พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,515 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3620/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรงในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
ขณะเกิดเหตุโจทก์ดำรงตำแหน่งประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับ การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามข้อบังคับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2557 ข้อ 10 (1) สโมสรรัฐสภาไม่ได้เป็นนิติบุคคลที่อยู่ในหน้าที่ควบคุมดูแลของโจทก์และมิได้เป็นส่วนราชการในสังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรตามประกาศรัฐสภา โดยผู้จัดการสโมสรรัฐสภาและคณะกรรมการสโมสรรัฐสภามีอำนาจดูแลและจัดการบริหารทรัพย์สินของสโมสรรัฐสภา อนุมัติการจ่ายเงินของสโมสรรัฐสภา และจัดการซึ่งกิจการโดยทั่วไปของสโมสรรัฐสภา โจทก์มิได้เป็นคณะกรรมการสโมสรรัฐสภาหรือผู้จัดการสโมสรรัฐสภา จึงไม่มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารงานหรือจัดการทรัพย์สินของสโมสรรัฐสภา คำสั่งแต่งตั้งให้จำเลยเป็นประธานกรรมการสโมสรรัฐสภา และผู้จัดการสโมสรจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ มิได้ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะมีอำนาจเข้าบริหารกิจการและทรัพย์สินของสโมสรรัฐสภา โจทก์ในฐานะประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติจึงไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินหรือเป็นผู้ครอบครองทรัพย์สินของสโมสรรัฐสภา การเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาหรือไม่ ต้องปรากฏข้อเท็จจริงโดยชัดแจ้งว่าผู้นั้นได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำความผิด ทั้งการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการอันเป็นผลเสียหายแก่รัฐ รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย มิได้ก่อให้เกิดความเสียหายหรือกระทบกระเทือนต่อสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ การกระทำความผิดของจําเลยที่โจทก์ฟ้องคดีนี้จึงเป็นการกระทำต่อรัฐซึ่งเป็นอำนาจของหน้าที่ของพนักงานอัยการที่จะฟ้องขอให้ลงโทษผู้กระทำความผิดดังกล่าวตาม ป วิ อ. มาตรา 28 (1) โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 147, 151, 157, 334 และ 335
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3041/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของตัวแทน: การฟ้องคดีในฐานะตัวการโดยมิได้ระบุฐานะตัวแทน
โจทก์มีฐานะเป็นเพียงลูกจ้างของนางสาว ซ. และทำหน้าที่ลงชื่อในสัญญาการผ่อนชำระเงินค่าทำศัลยกรรมและค่าตอบแทนฯ แทนนางสาว ซ. เจ้าของโครงการเท่านั้น ซึ่งคดีนี้จำเลยให้การต่อสู้ว่าไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ แต่โจทก์นำสัญญาพิพาทมาฟ้อง ทั้งในคดีอื่นที่โจทก์ถูกฟ้องเป็นจำเลยนั้น โจทก์เบิกความเท็จว่าโจทก์เป็นลูกจ้าง เป็นการใช้สิทฺธิทางศาลโดยไม่สุจริต คดีมีประเด็นตามคำให้การแล้วว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เมื่อโจทก์มีฐานะเป็นเพียงลูกจ้างของนางสาว ซ. แต่โจทก์กลับฟ้องคดีนี้โดยอ้างสิทธิในฐานะตัวการเสียเอง โดยมิได้ระบุว่ากระทำในฐานะตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจากนางสาว ซ. ซึ่งเป็นคู่สัญญาที่แท้จริง โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะผู้ถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ที่จะใช้สิทธิทางศาลฟ้องร้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2249-2250/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแพ่งหลังศาลรับคำร้องฟูกิจการ: ต้องได้รับอนุญาตจากศาลล้มละลายก่อน
เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของโจทก์แล้ว การดำเนินการต่าง ๆ อันเกี่ยวด้วยทรัพย์สินของโจทก์ในฐานะลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการจึงอยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/12 บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับมาตรา 90/13 และมาตรา 90/14 นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอไว้เพื่อพิจารณาจนถึงวันครบกำหนดระยะเวลาดำเนินการตามแผนหรือวันที่ดำเนินการเป็นผลสำเร็จตามแผนหรือวันที่ศาลมีคำสั่งยกคำร้องขอหรือจำหน่ายคดีหรือยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการหรือยกเลิกการฟื้นฟูกิจการหรือพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดตามความในหมวดนี้... (9) ห้ามมิให้ลูกหนี้ จำหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า ชำระหนี้ ก่อหนี้ หรือกระทำการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดภาระในทรัพย์สิน นอกจากเป็นการกระทำที่จำเป็นเพื่อให้การดำเนินการค้าตามปกติของลูกหนี้สามารถดำเนินต่อไปได้ เว้นแต่ศาลที่รับคำร้องขอจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น..." บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าภายหลังจากศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการแล้ว ลูกหนี้จะดำเนินกิจการได้เฉพาะการกระทำที่จำเป็นเพื่อให้การดำเนินการค้าตามปกติของลูกหนี้สามารถดำเนินต่อไปได้ แต่หากลูกหนี้จะดำเนินการจำหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า ชำระหนี้ ก่อหนี้ หรือกระทำการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดภาระในทรัพย์สินที่มิใช่การดำเนินธุรกิจตามปกติทางการค้าของลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลล้มละลายกลางและศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตแล้วเท่านั้น
คดีทั้งสองสำนวนนี้ โจทก์ฟ้องคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 398/2561 เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2557 และศาลชั้นต้นสั่งรับคำฟ้องของโจทก์วันที่ 9 กันยายน 2557 ส่วนคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 399/2561 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2557 เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของโจทก์วันที่ 26 สิงหาคม 2557 และศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของโจทก์ไว้ในวันเดียวกัน การฟ้องคดีของโจทก์ทั้งสองสำนวนจึงเป็นการยื่นคำฟ้องหลังจากที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของโจทก์แล้ว จึงตกอยู่ในบังคับตามมาตรา 90/12 (9) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งเก้าชำระเงินคืนโจทก์ 119,020,000 บาท และ 9,522,533,049.50 บาท การฟ้องคดีดังกล่าวหากโจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดีก็อาจมีผลกระทบต่อกองทรัพย์สินของโจทก์ หรือโจทก์อาจต้องชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนฝ่ายจำเลยทั้งเก้า จึงมิได้เป็นการกระทำที่จำเป็นเพื่อให้การดำเนินการค้าตามปกติของโจทก์สามารถดำเนินต่อไปได้ แต่เป็นการกระทำที่อาจก่อให้เกิดภาระแก่ทรัพย์สินของโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการได้ แม้คดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 398/2561 โจทก์จะยื่นฟ้องในวันเดียวกันกับวันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องฟื้นฟูกิจการของโจทก์ในวันเดียวกัน สภาวะการพักชำระหนี้ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/12 (9) ย่อมเกิดขึ้นในวันดังกล่าว ส่วนคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 399/2561 โจทก์ยื่นฟ้องภายหลังจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการ เมื่อทั้งสองสำนวนโจทก์ยื่นฟ้องโดยไม่ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตต่อศาลล้มละลายกลางและศาลล้มละลายกลางไม่ได้มีคำสั่งอนุญาต จึงเป็นการฟ้องคดีต่อศาลโดยไม่มีอำนาจ ซึ่งการพิจารณาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลหรือไม่ย่อมต้องพิจารณาถึงอำนาจฟ้องในขณะยื่นคำฟ้องเป็นสำคัญ แม้ภายหลังศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการโจทก์ และอำนาจในการบริหารกิจการของโจทก์กลับคืนมาตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/75 และมาตรา 90/76 ก็ตาม แต่หามีผลทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์ซึ่งไม่มีในขณะยื่นคำฟ้องกลับมีขึ้นในภายหลังได้ไม่ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คดีทั้งสองสำนวนนี้ โจทก์ฟ้องคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 398/2561 เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2557 และศาลชั้นต้นสั่งรับคำฟ้องของโจทก์วันที่ 9 กันยายน 2557 ส่วนคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 399/2561 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2557 เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของโจทก์วันที่ 26 สิงหาคม 2557 และศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของโจทก์ไว้ในวันเดียวกัน การฟ้องคดีของโจทก์ทั้งสองสำนวนจึงเป็นการยื่นคำฟ้องหลังจากที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของโจทก์แล้ว จึงตกอยู่ในบังคับตามมาตรา 90/12 (9) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งเก้าชำระเงินคืนโจทก์ 119,020,000 บาท และ 9,522,533,049.50 บาท การฟ้องคดีดังกล่าวหากโจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดีก็อาจมีผลกระทบต่อกองทรัพย์สินของโจทก์ หรือโจทก์อาจต้องชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนฝ่ายจำเลยทั้งเก้า จึงมิได้เป็นการกระทำที่จำเป็นเพื่อให้การดำเนินการค้าตามปกติของโจทก์สามารถดำเนินต่อไปได้ แต่เป็นการกระทำที่อาจก่อให้เกิดภาระแก่ทรัพย์สินของโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการได้ แม้คดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 398/2561 โจทก์จะยื่นฟ้องในวันเดียวกันกับวันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการของโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องฟื้นฟูกิจการของโจทก์ในวันเดียวกัน สภาวะการพักชำระหนี้ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/12 (9) ย่อมเกิดขึ้นในวันดังกล่าว ส่วนคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 399/2561 โจทก์ยื่นฟ้องภายหลังจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการ เมื่อทั้งสองสำนวนโจทก์ยื่นฟ้องโดยไม่ได้ยื่นคำร้องขออนุญาตต่อศาลล้มละลายกลางและศาลล้มละลายกลางไม่ได้มีคำสั่งอนุญาต จึงเป็นการฟ้องคดีต่อศาลโดยไม่มีอำนาจ ซึ่งการพิจารณาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลหรือไม่ย่อมต้องพิจารณาถึงอำนาจฟ้องในขณะยื่นคำฟ้องเป็นสำคัญ แม้ภายหลังศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ยกเลิกการฟื้นฟูกิจการโจทก์ และอำนาจในการบริหารกิจการของโจทก์กลับคืนมาตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/75 และมาตรา 90/76 ก็ตาม แต่หามีผลทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์ซึ่งไม่มีในขณะยื่นคำฟ้องกลับมีขึ้นในภายหลังได้ไม่ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2196/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาในศาลแขวง: การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการขออนุญาตอัยการสูงสุดทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ขณะเกิดเหตุความผิดตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 (ก) มีระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง แม้ภายหลังขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดี มี พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560 ยกเลิก พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 แต่มาตรา 4 (1) ของกฎหมายใหม่ที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิด มีระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งสูงกว่าระวางโทษตามกฎหมายเก่าที่ใช้อยู่ในขณะเกิดเหตุ จึงต้องใช้ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 (ก) ซึ่งเป็นกฎหมายส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลย ตาม ป.อ. มาตรา 3 ส่วนความผิดฐานยักยอกที่โจทก์ฟ้องรวมกันมา ก็มีระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงเช่นกัน แม้ศาลอาญากรุงเทพใต้ซึ่งเป็นศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจรับพิจารณาคดีนี้จะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีต่อไปตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 19/1 แต่การพิจารณาพิพากษาก็ต้องอยู่ในบังคับของกฎหมายวิธีพิจารณาคดีของคดีนั้น ๆ เมื่อคดีนี้เป็นคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง จึงต้องนำ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาใช้บังคับแก่คดี กล่าวคือ โจทก์จะต้องฟ้องคดีภายในกำหนดระยะเวลาผัดฟ้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 7 เมื่อปรากฏว่าโจทก์มิได้ขอผัดฟ้อง ในการฟ้องคดีโจทก์จึงต้องได้รับอนุญาตจากอัยการสูงสุด หรือพนักงานอัยการซึ่งอัยการสูงสุดมอบหมายตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 9 แต่ไม่ปรากฏว่าอัยการสูงสุด หรือพนักงานอัยการซึ่งอัยการสูงสุดมอบหมายได้อนุญาตให้โจทก์ฟ้องคดีนี้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 111-112/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้เช่าซื้อ: ศาลฎีกายกคำพิพากษาเดิม สั่งย้อนสำนวนเพื่อพิจารณาความสัมพันธ์นิติสัมพันธ์และเจตนาของผู้เช่าซื้อ
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยว่า โจทก์ร่วมมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยไม่มีอำนาจร้องทุกข์ โดยอาศัยข้อเท็จจริงเพียงว่าโจทก์ร่วมมิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์คันพิพาท ไม่ชอบที่จะนำรถออกให้จำนำได้ โดยมิได้รับฟังข้ออ้างข้อเถียงของคู่ความถึงนิติสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างกัน จึงเป็นการด่วนวินิจฉัยข้อกฎหมายจากการฟังข้อเท็จจริงที่ยังไม่สิ้นกระแสความ เห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยใหม่