คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เสียสิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 35 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1370/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีโดยผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็ก การยอมรับการเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมย่อมชอบด้วยกฎหมาย แม้ผลคดีจะทำให้เด็กเสียสิทธิ
โจทก์ฟ้องบิดาของเด็กเป็นจำเลยในฐานะส่วนตัวและทั้งฐานะบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็ก ในการต่อสู้คดี บิดาก็คงยอมรับให้การในฐานะเป็นบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กด้วย มิได้คัดค้านประการใดดังนี้ การดำเนินคดีของบิดาในฐานะบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กเช่นนี้ ย่อมเป็นการชอบ แม้ในคดีนี้ศาลได้พิพากษาให้เด็กเสียกรรมสิทธิในที่ดินไปก็ตาม กรณีหาต้องด้วย ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1546 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2480

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้ขายอสังหาริมทรัพย์แล้วออกจากที่ดิน ทำให้เสียสิทธิในมรดก แม้ไม่มีหนังสือสำคัญ
ผู้รับมฤดกร่วมกันคนหนึ่งยินยอมให้ผู้รับมฤดกอื่นขายที่ดินซึ่งตนมีส่วนจะได้รับให้แก่ผู้อื่นไปโดยได้ลงชื่อเป็นพะยานในการซื้อขายรายนี้แล้วก็ออกจากที่รายนี้ไปพฤตติการณ์เช่นนี้ทำให้ผู้นั้นหมดสิทธิที่จะได้รับมฤดกในที่รายนี้
ป.พ.พ.ม.1382 บังคับแก่การครอบครองอสังหาริมทรัพย์ทุกชนิดไม่จำกัดว่าจะมีหรือไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16298/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาจากคำให้การเท็จต่อ กกต. ทำให้เสียสิทธิทางการเมือง
เหตุที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำวินิจฉัยให้เพิกถอนการเลือกตั้งตามฟ้องและทำการเลือกตั้งใหม่สืบเนื่องจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 11 ไปให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ส่วนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้งเพียงแต่ผูกพันเพื่อให้การเลือกตั้งในคราวดังกล่าวต้องถูกเพิกถอนไปเท่านั้นแต่หาได้เป็นเด็ดขาดจนห้ามมิให้มีการดำเนินคดีแก่ผู้ที่ไปให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งจนเป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้สมัครในเขตเลือกตั้งดังกล่าวต้องเสียหาย ทั้งมาตรา 135 แห่ง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 กำหนดให้ผู้สมัครในเขตเลือกตั้งนั้นเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายโดยตรงและมีอำนาจฟ้องคดีได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) และ 28 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7705/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ร่วมทำให้เสียสิทธิแก้คดี ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย โดยมิได้ส่งสำเนาอุทธรณ์ของจำเลยให้โจทก์ร่วมทั้งสองแก้อุทธรณ์แต่ประการใด ซึ่งบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 200 บัญญัติว่า "ให้ศาลส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งแก้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาอุทธรณ์" เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 เข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการโจทก์ ดังนั้น พนักงานอัยการและผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 จึงต่างมีฐานะเป็นโจทก์ด้วยกัน การที่ศาลชั้นต้นส่งสำเนาอุทธรณ์ของจำเลยให้เฉพาะแก่พนักงานอัยการโจทก์ โดยมิได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ของจำเลยให้แก่โจทก์ร่วมทั้งสองแก้ ย่อมเป็นการทำให้โจทก์ร่วมทั้งสองเสียสิทธิในการทำคำแก้อุทธรณ์ตามกฎหมาย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. อันว่าด้วยอุทธรณ์ ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1578/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ: การไม่คัดค้านและดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปทำให้เสียสิทธิ
ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2540 ว่า คดีของโจทก์เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลภาษีอากรกลาง จึงเพิกถอนกระบวนพิจารณาทั้งหมดตั้งแต่ชั้นรับฟ้อง และให้ส่งสำนวนไปยังศาลภาษีอากรกลางโดยเร็ว ศาลภาษีอากรกลางส่งสำนวนไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัย ต่อมาประธานศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีของโจทก์ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลภาษีอากรกลาง ศาลภาษีอากรกลางจึงส่งสำนวนคืนยังศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน จำเลยฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกา จำเลยจึงมายื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีนี้ใหม่อ้างว่าการที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาโดยมิได้มีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่ได้สั่งไว้เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2540 เป็นการไม่ชอบกรณีเป็นการร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง
จำเลยดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาทั้งในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 7 และศาลฎีกา โดยมิได้ร้องขอให้ศาลเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบภายในกำหนดระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง อีกทั้งจำเลยก็ได้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาหลังจากได้ทราบเรื่องผิดระเบียบนั้น จำเลยจึงไม่อาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบ
of 4