พบผลลัพธ์ทั้งหมด 241 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3184/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดบังคับคดีจากการฟ้องคดีอาญาเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ และการใช้ดุลพินิจกำหนดค่าทนายความ
ศาลพิพากษาตามยอมให้จำเลยชำระเงินตามสัญญากู้ยืมเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ จำเลยผิดนัดชำระหนี้ โจทก์ขอให้บังคับคดีจำเลยยื่นคำร้องขอให้งดการบังคับคดีอ้างว่าจำเลยได้ฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญาข้อหาปลอมสัญญากู้ยืมเงิน เนื่องจากโจทก์นำสัญญากู้ยืมเงินปลอมมาฟ้องจำเลยแล้วสมคบกับทนายจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความลับหลังจำเลยจนศาลพิพากษาตามยอม ดังนี้ เป็นเรื่องที่จำเลยฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญาเพื่อให้ตนหลุดพ้นจากความรับผิดในคดีนี้ซึ่งศาลได้พิพากษาตามยอมไปแล้ว หามีหนี้ที่จะหักกลบลบกันไม่ทั้งเป็นการฟ้องคดีในมูลกรณีเดียวกันกับคดีนี้ หาใช่ฟ้องเป็นคดีอื่นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 293 อันจะเป็นเหตุให้ศาลงดการบังคับคดีเพื่อหักกลบลบหนี้กันไม่ จำนวนเงินค่าทนายความที่ศาลกำหนดให้จำเลยใช้แทนโจทก์เป็นส่วนหนึ่งของค่าฤชาธรรมเนียม ในเรื่องความรับผิดเกี่ยวกับค่าฤชาธรรมเนียมนี้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161บัญญัติให้ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี และเป็นดุลพินิจของศาลที่จะกำหนดให้โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง คดีนี้ศาลอุทธรณ์ได้กำหนดค่าทนายความอยู่ระหว่างอัตราขั้นต่ำและขั้นสูงดังที่ระบุไว้ในตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โดยคำนึงถึงเหตุผลตามบทบัญญัติข้างต้นจึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่เหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1997/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาในศาลแขวงโดยไม่ต้องเคร่งครัด ป.วิ.อ. มาตรา 158 อนุมาตรา 5
การพิจารณาคดีอาญาของศาลแขวงแตกต่างจากคดีอาญาอื่นพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 19 จึงบัญญัติให้โจทก์ฟ้องด้วยวาจาได้ และให้ศาลบันทึกใจความแห่งคำฟ้องไว้เป็นหลักฐานการฟ้องคดีอาญาในศาลแขวงไม่ต้องปฏิบัติเคร่งครัดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158โดยเฉพาะอนุมาตรา 5 ว่าด้วยรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการกระทำ เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องสอบถามรายละเอียดพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดี คดีนี้เป็นคดีการพนันที่อยู่ในอำนาจศาลแขวง ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ว่าโจทก์ฟ้องว่าจำเลยบังอาจจัดให้มีการเล่นเครื่องเล่นจักรกลไฟฟ้า (วีดีโอเกม) อันเป็นความผิดดังที่ระบุไว้ในบัญชี ข. หมายเลข 28 ท้าย พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478 โดยไม่มีพระราช-กฤษฎีกาอนุญาตให้เล่นได้ ซึ่งจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว จึงให้การรับสารภาพคำฟ้องที่โจทก์ฟ้องด้วยวาจาตามที่ศาลบันทึกไว้นั้น ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าจากเหตุหมิ่นประมาท/เหยียดหยามจากแจ้งความ/ฟ้องคดีอาญา ศาลฎีกาเห็นว่าเป็นการใช้สิทธิเพื่อปกป้องทรัพย์สิน
การที่โจทก์ขายรถยนต์สินสมรสให้แก่บุคคลอื่นโดยที่จำเลยไม่ทราบและได้ระบุในบันทึกคำแจ้งความเรื่องขอโอนและขอรับโอนทะเบียนรถยนต์ว่าโจทก์เป็นโสด มีเหตุให้จำเลยเชื่อว่าโจทก์ขายรถยนต์สินสมรสเพื่อประโยชน์ของโจทก์เพียงฝ่ายเดียว จึงเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง จำเลยย่อมมีสิทธิรักษาประโยชน์ของตนเองได้ ดังนั้นการแจ้งความของจำเลยต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับโจทก์ฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน จึงเป็นการใช้สิทธิตามที่มีกฎหมายให้อำนาจเพื่อปกป้องและรักษาประโยชน์ในทรัพย์สินของตนตามปกติ จึงไม่เป็นการหมิ่นประมาท หรือเหยียดหยามโจทก์อย่างร้ายแรงที่จะถือว่าเป็นเหตุหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516(3) การที่จำเลยฟ้องโจทก์และ พ. เป็นจำเลยในคดีอาญาข้อหาร่วมกันแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จนั้น สืบเนื่องมาจากเหตุที่ได้มีการฟ้องคดีแพ่งและมีการนำยึดที่ดินพร้อมบ้านที่ปลูกอยู่บนที่ดินดังกล่าว ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์และจำเลยร่วมกัน และจำเลยก็มีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านหลังนี้โดยมีพฤติการณ์ที่ทำให้จำเลยเข้าใจว่าหนี้สินระหว่างโจทก์และ พ. เป็นหนี้สมยอมกันเพื่อกลั่นแกล้งจำเลย การฟ้องคดีอาญาดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นการกระทำที่จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่า มีสิทธิกระทำได้ เพื่อป้องกันส่วนได้เสียและป้องกันทรัพย์สินที่จำเลยมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ จึงหาใช่เป็นการหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามโจทก์อย่างร้ายแรงอันจะเป็นเหตุหย่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516(3) ไม่เช่นเดียวกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีอาญาของผู้เสียหายหลายคน และการไม่เป็นฟ้องซ้อน แม้มีการฟ้องคดีอาญาไปก่อนแล้ว
ในคดีอาญาที่มีผู้เสียหายหลายคน ผู้เสียหายแต่ละคนย่อมมีสิทธิฟ้องผู้กระทำผิดได้ การที่ผู้เสียหายคนหนึ่งคนใดฟ้องผู้กระทำผิดก่อน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาก็ไม่มีบทบัญญัติห้ามผู้เสียหายคนอื่นฟ้องผู้กระทำผิดอีก ส่วนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง(1)แม้จะนำมาใช้บังคับในคดีอาญาได้ก็ตาม ก็ห้ามเฉพาะโจทก์ในคดีเดิมเท่านั้นมิให้ฟ้องจำเลยซ้ำในเรื่องเดียวกัน โจทก์ไม่เคยฟ้องจำเลยที่ 2 ในเรื่องเดียวกันกับที่ฟ้องคดีนี้มาก่อน การที่ภรรยาโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในเรื่องเดียวกับคดีนี้มาก่อน ก็ยังไม่ถือว่าเป็นการฟ้องแทนโจทก์ด้วย ฟ้องโจทก์คดีนี้เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีอาญาของผู้เสียหายหลายคน และการไม่เป็นฟ้องซ้อน แม้มีการฟ้องคดีไปก่อนหน้านี้
ในคดีอาญาที่มีผู้เสียหายหลายคน ผู้เสียหายแต่ละคนย่อมมีสิทธิฟ้องผู้กระทำผิดได้ การที่ผู้เสียหายคนหนึ่งฟ้องผู้กระทำผิดก่อนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ก็ไม่มีบทบัญญัติห้ามผู้เสียหายคนอื่นฟ้องผู้กระทำผิดอีก ส่วน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง (1) ซึ่งได้บัญญัติห้ามโจทก์เมื่อได้ยื่นฟ้องต่อศาลแล้วและคดีอยู่ในระหว่างพิจารณายื่นฟ้องจำเลยเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือต่อศาลอื่นอีก ก็เป็นการห้ามเฉพาะโจทก์ในคดีเดิมเท่านั้นมิให้ฟ้องจำเลยในเรื่องเดียวกัน แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 จะให้นำมาใช้บังคับในคดีอาญาได้แต่โจทก์ก็ไม่ได้ฟ้องจำเลยในเรื่องเดียวกันกับที่ฟ้องคดีนี้มาก่อนการที่ ม. ภรรยาโจทก์เคยฟ้องจำเลยในเรื่องเดียวกันกับคดีนี้ก็ยังไม่ถือว่าเป็นการฟ้องแทนโจทก์ด้วย ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีที่ ม. เคยฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีอาญาของกรรมการ/ผู้ถือหุ้น เมื่อผู้กระทำผิดคือผู้จัดการ/กรรมการเอง คดีระงับเมื่อมีการถอนคำร้องทุกข์
กรณีผู้จัดการและกรรมการกระทำความผิดอาญาฐานยักยอก อันเป็นการกระทำต่อบริษัทโจทก์ เป็นที่เห็นได้ชัดว่าผู้กระทำผิดจะไม่ฟ้องคดีแทนนิติบุคคลเพื่อกล่าวหาตนเอง กรรมการอื่น หรือผู้ถือหุ้นคนใดคนหนึ่งซึ่งมีประโยชน์ได้เสียร่วมกับนิติบุคคลนั้นย่อมได้รับความเสียหาย จึงมีสิทธิฟ้องคดีอาญา แจ้งความร้องทุกข์ หรือถอนคำร้องทุกข์อันมีผลทำให้คดีอาญาระงับได้ แม้บุคคลดังกล่าวจะมิใช่กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5494/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีอาญา พิจารณาจากโทษที่ศาลลงโทษ ไม่ใช่ข้อหาที่ฟ้อง
อายุความฟ้องคดีอาญา ตาม ป.อ. มาตรา 95 ต้องถือตามอัตราโทษของความผิดที่ศาลพิจารณาได้ความ ไม่ใช่พิจารณาจากข้อหาหรือ ฐานความผิดที่โจทก์ฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3478-3479/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการฟ้องคดีอาญาและการพิสูจน์ความร่วมกระทำผิด การฎีกาเฉพาะส่วนนอกฟ้อง
พนักงานอัยการยื่นฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 ผู้เสียหายยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ในมูลความผิดเดียวกัน ศาลชั้นต้นสั่งรวมการพิจารณาเข้าด้วยกัน แล้วพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสอง ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นยกฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 2 ดังนี้ พนักงานอัยการไม่มีสิทธิฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 เพราะเป็นเรื่องนอกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3382/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาต้องระบุข้อหาและบทลงโทษในฟ้องชัดเจน ศาลไม่สามารถลงโทษในข้อหาที่มิได้ระบุไว้
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยมีไม้กฤษณาหรือไม้หอมแปรรูปอันเป็นไม้หวงห้ามประเภท ข. ไว้ในครอบครองภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น โจทก์หาได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏข้อเท็จจริงว่าไม้กฤษณาหรือไม้หอมเป็นของป่าหวงห้ามด้วยไม่ ทั้งคำขอท้ายฟ้องก็มิได้อ้างพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา29 ทวิ,71 ทวิ แต่ประการใด กรณีจึงไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้เพราะมิได้กล่าวในฟ้องและไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่งและวรรคสี่ หาใช่เป็นเรื่องซึ่งโจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดตามวรรคห้าไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1814/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาต้องระบุองค์ประกอบความผิดให้ชัดเจน หากฟ้องแล้วขอลงโทษฐานอื่นย่อมทำไม่ได้
ความผิดฐานใช้อุบายหลอกลวงไปเพื่อการอนาจาร กับใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อการอนาจาร แม้เป็นความผิดในมาตราเดียวกันแต่ลักษณะของการกระทำต่างกัน องค์ประกอบในการกระทำความผิดจึงต่างกัน เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยกับพวกที่หลบหนีได้บังอาจร่วมกันใช้กำลังประทุษร้ายฉุดลากพาผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจาร ดังนี้ โจทก์จะกลับขอให้ลงโทษจำเลยฐานใช้อุบายหลอกลวงเพื่อการอนาจารหาได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคแรก.