คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กฎหมายแพ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 59 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 376/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารรับเงินค่าเซ้งบ้านที่มีข้อความระบุค่าเช่ารายเดือน ถือเป็นสัญญาเช่าที่มีผลผูกพันตามกฎหมายแพ่ง
คณะกรรมการควบคุมค่าเช่า ฯลฯมีอำนาจแต่เฉพาะการเช่าที่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯลฯ ฉะนั้น ก่อนครบกำหนดสัญญาเช่าจำเลยย่อมได้รับความคุ้มครอง ตาม ป.ม.กฎหมายแพ่ง ฯ ไม่ใช่เรื่องของ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯ มติของคณะกรรมการควบคุมค่าเช่าที่ให้ความยินยอมแก่ผู้ให้เช่าเข้าอยู่ในเคหะที่เช่าเองได้นั้น ย่อมไม่มีผลแก่ผู้ให้เช่า
เอกสารรับเงินค่าเซ้งบ้าน มีข้อความเริ่มต้นระบุว่าผู้รับเป็นเจ้าของบ้านได้รับเงินค่าเซ้งบ้านจำนวนหนึ่งไว้แล้ว และมีข้อความว่า ให้สัญญาว่าบ้านหลังนั้นจะให้ผู้ชำระเงินเช่า คิดค่าเช่าเดือนละ 40 บาทไปจนกว่าจะหมดความต้องการแล้วลงชื่อผู้เช่าและพยาน ดังนี้ถือว่าเอกสารนี้เป็นสัญญษเช่าแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1591/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำต้องห้าม: ประเด็นสมรสที่เคยตัดสินแล้วไม่อาจยกขึ้นฟ้องใหม่ได้
สามีของผู้เสมือนไร้ความสามารถเคยฟ้องขอให้ถอดถอนน้าของผู้เสมือนไร้ความสามารถจากการเป็นผู้พิทักษ์ผู้เสมือนไร้ความสามารถในคดีนั้นประเด็นที่ว่า ผู้เสมือนไร้ความสามารถกับสามี ได้เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยอาศัยเหตุที่ว่าการจดทะเบียนสมรสชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น ได้ขึ้นสู่ความวินิจฉัยของศาลแล้ว จนศาลสั่งว่า ผู้เสมือนไร้ความสามารถกับสามีเป็นสามีภริยากันตากกฎหมาย จึงได้ถอดถอนน้าผู้เป็นผู้พิทักษ์เดิม แล้วตั้งสามีเป็นผู้พิทักษ์สืบแทนต่อไป คดีถึงที่สุดแล้ว บัดนี้ น้าผู้นั้นจะกลับมาฟ้องสามีผู้เสมือนไร้ความสามารถอีก โดยอ้างเหตุว่าการจดทะเบียนสมรสระหว่างผู้เสมือนไร้ความสามารถกับสามี ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงขอให้เพิกถอนการสมรสและถอดถอนผู้พิทักษ์เสียและตั้งให้น้าเป็นผู้พิทักษ์แทนต่อไปนั้น เป็นการฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1203/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้โดยหนังสือนาซาและการเป็นมรดก: การพิจารณาตามกฎหมายแพ่งและกฎหมายอิสลาม
คดีมรดกของผู้ถือศาสนาอิสลามอันเกิดขึ้นในศาล ของจังหวัดปัตตานี,นราธิวาส,ยะลาและสตูลนั้น ต้องใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวมรดกบังคับแทน ป.ม.กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่ในการที่จะพิจารณาวินิจฉัยว่าทรัพย์อะไรเป็นมรดกหรือไม่นั้น จะต้องใช้ ป.ม.กฎหมายแพ่งและพาณิชบังคับเสียก่อน
ผู้ตายทำหนังสือ (นาซา) ยกที่ดินให้จำเลยตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ แม้ตาม ก.ม.อิสลามมีว่าการให้ด้วยหนังสือนาซานี้ใช้ได้ที่ดินไม่เป็นมรดกต่อไปตามกฎหมายอิสลามไม่แบ่งมรดกก็ตาม แต่ปรากฎว่าการยกให้ไม่ถูกแบบตาม ป.ม.แพ่ง ฯ เพราะไม่ได้จดทะเบียนที่ดิน จึงยังเป็นของผู้ตายอยู่ในเวลาตายจึงต้องถือตาม ป.ม.แพ่ง ฯ ว่าที่ดินนี้ยังเป็นมรดกของผู้ตายอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1151-1153/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองบุตรนอกกฎหมายและการสืบสันดานตามกฎหมายแพ่ง
บุตรที่เกิดจากมารดาซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรสกับบิดานั้น เมื่อบิดาได้ไปแจ้งให้อำเภอลงทะเบียนสำมโนครัวว่าเด็กนั้นเป็นบุตรตนและอยู่กับตนนั้นย่อมเป็นการเพียงพอที่จะฟังว่าบิดาได้รับรองแล้วว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของเขาและบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วเช่นนี้ ป.พ.พ.มาตรา 1627 ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
(อ้างฎีกาที่ 1601/2492)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 87/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกลับสู่สิทธิเดิมตามกฎหมายแพ่งหลังคณะกรรมการควบคุมค่าเช่าอนุมัติให้ผู้ให้เช่าเข้าอยู่ และการฟ้องคดีมรดกความ
ผู้ให้เช่าซึ่งได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการควบคุมค่าเช่าให้เข้าอยู่ในสถานที่เช่าและได้ฟ้องคดีขับไล่ผู้เช่าไว้ก่อน ตาย ถือว่าโจทก์ใหม่ผู้รับมฤดกความของผู้ให้เช่ามีความจำเป็นเข้าอยู่ในสถานที่เช่ารายนี้ด้วย
เมื่อคณะกรรมการฯ ยินยอมให้ผู้เช่าเข้าอยู่ในสถานที่เช่าแล้วทำให้การเช่านั้นหลุดพ้นจากพ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าฯ ฐานะของผู้เช่าและผู้ให้เช่ากลับคืนสู่สภาพเดิมตาม ป.ม.แพ่งฯ คือผู้ให้เช่าขับไล่ผู้เช่าได้หากมีสิทธิที่จะขับไล่ตาม ปม.แพ่ง
ผู้เช่าทำสัญญาให้ขึ้นค่าเช่า ไม่ขัดต่อพ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯ ม.10

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1269/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสที่ขัดแย้งกับคู่สมรสเดิม แม้ไม่ได้จดทะเบียนก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่ง
ชายหญิง เป็นสามีภริยากันตั้งแต่ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ตลอดมาจนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แล้ว แม้จะมิได้จดทะเบียนสมรส ก็นับว่า ชายหญิงนั้นเป็นคู่สมรสกันตามกฎหมาย ฉะนั้นชายจึงไม่มีสิทธิจะทำการสมรสกับหญิงอื่นอีก เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1445(3)บัญญัติห้ามมิให้ชายหญิงทำการสมรส เมื่อยังเป็นคู่สมรสของบุคคลอื่นอยู่ ภริยาเดิมขอให้เพิกถอนทะเบียนสมรสที่ชายไปจดใหม่นั้นเสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 180/2488 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัยยการขอค่าบำเหน็จนำจับในคดีอาญาต้องเสียค่าธรรมเนียมตามกฎหมายแพ่ง
อัยยการไม่มีอำนาจขอให้ศาลบังคับให้จำเลยใช้ค่านำจับฐานฆ่ากระบือไม่รับอนุญาตแทนรัฐบาลหรือผู้เสียหายโดยมิได้เสียค่าธรรมเนียมดังคดีแพ่งอ้างฎีกาที่ 375/86

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1790/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์: ใช้กฎหมายแพ่งฯ แม้เป็นอิสลามและอยู่ในเขตพื้นที่ใช้กฎหมายอิสลาม
แม้ผู้ร้องและผู้เยาว์เป็นอิสลามศาสนิกซึ่งมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ.2489 บัญญัติให้ใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกบังคับแทนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการนั้น แต่คดีนี้เป็นกรณีที่ผู้ร้องขออนุญาตศาลทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1574 การขออนุญาตศาลดังกล่าว เป็นการคุ้มครองผลประโยชน์หรือส่วนได้เสียของผู้เยาว์ อันเป็นการจำกัดสิทธิของผู้ใช้อำนาจปกครอง สภาพแห่งข้อหาจึงไม่ใช่เป็นเรื่องครอบครัวและมรดกโดยตรงที่ให้ใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกการบรรลุนิติภาวะของผู้เยาว์อันเป็นเรื่องความสามารถในการทำนิติกรรมได้ด้วยตนเอง จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 19 ที่บัญญัติว่า บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์ เมื่อผู้เยาว์อายุ 19 ปี จึงยังไม่พ้นจากภาวะผู้เยาว์ ดังนั้น ผู้ร้องจึงมีเหตุต้องขออนุญาตศาลทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1574 ที่ศาลชั้นต้นใช้หลักกฎหมายอิสลามว่า บุคคลบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุ 15 ปี บริบูรณ์ มายกคำร้องขอของผู้ร้องจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10534/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดค่าสินไหมทดแทนกรณีอุบัติเหตุทางรถยนต์ ต้องพิจารณาความประมาทของทั้งสองฝ่ายตามกฎหมายแพ่ง
ป.วิ.อ. มาตรา 46 บัญญัติไว้ว่า ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญา คดีนี้ข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติในคดีส่วนอาญาคงมีเพียงว่า จำเลยกระทำโดยประมาท ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ตายมีส่วนประมาทหรือไม่ และใครประมาทมากกว่ากันอันเป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องนำมาพิจารณาประกอบในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนนั้น ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยและจำเลยได้อุทธรณ์ไว้แล้ว เมื่อ ป.วิ.อ. มาตรา 47 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า คำพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าจำเลยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำผิดหรือไม่ และบทบัญญัติอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งในกรณีต่างฝ่ายต่างประมาททำให้เกิดมูลหนี้ละเมิดขึ้นนั้น ป.พ.พ. มาตรา 442 วางหลักให้นำบทบัญญัติแห่งมาตรา 223 มาใช้บังคับโดยอนุโลม และมาตรา 438 บัญญัติว่า ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้น ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ซึ่งการที่จะกำหนดค่าสินไหมทดแทนแค่ไหน เพียงใดนั้น ศาลย่อมที่จะต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานของโจทก์ร่วมที่ 1 และที่ 2 และจำเลยที่นำสืบมาว่าฝ่ายจำเลยหรือผู้ตายประมาทมากน้อยกว่ากันอย่างไรและเพียงใดด้วย จึงจะเป็นการดำเนินการตามอำนาจที่มีอยู่โดยชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6838/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและผลของการไม่สามารถส่งมอบได้ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เมื่อการให้ของจำเลยที่ ๑ มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย จำเลยที่ ๑ จึงต้องผูกพันในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเพื่อให้โจทก์เข้าทำประโยชน์ก่อสร้างสนามกีฬากลางประจำจังหวัด หากจำเลยที่ ๑ ไม่สามารถส่งมอบที่ดินพิพาทไม่ว่าด้วยเหตุประการใดก็ตาม โจทก์ย่อมได้รับความเสียหาย ไม่อาจใช้สอยประโยชน์ที่ดินนั้นได้ จำเลยที่ ๑ จึงต้องใช้ราคาที่ดินแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา ๕๒๖ การที่จำเลยที่ ๑ ทำหนังสือแสดงเจตนามอบที่ดินให้โจทก์โดยระบุว่าเพื่อใช้จัดสร้างสนามกีฬากลางประจำจังหวัดเป็นเพียงเจตนารมย์ของการยกให้เท่านั้น ไม่ใช่วัตถุประสงค์แห่งการชำระหนี้ตามกฎหมายในกรณีนี้คือการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นการให้กระทำนิติกรรมอย่างหนึ่งนั้นเอง ซึ่งเปิดช่องให้จำเลยที่ ๑ สามารถกระทำได้อยู่แล้วและที่ดินพิพาทเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่สามารถตีเป็นราคาเพื่อใช้เงินแทนได้
of 6