คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้อจำกัด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 541 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 432/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นเกี่ยวกับเด็กในคดีอาญา: การพิจารณาข้อจำกัดในการอุทธรณ์ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยซึ่งมีอายุ 12 ปี มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 ให้ส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลางมีกำหนด 6 ปี แต่อย่าให้เกินกว่าจำเลยมีอายุครบ 18 ปี จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลดำเนินการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74(2) โดยบิดาจำเลยขอรับตัวไปและจะปฏิบัติตามข้อกำหนดของศาล ดังนี้ เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่พิพากษาดังกล่าวไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จะอุทธรณ์ได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193ทวิ(1) ถึง (4) พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2517 มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2153/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แม้มีเรียกค่าเสียหาย ก็ไม่อยู่ในข้อจำกัดการอุทธรณ์ตามมาตรา 224 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยทำการซ่อมรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นการซ่อมเครื่องยนต์หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งการเคาะและพ่นสีซึ่งก่อให้เกิดเสียงดัง หรือส่งกลิ่นเหม็นทำความเดือดร้อนรำคาญและเป็นอันตรายต่อร่างกายกับอนามัยของโจทก์นั้น ถือได้ว่าเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224วรรคสอง แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 มาตรา 3 มิได้ห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงถึงแม้โจทก์จะมีคำขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ 10,000 บาท และค่าเสียหายในอนาคตเดือนละ 5,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะไม่ละเมิดสิทธิของโจทก์อีกต่อไป ก็ไม่ทำให้เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1547/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของการขาดนัดยื่นคำให้การในคดีขับไล่และข้อจำกัดในการอุทธรณ์เรื่องกรรมสิทธิ์
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยผู้อาศัยและบริวารออกจากอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งในขณะยื่นฟ้องอาจให้เช่าได้เดือนละ 50 บาท จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ เท่ากับจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ ซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง การที่จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งยุติไปตามคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วว่า จำเลยจงใจขาดนัดและไม่มีเหตุอันสมควร แม้ศาลชั้นต้นจะรับอุทธรณ์ของจำเลยในปัญหาข้อนี้ และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1418/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดสิทธิฟ้องคดีซ้ำ กรณีทำสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว แม้ปากทางจะแคบ
เดิมโจทก์เคยฟ้องจำเลยขอให้เปิดทางในที่ดินของจำเลยโดยอ้างว่าเป็นทางภารจำยอม แล้วโจทก์จำเลยได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยยอมเปิดทางในที่ดินดังกล่าวกว้าง 2 เมตร 50 เซนติเมตร ยาวตลอดที่ดิน ซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมแล้ว คำพิพากษานั้นย่อมผูกพันคู่ความทั้งสองฝ่ายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 เมื่อจำเลยได้เปิดทางให้ผ่านที่ดินของจำเลยถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว แม้โจทก์จะไม่ได้รับความสะดวกเพราะปากทางแคบไปโจทก์ก็ไม่มีอำนาจมาฟ้องจำเลยขอให้เปิดทางให้กว้างขึ้นไปอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1372/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีขับไล่ - การขาดนัดยื่นคำให้การ
คดีฟ้องขับไล่จากห้องเช่า ค่าเช่าเดือนละ 150 บาทเรียกค่าเสียหายในอนาคตเดือนละ 10,000 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จำเลยอุทธรณ์ข้อที่ว่าขาดนัดไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การ เป็นข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1272/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการยกเหตุใหม่ในชั้นฎีกา: สัญญาเช่าที่พิพาทและการโต้แย้งตัวแทน
ในประเด็นว่าสัญญาเช่าที่พิพาทผูกพันโจทก์หรือไม่ จำเลยให้การและนำสืบว่าที่พิพาทอยู่ในความดูแลของกรมการศาสนา นายอำเภอพระพุทธบาทตัวแทนกรมการศาสนาทำสัญญาให้จำเลยเช่าที่พิพาท แต่จำเลยฎีกาว่านายอำเภอพระพุทธบาทเป็นตัวแทนเชิดของวัดโจทก์ และได้ทำสัญญาให้จำเลยเช่าที่พิพาทแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย ดังนี้ ฎีกาของจำเลยมิได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 565/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาในคดีที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 5,000 บาท และผลของกฎหมายที่ใช้บังคับ ณ วันยื่นฎีกา
โจทก์จำเลยพิพาทกันด้วยเรื่องที่ดินราคา 5,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย และศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2518 โจทก์ฎีกาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์โดยยื่นเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2518 อันเป็นวันก่อนพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 มีผลบังคับ การพิจารณาว่าคู่ความมีสิทธิฎีกาได้หรือไม่เพียงไรนั้น ต้องพิจารณาตามบทกฎหมายและสิทธิในวันยื่นฎีกาเป็นสำคัญ ฎีกาโจทก์จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ซึ่งใช้อยู่ในวันยื่นฎีกา
(อ้างตามคำพิพากษาฎีกาที่ 542/2500)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 368/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงและประเด็นที่ศาลชั้นต้นไม่ได้วินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาเช่าตึกแถวของโจทก์ 2 ห้องมีกำหนด 10 ปี ค่าเช่าห้องละ 100 บาทต่อเดือนบัดนี้ครบกำหนดสัญญาและโจทก์บอกเลิกการเช่าแล้วจำเลยไม่ยอมออก ขอให้ขับไล่และชำระค่าเช่าที่ค้าง 2,000 บาท กับค่าเสียหายเดือนละ 200 บาทนับแต่วันฟ้อง จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา โดยจำเลยออกเงินช่วยค่าก่อสร้างแก่โจทก์ 68,000 บาท โจทก์ตกลงจะให้จำเลยเช่ามีกำหนด 30 ปี ทำสัญญาไว้ 10 ปี ก่อนแล้วจะต่อสัญญาเช่าอีกครั้งละ 10 ปี จนครบ ขอให้ยกฟ้องโจทก์และบังคับให้โจทก์ทำหนังสือสัญญาเช่ากับจดทะเบียนการเช่าให้จำเลย ดังนี้ เป็นกรณีโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวที่ให้เช่าอันมีค่าเช่าในขณะยื่นฟ้องเดือนละ 200 บาท และเรียกค่าเช่าที่ค้าง 2,000 บาท จำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์และมิได้ยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาเช่าจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ได้ชำระเงินช่วยค่าก่อสร้างให้โจทก์ โจทก์จำเลยจึงไม่มีสัญญาต่างตอบแทนแก่กันจำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์รับเงินช่วยค่าก่อสร้างจากจำเลย จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นการต้องห้ามซึ่งการที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ และต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 249
สำหรับข้อที่จำเลยอ้างในคำให้การและฟ้องแย้งว่า ตามสัญญาเช่าข้อ 12 โจทก์ให้คำมั่นแก่จำเลยว่า เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลง โจทก์ยอมให้จำเลยขอเช่าต่อไปได้อีกและจำเลยได้บอกกล่าวแก่โจทก์ขอทำสัญญาเช่าต่อไปอีก 10 ปี โจทก์ตกลงแล้ว สัญญาเช่าจึงมีต่อไป นั้น แม้โจทก์จะให้การแก้ฟ้องแย้งปฏิเสธความข้อนี้ก็ตาม แต่เมื่อในวันชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทตามสัญญาข้อ 12 ไว้ และจำเลยมิได้โต้แย้งครั้นศาลชั้นต้นพิพากษาขับไล่จำเลย จำเลยจึงอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ว่าศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ให้ ขอให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ซึ่งเป็นข้อกฎหมายว่าศาลชั้นต้นพิพากษาคดีครบทุกประเด็นที่พิพาทกันหรือไม่ดังนี้อุทธรณ์ของจำเลยย่อมต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226 การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้โดยวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้ไปขอต่ออายุการเช่ากับโจทก์ก่อนหมดอายุสัญญาเช่าแล้ว โจทก์ต้องยินยอมให้จำเลยเช่าต่อไป จึงเป็นการไม่ชอบ และต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 249
เมื่อศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยปัญหาซึ่งคู่ความจะอุทธรณ์ไม่ได้อันเป็นการไม่ชอบศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสียและให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 364/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาในข้อเท็จจริงขัดกับข้อจำกัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับแก้ไข) กรณีทุนทรัพย์เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้บังอาจกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกรรมต่างกัน คือจำเลยบังอาจร่วมกันมีเฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์ และจำเลยบังอาจร่วมกันขายเฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์ จำเลยให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดจริงตามฟ้องทุกประการ โจทก์นำพยานเข้าสืบประกอบคำรับสารภาพของจำเลยว่า นอกจากเฮโรอีนของกลางบรรจุซองพลาสติกซึ่งพลตำรวจ จ. ปลอมตัวไปซื้อแล้ว ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจยังค้นได้ธนบัตร ฉบับละ 10 บาท 2 ฉบับใช้ห่อเฮโรอีนไว้ 2 ห่อจากจำเลยอีก ดังนี้ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ต้องลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ซึ่งแก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2514 ข้อ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2780/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงที่ยุติแล้ว และการบังคับคืนทรัพย์สินไม่ใช่ค่าเสียหาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ 11,106 บาท 24 สตางค์ แต่ในจำนวนเงินดังกล่าว 700 บาท จำเลยไม่ต้องชดใช้ เพราะคดีขาดอายุความ จำเลยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งเรื่องความรับผิดตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นหรือยกเป็นประเด็นในคำแก้อุทธรณ์ ปัญหาในเรื่องความรับผิดจำนวนเงิน 11,106 บาท 24 สตางค์จึงยุติ ศาลอุทธรณ์เพียงวินิจฉัยให้จำเลยรับผิดในรายการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าไม่ต้องรับผิดเพิ่มขึ้นอีก 1 รายการ จำนวนเงิน 1,000 บาท และวินิจฉัยว่าคดีไม่ขาดอายุความ ให้จำเลยใช้เงิน 12,106 บาทเป็นการแก้ไขเล็กน้อย จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามและฎีกาว่าไม่ต้องรับผิดในจำนวนเงินที่ยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนหรือใช้เงินของโจทก์ที่อยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยให้แก่โจทก์ ไม่ใช่เป็นเรื่องเรียกร้องให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย แต่เป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์ฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากจำเลย ซึ่งไม่มีสิทธิ์จะยึดถือไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 จึงนำอายุความตามมาตรา 448 ซึ่งใช้บังคับเฉพาะกรณีผู้เสียหายฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดมาใช้ไม่ได้
of 55