คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ระเบียบข้อบังคับ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 70 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 449/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างครู: สัญญาจ้างแรงงานหรือจ้างทำของ พิจารณาจากอำนาจควบคุมและระเบียบข้อบังคับ
จำเลยจ้างโจทก์ให้สอนหนังสือนักเรียน จ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือน และมีอำนาจออกระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน กำหนดวันเวลาสอนหนังสือ หากโจทก์ปฏิบัติฝ่าฝืนจำเลยมีอำนาจลงโทษได้ การที่จำเลยจ่ายค่าจ้างมิใช่หวังผลสำเร็จของการสอนหนังสือ แม้โจทก์จะมีอิสระในการสอนตามวิชาชีพ แต่ก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยสัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยจึงเป็นสัญญาจ้างแรงงานมิใช่จ้างทำของ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 449/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงาน: การจ่ายค่าจ้างรายเดือนและอำนาจออกระเบียบข้อบังคับบ่งชี้ถึงความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง
จำเลยจ้างโจทก์ให้สอนหนังสือนักเรียน จ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือน และมีอำนาจออกระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน กำหนดวันเวลาสอนหนังสือ หากโจทก์ปฏิบัติฝ่าฝืนจำเลยมีอำนาจลงโทษได้การที่จำเลยจ่ายค่าจ้างมิใช่หวังผลสำเร็จของการสอนหนังสือแม้โจทก์จะมีอิสระในการสอนตามวิชาชีพ แต่ก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยสัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยจึงเป็นสัญญาจ้างแรงงานมิใช่จ้างทำของ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4072/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง: การพิจารณาความถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับของบริษัทและการจ่ายค่าชดเชย
การที่โจทก์ยินยอมมาทำงานในวันเสาร์ซึ่งเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ และมีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานนั้น โจทก์ย่อมมีหน้าที่ปฏิบัติงานตามคำสั่งของจำเลยและต้องอยู่ในบังคับของระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำำานของจำเลยด้วย
ระเบียบข้อบังคับของจำเลยระบุว่า 'บุคคลที่ถูกลงโทษโดยตักเตือนด้วยวาจาหรือตักเตือนด้วยหนังสือ หรือทำหนังสือทัณฑ์บนได้แก่ผู้ที่กระทำผิดในสถานเบา ผู้ที่ได้รับการลงโทษดังกล่าวรวม 3 ครั้ง บริษัทฯ จะถือเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับและจะพิจารณาลงโทษในสถานหนักตามที่เห็นสมควร' ดังนี้จำเลยจะอาศัยความข้อนี้เลิกจ้างโจทก์ได้ก็ต่อเมื่อโจทก์ได้รับการลงโทษด้วยการตักเตือนมาก่อนแล้วรวม 3 ครั้ง
โจทก์ละทิ้งหน้าที่มาแล้ว 2 ครั้ง และถูกตักเตือนเป็นหนังสือแล้วทั้งสองครั้ง ต่อมาโจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นครั้งที่ 3ซึ่งเป็นกรณีที่จำเลยมีสิทธิลงโทษโจทก์ด้วยการตักเตือนอีกได้ เช่นนี้ แม้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) จะให้สิทธิแก่นายจ้างที่จะเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยก็ตาม แต่เมื่อระเบียบข้อบังคับดังกล่าวเป็นคุณแก่โจทก์ซึ่งจำเลยจะต้องถือปฏิบัติตาม จำเลยจึงไม่มีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชย แต่จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1874/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานประพฤติผิดร้ายแรง ต้องพิจารณาพฤติการณ์เป็นรายกรณี แม้มีระเบียบข้อบังคับ
ระเบียบข้อบังคับสำหรับพนักงานเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของจำเลย กำหนดว่า ลูกจ้างที่ฝ่าฝืนข้อบังคับและถูกตัดสินลงโทษหรือถูกจำคุกในความผิดอาญา ถือว่าลูกจ้างผู้นั้นประพฤติผิดที่ร้ายแรง แต่จะเป็นกรณีที่ร้ายแรงอันจะเป็นเหตุให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 หรือไม่และต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 หรือไม่ ต้องพิจารณาจากพฤติการณ์และการกระทำของลูกจ้างเป็นราย ๆ ไป หาใช่เพียงแต่พิจารณาจากข้อกำหนดในระเบียบข้อบังคับของจำเลยไม่
โจทก์วิวาททำร้ายร่างกายเพื่อนพนักงานโดยไม่เป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย เหตุทะเลาะวิวาทเกิดนอกบริเวณบริษัทจำเลย และจำเลยไม่ได้รับความเสียหาย การที่โจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับของจำเลยดังกล่าวจึงยังไม่เป็นกรณีที่ร้ายแรงอันจำเลยจะเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การกระทำผิดระเบียบข้อบังคับไม่ใช่ความผิดร้ายแรง
ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์เพียงแต่ทำผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลย ไม่ได้ทุจริตต่อหน้าที่อันถือว่าเป็นความผิดที่ร้ายแรง จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ปัญหาดังกล่าวจึงยุติตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเพราะจำเลยอุทธรณ์ แต่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่รับ เมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์ว่าแม้โจทก์เพียงกระทำผิดระเบียบข้อบังคับ จำเลยก็มีสิทธิที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม คงอุทธรณ์ข้อที่ว่าการสอบสวนความผิดชอบด้วยระเบียบข้อบังคับการทำงานหรือไม่ ข้ออุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย เพราะไม่ทำให้ผลของคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 556-557/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามคำวินิจฉัยคณะกรรมการอุทธรณ์ตามระเบียบข้อบังคับบริษัท: นายจ้างต้องผูกพัน
ระเบียบพนักงานบริษัทขนส่ง จำกัดเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจึงมีผลใช้บังคับแก่นายจ้างและลูกจ้างเมื่อตามระเบียบฯให้สิทธิแก่ลูกจ้างผู้ถูกลงโทษอุทธรณ์คำสั่งลงโทษไปยังคณะกรรมการอุทธรณ์ก็เท่ากับนายจ้างยอมรับที่จะปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์แม้ระเบียบจะมิได้กำหนดไว้ชัดแจ้งว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ให้มีผลผูกมัดนายจ้างก็ตาม จำเลยมีคำสั่งลงโทษไล่โจทก์ออกจากงานโจทก์อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ของจำเลยตามระเบียบพนักงานบริษัทขนส่ง จำกัดของจำเลยแล้วดังนี้เมื่อคณะกรรมการอุทธรณ์วินิจฉัยให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งลงโทษของจำเลยจำเลยต้องผูกพันปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4251/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง: การกระทำที่ไม่ถึงขั้นร้ายแรงตามระเบียบข้อบังคับของบริษัท และต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นผู้นำเรียกร้องให้จำเลยชี้แจงกรณี ด.ลูกจ้างคนหนึ่งของจำเลยถูกตำรวจจับกุมในข้อหาลักทรัพย์ของจำเลย กับนัดแนะให้ลูกจ้างรวมตัวกันเพื่อกระทำการอย่างหนึ่ง เมื่อจำเลยให้ตำรวจชี้แจงในเรื่องดังกล่าวแล้ว โจทก์ยังไม่พอใจได้นัดแนะให้ลูกจ้างคอยฟังรายละเอียดในตอนเย็นวันนั้น เมื่อการกระทำของโจทก์ดังกล่าวศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยยังไม่ได้รับความเสียหาย กรณีจึงยังไม่เข้าเหตุตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยที่ว่าลูกจ้างได้ทำให้ทรัพย์สินของบริษัทเสียหาย ซึ่งจำเลยถือเป็นเหตุที่ร้ายแรง ถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 และยังไม่เป็นความผิดอย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าว จึงต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3846-3847/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อตกลงทดลองงานต้องเป็นหนังสือชัดเจน การส่งมอบระเบียบข้อบังคับอย่างเดียวไม่ถือว่าเป็นการแจ้งทดลองงาน
กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยแจ้งด้วยวาจาพร้อมกับมอบระเบียบข้อบังคับในการทำงานและกฎข้อบังคับของพนักงานบริษัทจำเลยให้แก่โจทก์ในวันสัมภาษณ์ว่าโจทก์ต้องทดลองงาน 180 วัน ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการ 'แจ้งให้ทราบเป็นหนังสือ'ตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 แต่เป็นเพียงการส่งมอบเอกสารให้โจทก์ไปศึกษาว่า จำเลยมีข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นประการใดเท่านั้น ทั้งในวันสัมภาษณ์นั้นก็ยังมิได้มีการตกลงจ้างกัน ต่อมา จำเลยตัดสินใจจ้างโจทก์ตามหนังสือแจ้งให้โจทก์มาทำงาน ก็หามีข้อความใดแสดงให้ปรากฏว่าโจทก์จะต้องทดลองปฏิบัติงานหรือไม่ จึงไม่เป็นการแจ้งให้ลูกจ้างทดลองปฏิบัติงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3846-3847/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อตกลงทดลองงานต้องเป็นหนังสือชัดเจน การส่งมอบระเบียบข้อบังคับไม่ถือเป็นการแจ้งทดลองงาน
กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยแจ้งด้วยวาจาพร้อมกับมอบระเบียบข้อบังคับในการทำงานและกฏข้อบังคับของพนักงานบริษัทจำเลยให้แก่โจทก์ในวันสัมภาษณ์ว่าโจทก์ต้องทดลองงาน180วันยังถือไม่ได้ว่าเป็นการ'แจ้งให้ทราบเป็นหนังสือ'ตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46แต่เป็นเพียงการส่งมอบเอกสารให้โจทก์ไปศึกษาว่าจำเลยมีข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นประการใดเท่านั้นทั้งในวันสัมภาษณ์นั้นก็ยังมิได้มีการตกลงจ้างกันต่อมาจำเลยตัดสินใจจ้างโจทก์ตามหนังสือแจ้งให้โจทก์มาทำงานก็หามีข้อความใดแสดงให้ปรากฏว่าโจทก์จะต้องทดลองปฏิบัติงานหรือไม่จึงไม่เป็นการแจ้งให้ลูกจ้างทดลองปฏิบัติงาน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3677/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับลูกจ้างจัดหาเครื่องมือทำงาน นายจ้างต้องมีระเบียบข้อบังคับเป็นลายลักษณ์อักษร ประเพณีใช้ไม่ได้
ลูกจ้างจะต้องจัดหาเครื่องมือในการทำงานมาเองหรือไม่เป็นเรื่องที่ต้องกำหนดโดยระเบียบข้อบังคับหรือความตกลงระหว่างคู่กรณีเมื่อจำเลยไม่มีระเบียบข้อบังคับกำหนดให้ลูกจ้างที่เป็นช่างไม้จัดหาเครื่องมือช่างไม้ มาทำงานเองดังนั้นแม้หากจะมีประเพณีให้ลูกจ้างที่เป็นช่างไม้จัดหาเครื่องมือมาเองดังที่จำเลยกล่าวอ้างก็หาอาจนำประเพณีนั้นมาบังคับแก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างได้ไม่ คำสั่งของจำเลยที่สั่งให้โจทก์นำเครื่องมือช่างไม้มาทำงานเอง จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามจะถือว่าโจทก์ฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยไม่ได้
ประเพณีที่จำเลยกล่าวอ้างไม่ทำให้คำสั่งของจำเลยกลับเป็นคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องนำสืบพยานว่ามีประเพณีนั้นหรือไม่
of 7