสองทิ้งฟ้องฎีกาหรือไม่ เป็นอำนาจหน้าที่ของศาลฎีกา ที่ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องของโจทก์ทั้งสองดังกล่าวเสียเอง จึงเป็นการไม่ชอบ แต่คดีนี้ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยทั้งสอง โดยให้จำเลยทั้งสองนำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ทั้งสองภายใน 7 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งฟ้องฎีกาและจำเลยทั้งสองได้เสียค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาฟ้องฎีกาเมื่อล่วงพ้นกำหนด 7 วันไปแล้ว ซึ่งถือได้ว่าจำเลยทั้งสองทิ้งฟ้องฎีกาซึ่งศาลฎีกามีอำนาจจำหน่ายคดีได้ก็ตาม แต่การจะจำหน่ายคดีหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล คดีนี้ปรากฎว่าจำเลยทั้งสองเสียค่าธรรมเนียมในการส่งสำเนาฎีกาเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2543 ภายหลังล่วงพ้นระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดเพียง 2 วัน ในขณะที่ยังไม่มีการจำหน่ายคดี ทั้งต่อมาในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2543 เจ้าหน้าที่ศาลก็ได้ไปส่งสำเนาฎีกาให้แก่โจทก์ทั้งสองและส่งได้ ศาลฎีกาจึงไม่เห็นสมควรที่จะสั่งจำหน่ายคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7860/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดโทษจากคำให้การของผู้ต้องหาที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดี
โจทก์ไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นการกระทำความผิดของจำเลย พยานหลักฐานของโจทก์ได้มาสืบเนื่องจากคำให้การชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนของจำเลยทั้งสิ้น ประกอบกับทางนำสืบของจำเลยในชั้นพิจารณาคดีของศาลก็เหมือนกับที่จำเลยให้การไว้ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน จึงถือได้ว่าเป็นการให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดี มีเหตุบรรเทาโทษตาม ป.อ. มาตรา 78 ข้อหาความผิดซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็มีอำนาจลดโทษให้จำเลยไปถึงข้อหานี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7442/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมรณะของคู่ความระหว่างพิจารณาคดี ศาลต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม.42 ก่อนมีคำพิพากษา
จำเลยที่ 2 ถึงแก่กรรมระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์และปรากฏตามรายงานเจ้าหน้าที่ว่าส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แก่จำเลยที่ 2 ไม่ได้เนื่องจากจำเลยที่ 2 ถึงแก่กรรมแสดงว่าศาลชั้นต้นทราบว่าจำเลยที่ 2 ถึงแก่กรรมตั้งแต่ก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะต้องมีคำสั่งเกี่ยวกับการมรณะของคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42 ดังนั้น ศาลชั้นต้นจึงต้องเลื่อนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วส่งสำนวนพร้อมคำพิพากษาคืนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อสั่งเกี่ยวกับความมรณะของจำเลยที่ 2 แล้วมีคำพิพากษาใหม่ต่อไป การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 1 เข้าเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 2รวมทั้งมีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาฎีกาแก่จำเลยที่ 2 และมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 ล้วนเป็นคำสั่งและการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6721/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีแพ่งและการพิจารณาคดีต่อไปได้ แม้จำเลยมิได้สืบพยาน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งนัดชี้สองสถานหรือสืบพยานโจทก์วันที่ 13 กันยายน 2543 จำเลยทราบนัดแล้วไม่มาศาลในวันดังกล่าว จึงต้องถือว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 200 วรรคหนึ่ง และศาลชั้นต้นชอบที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไปฝ่ายเดียวตามมาตรา 204 ซึ่งเมื่อศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์จนแล้วเสร็จโดยจำเลยมิได้อยู่ในศาล ก็มีอำนาจพิพากษาคดีไปเสียทีเดียวตามมาตรา 204 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 206 วรรคสาม และวรรคสี่(1) ที่ให้สิทธิแก่คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดพิจารณานำพยานเข้าสืบได้หากมาศาลยังไม่พ้นเวลาที่จะนำพยานของตนเข้าสืบ เพราะจำเลยมิได้มาศาลในวันสืบพยานฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีเสร็จการพิจารณาและมีคำพิพากษาในวันนั้นจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบตามมาตรา 27

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6637/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีฟ้องขับไล่ที่มีทุนทรัพย์รวม: การจำกัดสิทธิอุทธรณ์และการพิจารณาคดีส่วนที่มีทุนทรัพย์
การฟ้องคดีขับไล่หาได้มีความหมายเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์แต่เพียงอย่างเดียวเสมอไปเพราะเป็นคนละเรื่องกัน
