พบผลลัพธ์ทั้งหมด 64 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3527/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนอมหนี้ที่ทำภายหลังถูกทวงหนี้และขู่ฟ้อง ไม่ถือเป็นการข่มขู่ทำให้สัญญาเป็นโมฆียะ
จำเลยทำสัญญาประนอมหนี้กับโจทก์ที่สถานีตำรวจโดยโจทก์พูดว่า "ให้เอาเงินมาใช้เสีย ถ้าไม่ใช้จะฟ้องและติดตะราง" พวกของโจทก์พูดว่า "ใช้เสียน้องเอ๋ย ถึงคราวจำเป็นแล้ว ถ้าไม่ใช้จะถูกฟ้องให้ติดตะราง" และพนักงานสอบสวนพูดว่า "ผู้ใหญ่ใช้เสียเรา มีวินัยอยู่มิฉะนั้นจะเป็นโทษอาญานะ" เป็นเรื่องที่โจทก์กับพวกขู่ว่าถ้าจำเลยไม่ใช้เงินโจทก์จะฟ้องเอาผิดกับจำเลยทางอาญา อันเป็นการใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริต เป็นการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยม ไม่เป็นการข่มขู่อันจะทำให้นิติกรรมเป็นโมฆียะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 126 สัญญาประนอมหนี้จึงสมบูรณ์ใช้บังคับได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1570/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขชื่อสกุล: อำนาจหน้าที่นายทะเบียน, พ.ร.บ.ชื่อบุคคล, และขอบเขตการใช้สิทธิทางศาล
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแก้ และเปลี่ยนชื่อ สกุล แต่ทางสำนักงานทะเบียนท้องที่ไม่สามารถกระทำให้ได้ ผู้ร้องชอบที่จะดำเนินการต่อไปตาม พ.ร.บ. ชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 มิใช่กรณีที่จะมาใช้สิทธิทางศาล.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3833/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิทางศาลโดยไม่สุจริต จงใจทำให้ผู้อื่นเสียหาย อาจเป็นการละเมิดได้
การใช้สิทธิทางศาล หากกระทำโดยไม่สุจริต จงใจแต่จะให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โดยใช้ศาลเป็นเครื่องกำบัง ก็เป็นการกระทำละเมิดได้
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินอันเป็นสามยทรัพย์ให้แก่บุคคลอื่นไป ไม่มีสิทธิในทางภาระจำยอมอีกแล้ว กลับมายื่นคำร้องและนำสืบพยานหลักฐานในการไต่สวนคำร้องโดยจงใจกลั่นแกล้งโจทก์ เพื่อให้โจทก์ได้รับความเสียหายหากได้ความเป็นความจริงตามฟ้องก็จะถือว่าจำเลยใช้สิทธิในทางศาลโดยสุจริตมิได้การกระทำของจำเลยอาจเป็นละเมิดต่อโจทก์ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ห้ามโจทก์ โอนขาย จำหน่ายที่ดิน หากมีคำสั่งไปเพราะหลงเชื่อตามพยานหลักฐานเท็จหรือปกปิดความจริงที่จำเลยนำสืบ ย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ได้เช่นเดียวกัน ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสืบพยานโจทก์จำเลยให้เสร็จสิ้นกระแสความเสียก่อน การสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยเสียจึงถือว่าไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา เป็นการไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้อง คำให้การ แล้วมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยและวินิจฉัยในข้อกฎหมายว่าคำสั่งศาลมิใช่ผลโดยตรงจากการที่จำเลยยื่นคำร้องการกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ พิพากษายกฟ้อง เป็นการที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายอันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม มาตรา 227 แม้โจทก์จะไม่ได้โต้แย้งไว้ก็มีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาต่อมาได้
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินอันเป็นสามยทรัพย์ให้แก่บุคคลอื่นไป ไม่มีสิทธิในทางภาระจำยอมอีกแล้ว กลับมายื่นคำร้องและนำสืบพยานหลักฐานในการไต่สวนคำร้องโดยจงใจกลั่นแกล้งโจทก์ เพื่อให้โจทก์ได้รับความเสียหายหากได้ความเป็นความจริงตามฟ้องก็จะถือว่าจำเลยใช้สิทธิในทางศาลโดยสุจริตมิได้การกระทำของจำเลยอาจเป็นละเมิดต่อโจทก์ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ห้ามโจทก์ โอนขาย จำหน่ายที่ดิน หากมีคำสั่งไปเพราะหลงเชื่อตามพยานหลักฐานเท็จหรือปกปิดความจริงที่จำเลยนำสืบ ย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ได้เช่นเดียวกัน ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสืบพยานโจทก์จำเลยให้เสร็จสิ้นกระแสความเสียก่อน การสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยเสียจึงถือว่าไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา เป็นการไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้อง คำให้การ แล้วมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยและวินิจฉัยในข้อกฎหมายว่าคำสั่งศาลมิใช่ผลโดยตรงจากการที่จำเลยยื่นคำร้องการกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ พิพากษายกฟ้อง เป็นการที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายอันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม มาตรา 227 แม้โจทก์จะไม่ได้โต้แย้งไว้ก็มีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาต่อมาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3833/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิทางศาลโดยไม่สุจริต จงใจทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น อาจเป็นการละเมิดได้ ศาลต้องสืบพยานก่อนวินิจฉัย
การใช้สิทธิทางศาล หากกระทำโดยไม่สุจริต จงใจแต่จะให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โดยใช้ศาลเป็นเครื่องกำบัง ก็เป็นการกระทำละเมิดได้ โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินอันเป็นสามยทรัพย์ให้แก่บุคคลอื่นไป ไม่มีสิทธิในทางภาระจำยอมอีกแล้ว กลับมายื่นคำร้องและนำสืบพยานหลักฐานในการไต่สวนคำร้องโดยจงใจกลั่นแกล้งโจทก์ เพื่อให้โจทก์ได้รับความเสียหายหากได้ความเป็นความจริงตามฟ้องก็จะถือว่าจำเลยใช้สิทธิในทางศาลโดยสุจริตมิได้การกระทำของจำเลยอาจเป็นละเมิดต่อโจทก์ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ห้ามโจทก์ โอนขาย จำหน่ายที่ดิน หากมีคำสั่งไปเพราะหลงเชื่อตามพยานหลักฐานเท็จหรือปกปิดความจริงที่จำเลยนำสืบ ย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ได้เช่นเดียวกัน ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสืบพยานโจทก์จำเลยให้เสร็จสิ้นกระแสความเสียก่อนการสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยเสียจึงถือว่าไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณาเป็นการไม่ชอบ ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้อง คำให้การ แล้วมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยและวินิจฉัยในข้อกฎหมายว่าคำสั่งศาลมิใช่ผลโดยตรงจากการที่จำเลยยื่นคำร้องการกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ พิพากษายกฟ้อง เป็นการที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายอันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม มาตรา 227 แม้โจทก์จะไม่ได้โต้แย้งไว้ก็มีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาต่อมาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3154/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการจดทะเบียนที่ดินและการใช้สิทธิทางศาล กรณีได้รับที่ดินมาตามมาตรา 1382 และ 1367
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 มิได้หมายความว่าใครต้องการจะใช้สิทธิทางศาลก็ใช้ได้ตามอำเภอใจ แต่เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาด้วยว่ามีกฎหมายสารบัญญัติสนับสนุนว่าเป็นกรณีจำเป็นจะต้องมาร้องขอต่อศาลเพื่อรับรองหรือคุ้มครองตามสิทธิของตนที่มีอยู่ จึงจะใช้สิทธิทางศาลได้
ผู้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งมีชื่อผู้อื่นเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์อยู่ในทะเบียนที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ตราบใดที่ยังไม่จดทะเบียนให้ปรากฏในทะเบียนที่ดินว่าตนเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ย่อมไม่อาจดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้และอาจเสียสิทธิไปได้ถ้ามีบุคคลอื่นได้สิทธิในที่ดินนั้นโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตกับได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตดังนั้น เพื่อได้ให้ได้รับการรับรองและคุ้มครองตามสิทธิของตนที่มีอยู่ในฐานะเจ้าของ กรรมสิทธิ์จึงจำเป็นต้องดำเนินการให้ปรากฏขึ้นในทะเบียนที่ดินว่าตนเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์และกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ.2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 กำหนดว่าผู้ได้มาต้องยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดว่าตนมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวดังนั้น บุคคลที่ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินตามมาตรา 1382 จึงมีความจำเป็นจะต้องใช้สิทธิทางศาลเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งว่า ตนได้กรรมสิทธิ์เพื่อนำไปแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการจดทะเบียนส่วนที่ดินประเภทที่ยังไม่ได้จดทะเบียนไว้ในทะเบียนที่ดินไม่มีกฎหมายบัญญัติดังกล่าวและผู้ยึดถือที่ดินดังกล่าวโดยเจตนายึดถือเพื่อตนย่อมได้สิทธิครอบครองที่ดินนั้นแล้วตามมาตรา 1367 ทั้งกฎหมายก็ให้ความรับรองคุ้มครองสิทธิครอบครองและจำหน่ายจ่ายโอนได้ จึงไม่มีความจำเป็นแต่ประการใดที่จะต้องมาร้องขอต่อศาล
