คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประเด็นสำคัญ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 74 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 126-127/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จในคดีแพ่งถึงสำเร็จความผิด แม้คดีนั้นสิ้นสุดด้วยการประนีประนอมยอมความ
ในคดีแพ่งที่จำเลยทั้งสองถูก ส. ฟ้องว่าผิดสัญญาขายที่ดินและเรียกค่าเสียหาย ซึ่งโจทก์ถูกเรียกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมด้วยนั้น ศาลได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า จำเลยที่ 1 ได้มอบอำนาจให้โจทก์ (ซึ่งเป็นจำเลยร่วม) ขายที่พิพาทหรือไม่ อันเป็นประเด็นสำคัญชี้ขาดการแพ้ชนะคดีนั้น การที่จำเลยทั้งสองเบิกความอันเป็นเท็จว่าไม่ได้มอบอำนาจให้โจทก์ไปจำหน่ายหรือขายที่ดินให้คนอื่นจึงเป็นข้อความสำคัญในคดี
เมื่อจำเลยเบิกความเท็จและข้อความนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี แม้คดีนั้นจะเสร็จเด็ดขาดลงด้วยการประนีประนอมยอมความ และศาลพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็ตาม การกระทำที่เป็นการเบิกความเท็จของจำเลยเป็นความผิดสำเร็จแล้ว จำเลยจึงต้องมีความผิดฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2288/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานเพิ่มเติม: โจทก์ต้องนำสืบประเด็นสำคัญตั้งแต่ต้น หากละเลย ศาลไม่อนุญาต
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีทั้งชื่อไทยและจีน ได้กู้เงินโจทก์ที่ฮ่องกงทำหลักฐานการกู้และลงลายมือชื่อไว้เป็นภาษาจีน จำเลยให้การปฏิเสธว่าไม่เคยกู้ยืมเงินโจทก์ที่ฮ่องกง หลักฐานการกู้โจทก์ปลอมแปลงขึ้น ลายเซ็นชื่อในเอกสารไม่ใช่ลายมือขื่อของจำเลย ดังนี้ โจทก์ย่อมมีหน้าที่นาสืบว่าชื่อในหลักฐานการกู้เป็นชื่อของจำเลยและไม่ปลอม ทั้งขณะที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์นั้น จำเลยอยู่และหาหลักฐานให้โจทก์ที่ฮ่องกง ต่อเมื่อสืบพยานโจทก์หมดแล้ว ระหว่างการสืบพยานจำเลย โจทก์จึงเพิ่งยื่นคำร้องว่าที่จำเลยเบิกความว่าอ่านเขียนภาษาจีนไม่เป็น ไม่ได้ขื่อภาษาจีน ไม่ได้ไปฮ่องกงในปีที่ลงในสัญญากู้นั้น โจทก์สามารถพิสูจน์ได้ว่าไม่เป็นความจริงเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมขออนุญาตให้โจทก์นำพยานหลักฐานมาสืบ สนับสนุนข้ออ้างของตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 120 แต่ปรากฏว่าในชั้นที่โจทก์นำสืบ โจทก์ได้อ้างพยานหลักฐานดังกล่าวไว้ในบัญชีระบุพยาน แสดงว่าโจทก์รู้อยู่แล้ว และเตรียมพร้อมที่จะนำสืบพิสูจน์ข้ออ้างดังกล่าวอันอยู่ในประเด็นที่โจทก์จะต้องนำสืบมาแต่ต้นแล้ว แต่ในการนำสืบของโจทก์ โจทก์ก็มิได้แสดงหลักฐานเหล่านี้ต่อศาล ตามคำร้องของโจทก์จึงเป็นการกล่าวอ้างและขอนำสืบพยานเพื่อเพิ่มเติมคดีของโจทก์ กรณีเช่นนี้จะอ้างว่าโจทก์ไม่อาจคาดหมายได้ล่วงหน้าถึงข้อนำสืบของจำเลยหาได้ไม่ ศาลชอบที่จะสั่งยกคำร้องดังกล่าของโจทก์เสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกความเท็จในคดีผู้จัดการมรดก: ประเด็นสำคัญของคดีไม่ใช่จำนวนทายาทหรือทรัพย์สิน
คดีร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ประเด็นในคดีมีว่าผู้ร้องเป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลหรือไม่ มีเหตุที่จะแต่งตั้งผู้จัดการมรดกหรือไม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 และผู้ร้องเป็นบุคคลต้องห้ามที่จะเป็นผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1718 หรือไม่ ส่วนที่ว่าเจ้ามรดกมีทายาทกี่คน ทรัพย์มรดกมีเท่าไรนั้นมิใช่ข้อสำคัญในคดี ดังนั้นแม้ผู้ร้องจะเบิกความเกี่ยวกับจำนวนทายาทหรือแสดงหลักฐานทรัพย์มรดกไม่ตรงต่อความจริงไปบ้าง ก็ไม่มีมูลความผิดฐานเบิกความเท็จหรือแสดงหลักฐานเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177, 180
