พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6805-6807/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดพิจารณาคดีแรงงาน: การยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่พ้นกำหนดระยะเวลา
ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์ทั้งสามไว้พิจารณาโดยกำหนดวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ และออกหมายเรียกให้จำเลยมาศาลในวันนัดพร้อมกับส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยชอบแล้ว จึงต้องถือว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 37 แล้ว เมื่อจำเลยไม่มาศาลตามกำหนดโดยไม่แจ้งให้ศาลแรงงานกลางทราบเหตุที่ไม่มาและศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีของโจทก์ทั้งสามไปฝ่ายเดียวจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรา 40 วรรคสอง จำเลยขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าว จึงต้องปฏิบัติตามมาตรา 41 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะให้ต้องดำเนินการภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัด จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่เมื่อพ้นกำหนดดังกล่าว ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยโดยไม่ไต่สวนจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6539/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกชอบด้วยกฎหมาย แม้จำเลยมีภูมิลำเนาหลายแห่ง และความสำคัญของกำหนดเวลาการยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ตามสัญญาค้ำประกันระบุว่า จำเลยที่ 2 มีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านเลขที่ ที่โจทก์ระบุในคำฟ้อง ทั้งตามแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร์จากฐานข้อมูลการทะเบียนสำนักทะเบียนกลางกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ซึ่งรับรองก่อนวันที่โจทก์ฟ้อง 3 วัน ก็ระบุว่าจำเลยที่ 2 มีที่อยู่บ้านเลขที่ดังกล่าว การส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกให้แก่จำเลยที่ 2 โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับตามคำสั่งของศาลแรงงานกลางก็มีบุคคลเดียวกับบุคคลที่เคยรับหนังสือทวงถามไว้แทนจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับไว้แทน น่าเชื่อว่าบ้านเลขที่ตามที่โจทก์ระบุในคำฟ้องเป็นถิ่นที่อยู่ของจำเลยที่ 2 จริง แม้จำเลยที่ 2 จะอ้างว่ามีภูมิลำเนาแห่งอื่นอีก หากเป็นความจริงก็ต้องถือว่า จำเลยที่ 2 มีถิ่นที่อยู่หลายแห่ง บ้านเลขที่ตามฟ้องโจทก์ย่อมเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 ด้วยแห่งหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 38 การส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกให้แก่จำเลยที่ 2 ณ ภูมิลำเนาตามฟ้อง โดยมีผู้รับแทนจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นการส่งหมายโดยชอบ ย่อมถือว่าจำเลยที่ 2 ทราบวันนัดพิจารณาโดยชอบแล้ว
ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 2 ขาดนัดในวันที่ 9 กันยายน 2542 จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2543 เกินกำหนด 7 วันนับแต่วันที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดตาม พ.ร.บ. จัดตั้ง ศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 41 คำสั่งศาลแรงงานกลางที่ให้ยกคำร้องจำเลยที่ 2 ชอบแล้ว
ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 2 ขาดนัดในวันที่ 9 กันยายน 2542 จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2543 เกินกำหนด 7 วันนับแต่วันที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดตาม พ.ร.บ. จัดตั้ง ศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 41 คำสั่งศาลแรงงานกลางที่ให้ยกคำร้องจำเลยที่ 2 ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3528/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีล้มละลายเนื่องจากโจทก์ขาดนัด และข้อจำกัดในการขอให้พิจารณาคดีใหม่