ผู้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งมีชื่อผู้อื่นเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์อยู่ในทะเบียนที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ตราบใดที่ยังไม่จดทะเบียนให้ปรากฏในทะเบียนที่ดินว่าตนเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ย่อมไม่อาจดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้และอาจเสียสิทธิไปได้ถ้ามีบุคคลอื่นได้สิทธิในที่ดินนั้นโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตกับได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตดังนั้น เพื่อได้ให้ได้รับการรับรองและคุ้มครองตามสิทธิของตนที่มีอยู่ในฐานะเจ้าของ กรรมสิทธิ์จึงจำเป็นต้องดำเนินการให้ปรากฏขึ้นในทะเบียนที่ดินว่าตนเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์และกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ.2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 กำหนดว่าผู้ได้มาต้องยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดว่าตนมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวดังนั้น บุคคลที่ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินตามมาตรา 1382 จึงมีความจำเป็นจะต้องใช้สิทธิทางศาลเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งว่า ตนได้กรรมสิทธิ์เพื่อนำไปแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการจดทะเบียนส่วนที่ดินประเภทที่ยังไม่ได้จดทะเบียนไว้ในทะเบียนที่ดินไม่มีกฎหมายบัญญัติดังกล่าวและผู้ยึดถือที่ดินดังกล่าวโดยเจตนายึดถือเพื่อตนย่อมได้สิทธิครอบครองที่ดินนั้นแล้วตามมาตรา 1367 ทั้งกฎหมายก็ให้ความรับรองคุ้มครองสิทธิครอบครองและจำหน่ายจ่ายโอนได้ จึงไม่มีความจำเป็นแต่ประการใดที่จะต้องมาร้องขอต่อศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3154/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการจดทะเบียนที่ดิน: ความจำเป็นในการใช้สิทธิทางศาลเพื่อแสดงกรรมสิทธิ์ที่ได้มาตามกฎหมาย
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55มิได้หมายความว่าใครต้องการจะใช้สิทธิทางศาลก็ใช้ได้ตามอำเภอใจ แต่เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาด้วยว่ามีกฎหมายสารบัญญัติสนับสนุนว่าเป็นกรณีจำเป็นจะต้องมาร้องขอต่อศาลเพื่อรับรองหรือคุ้มครองตามสิทธิของตนที่มีอยู่ จึงจะใช้สิทธิทางศาลได้
ผู้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งมีชื่อผู้อื่นเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์อยู่ในทะเบียนที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ตราบใดที่ยังไม่จดทะเบียนให้ปรากฏในทะเบียนที่ดินว่าตนเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ย่อมไม่อาจดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้ และอาจเสียสิทธิไปได้ถ้ามีบุคคลอื่นได้สิทธิในที่ดินนั้นโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตกับได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตดังนั้น เพื่อได้ให้ได้รับการรับรองและคุ้มครองตามสิทธิของตนที่มีอยู่ในฐานะเจ้าของ กรรมสิทธิ์ จึงจำเป็นต้องดำเนินการให้ปรากฏขึ้นในทะเบียนที่ดินว่าตนเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์และกฎกระทรวงฉบับที่ 7(พ.ศ.2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ.2497 กำหนดว่าผู้ได้มาต้องยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดว่าตนมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวดังนั้น บุคคลที่ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินตามมาตรา 1382 จึงมีความจำเป็นจะต้องใช้สิทธิทางศาลเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งว่า ตนได้กรรมสิทธิ์เพื่อนำไปแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการจดทะเบียนส่วนที่ดินประเภทที่ยังไม่ได้จดทะเบียนไว้ในทะเบียนที่ดินไม่มีกฎหมายบัญญัติดังกล่าวและผู้ยึดถือที่ดินดังกล่าวโดยเจตนายึดถือเพื่อตนย่อมได้สิทธิครอบครองที่ดินนั้นแล้วตามมาตรา 1367ทั้งกฎหมายก็ให้ความรับรองคุ้มครองสิทธิครอบครองและจำหน่ายจ่ายโอนได้ จึงไม่มีความจำเป็นแต่ประการใดที่จะต้องมาร้องขอต่อศาล
ผู้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งมีชื่อผู้อื่นเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์อยู่ในทะเบียนที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ตราบใดที่ยังไม่จดทะเบียนให้ปรากฏในทะเบียนที่ดินว่าตนเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ย่อมไม่อาจดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้ และอาจเสียสิทธิไปได้ถ้ามีบุคคลอื่นได้สิทธิในที่ดินนั้นโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตกับได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตดังนั้น เพื่อได้ให้ได้รับการรับรองและคุ้มครองตามสิทธิของตนที่มีอยู่ในฐานะเจ้าของ กรรมสิทธิ์ จึงจำเป็นต้องดำเนินการให้ปรากฏขึ้นในทะเบียนที่ดินว่าตนเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์และกฎกระทรวงฉบับที่ 7(พ.ศ.2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ.2497 กำหนดว่าผู้ได้มาต้องยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่พร้อมด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งอันถึงที่สุดว่าตนมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวดังนั้น บุคคลที่ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินตามมาตรา 1382 จึงมีความจำเป็นจะต้องใช้สิทธิทางศาลเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งว่า ตนได้กรรมสิทธิ์เพื่อนำไปแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการจดทะเบียนส่วนที่ดินประเภทที่ยังไม่ได้จดทะเบียนไว้ในทะเบียนที่ดินไม่มีกฎหมายบัญญัติดังกล่าวและผู้ยึดถือที่ดินดังกล่าวโดยเจตนายึดถือเพื่อตนย่อมได้สิทธิครอบครองที่ดินนั้นแล้วตามมาตรา 1367ทั้งกฎหมายก็ให้ความรับรองคุ้มครองสิทธิครอบครองและจำหน่ายจ่ายโอนได้ จึงไม่มีความจำเป็นแต่ประการใดที่จะต้องมาร้องขอต่อศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1961/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีซ้ำและการละเมิด: สิทธิในการใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริต
โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแพ่งเรียกเงินตามสัญญา จำเลยต่อสู้ว่าเป็นนิติกรรมอำพราง ศาลฎีกาพิพากษาว่าไม่ใช่นิติกรรมอำพรางให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ ระหว่างบังคับคดีจำเลยได้ฟ้องโจทก์ต่อศาลแพ่ง อ้างว่าการที่ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้เป็นลาภมิควรได้ศาลแพ่งพิพากษายกฟ้อง ดังนี้ การฟ้องคดีของจำเลยหาเป็นละเมิดต่อโจทก์ไม่ โดยข้ออ้างตามฟ้องของโจทก์ที่ว่า จำเลยรู้อยู่แล้วว่ารูปคดีเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนนั้น คดีจะเป็นฟ้องซ้ำหรือไม่ยากที่จำเลยซึ่งมิใช่นักกฎหมายจะเข้าใจ การฟ้องของจำเลยจึงเป็นการใช้สิทธิเพื่อรักษาประโยชน์ของตนตามความคิดเห็นว่าจะชนะคดี หาใช่เป็นการกลั่นแกล้งโดยมุ่งต่อผลคือความเสียหายแก่ผู้อื่นถ่ายเดียว อันเป็นการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4065/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องฐานโกงเจ้าหนี้ต้องระบุชัดเจนว่าจำเลยรู้วันที่เจ้าหนี้ใช้สิทธิทางศาล
โจทก์ฟ้องจำเลยว่ากระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 แต่ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่า จำเลยได้โอนขายที่ดินตามโฉนดฉบับที่จำเลยนำไปมอบให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกันเงินกู้ โดยรู้อยู่ว่าโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ของตนได้ใช้สิทธิหรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้จำเลยชำระหนี้ อันเป็นองค์ประกอบของการกระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4065/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีโกงเจ้าหนี้ต้องบรรยายองค์ประกอบความผิดครบถ้วน โดยเฉพาะการรู้ว่าเจ้าหนี้จะใช้สิทธิทางศาล
โจทก์ฟ้องจำเลยว่ากระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 แต่ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่า จำเลยได้โอนขายที่ดินตามโฉนดฉบับที่จำเลยนำไปมอบให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกันเงินกู้ โดยรู้อยู่ว่าโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ของตนได้ใช้สิทธิหรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้จำเลยชำระหนี้ อันเป็นองค์ประกอบของการกระทำความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2976/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโกงเจ้าหนี้ต้องแสดงเจตนาให้ชัดเจนว่าจำเลยทราบว่าเจ้าหนี้จะใช้สิทธิทางศาล
บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 เนื่องจากจำเลยไม่ชำระหนี้และได้ยักย้ายถ่ายเทเอาทรัพย์อันเป็นหลักประกันไปเสีย แม้จะมีข้อความว่าเพื่อมิให้โจทก์จะได้ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้จำเลยชำระหนี้ได้ก็ตาม แต่เมื่อมิได้บรรยายว่า จำเลยได้กระทำไปโดยรู้อยู่ว่าโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้จำเลยชำระหนี้ดังกล่าว ฟ้องของโจทก์ย่อมขาดองค์ประกอบแห่งความผิด ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)