พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1185-1187/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ฐานะ 'อยู่อาศัย' เพื่อคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า แม้จะยอมรับว่าอยู่อาศัยจริง
แม้จำเลยจะรับว่าอยู่อาศัยในที่เช่าก็ตาม ยังฟังไม่ชัดลงไปว่า เป็นการอยู่ในฐานะ "อยู่อาศัย" ตามพระราชบัญญัติ หรือเพียงอยู่ในฐานะที่เข้าไปประกอบกิจ (อ้างฎีกาที่ 1099-1147/2491)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1179/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความผิด พ.ร.บ.ควบคุมสินค้า, พ.ร.บ.สำรวจข้าว, และการขนย้ายสินค้าผ่านเขตควบคุม
พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภคและของอื่น ๆ ในภาวะคับขัน กับ พ.ร.บ.การค้าข้าว มีวัตถุประสงค์คนละอย่าง หาได้ขัดแย้งหรือทับกันไม่ ผู้ใดฝ่าฝืนประกาศของเจ้าพนักงานซึ่งออกอาศัยอำนาจ พ.ร.บ.ฉบับไหน ก็ต้องมีผิดตาม พ.ร.บ.ฉบับนั้น
จำเลยขนย้ายรำจากจังหวัดนอกเขตต์กักกันข้าว พาผ่านจังหวัดอันเป็นเขตต์กักกันข้าว ออกไปอีกจังหวัดหนึ่ง ดังนี้ ไม่มีผิดตามพระราชบัญญัติสำรวจและห้ามกักกันข้าว
(อ้างฎีกาที่ 506 - 507/2491)
จำเลยขนย้ายรำจากจังหวัดนอกเขตต์กักกันข้าว พาผ่านจังหวัดอันเป็นเขตต์กักกันข้าว ออกไปอีกจังหวัดหนึ่ง ดังนี้ ไม่มีผิดตามพระราชบัญญัติสำรวจและห้ามกักกันข้าว
(อ้างฎีกาที่ 506 - 507/2491)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 336/2490
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เคหะสถานเพื่อค้าขาย ไม่อยู่ภายใต้ความคุ้มครองพ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า
ผู้เช่าเคหะสถานใช้ประกอบการค้าขายเป็นส่วนใหญ่นั้น ไม่อยู่ในความคุ้มครองของพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน พ.ศ.2489(อ้างฎีกาที่521/2489)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586/2489 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาว่าการเช่าห้องแถวเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยหรือเพื่อค้าขายเป็นส่วนใหญ่ เพื่อบังคับใช้ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า
พฤตติการณ์ที่ถือว่าเช่าเพื่อทำการค้าเป็นส่วนใหญ่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 189/2484
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีลำกล้องปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน
ลำกล้องปืนถือเป็นส่วนหนึ่งของปืนถือเป้นส่วนหนึ่งของปืนจำเลยมีไว้โดยมิได้รับอนุญาตก็ต้องมีความผิดแช่ล้างปืนไม่ถือว่าเป้นส่วน 1 ส่วนใดของอาวุธปืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 334/2472
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีส่วนประกอบของอุปกรณ์เสพฝิ่น แม้แยกส่วนกัน ก็ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ฝิ่น
กล้องฝิ่นมีหัวกล้องแลคันกล้องรวมกันไม่ได้เรียกว่ามีกล้องฝิ่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13191/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของบริษัทประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ กรณีผู้ตายไม่ได้อยู่ในรถที่เอาประกัน
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในกรณีที่รถตั้งแต่สองคันขึ้นไปก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ประสบภัยซึ่งอยู่ในรถ ให้บริษัทที่รับประกันภัยรถแต่ละคันจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยซึ่งอยู่ในรถคันที่เอาประกันภัยไว้กับบริษัท" เมื่อรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับชนกับรถที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 2 เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย ผู้ตายมิได้เป็นผู้ประสบภัยซึ่งอยู่ในรถที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่โจทก์ ทายาทของผู้ตายต้องไปเรียกค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัทที่รับประกันภัยรถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับ
เมื่อรถจักรยานยนต์คันที่ผู้ตายขับไม่ได้จัดให้มีการประกันความเสียหายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และไม่ปรากฏว่าเจ้าของรถจักรยานยนต์คันที่ผู้ตายขับได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัยไปแล้ว จึงเป็นกรณีที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ มาตรา 23 (1) ซึ่งกฎหมายบังคับให้สำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยเป็นผู้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัย เมื่อโจทก์ได้รับเงินค่าเสียหายเบื้องต้นจากสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ ครบถ้วนแล้ว โจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายเบื้องต้นได้อีก
เมื่อรถจักรยานยนต์คันที่ผู้ตายขับไม่ได้จัดให้มีการประกันความเสียหายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และไม่ปรากฏว่าเจ้าของรถจักรยานยนต์คันที่ผู้ตายขับได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัยไปแล้ว จึงเป็นกรณีที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ มาตรา 23 (1) ซึ่งกฎหมายบังคับให้สำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยเป็นผู้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัย เมื่อโจทก์ได้รับเงินค่าเสียหายเบื้องต้นจากสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ ครบถ้วนแล้ว โจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายเบื้องต้นได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9743/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเสพยาเสพติด: การปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด และผลกระทบต่อการดำเนินคดี
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีน มีเมทแอมเฟตามีน 1 เม็ด น้ำหนักสุทธิ 0.110 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทแต่ละบทมีอัตราโทษเท่ากัน ศาลจะลงโทษบทใดบทหนึ่งก็ได้ จึงถือได้ว่าจำเลยต้องหาว่ากระทำความผิดฐานเสพและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย หรือฐานเสพและจำหน่ายยาเสพติดตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 19 วรรคหนึ่ง เมื่อขณะจำเลยต้องหาว่ากระทำความผิดดังกล่าวไม่ปรากฏว่าจำเลยต้องหาหรืออยู่ในระหว่างถูกดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นซึ่งเป็นความผิดที่มีโทษจำคุก หรืออยู่ในระหว่างรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาของศาล พนักงานสอบสวนต้องนำตัวจำเลยขณะเป็นผู้ต้องหาไปศาลภายใน 48 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่จำเลยมาถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้ส่งตัวจำเลยไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติด การที่พนักงานสอบสวนดำเนินการฝากขังตลอดมาและพนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลจึงเป็นการไม่ชอบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2664/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พ.ร.บ.ล้างมลทินมีผลย้อนหลังทำให้ไม่สามารถเพิ่มโทษจำเลยได้ แม้คดีถึงที่สุดก่อนบังคับใช้
พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปริมนทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษาฯ มาตรา 4 บัญญัติให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีมีความผิดต่างๆ ซึ่งได้กระทำก่อนวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้นๆ ดังนั้น เมื่อความผิดที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุที่ขอให้เพิ่มโทษ จำเลยที่ 3 ได้ต้องโทษและพ้นโทษไปแล้วก่อนวันที่ พ.ร.บ. ดังกล่าวใช้บังคับ อันเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด จำเลยที่ 3 ย่อมได้รับประโยชน์ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษาฯ โดยมิต้องคำนึงว่าเป็นกรณีตาม ป.อ. มาตรา 3 หรือไม่ ทั้งปัญหาว่าเมื่อ พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษาฯ ใช้บังคับแล้วจะเพิ่มโทษจำเลยที่ 3 ได้หรือไม่ เป็นปัญหาในชั้นบังคับคดีเพื่อบังคับให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวและไม่เป็นการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่อย่างใด กรณีจึงไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยที่ 3 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8640/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัย เหตุฎีกาไม่เป็นไปตามขั้นตอน พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด
คดีที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลกำหนดโทษใหม่ ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม (ที่แก้ไขใหม่) โดยอ้าง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2560 มาตรา 3 ซึ่งเป็นกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยมากกว่ามาตรา 15 วรรคสาม (เดิม) คำร้องของจำเลยจึงเป็นผลสืบเนื่องมาจากคดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และคดีถึงที่สุดก่อนที่จะมีการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว ดังนี้ คดีของจำเลยจึงเป็นคดีเกี่ยวกับยาเสพติด อันอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 ด้วย ซึ่งมาตรา 18 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า "...คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์เฉพาะการกระทำซึ่งเป็นความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้เป็นที่สุด" และมาตรา 19 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง แล้ว คู่ความอาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องไปพร้อมกับฎีกาต่อศาลฎีกาภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลนั้นให้คู่ความฝ่ายที่ขออนุญาตฎีกาฟัง เพื่อขอให้พิจารณารับฎีกาไว้วินิจฉัยก็ได้" ดังนี้ เมื่อจำเลยยื่นฎีกาโดยไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง