คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เลิกสัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 598 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3753/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาจะซื้อจะขายและการคืนเงินมัดจำเมื่อลูกหนี้ผิดสัญญา
เจ้าหนี้กล่าวหาว่าลูกหนี้ผิดสัญญาจะซื้อขายและได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังลูกหนี้ ลูกหนี้มิได้โต้แย้งแต่ประการใด จึงรับฟังได้ว่าลูกหนี้เป็นฝ่ายผิดสัญญาเจ้าหนี้จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญา และผลของการเลิกสัญญาคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 ลูกหนี้ต้องคืนเงินที่ได้รับชำระไว้จากเจ้าหนี้ พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5ต่อปี นับแต่วันที่ลูกหนี้รับไว้ แม้ลูกหนี้จะมีหนังสือแจ้งให้เจ้าหนี้ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญา และเจ้าหนี้ได้ติดต่อกับลูกหนี้และทำบันทึกข้อตกลงกันอย่างไร ก็เป็นเอกสารที่ได้กระทำขึ้นภายหลังที่สัญญาเลิกกันแล้ว จึงไม่มีผลผูกพันเจ้าหนี้และลูกหนี้แต่ประการใด เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 185/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าเช่าและค่าใช้จ่ายส่วนกลาง, การเลิกสัญญาสิทธิการเช่าต้องทำเป็นหนังสือ
ทรัพย์สินที่บริษัทโจทก์ให้จำเลยได้สิทธิเป็นผู้เช่าเป็นร้านค้าเพื่อใช้เป็นที่ประกอบการค้า จึงเป็นการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/33(3) ให้สิทธิเรียกร้องค่าเช่าทรัพย์สินที่ค้างชำระมีอายุความ 5 ปี ค่าภาษีและค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายที่โจทก์ได้จัดขึ้นเพื่อรักษาความปลอดภัย รักษาความสะอาดไอเย็น แสงสว่าง สิ่งอื่นใดเพื่ออำนวยความสะดวกอันเป็นส่วนกลางที่ใช้ร่วมกันค่าใช้จ่ายด้านการโฆษณาและส่งเสริมการขาย ล้วนมีลักษณะเป็นค่าใช้จ่ายอันเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่า จึงมีอายุความ 5 ปี เช่นเดียวกับค่าเช่าทรัพย์สินที่ค้างชำระตามมาตราดังกล่าว
การที่บันทึกข้อตกลงยกเลิกสัญญาจองสิทธิการเช่าระบุว่า โจทก์และจำเลยประสงค์จะยกเลิกสัญญาจองสิทธิการเช่าโดยตกลงโอนเงินค่าตอบแทนสิทธิการเช่าไปเป็นเงินประกันสัญญาเช่าพื้นที่ สัญญาสิทธิการได้ใช้บริการอุปกรณ์ระบบสาธารณูปโภค และสัญญาให้บริการภายในอาคาร ที่จะทำขึ้นต่อไป แล้วคืนเงินค่าตอบแทนสิทธิการเช่าที่เหลือแก่จำเลย จึงได้ทำบันทึกและลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานต่อหน้าพยานนั้น แสดงให้เห็นว่า โจทก์และจำเลยตกลงว่าจะต้องทำสัญญายกเลิกสัญญาจองสิทธิการเช่ากันเป็นหนังสือ ดังนั้น เมื่อโจทก์และจำเลยยังมิได้ลงลายมือชื่อในบันทึกข้อตกลงยกเลิกสัญญาจองสิทธิการเช่า ย่อมถือไม่ได้ว่าได้มีการทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวแล้ว กรณีหามีผลเป็นการเลิกสัญญาจองสิทธิการเช่าทันทีไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 510/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยหลังเลิกสัญญา: โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราเดิมได้ หากจำเลยเคยตกลงไว้แต่แรก
ธนาคารโจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาและบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยให้จำเลยชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 15.5 ต่อปี ดังนั้น ภายหลังจากเลิกสัญญาโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราเดิมคือร้อยละ 15.5 ต่อปี ไปจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้เสร็จสิ้นเท่านั้น เพราะเป็นกรณีที่ถือได้ว่าจำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวมาแต่ต้น โจทก์ไม่อาจอาศัยข้อสัญญาซึ่งสิ้นสุดไปแล้วมาทำการปรับอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากจำเลยให้สูงขึ้นตามประกาศของโจทก์ได้อีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4251/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกสัญญาเช่า: พิจารณาจากเหตุแห่งการฟ้องเรียกร้อง