คดีฟ้องขอถอดถอนผู้จัดการมรดกประเด็นในคดีอยู่ที่ว่า ผู้จัดการมรดกปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการมรดกตามกฎหมายหรือไม่ ซึ่งหน้าที่ผู้จัดการมรดกนี้เริ่มต้นแต่ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งตามมาตรา 1716 ดังนั้น แม้ผู้จัดการมรดกจะเบิกความเท็จในคดีดังกล่าวว่าไม่รู้ตัวทายาทเจ้ามรดกบางคนในขณะที่ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกก็ตาม ก็ไม่ใช่ข้อสำคัญในคดีจึงไม่มีมูลความผิดฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกความเท็จในคดีจัดการมรดก: ประเด็นสำคัญไม่ใช่จำนวนทายาทหรือทรัพย์สิน
คดีร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกประเด็นในคดีมีว่า ผู้ร้องเป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลหรือไม่ มีเหตุที่จะแต่งตั้งผู้จัดการมรดกหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 และผู้ร้องเป็นบุคคลต้องห้ามที่จะเป็นผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1718 หรือไม่ส่วนที่ว่าเจ้ามรดกมีทายาทกี่คน ทรัพย์มรดกมีเท่าไรนั้นมิใช่ข้อสำคัญในคดี ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะเบิกความเกี่ยวกับจำนวนทายาทหรือแสดงหลักฐานทรัพย์มรดกไม่ตรงต่อความจริงไปบ้าง ก็ไม่มีมูลความผิดฐานเบิกความเท็จ หรือแสดงหลักฐานเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177,180
คดีฟ้องขอถอดถอนผู้จัดการมรดกประเด็นในคดีอยู่ที่ว่าผู้จัดการมรดกปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการมรดกตามกฎหมายหรือไม่ซึ่งหน้าที่ผู้จัดการมรดกนี้เริ่มต้นแต่ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งตามมาตรา 1716 ดังนั้น แม้ผู้จัดการมรดกจะเบิกความเท็จในคดีดังกล่าวว่าไม่รู้ตัวทายาทของเจ้ามรดกบางคนในขณะที่ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกก็ตาม ก็ไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี จึงไม่มีมูลความผิดฐานเบิกความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 301/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ในการสั่งให้พิจารณาใหม่เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยไม่ครบถ้วนประเด็นสำคัญ
แม้จำเลยจะมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้งดสืบพยานจนจำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งแล้วก็ตาม ถ้าเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นยังมิได้พิจารณาให้ได้ความจริงตามประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้ ศาลอุทธรณ์ก็พิพากษาให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาเสียใหม่ได้ เพราะมิใช่พิพากษาให้ศาลชั้นต้นพิจารณาในประเด็นที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานและจำเลยมิได้คัดค้านไว้
แม้อุทธรณ์ของจำเลยเพียงแต่ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นว่าให้ยกฟ้องโจทก์ โดยจำเลยมิได้กล่าวไว้ในอุทธรณ์ว่าขอให้ศาลอุทธรณ์ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ก็ตามศาล อุทธรณ์ก็มีอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 ที่จะมีคำสั่งยกคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วให้ศาลชั้นต้นพิพากษาหรือมีคำสั่งใหม่ หรือให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีนั้นใหม่และพิพากษาหรือมีคำสั่งใหม่ได้
จำเลยให้การว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมและศาลชั้นต้นก็ได้กำหนดเป็นประเด็นไว้แล้ว ที่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยเรื่องนี้ถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจพิพากษาให้ศาลชั้นต้นพิพากษาเสียใหม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243
ตามคำให้การของจำเลยมีอยู่ว่าจำเลยไม่มีสิทธิรื้อถอนและโจทก์ไม่เคยบอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอน ตามคำแถลงของโจทก์ก็มีเพียงว่าจำเลยไม่เกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างอันเป็นทรัพย์พิพาทจำเลยไม่สามารถรื้อถอนได้ มิได้มีข้อความตอนใดว่าจำเลยยินดีที่จะรื้อถอนสิ่งก่อสร้าง จึงเรียกไม่ได้ว่าจำเลยได้สละข้อต่อสู้ทั้งปวงหมดสิ้นแล้วนอกจากนี้ยังมีประเด็นข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้อีกข้อหนึ่งที่ว่าโจทก์ยังคงสงวนสิทธิในถนนพิพาทอยู่หรือไม่ ซึ่งข้อนี้จำเลยให้การไว้ในทำนองว่าโจทก์ได้แสดงเจตนา ให้ทางพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และทางพิพาทก็ได้ตกอยู่ในภาวะเช่นนั้นแล้วฝ่ายโจทก์แถลงว่าไม่เป็นความจริง อันเป็นที่เห็นได้ว่าข้อเท็จจริงข้อนี้ยังไม่อาจรับฟังเป็นยุติได้ จึงต้องสืบพยานกันต่อไป
การที่ทางใดจะเป็นทางสาธารณะนั้นหาได้ขึ้นอยู่กับหลักฐานทางทะเบียนเสมอไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 301/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ในการสั่งให้พิจารณาใหม่เมื่อศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยประเด็นสำคัญ และการยกฟ้องที่ไม่ต้องกล่าวในอุทธรณ์
แม้จำเลยจะมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้งดสืบพยานจนจำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งแล้วก็ตามถ้าเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นยังมิได้พิจารณาให้ได้ความจริงตามประเด็นที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้ ศาลอุทธรณ์ก็พิพากษาให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาเสียใหม่ได้ เพราะมิใช่พิพากษาให้ศาลชั้นต้นพิจารณาในประเด็นที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานและจำเลยมิได้คัดค้านไว้
แม้อุทธรณ์ของจำเลยเพียงแต่ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นว่าให้ยกฟ้องโจทก์โดยจำเลยมิได้กล่าวไว้ในอุทธรณ์ว่าขอให้ศาลอุทธรณ์ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ก็ตาม ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 ที่จะมีคำสั่งยกคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลชั้นต้น แล้วให้ศาลชั้นต้นพิพากษาหรือมีคำสั่งใหม่ หรือให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีนั้นใหม่และพิพากษาหรือมีคำสั่งใหม่ได้
จำเลยให้การว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม และศาลชั้นต้นก็ได้กำหนดเป็นประเด็นไว้แล้ว ที่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยเรื่องนี้ ถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจพิพากษาให้ศาลชั้นต้นพิพากษาเสียใหม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243
ตามคำให้การของจำเลยมีอยู่ว่า จำเลยไม่มีสิทธิรื้อถอนและโจทก์ไม่เคยบอกกล่าวให้จำเลยรื้อถอน ตามคำแถลงของโจทก์ก็มีเพียงว่า จำเลยไม่เกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างอันเป็นทรัพย์พิพาท จำเลยไม่สามารถรื้อถอนได้มิได้มีข้อความตอนใดว่าจำเลยยินดีที่จะรื้อถอนสิ่งก่อสร้าง จึงเรียกไม่ได้ว่าจำเลยได้สละข้อต่อสู้ทั้งปวงหมดสิ้นแล้วนอกจากนี้ยังมีประเด็นข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้อีกข้อหนึ่งที่ว่า โจทก์ยังคงสงวนสิทธิในถนนพิพาทอยู่หรือไม่ ซึ่งข้อนี้จำเลยให้การไว้ในทำนองว่า โจทก์ได้แสดงเจตนาให้ทางพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน และทางพิพาทก็ได้ตกอยู่ในภาวะเช่นนั้นแล้วฝ่ายโจทก์แถลงว่าไม่เป็นความจริง อันเป็นที่เห็นได้ว่าข้อเท็จจริงข้อนี้ก็ยังไม่อาจรับฟังเป็นยุติได้ จึงต้องสืบพยานกันต่อไป
การที่ทางใดจะเป็นทางสาธารณะนั้น หาได้ขึ้นอยู่กับหลักฐานทางทะเบียนเสมอไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 548/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีที่ศาลชั้นต้นขาดการวินิจฉัยประเด็นสำคัญ ศาลฎีกามีอำนาจแก้ให้ถูกต้องได้ แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์
คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้สมาคมจำเลยจ่ายเงินให้โจทก์ ตามจำนวนสมาชิกกลุ่มที่ 2 ของสมาคมจำเลยที่มีอยู่ขณะผู้ตายถึงแก่กรรม โดยไม่วินิจฉัยให้เด็ดขาดลงไปว่าขณะผู้ตายถึงแก่กรรมมีจำนวนสมาชิกกลุ่มที่ 2 เหลืออยู่เท่าใด ทั้งๆ ที่สมาคมจำเลยให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้แล้ว จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา141(5) แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าสมาคมจำเลยต้องจ่ายเงินให้โจทก์เต็มตามฟ้อง ศาลฎีกาย่อมแก้ให้ถูกต้องได้ เพราะศาลชั้นต้นได้พิพากษาไว้ด้วยว่าให้สมาคมจำเลยจ่ายเงินให้แก่โจทก์ไม่เกินคำขอท้ายฟ้อง
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 40/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 898/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาต้องอุทธรณ์คำพิพากษาประเด็นสำคัญด้วย หากไม่ทำ อุทธรณ์ย่อมต้องห้าม
คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งอนุญาตให้จำเลยไม่ต้องไปฟังการพิจารณาและการสืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 172 ทวิ เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาชี้ขาดประเด็นสำคัญในคดีแล้วโจทก์ร่วมอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา โดยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษามาด้วย และไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์คำพิพากษาไว้ อุทธรณ์ของโจทก์ร่วมย่อมต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 196

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2350/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกความเท็จในคดีอาญา ต้องแสดงให้เห็นว่าข้อความเท็จนั้นเป็นประเด็นสำคัญในคดี มิเช่นนั้นไม่ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเบิกความอันเป็นเท็จต่อศาลในการพิจารณาคดี โดยกล่าวในฟ้องเพียงว่า การเบิกความอันเป็นเท็จของจำเลยดังกล่าวนั้น เป็นข้อสำคัญในคดีแต่ไม่ได้บรรยายให้เห็นว่าเป็นข้อสำคัญอย่างไร ฟ้องของโจทก์จึงไม่พอให้ฟังว่า คำเบิกความของจำเลยนั้น เป็นข้อสำคัญในคดีอันควรมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ ศาลก็พิพากษายกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 524/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาแม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ชนะคดี หากวินิจฉัยไม่ตรงประเด็นและกระทบสิทธิ
แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้จำเลยชนะคดี แต่ถ้าจำเลยเห็นว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไม่ถูกต้องตรงตามประเด็น และผลของคำพิพากษาทำให้เสียสิทธิของจำเลย จำเลยก็มีสิทธิฎีกาได้
คดีมีประเด็นว่าโจทก์ฟ้องเรียกเงินที่โจทก์อ้างว่าเข้าหุ้นส่วนกับจำเลยคืนได้หรือไม่ ศาลชั้นต้นฟังว่าโจทก์ไม่ได้เข้าหุ้นส่วนกับจำเลยจึงยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์เห็นว่าการนำสืบของโจทก์นอกฟ้องนอกประเด็นจึงพิพากษายืน ผลก็คือโจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยไม่ได้ ถือว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาตรงตามประเด็นแล้ว
การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่ภายในอายุความนั้น เป็นดุลยพินิจของศาลที่จะวินิจฉัยสั่งได้
of 8