พบผลลัพธ์ทั้งหมด 393 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยหลังสัญญา และเบี้ยปรับ: ศาลฎีกาชี้ขาดขอบเขตการบังคับใช้
เบี้ยปรับนั้นเป็นข้อกำหนดในสัญญาที่ลูกหนี้ตกลงไว้ล่วงหน้ายอมชดใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่เจ้าหนี้ในกรณีที่ลูกหนี้เป็นฝ่ายผิดนัดหรือผิดสัญญา ตามสัญญากู้ฉบับพิพาทกำหนดว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารเป็นรายเดือนดังนี้ ปีแรกอัตราดอกเบี้ยร้อยละ12.95 ต่อปี ปีที่ 2 เป็นต้นไป แบบอัตราดอกเบี้ยลอยตัว(FLOATINGRATE) ในอัตราร้อยละ HLR-0.5 ต่อปี(ซึ่ง ณ วันทำสัญญาอัตราดอกเบี้ย HLR-14.0 ต่อปี) แต่หากธนาคารจะขึ้นหรือปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามความเหมาะสมโดยไม่เกินกว่ากฎหมายอนุญาตให้คิดได้ ผู้กู้ตกลงให้ธนาคารมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราใหม่ได้ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบ โดยให้ถือว่า ผู้กู้ได้ทราบและให้ความยินยอมต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวไว้ล่วงหน้าแล้วโดยไม่โต้แย้งใด ๆ ทั้งสิ้น และตามสัญญาจำนองที่ดินฉบับพิพาทก็กำหนดให้สิทธิโจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้ในทำนองเดียวกันนั้น อันเป็นกรณีที่จำเลยให้สิทธิแก่โจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยที่ตกลงกันไว้ในวันทำสัญญาให้สูงขึ้นอีกได้ ไม่ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดนัดหรือผิดสัญญาหรือไม่ก็ตาม ข้อตกลงดังกล่าวไม่ใช่เรื่องเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ศาลจึงไม่อาจใช้ดุลพินิจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 จำเลยชำระเงินตามสัญญากู้ให้โจทก์ทุกเดือนตามสัญญาเรื่อยมาโดยชำระครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2540 แล้วก็ผิดนัดจนโจทก์มีหนังสือทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองให้จำเลยดำเนินการชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองให้เสร็จสิ้นภายในวันที่5 ตุลาคม 2540 และหนังสือดังกล่าวไปถึงจำเลยแล้วเมื่อวันที่ 18 กันยายน 2540 สัญญากู้จึงเป็นอันสิ้นสุดแล้ว สิทธิของโจทก์ที่จะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยคงมีอยู่ก่อนวันที่สัญญากู้สิ้นสุดเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าก่อนวันดังกล่าวโจทก์มีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นไม่เกินอัตราร้อยละ19 ต่อปี ตามประกาศเรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อมิใช่ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 24 ต่อปี นับแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2540ตามอัตราที่โจทก์คิดคำนวณเอาโดยอาศัยตามประกาศ เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อ ซึ่งเป็นประกาศของของโจทก์หลังจากที่สัญญากู้ได้สิ้นสุดไปแล้ว ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4477/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเภททรัพย์สินสมรส: พิจารณาตามกฎหมายขณะได้มา แม้มีการเปลี่ยนแปลงภายหลัง
การพิจารณาว่าทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสามีภริยาเป็นประเภทใดต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ได้มา
จำเลยได้รับที่ดินพิพาทโดยทางพินัยกรรมในระหว่างสมรสและไม่มีการระบุว่าให้เป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัวเมื่อปี พ.ศ. 2509 ในขณะที่ใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 เดิม ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยตามบรรพ 5 เดิมมาตรา 1466 วรรคหนึ่ง แม้ต่อมาจะได้มีการแบ่งแยกที่ดินและออกโฉนดใหม่ เมื่อป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับแล้ว ก็เป็นเรื่องการแบ่งทรัพย์สินในระหว่างผู้ถือกรรมสิทธิ์รวม ไม่ทำให้ที่ดินพิพาทหลังจากแบ่งแยกโฉนดแล้วเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัวตามมาตรา 1471 (3)
