พบผลลัพธ์ทั้งหมด 856 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4595/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาทด้วยการกล่าวหาพัวพันยาเสพติด ส่งผลเสียต่อชื่อเสียงและอนาคตทางการเมือง จำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหาย
โจทก์เคยฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาข้อหาหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 และความผิดต่อพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ. 2485 มาตรา 48 ศาลพิพากษาลงโทษจำเลย ข้อเท็จจริงในคดีอาญารับฟังว่า จำเลยใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่สามอันเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์โดยการโฆษณาด้วยเอกสาร โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ เป็นคดีแพ่งเรียกค่าเสียหาย จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา คำพิพากษา ส่วนอาญาย่อมผูกพันจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46จำเลยไม่อาจโต้เถียงข้อเท็จจริงให้รับฟังเป็นอย่างอื่นได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 423 วรรคหนึ่ง
แม้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 447จะบัญญัติให้จำเลยในคดีแพ่งรับผิดชอบจัดการโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์อันเป็นทางแก้เพื่อให้ชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์กลับคืนดีก็ตาม แต่เมื่อในคดีอาญาศาลได้มีคำพิพากษาให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาในคดีส่วนอาญาในหนังสือพิมพ์โดยจำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณาแล้วเป็นการเพียงพอที่จะแก้ไขให้ชื่อเสียงของโจทก์กลับคืนดีแล้ว จึงไม่จำเป็นที่จะต้องโฆษณาในคดีส่วนแพ่งต่อไปอีก
แม้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 447จะบัญญัติให้จำเลยในคดีแพ่งรับผิดชอบจัดการโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์อันเป็นทางแก้เพื่อให้ชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์กลับคืนดีก็ตาม แต่เมื่อในคดีอาญาศาลได้มีคำพิพากษาให้จำเลยโฆษณาคำพิพากษาในคดีส่วนอาญาในหนังสือพิมพ์โดยจำเลยเป็นผู้ชำระค่าโฆษณาแล้วเป็นการเพียงพอที่จะแก้ไขให้ชื่อเสียงของโจทก์กลับคืนดีแล้ว จึงไม่จำเป็นที่จะต้องโฆษณาในคดีส่วนแพ่งต่อไปอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3654/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเผยแพร่ข้อความจากกระบวนการยุติธรรมและการคุ้มครองตามกฎหมายหมิ่นประมาท
การที่จำเลยที่ 2 นำข้อความในกระบวนพิจารณาคดีในศาลซึ่งเป็นข้อความในคำฟ้องที่จำเลยที่ 1 ยื่นฟ้องโจทก์ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ และข้อความดังกล่าวล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับข้อหาความผิดที่จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ทั้งสิ้น การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่คดีของตนที่ฟ้องโจทก์ เท่านั้น จึงไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ตาม ป.อ. มาตรา 136 ส่วนการกระทำของจำเลยที่ 2 ก็เป็นการเผยแพร่คำฟ้อง ไม่มีข้อความอื่นนอกเหนืออันจะส่อแสดงให้เห็นเจตนาไม่สุจริตของจำเลยที่ 2 จึงเป็นเพียงการรายงานข่าวเรื่องที่โจทก์ถูกจำเลยที่ 1 ฟ้องคดีอาญาต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้แจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลโดยสุจริต จำเลยที่ 2 จึงได้รับความคุ้มครองตาม ป.อ. มาตรา 329 (4) ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทและดูหมิ่นเจ้าพนักงานตามที่โจทก์ฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3654/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเผยแพร่คำฟ้องในหนังสือพิมพ์ไม่ถือเป็นการหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นเจ้าพนักงาน หากเป็นการรายงานข่าวอย่างสุจริต
