พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1317/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันที่ครอบคลุมหนี้ตามสัญญาจำนอง แม้สัญญาจำนองจะไม่ได้ระบุภาระการชำระหนี้เพิ่มเติม
ผู้ค้ำประกันทำสัญญาค้ำประกันการจำนองว่า ถ้าผู้จำนองผิดสัญญาไม่ชำระเงินต้นตามสัญญาผู้ค้ำประกันยอมให้ผู้รับจำนองฟ้องร้องเรียกเงินตามสัญญาจำนองของผู้จำนอง โดยผู้ค้ำประกันยอมใช้เงินตามสัญญาจำนองและค่าเสียหายใด ๆ ทั้งสิ้น ดังนี้ แม้ตามสัญญาจำนองจะไม่มีกล่าวไว้ว่า ถ้าบังคับจำนองแล้วยังขาดเงินอยู่เท่าใด ผู้จำนองต้องใช้อีกจนครบก็ดี ในเมื่อมีการบังคับจำนองขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ของผู้รับจำนอง ผู้ค้ำประกันย่อมต้องรับผิดต่อผู้รับจำนองในจำนวนเงินที่ยังขาดอยู่ตามสัญญาค้ำประกันนั่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 474/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับคดีแก่ทรัพย์นอกจำนอง: สัญญาจำนองเปิดช่องให้ยึดทรัพย์นอกจำนองได้หากทรัพย์จำนองไม่พอชำระหนี้
ในสัญญาจำนองที่โจทก์นำมาฟ้องมีข้อความว่า ถ้าทรัพย์จำนองไม่พอชำระหนี้ที่จำนอง ผู้จำนองยอมให้เอาทรัพย์นอกจำนองมาชำระหนี้จำนองได้เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินที่จำนองไปแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้จำนองโจทก์ก็ย่อมมีสิทธิขอให้บังคับคดีแก่ทรัพย์นอกจำนองได้(แม้ในกรณีที่ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์โจทก์มิได้ขอว่าถ้าขายทรัพย์ที่จำนองได้เงินไม่พอให้ศาลยึดทรัพย์อื่นนอกจำนองขายทอดตลาดเอาเงินใช้หนี้จำนองด้วยและศาลชั้นต้นก็มิได้พิพากษาว่า ถ้าขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนองได้เงินไม่พอใช้หนี้จำนองแล้ว ให้จำเลยใช้เงินให้โจทก์จนครบหนี้จำนอง )
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 135/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้จำนอง: หลักฐานการชำระหนี้ต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรค 2 พยานบุคคลเพียงอย่างเดียวไม่พอ
เมื่อคดีได้ความว่าหนี้จำนองรายนี้เป็นเรื่องที่จำเลยรับเงินจากโจทก์ไปใช้ ในลักษณะยืมเงินแล้วทำสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันการชำระหนี้ ดังนั้น การที่จะนำสืบถึงการชำระหนี้จะต้องนำ ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรค 2 มาใช้บังคับ จำเลยคงมีแต่พยานบุคคลมาสืบว่าได้ชำระหนี้แล้ว ข้อนำสืบของจำเลยดังกล่าวจึงรับฟังไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 480/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส: ที่ดินที่ซื้อหลังสมรสเป็นสินสมรส แม้ใช้เงินสินเดิมของฝ่ายหนึ่ง และสามารถหักหนี้จำนองจากราคาขายได้
ชายทำสัญญาจะซื้อที่ดินวางมัดจำไว้ เมื่อสมรสแล้วได้เอาเงินสินเดิมของชายและหญิงชำระราคา และรับโอนที่ดินมา ที่ดินเป็นสินสมรส สินเดิมที่สูญไปหักสินสมรสใช้หนี้ส่วนตัวสามีภริยาอาจตกลงให้หักสินสมรสใช้ก่อนแบ่งก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 58/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้สามัญและเจ้าหนี้จำนองในการบังคับคดี การบังคับชำระหนี้จำนองโดยอาศัยบุริมสิทธิชอบด้วยกฎหมาย
เจ้าหนี้สามัญที่นำยึดทรัพย์ที่จำนองมาขายทอดตลาด ตามคำสั่งศาลได้ร้องต่อศาลขอให้หักเงินที่ขายได้ใช้หนี้จำนองก่อนและขายทอดตลาดไปโดยปลอดจำนอง ดังนี้ เมื่อหักใช้หนี้จำนองแล้ว ถือว่าหนี้จำนองได้บังคับเอาจากทรัพย์สินที่จำนองเสร็จสิ้นแล้ว ผู้ซื้อทอดตลาดทรัพย์นั้นไปย่อมได้กรรมสิทธิโดยปลอดจำนอง
เจ้าหนี้จำนองแม้จะเป็นคนเดียวกันกับเจ้าหนี้สามัญที่ขอให้ยึดทรัพย์จำนองมาขายทอดตลาด ก็ขอให้บังคับชำระหนี้จำนองโดยอาศัยบุริมสิทธิของตนก่อนได้ตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 289
เจ้าหนี้จำนองแม้จะเป็นคนเดียวกันกับเจ้าหนี้สามัญที่ขอให้ยึดทรัพย์จำนองมาขายทอดตลาด ก็ขอให้บังคับชำระหนี้จำนองโดยอาศัยบุริมสิทธิของตนก่อนได้ตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 289
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 409/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการแทนเจ้าของร่วมในหนี้จำนอง การซื้อทอดตลาด และสิทธิในการแบ่งแยกกรรมสิทธิ
การที่เจ้าของร่วมในหนี้จำนวนหนึ่ง แต่คนเดียวได้เอาเงินจำนวนนั้นไปรับจำนองที่พิพาท และได้ขอพิสูจน์หนี้จำนอง เต็มตามสัญญาจำนอง ตลอดจนได้ซื้อทอดตลาดที่พิาพทโอนใส่ชื่อเป็นผู้ซื้อแต่คนเดียว ก็ดี ดังนี้ ถือว่าเป็นการจัดการแทนเจ้าของร่วมคนอื่น ๆ ด้วย ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานการตั้งตัวแทนและจกยกอายุความได้สิทธิหรือเสียสิทธิ มาต่อสู้ไม่ได้ เจ้าของร่วมคนอื่นฟ้องขอแบ่งแยกส่วนกรรมสิทธิในที่พิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 30/2488 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้จำนองเป็นหนี้ซื้อขาย และผลกระทบต่อสิทธิไถ่ถอน
ผู้จำนองตกลงขายที่ดินที่จำนองให้แก่ผู้รับจำนองโดยให้เงินที่ค้างชำระเป็นการชำระราคานั้น ถือว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่แล้ว สิทธิขอไถ่ถอนก็ย่อมเป็นอันระงับไป,
จำเลยอุทธรณ์ว่าศาลแขวงพิพากษาให้จำเลยแพ้โดยไม่สืบพะยานไม่ชอบ ขอให้กลับศาลแขวงสั่งให้ศาลนั้นโอนคดีดังนี้ ตีความได้ว่าขอให้ยกคำพิพากษาศาลแขวงและสั่งให้ศาลนั้นโอนคดี,
ในกรณีที่มีการอุทธรณ์และฎีกาแล้วขอให้โอนคดีนั้น ศาลฎีกาให้คู่ความไปว่ากล่าวกันตามวิธีพิจารณาความแพ่ง
จำเลยอุทธรณ์ว่าศาลแขวงพิพากษาให้จำเลยแพ้โดยไม่สืบพะยานไม่ชอบ ขอให้กลับศาลแขวงสั่งให้ศาลนั้นโอนคดีดังนี้ ตีความได้ว่าขอให้ยกคำพิพากษาศาลแขวงและสั่งให้ศาลนั้นโอนคดี,
ในกรณีที่มีการอุทธรณ์และฎีกาแล้วขอให้โอนคดีนั้น ศาลฎีกาให้คู่ความไปว่ากล่าวกันตามวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 201/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกหนี้จำนองโดยไม่บอกกล่าวบังคับจำนอง ถือเป็นการหลีกเลี่ยงกฎหมาย
เจ้าหนี้ฟ้องเรียกเงินในสัญญาจำนองซึ่งจำเลยเป็นลูกหนี้และเป็นผู้จำนองเองโดยมิได้บอกกล่าวการบังคับจำนองก่อนนั้นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 584/2473
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จำนองก่อนประมวลแพ่ง: ไม่ตัดสิทธิเรียกดอกเบี้ยแม้ค้างชำระเกิน 10 ปี
ที่ดิน จำนอง ดอกเบี้ยซึ่งเกิดจากหนี้จำนองและคดีเกิดก่อนใช้ประมวลแพ่ง แม้จะค้างชำระมาเกิน 10 ปีก็ดี ก็เรียกได้จะยกอายุความ 10 ปีมาใช้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 378/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบุริมสิทธิจำนองกับการบังคับคดี: การกันเงินจากการขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้จำนอง แม้หนี้ยังไม่ถึงกำหนด
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 บัญญัติให้มาตราดังกล่าวอยู่ภายใต้แห่งบทบัญญัติมาตรา 288 และ 289 มีความหมายว่า หากบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่น ๆ นั้น เป็นสิทธิประเภทที่อาจร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ตามมาตรา 288 หรือบังคับให้ชำระหนี้ตามมาตรา 289 ผู้ร้องก็มีสิทธิที่จะดำเนินการตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ แต่แม้มิได้ใช้สิทธิหรือบังคับตามสิทธิของตนตามบทบัญญัติดังกล่าว การบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ก็ย่อมไม่ถูกกระทบกระทั่งถึงบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่น ๆ ดังกล่าวอยู่นั่นเอง ดังนี้ เมื่อพิเคราะห์ตามคำร้องของผู้ร้องแล้ว ผู้ร้องอ้างมาในคำร้องว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองห้องชุดพิพาทที่โจทก์นำยึด หนี้ตามสัญญาจำนองยังไม่ถึงกำหนดชำระ ผู้ร้องจึงไม่อาจใช้สิทธิฟ้องร้องบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์จำนองได้ ขอให้ศาลมีคำสั่งให้กันเงินจากการขายทอดตลาดโดยปลอดจำนองไว้ให้แก่ผู้ร้องด้วย จะเห็นได้ว่าเนื้อหาตามคำร้องขอดังกล่าวเป็นกรณีที่ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้ผู้รับจำนองใช้สิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 หาใช่เป็นการร้องขอรับชำระหนี้โดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองที่อาจบังคับได้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 ไม่ แม้ขณะที่ผู้ร้องยื่นคำร้อง หนี้จำนองที่จำเลยจะต้องรับผิดชำระแก่ผู้ร้องยังไม่ถึงกำหนดชำระอันจะขอรับชำระหนี้จำนองตามมาตรา 289 วรรคหนึ่ง ไม่ได้ก็ตาม แต่การบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงบุริมสิทธิอื่น ๆ ของผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้รับจำนองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 เมื่อผู้ร้องเป็นผู้รับจำนองห้องชุดพิพาทที่โจทก์นำยึดได้ใช้สิทธิตามมาตรา 287 และขอให้ขายทอดตลาดโดยปลอดจำนอง ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอกันเงินจากการขายทอดตลาดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 ได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอกันส่วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ตาม ป.วิ.พ. ข้อ (2) (ก)
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอกันส่วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ตาม ป.วิ.พ. ข้อ (2) (ก)