จำเลยได้รับที่ดินพิพาทโดยทางพินัยกรรมในระหว่างสมรสและไม่มีการระบุว่าให้เป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัวเมื่อปี พ.ศ. 2509 ในขณะที่ใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 เดิม ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยตามบรรพ 5 เดิมมาตรา 1466 วรรคหนึ่ง แม้ต่อมาจะได้มีการแบ่งแยกที่ดินและออกโฉนดใหม่ เมื่อป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับแล้ว ก็เป็นเรื่องการแบ่งทรัพย์สินในระหว่างผู้ถือกรรมสิทธิ์รวม ไม่ทำให้ที่ดินพิพาทหลังจากแบ่งแยกโฉนดแล้วเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัวตามมาตรา 1471 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3383/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงรอฟังผลคดีอื่น การเปลี่ยนแปลงคดีที่อ้างถึง และการวินิจฉัยโดยอาศัยผลคดีที่เปลี่ยนแปลง
แม้คู่ความตกลงขอถือเอาผลแห่งคดีหมายเลขดำที่ 1227/2533 มาเป็นข้อชี้ขาดเพียงประเด็นเดียวก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นคำแถลงว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ร้องในคดีแพ่ง หมายเลขดำที่ 1227/2533 ได้ถอนคำร้องคดีดังกล่าวและยื่นคำร้องใหม่เป็นคดีหมายเลขดำที่ 976/2534 ซึ่งมีประเด็น ของคำร้องเช่นเดียวกันกับคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1227/2533 ทุกประการ และขอให้ศาลรอผลการพิจารณาคดีแพ่ง หมายเลขดำที่ 976/2534 ซึ่งศาลชั้นต้นจดรายงาน กระบวนพิจารณาว่าสมควรรอผลการพิจารณาคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 976/2534 ซึ่งมีประเด็นอันเดียวกันกับ คดีนี้ก่อนแสดงว่าคู่ความตกลงขอถือเอาผลแห่งคดีหมายเลขดำที่ 976/2534(คดีหมายเลขแดงที่ 1240/2536) มาเป็นข้อชี้ขาดคดีนี้แทน ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองชี้ขาดคดีโดยอาศัยผลคดีของคดีหมายเลขแดงที่ 1240/2536 ชี้ขาดคดีจึงหาเป็นการนำเอาข้อเท็จจริงนอกข้อตกลงมาวินิจฉัยชี้ขาดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1243/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงประเด็นข้อพิพาทโดยศาล ชอบธรรมหากประเด็นใหม่ครอบคลุมประเด็นเดิม
เดิมศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ข้อ 1 จำเลยทั้งสองเช่าที่ดินและค้างชำระค่าเช่าที่ดินโจทก์หรือไม่ เพียงใด ข้อ 2 โจทก์บอกเลิกการเช่าที่ดินโดยชอบหรือไม่ ข้อ 3 โจทก์เสียหายหรือไม่ เพียงใด ต่อมาศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่เป็นว่า ข้อ 1 ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ที่ 1 หรือไม่ และข้อ 2 จำเลยทั้งสองเช่าที่ดินพิพาทของโจทก์ที่ 1 จากโจทก์ที่ 2 และค้างชำระค่าเช่าหรือไม่ และค่าเสียหายของโจทก์มีเพียงใด เป็นเรื่องที่ศาลต้องวินิจฉัยเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ที่ 1 หรือไม่ เมื่อฟังเป็นยุติว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ที่ 1 จึงจะมาพิจารณาต่อว่าจำเลยทั้งสองเช่าที่ดินพิพาทหรือไม่ หากฟังเป็นยุติว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ที่ 1 ก็ไม่ต้องพิจารณาต่อไปในเรื่องการเช่าและค่าเสียหายอีก จำเลยทั้งสองให้การและนำสืบว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองไม่เคยขายให้โจทก์ที่ 1 ไม่มีการเช่าที่ดินพิพาท อันเป็นการนำสืบไปตามประเด็นข้อพิพาทข้อ 1 เดิม และขณะเดียวกันก็สืบไปตามประเด็นข้อพิพาทข้อ 1 และข้อ 2 ใหม่ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ภายหลังไม่มีผลต่อการนำสืบและรับฟังข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของจำเลยทั้งสอง การที่ศาลชั้นต้นเพิกถอนการชี้สองสถานเดิมและกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ โดยมีเนื้อหาหรือข้อตามที่ครอบคลุมกว้างขวางขึ้น แต่ประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดใหม่ยังคงมีความหมายรวมอยู่ในประเด็นเดิมจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6966/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 และการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีตามมูลค่าฐานภาษี
ขณะที่โจทก์ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในวันที่ 29 มกราคม 2535โจทก์มีรายได้หรือมูลค่าของฐานภาษีในปีที่ผ่านมาคือปี 2534 ไม่เกิน 1,200,000 บาทโจทก์ย่อมมีสิทธิจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตาม ป.รัษฎากรมาตรา 82/16 ซึ่งเสียภาษีในอัตราร้อยละ 1.5 ได้ ต่อมาเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม2535 โจทก์มีรายได้หรือมูลค่าของฐานภาษีเพิ่มขึ้นเกินกว่า 1,200,000 บาท โจทก์ก็ได้แจ้งเปลี่ยนแปลงเพื่อเสียภาษีในอัตราร้อยละ 7 ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 82/18(2)เมื่อเดือนกันยายน 2535 พร้อมทั้งเสียค่าปรับในการที่แจ้งเปลี่ยนแปลงล่าช้ากว่ากำหนดด้วย ซึ่งแสดงว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในกฎหมายแล้ว นอกจากนี้มาตรา82/18(2) ก็บัญญัติไว้ได้ความชัดเจนว่า เมื่อมูลค่าของฐานภาษีเกินกว่า 1,200,000บาท ผู้ประกอบการไม่มีสิทธิคำนวณเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/16 คือ ร้อยละ1.5 อีกต่อไป แสดงว่า ก่อนหน้านั้นผู้ประกอบการมีสิทธิที่จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 นั่นเอง การที่โจทก์เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ตั้งแต่เดือนมกราคม 2535 ถึงเดือนกรกฎาคม 2535 จึงเป็นการชอบด้วยบทบัญญัติในมาตรา82/16 และมาตรา 82/18(2) ประกอบด้วย พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการกำหนดมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและมูลค่าของฐานภาษีของกิจการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/16 แห่ง ป.รัษฎากร (ฉบับที่ 237) พ.ศ.2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6966/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 1.5% เมื่อรายได้ยังไม่เกิน 1,200,000 บาท และผลของการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษี
ขณะที่โจทก์ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในวันที่29 มกราคม 2535 โจทก์มีรายได้หรือมูลค่าของฐานภาษีในปีที่ผ่านมาคือปี 2534 ไม่เกิน 1,200,000 บาทโจทก์ย่อมมีสิทธิจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 82/16 ซึ่งเสียภาษี ในอัตราร้อยละ 1.5 ได้ ต่อมาเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม2535 โจทก์มีรายได้หรือมูลค่าของฐานภาษีเพิ่มขึ้นเกินกว่า1,200,000 บาท โจทก์ก็ได้แจ้งเปลี่ยนแปลงเพื่อเสียภาษีในอัตราร้อยละ 7 ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 82/18(2)เมื่อเดือนกันยายน 2535 พร้อมทั้งเสียค่าปรับในการที่แจ้งเปลี่ยนแปลงล่าช้ากว่ากำหนดด้วย ซึ่งแสดงว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตาม ขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในกฎหมายแล้ว นอกจากนี้มาตรา 82/18(2) ก็บัญญัติไว้ได้ความชัดเจนว่า เมื่อมูลค่าของฐานภาษีเกินกว่า 1,200,000 บาท ผู้ประกอบการไม่มีสิทธิคำนวณเสียภาษี มูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/16 คือ ร้อยละ 1.5 อีกต่อไป แสดงว่า ก่อนหน้านั้นผู้ประกอบการมีสิทธิที่จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 1.5 นั่นเอง การที่โจทก์เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 1.5 ตั้งแต่เดือนมกราคม 2535 ถึง เดือนกรกฎาคม 2535 จึงเป็นการชอบด้วยบทบัญญัติในมาตรา 82/16 และมาตรา 82/18(2) ประกอบด้วยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมซึ่งได้ รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและมูลค่าของฐานภาษีของกิจการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/16 แห่งประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 237) พ.ศ. 2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6878/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คำพิพากษาศาลฎีกาผูกพันโจทก์ ห้ามรื้อร้องประเด็นเดิม แม้ข้ออ้างเปลี่ยนแปลง