การที่โจทก์ฟ้องขับไล่เป็นการฟ้องตั้งสิทธิอันเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยในเรื่องผิดสัญญาเช่าและไม่ประสงค์จะให้จำเลยอยู่ในตึกแถวพิพาทต่อไป อันเป็นคดีที่ขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีไม่มีทุนทรัพย์ แต่การที่โจทก์เรียกค่าเช่าที่ค้างชำระก่อนบอกเลิกสัญญาเช่า และค่าเสียหายภายหลังจากการบอกเลิกสัญญาเช่าเข้ามาด้วยรวมเป็นเงิน 186,000 บาท คดีในส่วนหลังนี้จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้องแม้คดีฟ้องขับไล่ซึ่งเป็นคดีหลักหรือคดีประธานจำเลยทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทในอัตราค่าเช่าเดือนละ 600 บาท และศาลชั้นต้นจะกำหนดค่าเสียหายหลังจากบอกเลิกสัญญาเช่าให้เดือนละ 20,000 บาท ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นค่าเช่าขณะยื่นคำฟ้อง เพราะเป็นเพียงแต่อาจให้เช่าได้ในอัตราดังกล่าวเท่านั้น จึงต้องฟังว่าตึกแถวพิพาทมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคสอง แต่เมื่อคดีนี้เป็นทั้งคดีไม่มีทุนทรัพย์และคดีมีทุนทรัพย์รวมกันมาเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเป็นเงิน 125,920 บาท จึงเกินกว่า 50,000 บาท ย่อมไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
การอุทธรณ์เป็นสิทธิของคู่ความฝ่ายที่แพ้คดี เพื่อให้ศาลอุทธรณ์ได้ตรวจสอบคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นอีกครั้งหนึ่ง เว้นแต่คำสั่งหรือคำพิพากษานั้น กฎหมายบัญญัติให้เป็นที่สุด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทั้งการจำกัดสิทธิอุทธรณ์ก็ควรพิจารณาโดยเคร่งครัด เมื่อจำเลยถูกจำกัดสิทธิในการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่เป็นคดีฟ้องขับไล่ แต่จำเลยยังมีสิทธิในการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่เป็นส่วนของคดีมีทุนทรัพย์ได้
การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงเมื่อเป็นการไม่ชอบ และเห็นได้ชัดว่าคดีส่วนที่มีทุนทรัพย์ตามฟ้องและที่ศาลชั้นต้นพิพากษามาไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงไม่อาจจะวินิจฉัยคดีนี้ไปเสียทีเดียวได้ จึงต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6336/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีอาญาของเด็กและเยาวชน: การพิจารณาในศาลอาญาปกติเมื่อยังไม่มีศาลเยาวชน
ขณะโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2539 ในเขตอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งเป็นท้องที่ที่จำเลยมีถิ่นที่อยู่ปกติยังไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัว ทั้งแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลจังหวัดจันทบุรีซึ่งอยู่ในท้องที่ที่จำเลยกระทำความผิดก็ยังมิได้เปิดทำการ โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นคือศาลจังหวัดจันทบุรีได้ และแม้ในระหว่างการพิจารณาของศาลจังหวัดจันทบุรี จะได้เปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวขึ้นในศาลจังหวัดจันทบุรี แต่ศาลจังหวัดจันทบุรีคงดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้ต่อมาอย่างคดีธรรมดา เท่ากับศาลจังหวัดจันทบุรีเห็นสมควรใช้ดุลพินิจไม่โอนคดีนี้ไปยังแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลจังหวัดจันทบุรีทั้งให้พิจารณาต่อไปอย่างคดีธรรมดาโดยไม่ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ. 2534 มาตรา 59 กระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษา การอุทธรณ์ฎีกาจึงต้องเป็นไปตาม ป.วิ.อ. ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมมีอำนาจพิพากษาคดีนี้อย่างคดีธรรมดาได้เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6133/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความผิดฐานลักทรัพย์และการแยกพิจารณาคดีต่างกรรมต่างวาระ รวมถึงการพิพากษาความผิดตามองค์ประกอบของกฎหมาย
คดีอาญาอีกเรื่องอื่นกับคดีนี้จำเลยเป็นคนเดียวกัน แต่เป็นการลักทรัพย์ผู้เสียหายคนละคนกัน โดยลักทรัพย์ของผู้เสียหายคนหนึ่งเสร็จแล้วจึงไปลักทรัพย์ของผู้เสียหายอีกคนหนึ่ง ทั้งทรัพย์ก็มิได้รวมอยู่ด้วยกัน โดยห่างกันเป็นร้อยเมตร อันเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน จึงมิใช่เป็นเหตุในลักษณะแห่งคดีเดียวกัน ซึ่งศาลจะต้องรับฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างเดียวกัน
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(12) นอกจากเจ้าทรัพย์จะต้องเป็นผู้มีอาชีพกสิกรรมแล้ว จะต้องได้ความอีกว่า ทรัพย์ที่ถูกลักนั้น เป็นผลิตภัณฑ์ พืชพันธุ์หรือสัตว์ หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมหรือได้มาจากการประกอบกสิกรรมด้วย แต่ตามฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏว่าข้าวเปลือกที่จำเลยลักไปเป็นผลิตภัณฑ์หรือพืชพันธุ์ซึ่งผู้เสียหายมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม หรือได้มาจากการกสิกรรมหรือไม่ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องด้วยมาตรา 335(12)ศาลจึงไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2259/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการส่งสำเนาอุทธรณ์เพื่อแก้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ส่งผลให้การพิจารณาคดีไม่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันรับผิดฐานละเมิดเนื่องจากจำเลยที่ 1 ผู้เยาว์ขับรถบรรทุกโดยประมาทเลินเล่อชนรถโจทก์เสียหาย โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบิดามารดาผู้ใช้อำนาจปกครอง ส่วนจำเลยที่ 4 และที่ 5 เป็นนายจ้างจำเลยที่ 1 จำเลยทั้งห้าให้การต่อสู้และขอให้เรียกจำเลยร่วมทั้งสองเข้ามาเป็นคู่ความอ้างว่า เหตุเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยร่วมที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยร่วมที่ 2 และเมื่อศาลอนุญาตแล้วจำเลยร่วมที่ 2 ให้การว่า เหตุเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1แต่เพียงผู้เดียว ทั้งให้การต่อสู้โจทก์ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งห้าและจำเลยร่วมทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยทั้งห้าอุทธรณ์ว่า เหตุเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยร่วมที่ 1 จำเลยทั้งห้าไม่ต้องรับผิด ส่วนจำเลยร่วมที่ 2 อุทธรณ์ว่า เหตุเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 แต่ฝ่ายเดียว จำเลยร่วมที่ 2ไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย อุทธรณ์ดังกล่าวนอกจากจะโต้แย้งโจทก์แล้วยังโต้แย้งและเป็นปฏิปักษ์ต่อกันและกันด้วย การที่ศาลชั้นต้นไม่สั่งให้ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้อีกฝ่ายหนึ่งเพื่อแก้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 235เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณาศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แล้วย้อนสำนวนให้ดำเนินการใหม่เสียให้ถูกต้องตามมาตรา 243(2),247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8874/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาการยื่นคำให้การและการพิจารณาคดีที่ถูกต้องตามกฎหมาย
เจ้าพนักงานส่งหมายเรียกสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยที่ 1 โดยวิธีปิดหมายวันที่ 15 มีนาคม 2540 ครบกำหนดที่จำเลยที่ 1 ต้องยื่นคำให้การในวันจันทร์ที่14 เมษายน 2540 ซึ่งเป็นวันหยุดราชการประจำปีวันสงกรานต์ แต่มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการ (ฉบับที่ 19)พ.ศ. 2540 ให้เลื่อนวันหยุดราชการประจำปีวันสงกรานต์ จากวันที่ 12,13และ 14 เมษายน เป็นวันที่ 13,14 และ 15 เมษายน และเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีหนังสือแจ้งให้กระทรวง ทบวง กรม ทราบถึงประกาศดังกล่าวโดยในส่วนของวันหยุดชดเชยให้ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2538 เรื่อง วันหยุดชดเชยของทางราชการว่าในกรณีวันหยุดราชการประจำปีวันสงกรานต์วันใดตรงกับวันหยุดราชการประจำสัปดาห์ ให้เลื่อนไปหยุดในวันทำงานถัดไปด้วย เมื่อวันที่ 13 เมษายน2540 ตรงกับวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันหยุดราชการประจำสัปดาห์ วันที่ 14 และ15 ตรงกับวันจันทร์และวันอังคารเป็นเหตุให้ต้องเลื่อนไปหยุดชดเชยในวันที่ 16 เมษายน 2540 ซึ่งเป็นวันทำงานถัดไปด้วย จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 17 เมษายน 2540 ซึ่งเป็นวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการได้ และข้อเท็จจริงว่าวันใดเป็นวันหยุดราชการหรือไม่เป็นข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไป และศาลรู้ได้เองโดยคู่ความไม่ต้องนำสืบ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระหนี้ในฐานะผู้กู้ จำเลยที่ 2รับผิดชำระหนี้แทนในฐานะผู้ค้ำประกันหากจำเลยที่ 1 ไม่ยอมชำระมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ แม้จำเลยที่ 2จะขาดนัดยื่นคำให้การ มีสิทธิเพียงสาบานตนให้การเป็นพยานเองและถามค้านพยานโจทก์ ซึ่งการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 จะชอบก็ตาม แต่การที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยที่ 2รับผิดแทนจำเลยที่ 1 หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหรือไม่เพียงใด ต้องรับฟังพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยที่ 1 นำสืบให้ปรากฏก่อนเพราะจำเลยที่ 2อาจมีสิทธิเกี่ยงให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนตน เมื่อศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การของจำเลยที่ 1 และสั่งให้จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การโดยผิดหลง พยานหลักฐานที่จำเลยที่ 1 จะนำสืบจึงไม่ปรากฏไม่ชอบที่ศาลฎีกาจะพิจารณาพิพากษาฎีกาของจำเลยที่ 2 ไปโดยไม่รอฟังพยานหลักฐานของจำเลยที่ 1 ก่อน แต่เมื่อศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบเพียงจำเลยที่ 1 เห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่เฉพาะจำเลยที่ 1 เท่านั้น
of 48