พบผลลัพธ์ทั้งหมด 57 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 268/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องฉ้อโกงและโกงเจ้าหนี้ต้องมีเจตนาหลอกลวงและทำให้เจ้าหนี้เสียหายจริง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์โดยนำบ้านมาเป็นประกันเงินกู้ และจำเลยที่ 1 รับรองในสัญญากู้ว่าบ้านดังกล่าวเป็นของตน โจทก์หลงเชื่อจึงได้มอบเงินกู้ให้จำเลยที่ 1 ไป ดังนี้ ฟ้องโจทก์มิได้บรรยาย ว่าความจริงเป็นอย่างไรเพื่อที่จะแสดงให้เข้าใจได้ว่าจำเลยร่วมกันหลอกลวงโจทก์ตรงไหน และที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 รับรองต่อโจทก์ว่าจะไม่โอนบ้านให้ผู้อื่นจนกว่าจะชำระหนี้แก่โจทก์ครบถ้วนแต่ต่อมาจำเลยที่ 1 กลับโอนบ้านให้จำเลยที่ 2 ในภายหลังโดยปกปิดไม่ให้โจทก์รู้นั้นก็เป็นเรื่อง อนาคต ซึ่งเป็นเพียงจำเลยที่ 1 ให้คำรับรองไว้ต่อโจทก์เท่านั้น หาเข้าลักษณะความผิดฐานฉ้อโกงไม่
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าบ้านที่จำเลยที่ 1 นำมาระบุไว้เป็นประกัน ในการกู้เงินจากโจทก์มิใช่เป็นของจำเลยที่ 1 ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 โอนบ้านดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการทำให้โจทก์เจ้าหนี้ ของจำเลยมิได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ (วรรคแรก วินิจฉัย โดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 25/2519)
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าบ้านที่จำเลยที่ 1 นำมาระบุไว้เป็นประกัน ในการกู้เงินจากโจทก์มิใช่เป็นของจำเลยที่ 1 ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 โอนบ้านดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการทำให้โจทก์เจ้าหนี้ ของจำเลยมิได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ (วรรคแรก วินิจฉัย โดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 25/2519)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1287/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดสัญญาซื้อขายข้าวสารไม่ใช่ความผิดอาญา หากไม่มีเจตนาหลอกลวงเพื่อให้ได้ทรัพย์สิน
การที่จำเลยมอบอำนาจให้โจทก์เจรจาซื้อข้าวสารจากรัฐบาลไทยให้รัฐบาลคูเวทโดยตกลงจะให้สินจ้างแก่โจทก์ แล้วไม่ให้ เป็นเพียงจำเลยรับว่าจะทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้โจทก์แล้วไม่ทำตามที่ตกลงไว้ ไม่ใช่เพื่อให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สินของโจทก์หรือบุคคลที่สาม หรือ เป็นเหตุให้ได้ไปซึ่งสัญญาขายข้าวอันเป็นเอกสารสิทธิตามฟ้อง การกระทำของจำเลยเป็นเพียงผิดสัญญาทางแพ่ง ไม่มีมูลเป็นความผิดทางอาญา
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ฎีกาของโจทก์ในปัญหาที่ว่าการยื่นและการรับฟังพยานเอกสารของจำเลยในชั้นไต่สวนมูลฟ้องนั้นเป็นการชอบหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดทางอาญา ก็พิพากษายืนโดยให้ยกฟ้องเพราะเหตุนี้ได้ไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาที่โจทก์อุทธรณ์ฎีกา
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ฎีกาของโจทก์ในปัญหาที่ว่าการยื่นและการรับฟังพยานเอกสารของจำเลยในชั้นไต่สวนมูลฟ้องนั้นเป็นการชอบหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดทางอาญา ก็พิพากษายืนโดยให้ยกฟ้องเพราะเหตุนี้ได้ไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาที่โจทก์อุทธรณ์ฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 707/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องเพื่อเข้าร่วมเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการ และความผิดฐานฉ้อโกงที่ต้องมีเจตนาหลอกลวง
ผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องจำเลยฐานฉ้อโกงไว้แล้ว ต่อมาพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องจำเลยด้วยเรื่องเดียวกันนั้นเป็นคดีใหม่ ผู้เสียหายจึงถอนฟ้องคดีที่ผู้เสียหายได้ฟ้องไว้แล้วขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีที่พนักงานอัยการฟ้อง เห็นได้ว่าการที่ผู้เสียหายถอนฟ้องดังกล่าวก็เพื่อจะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีที่พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องจำเลยนั่นเอง มิใช่เป็นการถอนฟ้องเด็ดขาดตามความหมายในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 36 พนักงานอัยการจึงยังมีอำนาจฟ้องจำเลยและสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของผู้เสียหายจึงไม่ระงับไป จึงมีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ
จำเลยเอาเงินของผู้เสียหายไป อ้างว่าเพื่อนำไปซื้อเบี้ยเลี้ยงตำรวจและจะให้ผลประโยชน์แก่ผู้เสียหาย เป็นเรื่องที่จำเลยยืมเงินไปโดยให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินนั้นเพื่อกิจการของจำเลยเองในโอกาสข้างหน้า มิได้เอาความเท็จมากล่าวหรือแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงซึ่งมีอยู่แล้วในขณะนั้น แม้จำเลยไม่เอาเงินนั้นไปซื้อเบี้ยเลี้ยงตำรวจ ก็เป็นเรื่องผิดคำมั่นสัญญาเท่านั้น ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง
จำเลยเอาเงินของผู้เสียหายไป อ้างว่าเพื่อนำไปซื้อเบี้ยเลี้ยงตำรวจและจะให้ผลประโยชน์แก่ผู้เสียหาย เป็นเรื่องที่จำเลยยืมเงินไปโดยให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินนั้นเพื่อกิจการของจำเลยเองในโอกาสข้างหน้า มิได้เอาความเท็จมากล่าวหรือแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงซึ่งมีอยู่แล้วในขณะนั้น แม้จำเลยไม่เอาเงินนั้นไปซื้อเบี้ยเลี้ยงตำรวจ ก็เป็นเรื่องผิดคำมั่นสัญญาเท่านั้น ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1514/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาหลอกลวงเพื่อเอาเงินทอนเข้าข่ายฉ้อโกง แม้ฟ้องฐานลักทรัพย์ ศาลไม่ลงโทษ
ศาลอุทธรณ์ฟังว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งไม่ได้อุทธรณ์ ไม่มีความผิดดังฟ้อง โดยลักษณะคดีศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาให้เป็นคุณรวมไปถึงจำเลยที่ไม่ได้อุทธรณ์ด้วยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 213 (อ้างฎีกาที่ 1370/2503)
จำเลยเข้าไปขอซื้อสบู่ในร้านผู้เสียหาย 1 ก้อน ราคา 3 บาท จำเลยส่งธนบัตรใบละ 100 บาทให้ ผู้เสียหายทอนให้ 97 บาท ต่อมาจำเลยพูดว่าไม่ต้องการสบู่ขอเงินคืน พร้อมกับส่งสบู่และเงินทอนให้ผู้เสียหาย ผู้เสียหายรับเงินทอนโดยไม่นับดู แล้วคืนธนบัตร 100 บาทให้จำเลย จำเลยรับแล้วก็รีบออกจากร้านไป ดังนี้ เจตนาของจำเลยก็เพื่อต้องการเงินจำนวนหนึ่งจากเจ้าทรัพย์ โดยใช้อุบายทำทีว่าจะซื้อสบู่ ด้วยการชำระเงินด้วยธนบัตรใบละ 100 บาท เพื่อเจ้าทรัพย์จะได้ทอนเงินปลีกให้เมื่อได้เงินทอนแล้วก็กลับบอกเลิกไม่ซื้อสบู่ และขอธนบัตรใบละ 100 บาทคืน โดยมอบเงินทอนให้แก่เจ้าทรัพย์ แต่ฉวยโอกาสทำการทุจริตยักเอาเงินไว้เสีย 50 บาท โดยแกล้งทำเป็นซื้อสบู่เป็นฉากบังหน้าอันเป็นเท็จ เพื่อหลอกลวงให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สินคือเงินส่วนหนึ่งที่เจ้าทรัพย์ทอนให้ เพราะหลงเชื่อในการหลอกลวงนั้น การกระทำของจำเลยเป็นผิดฐานฉ้อโกง
เมื่อความผิดของจำเลยที่ได้ความตามทางพิจารณาเป็นฐานฉ้อโกง โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษฐานลักทรัพย์ ไม่ประสงค์ให้ลงโทษฐานฉ้อโกง ศาลจะลงโทษจำเลยหาได้ไม่
จำเลยเข้าไปขอซื้อสบู่ในร้านผู้เสียหาย 1 ก้อน ราคา 3 บาท จำเลยส่งธนบัตรใบละ 100 บาทให้ ผู้เสียหายทอนให้ 97 บาท ต่อมาจำเลยพูดว่าไม่ต้องการสบู่ขอเงินคืน พร้อมกับส่งสบู่และเงินทอนให้ผู้เสียหาย ผู้เสียหายรับเงินทอนโดยไม่นับดู แล้วคืนธนบัตร 100 บาทให้จำเลย จำเลยรับแล้วก็รีบออกจากร้านไป ดังนี้ เจตนาของจำเลยก็เพื่อต้องการเงินจำนวนหนึ่งจากเจ้าทรัพย์ โดยใช้อุบายทำทีว่าจะซื้อสบู่ ด้วยการชำระเงินด้วยธนบัตรใบละ 100 บาท เพื่อเจ้าทรัพย์จะได้ทอนเงินปลีกให้เมื่อได้เงินทอนแล้วก็กลับบอกเลิกไม่ซื้อสบู่ และขอธนบัตรใบละ 100 บาทคืน โดยมอบเงินทอนให้แก่เจ้าทรัพย์ แต่ฉวยโอกาสทำการทุจริตยักเอาเงินไว้เสีย 50 บาท โดยแกล้งทำเป็นซื้อสบู่เป็นฉากบังหน้าอันเป็นเท็จ เพื่อหลอกลวงให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สินคือเงินส่วนหนึ่งที่เจ้าทรัพย์ทอนให้ เพราะหลงเชื่อในการหลอกลวงนั้น การกระทำของจำเลยเป็นผิดฐานฉ้อโกง
เมื่อความผิดของจำเลยที่ได้ความตามทางพิจารณาเป็นฐานฉ้อโกง โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษฐานลักทรัพย์ ไม่ประสงค์ให้ลงโทษฐานฉ้อโกง ศาลจะลงโทษจำเลยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1514/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาหลอกลวงเพื่อเอาเงินทอนเข้าตัวเอง ถือเป็นความผิดฐานฉ้อโกง ไม่ใช่ลักทรัพย์
ศาลอุทธรณ์ฟังว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งไม่ได้อุทธรณ์ไม่มีความผิดดังฟ้อง โดยลักษณะคดีศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาให้เป็นคุณรวมไปถึงจำเลยที่ไม่ได้อุทธรณ์ด้วยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213(อ้างฎีกาที่ 1370/2503)
จำเลยเข้าไปขอซื้อสบู่ในร้านผู้เสียหาย 1 ก้อน ราคา 3 บาท จำเลยส่งธนบัตรใบละ 100 บาทให้ ผู้เสียหายทอนให้ 97 บาท ต่อมาจำเลยพูดว่าไม่ต้องการสบู่ขอเงินคืน พร้อมกับส่งสบู่และเงินทอนให้ผู้เสียหายผู้เสียหายรับเงินทอนโดยไม่นับดู แล้วคืนธนบัตร 100 บาทให้จำเลย จำเลยรับแล้วก็รีบออกจากร้านไปดังนี้เจตนาของจำเลยก็เพื่อต้องการเงินจำนวนหนึ่งจากเจ้าทรัพย์โดยใช้อุบายทำทีว่าจะซื้อสบู่ ด้วยการชำระเงินด้วยธนบัตรใบละ 100 บาท เพื่อเจ้าทรัพย์จะได้ทอนเงินปลีกให้ เมื่อได้เงินทอนแล้วก็กลับบอกเลิกไม่ซื้อสบู่และขอธนบัตรใบละ 100 บาทคืน โดยมอบเงินทอนให้แก่เจ้าทรัพย์แต่ฉวยโอกาสทำการทุจริตยักเอาเงินไว้เสีย 50 บาท โดยแกล้งทำเป็นซื้อสบู่เป็นฉากบังหน้าอันเป็นเท็จ เพื่อหลอกลวงให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สินคือเงินส่วนหนึ่งที่เจ้าทรัพย์ทอนให้เพราะหลงเชื่อในการหลอกลวงนั้น การกระทำของจำเลยเป็นผิดฐานฉ้อโกง
เมื่อความผิดของจำเลยที่ได้ความตามทางพิจารณาเป็นฐานฉ้อโกง โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษฐานลักทรัพย์ ไม่ประสงค์ให้ลงโทษฐานฉ้อโกง ศาลจะลงโทษจำเลยหาได้ไม่
จำเลยเข้าไปขอซื้อสบู่ในร้านผู้เสียหาย 1 ก้อน ราคา 3 บาท จำเลยส่งธนบัตรใบละ 100 บาทให้ ผู้เสียหายทอนให้ 97 บาท ต่อมาจำเลยพูดว่าไม่ต้องการสบู่ขอเงินคืน พร้อมกับส่งสบู่และเงินทอนให้ผู้เสียหายผู้เสียหายรับเงินทอนโดยไม่นับดู แล้วคืนธนบัตร 100 บาทให้จำเลย จำเลยรับแล้วก็รีบออกจากร้านไปดังนี้เจตนาของจำเลยก็เพื่อต้องการเงินจำนวนหนึ่งจากเจ้าทรัพย์โดยใช้อุบายทำทีว่าจะซื้อสบู่ ด้วยการชำระเงินด้วยธนบัตรใบละ 100 บาท เพื่อเจ้าทรัพย์จะได้ทอนเงินปลีกให้ เมื่อได้เงินทอนแล้วก็กลับบอกเลิกไม่ซื้อสบู่และขอธนบัตรใบละ 100 บาทคืน โดยมอบเงินทอนให้แก่เจ้าทรัพย์แต่ฉวยโอกาสทำการทุจริตยักเอาเงินไว้เสีย 50 บาท โดยแกล้งทำเป็นซื้อสบู่เป็นฉากบังหน้าอันเป็นเท็จ เพื่อหลอกลวงให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สินคือเงินส่วนหนึ่งที่เจ้าทรัพย์ทอนให้เพราะหลงเชื่อในการหลอกลวงนั้น การกระทำของจำเลยเป็นผิดฐานฉ้อโกง
เมื่อความผิดของจำเลยที่ได้ความตามทางพิจารณาเป็นฐานฉ้อโกง โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษฐานลักทรัพย์ ไม่ประสงค์ให้ลงโทษฐานฉ้อโกง ศาลจะลงโทษจำเลยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 658/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำแนก 'สิ่งปลูกสร้าง' ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้: เจตนาสร้างเพื่อหลอกลวงถือเป็นไม้แปรรูป
เรือนที่สร้างขึ้นในลักษณะที่มิได้มีสภาพเป็นที่อยู่อาศัยอย่างธรรมดา และมีเหตุแสดงว่าเป็นเรือนที่บุคคลธรรมดาไม่ทำขึ้นสำหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัยถาวร หากแต่ทำขึ้นโดยมีเจตนาลวงให้เห็นว่าเป็นเรือนสำหรับอยู่อาศัย ย่อมไม่นับว่าเป็นสิ่งปลูกสร้างตามความหมายในพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2503 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์โดยมีเจตนาหลอกลวงและสุจริตของผู้รับโอน ผลต่อการเพิกถอนนิติกรรม
การร้องทุกข์หรือการฟ้องคดีกล่าวหาว่าจำเลยหลอกลวงให้โจทก์โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้จำเลยนั้น ไม่ถือว่าเป็นการบอกล้างโมฆียะกรรม การโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 138
หากฟังข้อเท็จจริงได้ว่าจำเลยได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยมีค่าตอบแทนและโดยสุจริตทั้งได้มีการจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์นั้นโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1329 และมาตรา 1300 แล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เดิมจะขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนนั้นไม่ได้ (ทั้งนี้ มิพักต้องคำนึงถึงว่าผู้โอนทรัพย์สินให้จะได้ทรัพย์สินนั้นมาโดยนิติกรรมอันเป็นโมฆียะและนิติกรรมนั้นถูกบอกล้างในภายหลัง หรือหาไม่)
หากฟังข้อเท็จจริงได้ว่าจำเลยได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยมีค่าตอบแทนและโดยสุจริตทั้งได้มีการจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์นั้นโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1329 และมาตรา 1300 แล้ว โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เดิมจะขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนนั้นไม่ได้ (ทั้งนี้ มิพักต้องคำนึงถึงว่าผู้โอนทรัพย์สินให้จะได้ทรัพย์สินนั้นมาโดยนิติกรรมอันเป็นโมฆียะและนิติกรรมนั้นถูกบอกล้างในภายหลัง หรือหาไม่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1187/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกง: การรับว่าจะทำแต่ไม่ทำตาม ไม่ถือเป็นความผิดฐานฉ้อโกง หากไม่มีเจตนาหลอกลวงตั้งแต่แรก
โจทก์กล่าวฟ้องว่า จำเลยใช้อุบายหลอกลวงเอาความเท็จมากล่าวแก่ผู้เสียหายว่าจำเลยร้อนเงิน ขอยืมเข็มขัดนาคไปจำนำก่อนเพื่อเอาเงินไปใช้หนี้ วันรุ่งขึ้นจะจัดการไถ่คืนให้ ซึ่งความจริงจำเลยไม่ได้มีเจตนาจะนำเข็มขัดนาคไปจำนำและจัดการไถ่คืนให้ผู้เสียหายดังกล่าวแต่จำเลยมีเจตนาจะเอาเข็มขัดนาคนั้นเสียเลยผู้เสียหายหลงเชื่อจึงมอบเข็มขัดนาคของผู้เสียหายให้จำเลยไปแล้วจำเลยเอาเข็มขัดนาคสายนี้เป็นประโยชน์ส่วนตัวเสียการบรรยายฟ้องเช่นนี้ ไม่เป็นฟ้องฐานฉ้อโกงในฟ้องแสดงเพียงว่าจำเลยรับจะทำอะไรแล้วไม่ทำตามรับเท่านั้นการไม่ทำตามรับเช่นนี้ไม่ใช่ความผิดฐานฉ้อโกงแม้ในฟ้องมีคำว่าจำเลยใช้อุบายหลอกลวง แต่เมื่ออ่านฟ้องโดยตลอดจะพบว่า ไม่มีการหลอกลวงอันเป็นความผิดอาญา
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2500)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2500)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 863-864/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางการหย่าและซื้อขายทรัพย์สิน: โมฆะเมื่อเจตนาหลอกลวง
สามีภริยาไปจดทะเบียนหย่าที่อำเภอ แต่ความจริงนั้นทั้งสองฝ่ายมิได้มี่เจตนาจะหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยา กันเลย ที่ทำไปก็เพื่อจะลวงผู้อื่นเกี่ยวกับทรัพย์สินของสามีภริยานั่นเอง แล้วภริยาทำนิติกรรมขายที่ดินบ้านเรือนอัน เป็นสินเดิมให้สามีเพื่อกีดกันบุตรของภริยาอันเกิดแก่สามีคนเก่า แต่ความจริงมิได้ขายกัน ดังนี้ นิติกรรมซื้อขาย ย่อมเป็นโมฆะ.
ภริยามีเจตนาจะขายฝากที่ดินแก่ผู้อื่น แต่เนื่องจากไม่เข้าใจในกิจธุระเช่นนี้ และไม่รู้หนังสือ สามีจัดการขายฝาก ให้แก่ผู้อื่นไป โดยสามีใช้กลฉ้อฉล ดังนี้ เมื่อที่ดินนั้นกลับตกมาเป็นของสามีอีก และสามีภริยามิได้เจตนาหย่ากัน จริง สามีจะเอาที่ดินนั้นไว้เป็นของตนไม่ได้/
ภริยามีเจตนาจะขายฝากที่ดินแก่ผู้อื่น แต่เนื่องจากไม่เข้าใจในกิจธุระเช่นนี้ และไม่รู้หนังสือ สามีจัดการขายฝาก ให้แก่ผู้อื่นไป โดยสามีใช้กลฉ้อฉล ดังนี้ เมื่อที่ดินนั้นกลับตกมาเป็นของสามีอีก และสามีภริยามิได้เจตนาหย่ากัน จริง สามีจะเอาที่ดินนั้นไว้เป็นของตนไม่ได้/
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 744/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกง: ต้องมีเจตนาหลอกลวง ผู้ถูกหลอกเชื่อ และส่งทรัพย์ให้
ความสำคัญของความผิดฐานฉ้อโกง จะต้องปรากฏว่ามีเจตนาทุจจริตกล่าวเท็จหลอกลวง ผู้ถูกหลอกลวงหลงเชื่อ และส่งทรัพย์ให้ฟ้องโจทก์เพียงว่า จำเลยกล่าวเท็จอย่างเดียวเท่านั้น ยังไม่เป็นองค์ความผิดฐานฉ้อโกง