ข้อความที่โจทก์บรรยายฟ้องเป็นข้อความในคำฟ้องที่จำเลยที่ 1ยื่นฟ้องโจทก์ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ โดยคำฟ้องของจำเลยที่ 1ที่จำเลยที่ 2 ได้นำไปพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ ข. เป็นข้อความในกระบวนพิจารณาคดีในศาลทั้งข้อความในคำฟ้องที่จำเลยที่ 1ยื่นฟ้องโจทก์ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ตามที่ได้ความจากคำฟ้องของ โจทก์ในคดีนี้กับที่จำเลยที่ 2 นำไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ ข. ก็ปรากฏว่าล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับข้อหาความผิดที่จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์ทั้งสิ้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ประสงค์จะหมิ่นประมาทโจทก์ หากแต่เพื่อประโยชน์แก่คดีของจำเลยที่ 1 ที่ฟ้องโจทก์เท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 136 และข้อความที่จำเลยที่ 2 นำไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ ข. นอกจากข้อเท็จจริงจะฟังได้ ตามคำฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ว่าเป็นข้อความในคำฟ้องที่จำเลยที่ 1 ยื่นฟ้องโจทก์ต่อศาลดังกล่าวแล้ว ยังได้ความอีกว่าการกระทำของ จำเลยที่ 2 เป็นการเผยแพร่คำฟ้องไม่มีข้อความอื่นนอกเหนืออันจะ ส่อแสดงให้เห็นเจตนาไม่สุจริตของจำเลยที่ 2 การที่จำเลยที่ 2 นำข้อความดังกล่าวลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ ข. จึงเป็น การรายงานข่าวเรื่องที่โจทก์ถูกจำเลยที่ 1 ฟ้องคดีอาญาต่อ ศาลอาญากรุงเทพใต้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้แจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรม เรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลโดยสุจริต จำเลยที่ 2 จึงได้รับ ความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(4) ไม่เป็นความผิด ฐานหมิ่นประมาทและดูหมิ่นเจ้าพนักงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3520/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา: การยืนยันข้อเท็จจริงที่เป็นเท็จสร้างความเสียหายต่อชื่อเสียง
ข้อความที่ตีพิมพ์โฆษณาว่า ผู้เสียหายอนุมัติให้จัดจ้างโดยวิธีพิเศษฝ่าฝืนมติที่ประชุมคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคครั้งล่าสุดห้ามไม่ให้ผู้เสียหายดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ และข้อความว่าผู้เสียหายเจตนากำหนดคุณสมบัติผู้เสนอราคาที่ปรากฏอยู่ในเงื่อนไขทั่วไป ส่อเจตนาไปในทางเอื้อประโยชน์ให้แก่เอกชนรายหนึ่งที่มีความสัมพันธ์พิเศษกับผู้เสียหายมานานข้อความทั้งสองประการดังกล่าวไม่ได้อ้างถึงข้อความจริงอันเป็นการแสดงความคิดเห็น แต่เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงให้ผู้อ่านหนังสือพิมพ์เชื่อว่า ผู้เสียหายอนุมัติให้จัดจ้างโดยวิธีพิเศษฝ่าฝืนต่อมติที่ประชุมคณะกรรมการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และผู้เสียหายเจตนากำหนดคุณสมบัติผู้เสนอราคาส่อเจตนาไปในทางเอื้อประโยชน์แก่เอกชนที่มีความสัมพันธ์พิเศษกับผู้เสียหาย ซึ่งจำเลยที่ 2 ก็รับมาในฎีกาว่าเป็นข้อความที่คลาดเคลื่อนไปจริง ข้อความทั้งสองประการดังกล่าวจึงเป็นข้อความที่ยืนยันข้อเท็จจริงใส่ความผู้เสียหายด้วยการเผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์โดยประการที่ น่าจะทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง หาใช่เป็น การแสดงข้อความโดยสุจริตติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชน ย่อมกระทำไม่ จำเลยที่ 2 กระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้เสียหาย โดยการโฆษณาด้วยเอกสาร
เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328 แล้วไม่จำต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา 326 อีก
เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328 แล้วไม่จำต้องปรับบทลงโทษตามมาตรา 326 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3252/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาทจากการแจ้งความ: เจตนาใส่ความเพื่อทำลายชื่อเสียง แม้แจ้งความเพื่อเป็นหลักฐาน
จำเลยแจ้งความต่อร้อยตำรวจโท อ. เพื่อเป็นหลักฐานหากจะมีข้อความบางส่วนเป็นเท็จหรือผิดความจริงไปบ้างก็ยังไม่เป็นเหตุที่จะทำให้ร้อยตำรวจโท อ. ต้องทำการสอบสวนเนื่องจากไม่เป็นคำร้องทุกข์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(7) เมื่อจำเลยไม่มีเจตนาจะมอบเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่โจทก์ การแจ้งความของจำเลยจึงย่อมไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อันจะเป็นเหตุให้โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีเพื่อเอาผิดต่อจำเลยในความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานได้
คำว่า "ใส่ความ" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326ไม่ได้นิยามศัพท์ไว้ว่ามีความหมายว่าอย่างไร แต่ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานอธิบายว่า หมายถึงพูดหาเหตุร้าย กล่าวหาเรื่องร้ายให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย โจทก์มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับจำเลยไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะกล่าวหาเรื่องร้ายประจานโจทก์ด้วยถ้อยคำหมิ่นประมาทโจทก์ เมื่อจำเลยแจ้งความเพื่อเป็นหลักฐานเท่านั้น มิได้มีเจตนาให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีแก่โจทก์ จึงเห็นได้ว่าจำเลยมุ่งประสงค์ให้โจทก์ถูกดูหมิ่นเกลียดชังและทำลายชื่อเสียงของโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ ทั้งข้อความอันเป็นหมิ่นประมาทโจทก์เป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัวไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนแม้เรื่องที่กล่าวหาจะเป็นความจริง จำเลยก็ไม่อาจยกเอาเหตุกระทำเพื่อป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมขึ้นปฏิเสธความผิดได้
คำว่า "ใส่ความ" ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326ไม่ได้นิยามศัพท์ไว้ว่ามีความหมายว่าอย่างไร แต่ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานอธิบายว่า หมายถึงพูดหาเหตุร้าย กล่าวหาเรื่องร้ายให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย โจทก์มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับจำเลยไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะกล่าวหาเรื่องร้ายประจานโจทก์ด้วยถ้อยคำหมิ่นประมาทโจทก์ เมื่อจำเลยแจ้งความเพื่อเป็นหลักฐานเท่านั้น มิได้มีเจตนาให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีแก่โจทก์ จึงเห็นได้ว่าจำเลยมุ่งประสงค์ให้โจทก์ถูกดูหมิ่นเกลียดชังและทำลายชื่อเสียงของโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ ทั้งข้อความอันเป็นหมิ่นประมาทโจทก์เป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัวไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนแม้เรื่องที่กล่าวหาจะเป็นความจริง จำเลยก็ไม่อาจยกเอาเหตุกระทำเพื่อป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมขึ้นปฏิเสธความผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3015/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาททางวาจา: ข้อความเกี่ยวกับพฤติกรรมเจ้าชู้ไม่ถึงขั้นทำให้เสียหาย
จำเลยที่ 1 เป็นพนักงานของห้างหุ้นส่วนจำกัด ป. โจทก์เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยที่ 1 ได้ลาออกจากห้าง ฯ ไป ต่อมาในวันเกิดเหตุจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้มาที่ห้าง จำเลยที่ 1 ได้พูดกับพนักงานของห้างถึงสาเหตุที่จำเลยที่ 1 ลาออกว่า "โจทก์จะซื้อแหวนให้จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จะผ่อนคืนราคาแหวนหรือไม่ก็ได้ โจทก์เคยให้กระเป๋าสตางค์ซึ่งมีเงินจำนวนหนึ่งอยู่ในกระเป๋า โจทก์ถูกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาลแล้วให้เงิน 6,000 บาท แก่จำเลยที่ 1 โจทก์เคยจับมือจำเลยที่ 1 โจทก์เคยขับรถยนต์พาจำเลยที่ 1 ไปส่งที่บ้านของจำเลยที่ 1 หลายครั้ง การกระทำของโจทก์เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ต้องตัดสินใจลาออกจากการเป็นพนักงานของห้าง เพื่อเป็นการตัดไฟแต่ต้นลม และเพื่อมิให้เกิดความเสียหายขึ้นแก่จำเลยที่ 1 " และจำเลยที่ 2 ได้พูดว่า "โจทก์มีพฤติการณ์ไม่น่าไว้วางใจ ปฏิบัติตนต่อจำเลยที่ 1ในลักษณะหมาหยอกไก่ ถ้าจำเลยที่ 1 เล่นด้วย เรื่องก็เงียบไป แต่จำเลยที่ 1 ไม่ยอม จำเลยที่ 2 ไม่ไว้วางใจในความปลอดภัยของจำเลยที่ 1 จึงแนะนำให้จำเลยที่ 1 ออกจากงาน และห้ามมิให้จำเลยที่ 1 ทำงานล่วงเวลาเพราะไม่ต้องการให้คนอื่นเข้าใจว่าเรื่องได้เลยเถิดไปไกลแล้ว แต่จำเลยที่ 1 ยังบริสุทธิ์อยู่ จะท้าพิสูจน์ที่ไหนอย่างไรก็ได้ และความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 คงไม่เลยเถิดไปถึงขั้นสามีภริยา และโจทก์เป็นผู้มีชื่อเสียงในสังคม ถ้าเรื่องทราบถึงคนอื่นจะทำให้เกิดความเสียหาย ดังนั้น น่าจะมาเจรจากันเพื่อไม่ให้เรื่องยืดเยื้อ " ข้อความที่จำเลยที่ 1 พูดนั้น เป็นการพูดเรื่องที่เกิดขึ้นกับตนเอง ซึ่งแปลความหมายได้ว่า โจทก์เป็นคนเจ้าชู้ จำเลยที่ 1 จึงลาออกจากงานเพราะกลัวตนเองจะเสียหาย โดยไม่ปรากฏข้อความใดที่กล่าวหาว่า โจทก์ได้กระทำการอันเป็นการลวนลามจำเลยที่ 1 โดยที่จำเลยที่ 1 ไม่ยินยอม ข้อความที่แปลความหมายได้เพียงว่า โจทก์เป็นคนเจ้าชู้นี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคำว่า "เจ้าชู้" หมายความถึงผู้ใฝ่ในการชู้สาว เมื่อปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้ชาย ตามความรู้สึกของสังคมหรือคนทั่วไปที่ได้ยินข้อความที่จำเลยที่ 1 พูด ก็ไม่อาจมีความรู้สึกได้ว่าเป็นการใส่ความโจทก์ที่จะทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแก่ชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง แต่เป็นเรื่องของผู้ชายซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่จะใฝ่ในทางชู้สาวได้ คำพูดของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ ส่วนคำพูดของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นการพูดภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 พูดแล้วนั้น ก็เป็นการยืนยันถึงความเป็นคนเจ้าชู้ของโจทก์ ซึ่งมิได้ก่อให้เกิดอันตรายแก่จำเลยที่ 1 และไม่เคยกระทำการอันเป็นการก้าวล่วงลวนลามจำเลยที่ 1 ให้เกิดความเสียหาย แต่การกระทำของโจทก์เป็นการหยอกล้อจำเลยที่ 1 เหมือนหมาหยอกไก่ที่จำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 ลาออกจากงานและไม่ให้ทำงานล่วงเวลาก็ไม่ใช่เพราะกลัวโจทก์แต่อย่างใดไม่ แต่กลัวคนอื่น จะเข้าใจผิด อันเป็นการยืนยันถึงความบริสุทธิ์ของโจทก์ว่า โจทก์ไม่เคยทำอะไรให้จำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหายมาก่อน คำพูดของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3015/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพูดเรื่องความเจ้าชู้ไม่ถึงขั้นหมิ่นประมาท เพราะเป็นเรื่องปกติทางสังคมและไม่มีความเสียหาย
ข้อความที่จำเลยที่ 1 พูด เป็นการพูดเรื่องที่เกิดขึ้นกับตนเอง ซึ่งแปลความหมายได้ว่าโจทก์เป็นคนเจ้าชู้ จำเลยที่ 1 จึงลาออกจากงานเพราะกลัวตนเองจะเสียหาย โดยไม่ปรากฏข้อความใดที่กล่าวหาว่าโจทก์ได้กระทำการอันเป็นการลวนลามจำเลยที่ 1 โดยที่จำเลยที่ 1 ไม่ยินยอม ข้อความที่แปลความหมายได้เพียงว่า โจทก์เป็นคนเจ้าชู้นี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคำว่า "เจ้าชู้" หมายความถึง ผู้ใฝ่ในการชู้สาว เมื่อปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้ชาย ตามความรู้สึกของสังคมหรือคนทั่วไปที่ได้ยินข้อความที่จำเลยที่ 1 พูด ก็ไม่อาจมีความรู้สึกได้ว่าเป็นการใส่ความโจทก์ที่จะทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแก่ชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังแต่อย่างใด แต่เป็นเรื่องของผู้ชายซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่จะใฝ่ในทางชู้สาวได้ คำพูดของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์
ส่วนคำพูดของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นการพูดภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 พูดแล้วนั้น ก็เป็นการยืนยันถึงความเป็นคนเจ้าชู้ของโจทก์ ซึ่งมิได้ก่อให้เกิดอันตรายแก่จำเลยที่ 1 และไม่เคยกระทำการอันเป็นการก้าวล่วงลวนลามจำเลยที่ 1 ให้เกิดความเสียหายแต่อย่างใด แต่การกระทำของโจทก์เป็นการหยอกล้อจำเลยที่ 1 เหมือนหมาหยอกไก่ ที่จำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 ลาออกจากงานและไม่ให้ทำงานล่วงเวลาก็ไม่ใช่เพราะกลัวโจทก์แต่อย่างใดไม่ แต่กลัวคนอื่นจะเข้าใจผิด อันเป็นการยืนยันถึงความบริสุทธิ์ของโจทก์ว่าโจทก์ไม่เคยทำอะไรให้จำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหายมาก่อน คำพูดของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์
ส่วนคำพูดของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นการพูดภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 พูดแล้วนั้น ก็เป็นการยืนยันถึงความเป็นคนเจ้าชู้ของโจทก์ ซึ่งมิได้ก่อให้เกิดอันตรายแก่จำเลยที่ 1 และไม่เคยกระทำการอันเป็นการก้าวล่วงลวนลามจำเลยที่ 1 ให้เกิดความเสียหายแต่อย่างใด แต่การกระทำของโจทก์เป็นการหยอกล้อจำเลยที่ 1 เหมือนหมาหยอกไก่ ที่จำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 ลาออกจากงานและไม่ให้ทำงานล่วงเวลาก็ไม่ใช่เพราะกลัวโจทก์แต่อย่างใดไม่ แต่กลัวคนอื่นจะเข้าใจผิด อันเป็นการยืนยันถึงความบริสุทธิ์ของโจทก์ว่าโจทก์ไม่เคยทำอะไรให้จำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหายมาก่อน คำพูดของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 219/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคืนการให้เนื่องจากบุตรประพฤติเนรคุณ หมิ่นประมาทร้ายแรง และสิ้นความเคารพยำเกรงมารดา
หลังจากโจทก์ยกที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่จำเลยซึ่งเป็นบุตรแล้วจำเลยยังคงเลี้ยงดูโจทก์โดยโจทก์อาศัยอยู่ในบ้านดังกล่าว ต่อมาจำเลยเริ่มเปลี่ยนแปลงโดยแสดงอาการรังเกียจเมื่อโจทก์ไปที่บ้านจำเลย และต่อมาเริ่มด่าว่าโจทก์ว่า"อีหัวหงอก อีสันดานหมา ไม่รู้จักภาษาคนมึงจะไปอยู่ที่ไหนก็ไป" กับเคยด่าโจทก์ว่า"อีหัวหงอก อีหัวโคน อีสันดานหมา อีตายยาก กูเกิดผิดพ่อผิดแม่ กูเกิดหลงรู"หลังจากนั้นจำเลยขายบ้านที่โจทก์อยู่อาศัยโดยมิได้บอกกล่าว ผู้ซื้อจึงได้รื้อถอนบ้านดังกล่าวไป จำเลยบอกโจทก์ว่า "ก็ไม่เลี้ยงมึงอีก มึงจะไปอยู่ที่ไหนก็ไป" โจทก์จึงไปอาศัยอยู่กับน้องสาวจำเลย การที่จำเลยด่าว่าโจทก์ด้วยถ้อยคำรุนแรงดังกล่าวแสดงว่าจำเลยสิ้นความเคารพยำเกรงโจทก์ซึ่งเป็นมารดาเป็นการลบหลู่ และอกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ หาใช่เป็นเพียงถ้อยคำไม่สุภาพหรือไม่สมควรกระทำต่อมารดาไม่ ถือได้ว่าเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง โจทก์จึงมีสิทธิถอนคืนการให้ เพราะจำเลยประพฤติเนรคุณได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 531(2) แม้คำเบิกความของพยานโจทก์จะมิได้ระบุว่า จำเลยด่าโจทก์เมื่อใด ก็มิใช่สาระสำคัญที่ถึงขนาดทำให้พยานหลักฐานของโจทก์รับฟังไม่ได้เสียเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1724/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การวิจารณ์พฤติกรรมผู้นำสหกรณ์และการเชื่อมโยงกับข้อกล่าวหาทุจริต
จำเลยที่ 2 ได้เขียนบทความเกี่ยวกับโจทก์ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ ก.เปรียบเทียบโจทก์กับบุคคลอีกคนหนึ่งว่ามีจิตวิญญาณของครูโดยแท้ ส่วนโจทก์น่าจะเรียกว่าผู้รับจ้างสอนมากกว่า เพราะมีพฤติกรรมตรงกันข้ามกับบุคคลดังกล่าวราวฟ้ากับดินและข้อความที่ว่า อย่าไปบ้าจี้กับผู้นี้ (โจทก์) มากนักเพราะแทนที่จะส่งเสริมให้สหกรณ์เจริญก้าวหน้ากลับจะเป็นการฉุดรั้งความก้าวหน้ากับข้อความว่า โจทก์สมัครเข้าเป็นสมาชิกร้านสหกรณ์ พ. อีกแห่งหนึ่ง หลังเข้ามากวนน้ำให้ขุ่นอย่างมีวัตถุประสงค์อะไรน่าระอาเต็มทนกับพฤติกรรมของคนประเภทนี้เป็นการเปรียบเทียบและมีความหมายให้ผู้อื่นที่ได้อ่าน ได้ยินหรือได้ฟังเกิดความรู้สึกและเข้าใจต่อตัวโจทก์ว่ามีพฤติกรรมไปในทางไม่ดี ไม่เหมาะสมที่จะเป็นครูน่าจะเรียกว่าผู้รับจ้างสอนและเป็นผู้ทำลายวงการสหกรณ์ น่าระอากับพฤติกรรมของโจทก์แม้ข้อความบางตอนเป็นการชี้แจงตอบโต้ถึงเรื่องที่โจทก์กล่าวหาอันพอจะถือได้ว่าเป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรมป้องกันตนหรือส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม แต่การที่จำเลยที่ 2 อ้างว่าเป็นการตอบโต้ถึงเรื่องที่โจทก์มักจะกล่าวโจมตีผู้อื่นและร้องเรียนผู้อื่นต่อนายทะเบียนสหกรณ์ซึ่งไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 เป็นเรื่องของผู้ที่ถูกร้องเรียนกล่าวหาจะแสดงความคิดเห็นหรือข้อความเพื่อป้องกันส่วนได้เสียของตนเอง แม้บทความของจำเลยที่ 2 จะชี้แจงถึงระบบสหกรณ์อยู่ด้วย แต่เมื่ออ่านประกอบกันแล้วถือไม่ได้ว่าเป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำฟ้องอาญาหมิ่นประมาท: ศาลจำกัดการพิจารณาเฉพาะข้อความที่บรรยายในคำฟ้องเท่านั้น
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยกับพวกนำข้อความที่ว่า โจทก์สมคบกับประธานสภาจังหวัด ช. ประวิงหรือหลีกเลี่ยง ละเว้นไม่พิจารณาคำขอเปิดประชุมสภาจังหวัดสมัยวิสามัญประจำปีของจำเลยกับพวกซึ่งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและประเพณีปฏิบัติราชการไปยื่นฟ้อง และจำเลยกับพวกจัดการโฆษณาเผยแพร่ข้อความตามคำฟ้องในหนังสือพิมพ์ ทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นและถูกเกลียดชัง ขอให้ลงโทษตาม ป.อ.มาตรา 326, 328, 83 แต่ทางพิจารณาปรากฏว่า ข้อความที่พิมพ์เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์นอกจากจะเป็นข้อความตามคำฟ้องของจำเลยกับพวกแล้ว ยังมีข้อความเพิ่มเติมเป็นเบื้องหลังการที่โจทก์ไม่สั่งเปิดประชุมสภาจังหวัดเพราะเกี่ยวข้องกับการทุจริตและการย้ายข้าราชการโดยไม่เป็นธรรมอันเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ขึ้นใหม่อีกส่วนหนึ่ง ข้อความหมิ่นประมาทถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดฐานหมิ่นประมาท เมื่อโจทก์มิได้บรรยายไว้ให้ปรากฏในคำฟ้องถือได้ว่าไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ศาลจึงไม่อาจนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาพิจารณาลงโทษจำเลยได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสี่