คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฟ้องคดีอาญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 241 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8493/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาหลายกระทง ต้องผัดฟ้องทุกกระทง หากไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ สิทธิฟ้องจะขาดเสีย
กรณีที่ผู้ต้องหาถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมในคราวเดียวกันโดยกล่าวหาว่าได้กระทำผิดหลายกรรมต่างกัน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 7 วรรคแรกพนักงานสอบสวนจะต้องส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมสำนวนการสอบสวนไปยังพนักงานอัยการ เพื่อให้พนักงานอัยการยื่นฟ้อง ภายในกำหนดเจ็ดสิบสองชั่วโมง นับแต่เวลาที่ผู้ต้องหาถูกจับ โดยไม่มีข้อยกเว้นว่าจะเป็นกระทงความผิดใด แต่หากมีความจำเป็นไม่สามารถฟ้องผู้ต้องหาได้ทันภายในกำหนดเวลาดังกล่าวพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณีจะต้องยื่นคำร้องต่อศาลขอผัดฟ้องตามมาตรา 7 วรรคสอง และวรรคสาม ซึ่งย่อมหมายความว่าจะต้องขอผัดฟ้องในทุกกระทงความผิดด้วยโดยไม่มีข้อยกเว้นให้เลือกผัดฟ้องเฉพาะความผิดกระทงใดกระทงหนึ่งได้แม้จะเกี่ยวพันกัน กระทงความผิดใดที่ไม่ได้ขอผัดฟ้องไว้จึงต้องถือว่าพ้นกำหนดเวลาตามมาตรา 7 วรรคแรกซึ่งจะต้องรับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการจึงจะมีสิทธิฟ้องคดีความผิดนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8336/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: การฟ้องคดีอาญาต้องยึดสถานที่จับกุมหรือที่อยู่ของจำเลย หาใช่สถานที่เกิดเหตุ
ในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ จำเลยถูกจับในท้องที่อำเภอสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี ในข้อหาพยายามฆ่าและต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ปลอมแปลงเอกสารและใช้เอกสารปลอมกับข้อหาอื่น ๆซึ่งมิใช่ข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจรตามที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ศาลจังหวัดกบินทร์บุรีได้พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยจำเลยถูกจำคุกอยู่ในเรือนจำอำเภอกบินทร์บุรี แต่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 22 คำว่า จำเลยถูกจับในท้องที่หนึ่ง หมายถึงเจ้าพนักงานจับจำเลยจริง ๆในเขตศาลนั้นตามที่ถูกกล่าวหา เมื่อจำเลยถูกจับในความผิดฐานอื่น และเจ้าพนักงานตำรวจได้อายัดตัวจำเลยมาสอบสวนในคดี นี้ ถือไม่ได้ว่าคดีนี้จำเลยถูกจับในเขตอำนาจศาลจังหวัดกบินทร์บุรีโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดกบินทร์บุรีไม่ได้ เรือนจำอำเภอกบินทร์บุ*รีซึ่งจำเลยต้องโทษจำคุกอยู่ในคดีอื่น ในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในคดีนี้ คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่าง อุทธรณ์เรือนจำจึงมิใช่ท้องที่ที่จำเลยมีที่อยู่ เพราะคดีดังกล่าว จำเลยมิได้ถูกจำคุกตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดของศาล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 47 ซึ่งแก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535จึงไม่อาจถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่เรือนจำอำเภอกบินทร์บุรีอีกด้วยโจทก์จึงฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดกบินทร์บุรีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8336/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: การฟ้องคดีอาญาต้องพิจารณาจากสถานที่จับกุมและภูมิลำเนาของจำเลย
ในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ จำเลยถูกจับในท้องที่อำเภอสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรี ในข้อหาพยายามฆ่าและต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ปลอมแปลงเอกสารและใช้เอกสารปลอมกับข้อหาอื่น ๆ ซึ่งมิใช่ข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจทก์ตามที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ ศาลจังหวัดกบินทร์บุรีได้พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย จำเลยถูกจำคุกอยู่ในเรือนจำอำเภอกบินทร์บุรี แต่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 22 คำว่า จำเลยถูกจับในท้องที่หนึ่ง หมายถึงเจ้าพนักงานจับจำเลยจริง ๆ ในเขตศาลนั้นตามที่ถูกกล่าวหา เมื่อจำเลยถูกจับในความผิดฐานอื่นและเจ้าพนักงานตำรวจได้อายัดตัวจำเลยมาสอบสวนในคดีนี้ ถือไม่ได้ว่าคดีนี้จำเลยถูกจับในเขตอำนาจศาลจังหวัดกบินทร์บุรี โจทก์ฟ้องจำเลยต่อ ศาลจังหวัดกบินทร์บุรีไม่ได้ เรือนจำอำเภอกบินทร์บุรีซึ่งจำเลยต้องโทษจำคุกอยู่ในคดีอื่นในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในคดีนี้ คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างอุทธรณ์ เรือนจำจึงมิใช่ท้องที่ที่จำเลยมีที่อยู่ เพราะคดีดังกล่าวจำเลยมิได้ถูกจำคุกตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดของศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 47ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535จึงไม่อาจถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่เรือนจำอำเภอกบินทร์บุรีอีกด้วยโจทก์จึงฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดกบินทร์บุรีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4702/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนและฟ้องคดีอาญา: การกำหนดเขตอำนาจและขอบเขตการสอบสวนความผิดหลายกระทง
คดีนี้ไม่ว่าความผิดอาญาได้เกิดในเขตอำเภอ ดอนสักจังหวัดสุราษฎร์ธานีหรือเกิดในเขตอำเภอ ขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราชก็ตามแต่เมื่อปรากฎว่าจำเลยทั้งเจ็ดมีที่อยู่ในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอ ขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราชแล้วพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอ ขนอม ย่อมมีอำนาจสอบสวนความผิดคดีนี้ได้การสอบสวนจึงชอบแล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องต่อศาลชั้นต้นซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนในท้องที่ดังกล่าวได้ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา134นั้นหาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่แม้เดิมตั้งข้อหาหนึ่งแต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหาอื่นด้วยก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหาหลังตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา120แล้วทั้งการทำไม้หวงห้ามการแปรรูปไม้ในเขตควบคุมการมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองและการมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นการกระทำอันเป็นความผิดต่างกรรมกันดังนั้นแม้จะมิได้มีการแจ้งข้อหาจำเลยที่4และที่7ฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปแต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดข้อหานี้ด้วยก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดข้อหานี้แล้วโจทก์มีอำนาจฟ้องศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยที่4และที่7ในความผิดข้อหานี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3185/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาโดยไม่ส่งตัวจำเลย และจำเลยไม่อยู่ในอำนาจศาล ศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้น ทำให้ไม่อาจฎีกาได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ฟ้องจำเลยโดยไม่นำตัวจำเลยมาส่งศาลพร้อมฟ้องและจำเลยไม่อยู่ในอำนาจของศาลจึงสั่งไม่ประทับฟ้องและจำหน่ายคดีเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนย่อมมีผลเท่ากับว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 682/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับสิทธิฟ้องคดีอาญาเนื่องจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้องคดีก่อนหน้า แม้เป็นการยกฟ้องเนื่องจากไม่มีพยาน
โจทก์ร่วมเคยยื่นฟ้องจำเลยในความผิดกรณีเดียวกันนี้ต่อศาลชั้นต้น ในวันนัดไต่สวนมูลฟ้องทนายโจทก์คดีดังกล่าวแถลงต่อศาลว่าไม่มีพยานมาสืบ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมายืนยันความผิดของจำเลย คดีจึงไม่มีมูลและพิพากษายกฟ้องซึ่งมีผลเช่นเดียวกับการพิพากษายกฟ้องโดยศาลเห็นว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคแรกจึงถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้พิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว สิทธินำคดีอาญานี้มาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) หาใช่เป็นคดีที่ศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวพิพากษายกฟ้องโดยโจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดนัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166 วรรคแรก ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 568/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาต้องอาศัยความผิดที่เกิดขึ้นก่อนวันฟ้อง การรับสารภาพหลังวันฟ้องจึงไม่เป็นความผิด
การฟ้องขอให้ลงโทษผู้ใด ต้องเป็นกรณีที่ผู้นั้นได้กระทำผิดมาแล้วก่อนวันเวลาที่โจทก์ยื่นฟ้อง การที่โจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2536 โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2536 ซึ่งเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดภายหลังวันที่โจทก์ยื่นฟ้อง แม้จำเลยจะมิได้ยกความข้อนี้ขึ้นต่อสู้ศาลก็ยกขึ้นพิจารณาวินิจฉัยได้อีกทั้งการที่จำเลยรับสารภาพ ก็เป็นการรับสารภาพตามฟ้องที่ไม่เป็นความผิด จึงพิพากษาลงโทษจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 568/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาต้องอาศัยการกระทำความผิดก่อนวันฟ้อง การรับสารภาพตามฟ้องที่ไม่เป็นความผิด
การที่จะลงโทษจำเลยในคดีที่จำเลยรับสารภาพนั้นต้องอาศัยคำฟ้องและการจะฟ้องขอให้ลงโทษผู้ใดตามกฎหมายต้องเป็นเรื่องที่ผู้นั้นได้กระทำความผิดมาแล้วก่อนวันที่โจทก์ฟ้อง จะฟ้องล่วงหน้าว่าจำเลยกระทำความผิดหาได้ไม่ แม้จำเลยจะรับสารภาพก็เป็นการรับสารภาพตามฟ้องที่ไม่เป็นความผิดและแม้จำเลยจะมิได้ยกความข้อนี้ขึ้นต่อสู้ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3235/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจฟ้องคดีอาญา และการรับรองใบมอบอำนาจที่ทำในต่างประเทศ ศาลพิจารณาจากความเป็นจริงและหลักทั่วไป
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 วรรคสาม อยู่ภายใต้เงื่อนไข ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 วรรคสองคือต้องเป็นกรณีที่ศาลมีเหตุอันควรสงสัยหรือเมื่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่า ใบมอบอำนาจนั้นจะไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริง จึงให้ศาลมีอำนาจสั่งให้คู่ความยื่นใบมอบอำนาจที่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 วรรคสามมิได้หมายความว่า ถ้าเป็นใบมอบอำนาจทุกฉบับจะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 วรรคสาม แม้โจทก์จะลงชื่อในใบมอบอำนาจในต่างประเทศ แต่ตัวโจทก์ก็ได้มาเบิกความยืนยันว่า โจทก์มอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนและได้ลงชื่อในใบมอบอำนาจจริง จึงไม่มีเหตุอันควรที่ศาลจะสงสัยว่าไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริง และในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยก็ไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงเหตุอันควรสงสัยว่า ไม่ใช่ใบมอบอำนาจที่แท้จริงจึงไม่มีเหตุที่ศาลจะสั่งให้โจทก์ส่งใบมอบอำนาจที่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 47 วรรคสาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5 เป็นกรณีที่ให้อำนาจบุคคลที่ระบุไว้ในมาตรานี้ มีอำนาจกระทำกิจการที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 3 โดยไม่ต้องมีการมอบอำนาจกัน กิจการใดจะมอบอำนาจกันได้หรือไม่ ต้องเป็นไปตามหลักธรรมดา สุดแต่ว่ากรณีใดมีกฎหมายห้ามหรือเป็นกรณีตามสภาพต้องทำเองหรือไม่ การฟ้องคดีอาญาไม่มีกฎหมายใดบังคับว่าผู้เสียหายจะต้องทำด้วยตนเองทั้งตามสภาพของการฟ้องคดีอาญาก็มิใช่เป็นเรื่องที่จะต้องกระทำด้วยตนเองเฉพาะตัว โจทก์จึงมีอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีแทนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2119/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาและการฟ้องคดีอาญา: การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดที่เกี่ยวเนื่องกัน
การแจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134หาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกฐานความผิดไม่ แม้เดิมพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาจำเลยฐานตั้งสถานบริการโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานตั้งสถานบริการโดยมิได้แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนจัดตั้งไม่น้อยกว่า 15 วัน อันเป็นความผิดที่เกี่ยวเนื่องในเรื่องการจัดตั้งสถานบริการเหมือนกัน ก็เรียกได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดฐานดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120
of 25