คดีก่อนโจทก์ที่ 2 คดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยโดยมีโจทก์ที่ 1 คดีนี้เข้าเป็นโจทก์ร่วม ขอให้บังคับจำเลยคืนคู่ฉบับสัญญากู้ยืมเงิน และโฉนดที่ดินรวม7 ฉบับ ที่โจทก์ที่ 2 มอบให้จำเลยไว้เป็นการประกันหนี้เงินกู้ ศาลฎีกาได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีไว้แล้วว่า โจทก์ทั้งสองพิสูจน์ไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองชำระหนี้เงินกู้ยืมให้แก่จำเลยเรียบร้อยแล้ว โจทก์ทั้งสองย่อมไม่อาจเรียกเอาโฉนดที่ดินที่วางไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้ยืมจากจำเลยได้ จึงพิพากษายกคำขอที่ให้จำเลยคืนโฉนดที่ดินแก่โจทก์ส่วนคู่ฉบับสัญญากู้ยืมเงินศาลฎีกาในคดีก่อนวินิจฉัยว่า จำเลยเอาสัญญากู้ยืมเงินคู่ฉบับของโจทก์ที่ 2 ไปจากโจทก์ที่ 2 ซึ่งสัญญากู้ยืมเงินคู่ฉบับดังกล่าวเป็นสิทธิของโจทก์ที่ 2 จำเลยไม่มีสิทธิที่จะยึดหน่วงเอกสารดังกล่าวไว้ จึงต้องคืนให้โจทก์ที่ 2 คดีถึงที่สุดแล้ว การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เพื่อให้จำเลยคืนโฉนดที่ดินทั้ง 7 ฉบับ ดังกล่าวและสัญญากู้ยืมเงินฉบับเดียวกันนั้นอีกด้วยความประสงค์เช่นเดิม เห็นได้ว่าเป็นกรณีที่คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันแม้ในคดีก่อนโจทก์ทั้งสองจะอ้างว่าโจทก์ที่ 2 ทำสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวโดยมอบโฉนดที่ดินทั้ง 7 ฉบับ นั้นแก่จำเลยเป็นประกันหนี้เงินกู้ยืม และโจทก์ที่ 2 ได้ชำระหนี้เงินกู้ยืมดังกล่าวเป็นเช็คแก่จำเลยเรียบร้อยแล้ว แต่จำเลยมาขอสัญญากู้ยืมเงินคู่ฉบับจากพนักงานของโจทก์ที่ 2 โดยอ้างว่าจะคืนให้แล้วไม่คืน ส่วนในคดีนี้โจทก์ทั้งสองกลับอ้างว่าโจทก์ที่ 2 ขอสินเชื่อจากจำเลยโดยวิธีนำเช็คของโจทก์ที่ 1 ไปขายลดให้แก่จำเลย และโจทก์ที่ 2 ทำสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวมอบให้จำเลยไว้โดยไม่มีการมอบเงินกันจริง พร้อมทั้งมอบโฉนดที่ดินทั้ง 7 ฉบับ ให้จำเลยไว้เป็นประกันหนี้ขายลดเช็คดังกล่าวและอ้างว่าสัญญาขายลดเช็คดังกล่าวสิ้นสุดลงแล้ว โจทก์ทั้งสองไม่มีหนี้ติดค้างต่อจำเลยก็ตาม แต่โจทก์ทั้งสองก็คงอาศัยเหตุอย่างเดียวกันคือโจทก์ทั้งสองมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยคืนโฉนดที่ดินทั้ง 7 ฉบับ และสัญญากู้ยืมเงินที่จำเลยยึดถือไว้ให้แก่โจทก์ได้หรือไม่ ซึ่งศาลฎีกาได้วินิจฉัยไปในคดีก่อนแล้วมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีก คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนย่อมผูกพันโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองไม่อาจอ้างข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นได้อีก ดังนั้น ฟ้องของโจทก์ทั้งสองในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6256/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตรหลังหย่า: เปลี่ยนแปลงได้ตามเจตนาบุตรและสถานการณ์ปัจจุบัน
โจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสเป็นสามีภริยากัน ระหว่างอยู่กินด้วยกันมีบุตร 1 คน คือ ส. อายุ 15 ปี 2 เดือน ต่อมาโจทก์จำเลยได้จดทะเบียนหย่ากันและตกลงให้ ส.อยู่ในความปกครองของโจทก์ แม้หลังจากโจทก์จำเลยหย่ากันแล้ว ส.อยู่กับจำเลยและจำเลยเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดู ส. อันเป็นเหตุให้ศาลล่างทั้งสองเพิกถอนอำนาจปกครองของโจทก์เสีย แต่เมื่อ ส.ได้ยื่นคำร้องแนบท้ายฎีกาโจทก์ว่า ขณะที่โจทก์จำเลยพิพาทกัน ส.ไปทำงานที่กรุงเทพมหานคร ไม่ได้อยู่กับโจทก์จำเลย ต่อมา ส.ได้กลับมาทำงานที่จังหวัดหนองคายรับทราบว่าโจทก์จำเลยฟ้องร้องกัน และ ส.ประสงค์จะอยู่ความปกครองของโจทก์ เนื่องจากจำเลยมีสามีใหม่ ศาลชั้นต้นได้สอบ ส.แล้วยืนยันว่าเป็นบุตรของโจทก์จำเลยและประสงค์จะอยู่ในความปกครองของโจทก์ ทั้งปัจจุบันได้อาศัยอยู่กับโจทก์ ปัจจุบัน ส.