คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ยึดทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 784 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาบังคับคดี 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 มิใช่เรื่องอายุความ การยึดทรัพย์ก่อนไม่ขยายเวลาบังคับคดี
กำหนดระยะเวลา 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 เป็น ระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามกฎหมายวิธีสบัญญัติ มิใช่เรื่องอายุความ การที่ผู้ร้องได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยแล้ว เป็นเพียงขั้นตอนของการบังคับคดีหาทำให้ระยะเวลาบังคับคดีตามกฎหมายขยายออกไปไม่ เช่นนี้ หากผู้ร้องยังประสงค์จะนำยึดทรัพย์จำเลยออกขายทอดตลาดนำมาชำระหนี้อีก หรือขอบังคับคดีต่อไป จะต้องกระทำภายในระยะเวลาดังกล่าว
เมื่อผู้ร้องมิได้ดำเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาจนเกินกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด ผู้ร้องจึงสิ้นสิทธิที่จะบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลย และการขอเฉลี่ยทรัพย์ก็เป็นการบังคับคดีอย่างหนึ่งเพื่อเอาทรัพย์สินของจำเลยชำระหนี้ของผู้ร้องขอเฉลี่ย ผู้ร้องจึงหมดสิทธิที่จะร้องขอเฉลี่ยจากทรัพย์สินของจำเลยเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7429/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาบังคับชำระหนี้ภาษีอากร 10 ปี และผลกระทบต่อการยึดทรัพย์หลังพ้นกำหนด
การใช้วิธีการยึดอายัดทรัพย์สินและการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ที่ค้างชำระหนี้ภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 นั้นมีกำหนดเวลา 10 ปี ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 วรรคสี่ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2526ซึ่งถือว่าเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ทราบการประเมินแล้วไม่ชำระ จำเลยที่ 1ชอบที่จะใช้อำนาจยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์ได้ภายในกำหนด 10 ปี การที่จำเลยที่ 1 กับพวกยึดทรัพย์สินของโจทก์ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2541 จึงล่วงเลยกำหนดเวลาดังกล่าวจำเลยที่ 1 ย่อมหมดสิทธิที่จะใช้วิธีการนี้บังคับแก่โจทก์
กำหนดเวลาบังคับชำระหนี้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 12 วรรคสี่ ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 เป็นเรื่องระยะเวลาที่จะบังคับแก่ผู้ที่ค้างชำระหนี้ภาษีอากร ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงไม่ใช่อายุความ กรณีไม่อาจนำเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7429/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ภาษีอากรเกิน 10 ปี และผลกระทบต่ออายุความ การฟ้องล้มละลายไม่สะดุดอายุความ
การใช้วิธีการยึดทรัพย์สินและการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ที่ค้างชำระหนี้ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 12มีกำหนด 10 ปี ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 12 วรรคสี่ ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2526 ถือว่าเจ้าพนักงานประเมินได้ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่โจทก์แล้ว เมื่อโจทก์ไม่ชำระภาษีอากรตามการประเมิน จำเลยที่ 1 มีอำนาจยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์ได้ภายในกำหนด 10 ปี การที่จำเลยที่ 1ยึดทรัพย์สินโจทก์ในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2541 จึงล่วงเลยกำหนดเวลาแล้วจึงหมดสิทธิจะใช้วิธีการนี้กับโจทก์
ก่อนที่จะพ้น 10 ปี นับแต่โจทก์ได้รับแจ้งการประเมิน จำเลยที่ 1ฟ้องโจทก์เป็นคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2536 นั้น ไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14(2) เนื่องจากกำหนดเวลาบังคับชำระหนี้ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 12 วรรคสี่ ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 เป็นเรื่องระยะเวลาที่จะบังคับแก่ผู้ที่ค้างชำระภาษีอากร ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงไม่ใช่อายุความ กรณีไม่อาจนำเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7037/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุคคลภายนอกผู้สุจริตยึดทรัพย์ได้ แม้เจ้าของเดิมบอกล้างนิติกรรมซื้อขายที่ถูกฉ้อฉล
คดีก่อน ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่านิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 เป็นโมฆียะเพราะผู้ร้องถูกกลฉ้อฉลของจำเลย เมื่อผู้ร้องบอกล้างแล้วนิติกรรมจึงเป็นโมฆะ คดีถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องซึ่งเป็นคู่ความย่อมผูกพันตามคำพิพากษาดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่งการที่ผู้ร้องบอกล้างนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นโมฆียะเพราะถูกกลฉ้อฉลของจำเลยจึงไม่อาจยกเป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งมิใช่คู่สัญญาซื้อขายและมิใช่คู่ความในคดีก่อน อันเป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 160
คำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ของผู้ร้องมิได้บรรยายว่า โจทก์ทราบถึงกลฉ้อฉลของจำเลย อันจะเป็นประเด็นว่าโจทก์ไม่สุจริตอย่างไร กรณีจึงต้องถือว่าโจทก์เป็นบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต ผู้ร้องจะยกเอาการบอกล้างนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างผู้ร้องกับจำเลยเป็นข้อต่อสู้โจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5370/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอตั้งผู้จัดการทรัพย์สินที่ถูกยึดในชั้นบังคับคดี ต้องยื่นในคดีเดิม ไม่ใช่คดีใหม่
การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกยึดบังคับคดีเพื่อนำรายได้ประจำปีจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งอาจเพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมด้วยค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องร้องและการบังคับคดีไปมอบต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ภายในเวลาและกำหนดตามที่ศาลเห็นสมควร แทนการสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307 นั้นจะต้องดำเนินกระบวนการในชั้นบังคับคดี โดยผู้ร้องชอบที่จะไปยื่นคำร้องต่อศาลในคดีซึ่งอยู่ในระหว่างดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษา ไม่ใช่มา ยื่นคำร้องขอเพื่อดำเนินคดีเป็นคดีใหม่อีกต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5135/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยประเด็นนอกคำอุทธรณ์ของศาลอุทธรณ์ และการพิจารณาความเสียหายจากการยึดทรัพย์
คดีแพ่ง ปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ มิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ แต่จำเลยมิได้กล่าวแก้ให้เป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
โจทก์ขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ จึงเป็นคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตาราง 1 ข้อ 2(ก) แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4862/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ภาษี การรับสภาพหนี้ และผลของการยึดทรัพย์
จำเลยได้ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายที่ค้างชำระให้แก่เจ้าพนักงานของโจทก์เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2529 มีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงในวันดังกล่าวแต่เมื่อนับถึงวันที่ 16 ตุลาคม2540 และวันที่ 11 พฤศจิกายน 2540 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้ค่าภาษีอากรโจทก์เป็นเวลาเกินกว่าสิบปีแล้ว คดีของโจทก์ในส่วนนี้จึงขาดอายุความ
หนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี 2524 ซึ่งจำเลยได้รับแจ้งการประเมินเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2529 และวันที่ 18 มีนาคม2529 จำเลยไม่ได้ชำระ เมื่อนับถึงวันที่ 16 ตุลาคม 2540 และวันที่ 11พฤศจิกายน 2540 เป็นเวลาเกินกว่าสิบปีแล้ว คดีของโจทก์ส่วนนี้เป็นอันขาดอายุความ
อายุความจะสะดุดหยุดลงได้ก็เมื่อมีกรณีต้องด้วยมาตรา 193/14แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ส่วนการยึดทรัพย์ตามประมวลรัษฎากรหาได้เป็นการกระทำอันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงไม่
จำเลยลงลายมือชื่อในหนังสือยอมรับชำระหนี้ภาษีอากรค้างแก่โจทก์หนังสือดังกล่าวจึงเป็นหลักฐานที่จำเลยผู้เป็นลูกหนี้รับสภาพความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/28 วรรคสอง ซึ่งมีผลให้สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยรับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือดังกล่าวมีกำหนดอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับสภาพความรับผิดตามมาตรา 193/35

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4728/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี: การยึดทรัพย์ซ้ำภายใน 10 ปีหลังมีคำพิพากษา แม้ทรัพย์เดิมถูกยึดแล้วแต่ไม่สำเร็จ ยังคงมีสิทธิยึดได้
การร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาต้องดำเนินการตามขั้นตอน ขั้นแรกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี ขั้นต่อไปต้องให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดี และจากนั้นต้องแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ทั้งนี้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 275 และ 278
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเคยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลยขณะที่ยังเป็นใบจอง โดยได้ปฏิบัติหน้าที่ครบถ้วนแล้วภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา แต่ในขณะยึดที่ดินดังกล่าวไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีจึงจ่ายเงินจากการขายทอดตลาดให้โจทก์ไม่ได้ เมื่อจำเลยขอออกโฉนดที่ดินแล้วและโจทก์มาขอนำยึดที่ดินดังกล่าวใหม่อีกครั้งหนึ่ง แม้จะเกินสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาแต่ก็ถือได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 271 ไว้แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินซึ่งเป็นที่ดินแปลงเดิมของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4728/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีเมื่อสำนวนถูกปลดออก โจทก์มีสิทธิขอให้บังคับคดีจากทรัพย์เดิมได้หากเคยยึดทรัพย์นั้นไว้ภายใน 10 ปี
การร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาต้องดำเนินการตามขั้นตอนขั้นแรกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี ขั้นต่อไปต้องให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดี และจากนั้นต้องแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 275 และ 278
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเคยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลยขณะที่ยังเป็นใบจอง โดยได้ปฏิบัติหน้าที่ครบถ้วนแล้วภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา แต่ในขณะยึดที่ดินดังกล่าวไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีจึงจ่ายเงินจากการขายทอดตลาดให้โจทก์ไม่ได้ เมื่อจำเลยขอออกโฉนดที่ดินแล้วและโจทก์มาขอนำยึดที่ดินดังกล่าวใหม่อีกครั้งหนึ่ง แม้จะเกินสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาแต่ก็ถือได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ไว้แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินซึ่งเป็นที่ดินแปลงเดิม ของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4274/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องขัดทรัพย์ต้องเป็นการยึดทรัพย์เท่านั้น ไม่ใช่การอายัด การอายัดทรัพย์เป็นขั้นตอนการบังคับคดีตามกฎหมาย
โจทก์ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดที่ดินแปลงพิพาท แต่เนื่องจากยังหาตำแหน่งของที่ดินไม่พบจึงมิได้ทำการยึด เจ้าพนักงานบังคับคดีเพียงแต่ทำการอายัดที่ดินแปลงพิพาท ผู้ร้องอ้างว่าเป็นของผู้ร้องไว้ แต่การร้องขัดทรัพย์จึงร้องได้เฉพาะกรณีที่มีการยึดทรัพย์เท่านั้น ไม่รวมถึงการอายัดทรัพย์ด้วย ผู้ร้องจะอ้างว่า การอายัดทรัพย์เป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องตามป.วิ.พ.มาตรา 55 หาได้ไม่เพราะ ป.วิ.พ.ภาค 4 ลักษณะ 2 เรื่อง การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งได้บัญญัติถึงเรื่องนี้ไว้ตามลำดับเป็นขั้นตอนแล้ว
of 79