คำฟ้องของโจทก์ได้กล่าวบรรยายฟ้องด้วยว่า โจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่จำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าคืนและครอบครองใช้ทรัพย์สินที่เช่าของโจทก์ตลอดมา อันเป็นการผิดสัญญาเช่าที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อกัน และจำเลยที่ 1 ตกลงชำระค่าเสียหายดังกล่าวรวมทั้งค่าขาดราคาทรัพย์สินที่เช่าเมื่อได้มีการเลิกสัญญานั้นแล้วด้วย แม้คำฟ้องจะใช้ถ้อยคำบางตอนว่าฟ้องเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระก็ตาม กรณีก็ถือได้ว่าข้อที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องมานั้นเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายโดยอาศัยเหตุมาจากการเลิกสัญญาเช่า และถือได้ว่าตามคำฟ้องของโจทก์ได้เรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสี่เป็น 2 ประการ คือ ค่าเสียหายที่โจทก์ผู้ให้เช่าต้องขาดประโยชน์ที่ควรจะได้จากการเอาทรัพย์สินที่เช่าออกให้เช่าประการหนึ่ง และค่าขาดราคาทรัพย์สินที่เช่าอีกประการหนึ่ง ซึ่งค่าเสียหายทั้งสองกรณีนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ คดีจึงมีกำหนดอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4251/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าเสียหายจากการเลิกสัญญาเช่า: คดีไม่ขาดอายุความเมื่อฟ้องภายใน 10 ปีนับจากวันเลิกสัญญา
คำฟ้องของโจทก์ได้กล่าวบรรยายฟ้องด้วยว่า โจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่จำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าคืนและครอบครองใช้ทรัพย์สินที่เช่าของโจทก์ตลอดมา อันเป็นการผิดสัญญาเช่าที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำไว้ต่อกัน และจำเลยที่ 1ตกลงชำระค่าเสียหายดังกล่าวรวมทั้งค่าขาดราคาทรัพย์สินที่เช่าเมื่อได้มีการเลิกสัญญานั้นแล้วด้วย แม้คำฟ้องจะใช้ถ้อยคำบางตอนว่าฟ้องเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระก็ตาม กรณีก็ถือได้ว่าข้อที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องมานั้นเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายโดยอาศัยเหตุมาจากการเลิกสัญญาเช่า และถือได้ว่าตามคำฟ้องของโจทก์ได้เรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสี่เป็น 2 ประการ คือ ค่าเสียหายที่โจทก์ผู้ให้เช่าต้องขาดประโยชน์ที่ควรจะได้จากการเอาทรัพย์สินที่เช่าออกให้เช่าประการหนึ่ง และค่าขาดราคาทรัพย์สินที่เช่าอีกประการหนึ่งซึ่งค่าเสียหายทั้งสองกรณีนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ คดีจึงมีกำหนดอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4251/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าเสียหายจากการเลิกสัญญาเช่า: พิจารณาจากเหตุแห่งการฟ้องเป็นค่าเช่าค้างชำระหรือค่าเสียหายจากการเลิกสัญญา
คำฟ้องของโจทก์ใช้ถ้อยคำบางตอนว่าฟ้องเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระ แต่ก็ได้กล่าวด้วยว่า โจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากจำเลยไม่ส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าคืนและครอบครองใช้ทรัพย์สินที่เช่าตลอดมา อันเป็นการผิดสัญญาเช่าที่โจทก์และจำเลยทำไว้ต่อกันและจำเลยตกลงชำระค่าเสียหายดังกล่าวรวมทั้งค่าขาดราคาทรัพย์สินที่เช่าเมื่อได้มีการเลิกสัญญานั้นแล้วด้วย กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายโดยอาศัยเหตุมาจากการเลิกสัญญาเช่าเป็น 2 ประการ คือ ค่าเสียหายที่โจทก์ผู้ให้เช่าต้องขาดประโยชน์ที่ควรจะได้จากการเอาทรัพย์สินออกให้เช่า และค่าขาดราคาทรัพย์สินที่เช่า ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนดอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30เมื่อโจทก์เข้ายึดถือครอบครองเอาคืนซึ่งหัวรถยนต์บรรทุกที่เช่าเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม2540 สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นอันเลิกกันนับแต่วันดังกล่าว โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2542 ยังไม่พ้นสิบปี จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2880/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้จากสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่เลิกแล้ว การเลิกสัญญาโดยปริยาย และผลของการหยุดคิดดอกเบี้ย
จำเลยเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับโจทก์ โดยมีข้อตกลงว่า ถ้าเงินในบัญชีของผู้ฝากมีไม่พอจ่ายตามเช็คโดยปกติ ธนาคารจะปฏิเสธการจ่ายเงินโดยสิ้นเชิง แต่เมื่อธนาคารได้ผ่อนผันจ่ายให้ไป ผู้ฝากย่อมเป็นอันยอมรับผูกพันตนที่จะจ่ายเงินส่วนที่เกินคืนให้ธนาคาร เสมือนหนึ่งได้ร้องขอเบิกเงินเกินบัญชีไว้กับธนาคารและธนาคารจะคิดดอกเบี้ยเงินที่เบิกเกินบัญชีเป็นรายวัน แล้วนำดอกเบี้ยนั้นไปหักบัญชีเป็นรายเดือนจึงมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดด้วย แต่เมื่อสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่มีกำหนดระยะเวลาคู่สัญญาจึงอาจบอกเลิกสัญญาและให้หักทอนบัญชีกันเสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 859
การบอกเลิกสัญญาสามารถกระทำได้โดยแสดงเจตนาแจ้งชัดไปยังคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง หรือมีพฤติการณ์อันถือได้ว่าคู่สัญญามีเจตนาจะเลิกสัญญากันโดยปริยายก็ได้เมื่อปรากฏตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันว่ามีการเดินสะพัดทางบัญชีถึงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2526 ต่อจากนั้นไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีอีกเลย คงมีแต่รายการที่แสดงถึงดอกเบี้ยเท่านั้นเอง ถือได้ว่า โจทก์เจตนาเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกับจำเลยโดยปริยายแล้วตั้งแต่วันที่โจทก์หยุดคิดดอกเบี้ยทบต้นคือวันที่ 30 มิถุนายน 2530 แม้โจทก์จะมีหนังสือบอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2540 ก็ไม่ทำให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดที่เลิกกันไปแล้วกลับมีผลบังคับกันต่อไปได้อีก การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 เกิน 10 ปี จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2688/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในแผ่นป้ายทะเบียนรถเมื่อเลิกสัญญาเดินรถ: จำเลยมีหน้าที่คืนนายทะเบียน, โจทก์ไม่มีสิทธิยึดถือ
หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถ ตาม พ.ร.บ. การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 อันเป็นเอกสารราชการระบุว่า จำเลยเป็นผู้ประกอบการขนส่ง ส่วนผู้ถือกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์โดยโจทก์เป็นผู้เช่าซื้อ ทั้งสัญญาเดินรถเข้าร่วมกิจการของโจทก์และจำเลยก็ระบุให้จำเลยมีอำนาจบอกเลิกสัญญาหรือถอนรถออกจากการเป็นรถร่วมได้ทันที การที่โจทก์ได้รับแผ่นป้ายทะเบียนรถมาโดยผลจากการทำสัญญาเดินรถเข้าร่วมกิจการในเส้นทางสัมปทานของจำเลย เมื่อจำเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเดินรถเข้าร่วมกิจการกับโจทก์แล้วพอถือได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจะเลิกใช้รถยนต์โดยสารแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องแจ้งให้นายทะเบียนประจำจังหวัดทราบและต้องนำแผ่นป้ายทะเบียนรถดังกล่าวคืนแก่นายทะเบียนตามมาตรา 79 แห่ง พ.ร.บ. การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มิฉะนั้นจำเลยจะมีความผิดและต้องรับโทษทางอาญาตาม มาตรา 143 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิยึดแผ่นป้ายทะเบียนรถนั้นไว้ และต้องส่งคืนให้แก่จำเลยเพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2688/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในแผ่นป้ายทะเบียนรถเมื่อเลิกสัญญาเดินรถร่วม: ผู้ประกอบการขนส่งต้องคืนทะเบียนให้นายทะเบียน
หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถระบุว่าจำเลยเป็นผู้ประกอบการขนส่ง ส่วนผู้ถือกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์โดยโจทก์เป็นผู้เช่าซื้อ ประกอบกับสัญญาเดินรถเข้าร่วมกิจการของโจทก์และจำเลยระบุให้จำเลยมีอำนาจบอกเลิกสัญญาหรือถอนรถออกจากการเป็นรถร่วมได้ทันที เมื่อโจทก์ได้รับแผ่นป้ายทะเบียนรถมาโดยผลจากการทำสัญญาเดินรถเข้าร่วมกิจการในเส้นทางสัมปทานของจำเลย และจำเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาดังกล่าวโดยชอบแล้ว ถือได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจะเลิกใช้รถยนต์โดยสาร จำเลยมีหน้าที่ต้องแจ้งให้นายทะเบียนทราบและคืนแผ่นป้ายทะเบียนรถแก่นายทะเบียนตามมาตรา 79 แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกพ.ศ. 2522 มิฉะนั้นจำเลยจะมีความผิดและต้องรับโทษทางอาญาตามมาตรา 143 โจทก์จึงไม่มีสิทธิยึดถือแผ่นป้ายเลขทะเบียนรถนั้นไว้ จำต้องส่งคืนให้แก่จำเลยตามฟ้องแย้งเพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2658/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกสัญญาเช่าซื้อ และการคิดค่าเสียหายจากการชำรุดบกพร่องของทรัพย์
จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ โจทก์จึงมีหนังสือทวงให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเช่าซื้อและบอกเลิกสัญญา หลังจากนั้นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองนำรถยนต์ที่เช่าซื้อมาคืนโจทก์ โจทก์จึงถอนฟ้องแล้วนำรถยนต์ออกประมูลขายได้เงินไม่คุ้มราคาค่าเช่าซื้อ จึงมาฟ้องเรียกราคารถยนต์ในส่วนที่ขาดจากจำเลยทั้งสองอีก กรณีเช่นนี้ไม่ถือว่าเป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) เพราะฟ้องโจทก์คดีก่อนไม่อยู่ในระหว่างพิจารณาเนื่องจากถอนฟ้องไปแล้ว และเมื่อพิจารณาคดีก่อนที่โจทก์ถอนฟ้องไปแล้วศาลยังมิได้มีคำพิพากษาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี ประกอบกับคดีก่อนโจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสองส่งมอบรถยนต์คืนโจทก์และชำระค่าเช่าซื้อที่ค้าง ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดราคาจากการประมูลขายรถยนต์พร้อมดอกเบี้ยอันเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นภายหลังที่โจทก์ฟ้องคดีก่อน คำขอบังคับในคดีทั้งสองจึงต่างกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
การฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเป็นค่าเสื่อมราคาหรือค่าขาดราคาของรถยนต์ที่ประมูลขายได้ราคาน้อยกว่าราคาเช่าซื้อที่ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อนั้น เป็นผลมาจากการเลิกสัญญาซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
การคำนวณทุนทรัพย์เพื่อกำหนดอัตราค่าทนายความตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ต้องถือเอาจำนวนเงินที่โจทก์เรียกร้องตั้งแต่ฟ้องคดี มิใช่คำนวณจากทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดีซึ่งอาจจะไม่เต็มตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องมา
of 60