อาศัยอยู่กับโจทก์และไม่ประสงค์จะอยู่กับจำเลย แม้ข้อเท็จจริงดังกล่าวจะปรากฏขึ้นในภายหลังโดยที่โจทก์มิได้นำสืบในชั้นพิจารณา แต่กรณีนี้ถือได้ว่าเหตุที่จะให้ถอนอำนาจปกครองของโจทก์ได้สิ้นไปแล้ว ศาลฎีกาย่อมที่จะสั่งให้โจทก์มีอำนาจปกครองดังเดิมได้ เมื่อส.อยู่กับจำเลยและจำเลยเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดู ส.ได้หมดสิ้นไปแล้ว กรณีจึงไม่มีเหตุจะถอนอำนาจปกครองของโจทก์อีก สมควรให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองของ ส.ต่อไป ตลอดจนโจทก์ไม่จำต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรให้แก่จำเลยตามที่ศาลล่างทั้งสองได้พิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6256/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตรเปลี่ยนแปลงได้ตามเจตนาบุตรและสถานการณ์ปัจจุบัน แม้มีคำพิพากษาเดิม
โจทก์จำเลยจดทะเบียนสมรสเป็นสามีภริยากันระหว่างอยู่กินด้วยกันมีบุตร 1 คน คือ ส. อายุ 15 ปี 2 เดือนต่อมาโจทก์จำเลยได้จดทะเบียนหย่ากันและตกลงให้ส.อยู่ในความปกครองของโจทก์ แม้หลังจากโจทก์จำเลยหย่ากันแล้ว ส. อยู่กับจำเลยและจำเลยเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูส.อันเป็นเหตุให้ศาลล่างทั้งสองเพิกถอนอำนาจปกครองของโจทก์เสีย แต่เมื่อ ส.ได้ยื่นคำร้องแนบท้ายฎีกา โจทก์ว่า ขณะที่โจทก์จำเลยพิพาทกัน ส.ไปทำงานที่กรุงเทพมหานคร ไม่ได้อยู่กับโจทก์จำเลย ต่อมา ส. ได้กลับมาทำงานที่จังหวัดหนองคายรับทราบว่าโจทก์จำเลย ฟ้องร้องกัน และ ส. ประสงค์จะอยู่ในความปกครองของโจทก์เนื่องจากจำเลยมีสามีใหม่ ศาลชั้นต้นได้สอบ ส. แล้วยืนยันว่าเป็นบุตรของโจทก์จำเลยและประสงค์ จะอยู่ในความปกครองของโจทก์ ซึ่งปัจจุบันได้อาศัยอยู่ด้วยและไม่ประสงค์จะอยู่กับจำเลย แม้ข้อเท็จจริงดังกล่าวจะปรากฏขึ้นในภายหลังโดยที่โจทก์มิได้นำสืบในชั้นพิจารณาแต่กรณีนี้ถือได้ว่าเหตุที่จะให้ถอนอำนาจปกครองของโจทก์ได้สิ้นไปแล้วศาลฎีกาย่อมที่จะสั่งให้โจทก์มีอำนาจปกครองดังเดิมได้ เมื่อข้อเท็จจริงที่ ส. อยู่กับจำเลยและจำเลยเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดู ส. ได้หมดสิ้นไปแล้ว กรณีจึงไม่มีเหตุจะถอนอำนาจปกครองของโจทก์อีก สมควรให้โจทก์ เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองของ ส. ต่อไปตลอดจนโจทก์ไม่จำต้องจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรให้แก่จำเลยตามที่ศาลล่างทั้งสองได้พิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3932/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ผลผูกพันคำพิพากษาเดิมและการเปลี่ยนแปลงคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทเป็นคดีนี้ โจทก์อ้างผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งพิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเป็นของบิดาโจทก์ซึ่งตกทอดได้แก่โจทก์ และโจทก์ได้มอบให้จำเลยเข้าทำประโยชน์ เพราะโจทก์กู้เงินจำเลยไป600 บาท เป็นคำฟ้องเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดกของโจทก์ ดังนี้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมผูกพันคู่ความนับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษาจนถึงวันที่คำพิพากษานั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 เมื่อปรากฏว่าขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้ ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสียแล้ว โดยพิพากษาว่า ไม่มีการกู้ยืมเงินกันระหว่างโจทก์กับจำเลยแล้ว ย่อมไม่มีการคิดดอกเบี้ยโดยมอบที่ดินพิพาทให้ทำกินต่างดอกเบี้ยได้ จึงเป็นคำพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยแล้ว ย่อมมีผลผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ.ดังกล่าวข้างต้น การที่โจทก์มาฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทเป็นคดีนี้ จึงเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148