โจทก์ฟ้องขอศาลพิพากษาให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเพราะเหตุโจทก์ขาดนัดพิจารณาเนื่องจากโจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดเวลาซึ่งโจทก์ได้ทราบนัดโดยชอบแล้ว และจำเลยแถลงไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีต่อไป กรณีนี้ ป.วิ.พ.มาตรา 201 วรรคหนึ่ง (เดิม) ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 153 บัญญัติห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์คำสั่งเช่นว่านี้ หรือมีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นนำคดีที่ศาลชั้นต้นจำหน่ายคดีไปแล้วกลับมาทำการพิจารณาต่อไป เป็นการขอให้พิจารณาคดีใหม่นั่นเอง จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3528/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีล้มละลายเนื่องจากขาดนัดพิจารณา และข้อจำกัดในการขอให้พิจารณาคดีใหม่
โจทก์ฟ้องขอศาลพิพากษาให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเพราะเหตุโจทก์ขาดนัดพิจารณาเนื่องจากโจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดเวลาซึ่งโจทก์ได้ทราบนัดโดยชอบแล้ว และจำเลยแถลงไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีต่อไป กรณีนี้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 วรรคหนึ่ง(เดิม) ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153บัญญัติห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์คำสั่งเช่นว่านี้ หรือมีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นนำคดีที่ศาลชั้นต้นจำหน่ายคดีไปแล้วกลับมาทำการพิจารณาต่อไป เป็นการขอให้พิจารณาคดีใหม่นั่นเอง จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2969/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีเนื่องจากทนายจำเลยป่วยและการขอพิจารณาคดีใหม่
ก่อนถึงเวลาที่ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกที่เลื่อนมาอ.อ้างว่าเป็นพนักงานส่งเอกสารของจำเลย นำโทรสารรายงานผลการตรวจชันสูตรและความเห็นแพทย์ว่าทนายจำเลยป่วยเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลมายื่นแต่ศาลชั้นต้นเห็นว่า จำเลยมิได้ขออนุญาตเลื่อนคดีโดยถูกต้อง ถือว่าจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลโดยไม่ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องเสียก่อนสืบพยานจึงมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา แสดงว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาเนื่องจากจำเลยไม่ร้องขอเลื่อนคดี หรือไม่แจ้งเหตุขัดข้องเสียก่อนสืบพยานโจทก์และก่อนหน้านั้นศาลชั้นต้นไม่เคยสั่งว่าจำเลยมีพฤติการณ์ประวิงคดี โจทก์เพิ่งกล่าวอ้างว่าจำเลยมีพฤติการณ์ประวิงคดีในวันพิจารณานัดสุดท้าย ข้อเท็จจริงจึงไม่อาจฟังได้ว่าจำเลยประวิงคดี
เมื่อมีเหตุสมควรเชื่อว่าจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่ขาดนัดมาศาลไม่ได้เพราะทนายจำเลยป่วยต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและจำเลยได้ยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่โดยชอบ จึงมีเหตุอันสมควรอนุญาตให้พิจารณาใหม่ การที่จำเลยไม่ร้องขอให้ศาลชั้นต้นสั่งเพิกถอนคำสั่งที่สั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและเลือกใช้วิธีขอพิจารณาใหม่ ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
เมื่อมีเหตุสมควรเชื่อว่าจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่ขาดนัดมาศาลไม่ได้เพราะทนายจำเลยป่วยต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและจำเลยได้ยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่โดยชอบ จึงมีเหตุอันสมควรอนุญาตให้พิจารณาใหม่ การที่จำเลยไม่ร้องขอให้ศาลชั้นต้นสั่งเพิกถอนคำสั่งที่สั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและเลือกใช้วิธีขอพิจารณาใหม่ ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2969/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีเนื่องจากทนายจำเลยป่วย และการขอพิจารณาคดีใหม่
ก่อนถึงเวลาที่ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกที่เลื่อนมาอ. อ้างว่าเป็นพนักงานส่งเอกสารของจำเลย นำโทรสารรายงานผลการตรวจชันสูตรและความเห็นแพทย์ว่าทนายจำเลยป่วยเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลมายื่น แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่า จำเลยมิได้ขออนุญาตเลื่อนคดีโดยถูกต้อง ถือว่าจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลโดยไม่ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องเสียก่อนสืบพยานจึงมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา แสดงว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาเนื่องจากจำเลยไม่ร้องขอเลื่อนคดีหรือไม่แจ้งเหตุขัดข้องเสียก่อนสืบพยานโจทก์และก่อนหน้านั้นศาลชั้นต้นไม่เคยส่งว่าจำเลยมีพฤติการณ์ประวิงคดี โจทก์เพิ่งกล่าวอ้างว่าจำเลยมีพฤติการณ์ประวิงคดีในวันพิจารณานัดสุดท้ายข้อเท็จจริงจึงไม่อาจฟังได้ว่าจำเลยประวิงคดี
เมื่อมีเหตุสมควรเชื่อว่าจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่ขาดนัดมาศาลไม่ได้เพราะทนายจำเลยป่วยต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและจำเลยได้ยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่โดยชอบ จึงมีเหตุอันสมควรอนุญาตให้พิจารณาใหม่ การที่จำเลยไม่ร้องขอให้ศาลชั้นต้นสั่งเพิกถอนคำสั่งที่สั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและเลือกใช้วิธีขอพิจารณาใหม่ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
เมื่อมีเหตุสมควรเชื่อว่าจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่ขาดนัดมาศาลไม่ได้เพราะทนายจำเลยป่วยต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและจำเลยได้ยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่โดยชอบ จึงมีเหตุอันสมควรอนุญาตให้พิจารณาใหม่ การที่จำเลยไม่ร้องขอให้ศาลชั้นต้นสั่งเพิกถอนคำสั่งที่สั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและเลือกใช้วิธีขอพิจารณาใหม่ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคำขอให้พิจารณาคดีใหม่หลังขาดนัด ต้องพิจารณาเหตุสมควรที่คู่ความมาศาลไม่ได้ และการขาดนัดจงใจไม่อนุญาต
การพิจารณาคำขอให้พิจารณาใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 209วรรคหนึ่ง ต้องพิจารณาเป็นลำดับขั้นตอน คือ ศาลต้องพิจารณาคำขอนั้นก่อนว่าถูกต้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 207 และ 208 หรือไม่ แล้วจึงพิจารณาต่อไปว่ามีเหตุสมควรเชื่อว่าคู่ความฝ่ายที่ขาดนัดนั้นมาศาลไม่ได้หรือไม่ และศาลจะมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอให้พิจารณาคดีใหม่หรือไม่
ป.วิ.พ.มาตรา 209 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลไต่สวนพิจารณาเพียงเหตุเดียวคือ มีเหตุสมควรเชื่อว่าคู่ความฝ่ายที่ขาดนัดนั้น มาศาลไม่ได้หรือไม่เท่านั้น
การที่คู่ความจงใจขาดนัดเป็นกรณีไม่มีเหตุสมควรเชื่อว่าคู่ความฝ่ายที่ขาดนัดนั้นมาศาลไม่ได้นั่นเอง เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่า โจทก์พลั้งเผลอเป็นเหตุให้หลงลืมวันนัดและไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกไม่ใช่เหตุอันสมควรที่โจทก์จะมาศาลไม่ได้ เท่ากับว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยแล้วว่าการขาดนัดพิจารณาของโจทก์เป็นไปโดยจงใจ การที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำขอให้พิจารณาใหม่ของโจทก์จึงชอบแล้ว
ป.วิ.พ.มาตรา 209 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลไต่สวนพิจารณาเพียงเหตุเดียวคือ มีเหตุสมควรเชื่อว่าคู่ความฝ่ายที่ขาดนัดนั้น มาศาลไม่ได้หรือไม่เท่านั้น
การที่คู่ความจงใจขาดนัดเป็นกรณีไม่มีเหตุสมควรเชื่อว่าคู่ความฝ่ายที่ขาดนัดนั้นมาศาลไม่ได้นั่นเอง เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่า โจทก์พลั้งเผลอเป็นเหตุให้หลงลืมวันนัดและไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกไม่ใช่เหตุอันสมควรที่โจทก์จะมาศาลไม่ได้ เท่ากับว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยแล้วว่าการขาดนัดพิจารณาของโจทก์เป็นไปโดยจงใจ การที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำขอให้พิจารณาใหม่ของโจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 209 ต้องพิจารณาการขาดนัดโดยจงใจหรือไม่
การพิจารณาคำขอให้พิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 209 วรรคหนึ่ง ต้องพิจารณาเป็นลำดับขั้นตอน คือศาลต้องพิจารณาคำขอนั้นก่อนว่าถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 207 และ 208 หรือไม่ แล้วจึงพิจารณาต่อไปว่ามีเหตุสมควรเชื่อว่าคู่ความฝ่ายที่ขาดนั้นมาศาลไม่ได้หรือไม่ และศาลจะมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอให้พิจารณาคดีใหม่หรือไม่
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 209 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลไต่สวนพิจารณาเพียงเหตุเดียวคือ มีเหตุสมควรเชื่อว่าคู่ความฝ่ายที่ขาดนัดนั้น มาศาลไม่ได้หรือไม่เท่านั้น
การที่คู่ความจงใจขาดนัดเป็นกรณีไม่มีเหตุสมควรเชื่อว่าคู่ความฝ่ายที่ขาดนัดนั้นมาศาลไม่ได้นั่นเอง เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่า โจทก์พลั้งเผลอเป็นเหตุให้หลงลืมวันนัดและไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกไม่ใช่เหตุอันสมควรที่โจทก์จะมาศาลไม่ได้ เท่ากับว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยแล้วว่าการขาดนัดพิจารณาของโจทก์เป็นไปโดยจงใจ การที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำขอให้พิจารณาใหม่ของโจทก์จึงชอบแล้ว
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 209 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลไต่สวนพิจารณาเพียงเหตุเดียวคือ มีเหตุสมควรเชื่อว่าคู่ความฝ่ายที่ขาดนัดนั้น มาศาลไม่ได้หรือไม่เท่านั้น
การที่คู่ความจงใจขาดนัดเป็นกรณีไม่มีเหตุสมควรเชื่อว่าคู่ความฝ่ายที่ขาดนัดนั้นมาศาลไม่ได้นั่นเอง เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่า โจทก์พลั้งเผลอเป็นเหตุให้หลงลืมวันนัดและไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกไม่ใช่เหตุอันสมควรที่โจทก์จะมาศาลไม่ได้ เท่ากับว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยแล้วว่าการขาดนัดพิจารณาของโจทก์เป็นไปโดยจงใจ การที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำขอให้พิจารณาใหม่ของโจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคำขอพิจารณาคดีใหม่หลังขาดนัด ศาลต้องพิจารณาเหตุจงใจขาดนัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่หลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว การพิจารณาคำขอดังกล่าวจึงต้องพิจารณาเป็นลำดับ คือ ศาลต้องพิจารณาคำขอนั้นก่อนว่าถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 207และ 208 หรือไม่ แล้วพิจารณาต่อไปว่ามีเหตุสมควรเชื่อว่าคู่ความฝ่ายที่ขาดนั้นมาศาลไม่ได้หรือไม่ ตามมาตรา 209 วรรคหนึ่ง การที่คู่ความจงใจขาดนัดก็เป็นกรณีไม่มีเหตุสมควรเชื่อว่าคู่ความฝ่ายที่ขาดนัดนั้นมาศาลไม่ได้นั่นเองเมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่า โจทก์พลั้งเผลอเป็นเหตุให้หลงลืมวันนัดและไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก ไม่ใช่เหตุอันสมควรที่โจทก์จะมาศาลไม่ได้และยกคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ จึงเท่ากับศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วว่าการขาดนัดพิจารณาของโจทก์เป็นไปโดยจงใจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7154/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ต้องแสดงเหตุผลความไม่ถูกต้องของคำพิพากษาเดิมและโอกาสชนะคดีใหม่ มิฉะนั้นถือเป็นคำร้องที่ไม่ชอบ
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยบรรยายว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีโดยฟังข้อเท็จจริงจากพยานเอกสารและพยานบุคคลของฝ่ายโจทก์แต่เพียงฝ่ายเดียว แต่จำเลยมิได้อ้างเหตุให้ชัดแจ้งว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ถูกต้องอย่างไร และหากมีการพิจารณาใหม่จำเลยจะชนะคดีอย่างไร แม้จะกล่าวมาด้วยว่าจำเลยมีหลักฐานเอกสารที่จะหักล้างข้อกล่าวอ้างของโจทก์ ก็เป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ หาได้คัดค้านในเนื้อหาแห่งคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นไม่ จึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคสอง