คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจรจา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 61 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหยุดผลิตของนายจ้างต้องไม่ละเมิดสิทธิลูกจ้าง แม้เศรษฐกิจไม่ดีก็ต้องเจรจาตกลงก่อน
ลูกจ้างไม่ทักท้วงการที่นายจ้างหยุดการผลิตคราวก่อน ๆไม่หมายความลูกจ้างยินยอมให้นายจ้างหยุดการผลิตได้ในคราวต่อไป
นายจ้างหยุดการผลิตเพราะเศรษฐกิจซบเซา ยางที่ผลิตขายไม่ออก แม้จะหยุดเป็นบางวัน ก็ทำให้ลูกจ้างขาดประโยชน์คือค่าจ้างโดยไม่มีสิทธิข้อตกลงสภาพการจ้างชอบที่จะแก้ไขเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 827/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายโดยมีกำหนดเวลา สัญญาสิ้นสุดหากไม่ผ่อนเวลา แม้มีการเจรจาแต่ยังไม่ตกลง
สัญญานายหน้าระบุให้นายหน้าจัดการขายที่ดินให้เสร็จภายในพ.ศ.2518 เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยเจ้าของที่ดินจะผ่อนเวลาต่อไปให้อีกตามที่เห็นสมควรนั้น แสดงให้เห็นถึงเจตนาของคู่สัญญาว่า ได้กำหนดระยะเวลาไว้แน่นอนแล้วว่าจะต้องขายที่ดินให้เสร็จภายในสิ้นปี พ.ศ.2518 หากไม่มีการผ่อนเวลา ย่อมถือได้ว่าสัญญาดังกล่าวได้สิ้นสุดลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2501-2504/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของเพื่อเจรจาค่าเวนคืนที่ดิน ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรม
ทางราชการได้ออกกฎหมายเวนคืนที่ดินให้แก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จำเลยเป็นเจ้าขอที่ดินที่ถูกเวนคืนเห็นว่าคณะกรรมการเวนคืนที่ดินกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนต่ำไปไม่เป็นธรรม จึงแต่งตั้งโจทก์ซึ่งเป็นทนายความไปตกลงเจรจากับคณะกรรมการเวนคืนที่ดิน เพื่อให้ได้ค่าทดแทนสูงขึ้นตามที่จำเลยต้องการ โดยตกลงกันว่าถ้าจำเลยได้ค่าทดแทนที่ดินเกินจำนวนราคาที่จำเลยต้องการ ส่วนที่ได้เกินยอมยกให้โจทก์ดังนี้ เป็นการที่จำเลยตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นแก่โจทก์ เข้าลักษณะเป็นการจ้างทำของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587 การที่ผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างแก่ผู้รับจ้างซึ่งตกลงจะไปเจรจากับคณะกรรมการเวนคืนที่ดิน เพื่อให้ได้ค่าทดแทนที่ดินสูงขึ้นตามที่ผู้ว่าจ้างต้องการ โดยกำหนดสินจ้างกันไว้ตามลักษณะดังกล่าว หาเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือขัดต่อพระราชบัญญัติทนายความแต่อย่างใดไม่ เมื่อโจทก์ได้ดำเนินการจนสำเร็จให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยย่อมต้องชำระสินจ้างตามข้อตกลงนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2501-2504/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ้างทำของเพื่อเจรจาค่าเวนคืนที่ดิน ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรม
ทางราชการได้ออกกฎหมายเวนคืนที่ดินให้แก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนเห็นว่าคณะกรรมการเวนคืนที่ดินกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนต่ำไปไม่เป็นธรรม จึงแต่งตั้งโจทก์ซึ่งเป็นทนายความไปตกลงเจรจากับคณะกรรมการเวนคืนที่ดิน เพื่อให้ได้ค่าทดแทนสูงขึ้นตามที่จำเลยต้องการ โดยตกลงกันว่าถ้าจำเลยได้ค่าทดแทนที่ดินเกินจำนวนราคาที่จำเลยต้องการ ส่วนที่ได้เกินยอมยกให้โจทก์ ดังนี้ เป็นการที่จำเลยตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นแก่โจทก์ เข้าลักษณะเป็นการจ้างทำของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587 การที่ผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างแก่ผู้รับจ้างซึ่งตกลงจะไปเจรจากับคณะกรรมการเวนคืนที่ดิน เพื่อให้ได้ค่าทดแทนที่ดินสูงขึ้นตามที่ผู้ว่าจ้างต้องการ โดยกำหนดสินจ้างกันไว้ตามลักษณะดังกล่าว หาเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือขัดต่อพระราชบัญญัติทนายความแต่อย่างใดไม่ เมื่อโจทก์ได้ดำเนินการจนสำเร็จให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยย่อมต้องชำระสินจ้างตามข้อตกลงนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 520/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายปอต้องทำเป็นหนังสือ การเจรจาเบื้องต้นยังไม่ถือเป็นสัญญาผูกพัน
โจทก์เป็นบริษัทจำกัดอยู่ที่ประเทศอังกฤษ จำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดในประเทศไทย ซ.ผู้แทนโจทก์ติดต่อกับจำเลยที่1ตกลงซื้อขายปอกันซ. และจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบปริมาณและราคาที่จะขาย โจทก์มีหนังสือยืนยันมายังจำเลยที่ 1 พร้อมทั้งส่งสัญญาซื้อขายมาด้วย เพื่อให้จำเลยที่ 1 ลงชื่อในฐานะผู้ขาย โจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตส่งมาแต่ล่าช้าและผิดพลาด จำเลยที่ 1จึงไม่ลงชื่อในสัญญาซื้อขาย การซื้อขายปอระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ครั้งก่อน ๆต้องทำเป็นหนังสือทุกครั้ง พฤติการณ์ที่ปฏิบัติกันในการซื้อขายปอรายพิพาทเห็นได้ว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 มีเจตนาที่จะให้สัญญาซื้อขายมีผลผูกพันกันเมื่อได้ทำหนังสือแล้ว จำเลยที่ 1 ยังมิได้ลงลายมือชื่อในสัญญาซื้อขายจึงถือไม่ได้ว่าสัญญาซื้อขายได้ทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 366 สัญญาซื้อขายยังไม่มี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1990/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่ายังไม่สมบูรณ์แม้มีการเจรจาและแก้ไขแบบ หากสำนักงานใหญ่ไม่อนุมัติ โจทก์เรียกค่าเสียหายไม่ได้
โจทก์เป็นบริษัทจำกัด จัดตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ที่จะก่อสร้างดำเนินกิจการโรงแรมและสำนักงานทันสมัย และมีความประสงค์จะให้ธนาคารตั้งที่ทำการในอาคารพาณิชย์ที่โจทก์จะสร้างขึ้นนั้นด้วย จำเลยเป็นธนาคารพาณิชย์ จดทะเบียน มีสำนักงานใหญ่ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา และมีสำนักงานสาขาอยู่ในประเทศไทย เมื่อโจท์ได้ทำการก่อสร้างอาคารได้เสนอให้จำเลยเช่าอาคารพิพาทต่อผู้จัดการธนาคารจำเลยสาขาในประเทศไทย ผู้จัดการธนาคารจำเลยสาขาในประเทศไทยได้ไปดูสถานที่ที่โจทก์เสนอให้เช่า แล้วมีการเจรจากัน ต่อมาผู้จัดการธนาคารจำเลยสาขาในประเทศไทยมีหนังสือยืนยันว่าธนาคารจำเลยประสงค์จะเช่าอาคารของโจทก์ตามที่เจรจากัน แต่ขอให้โจทก์แจ้งรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อแจ้งไปยังสำนักงานใหญ่ โจทก์ได้แจ้งรายละเอียดเพิ่มเติมไป ธนาคารจำเลยได้ขอร้องให้เพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงรายการก่อสร้างอีกหลายอย่างโจทก์ก็จัดการให้ ทั้งนี้ โดยโจทก์ทราบดีอยู่แล้วว่า อำนาจในการเช่าอยู่ที่สำนักงานใหญ่ของธนาคารจำเลย หาใช่อยู่ในอำนาจผู้จัดการธนาคารจำเลยสาขาในประเทศไทยไม่ ดังนี้ แม้ผู้จัดการธนาคารจำเลย สาขาในประเทศไทยจะเป็นตัวแทนสำนักงานใหญ่ติดต่อเช่าอาคารพิพาทก็ตาม แต่โจทก์จำเลยยังมิได้ตกลงกันในเรื่องราคาค่าเช่าเป็นที่แน่นอน ซึ่งจำเลยถือว่าเป็นข้อสาระสำคัญอันจะต้องได้รับอนุมัติจากสำนักงานใหญ่ก่อน และผู้จัดการธนาคารจำเลยสาขาในประเทศไทยก็ยังมิได้รับอนุมัติจากสำนักงานใหญ่ให้เช่าอาคารพิพาทด้วย จึงถือว่าโจทก์จำเลยยังไม่มิได้มีสัญญาต่อกัน แม้โจทก์จะได้ก่อสร้างอาคารไปตามที่ผู้จัดการธนาคารจำเลยสาขาในประเทศไทยกำหนดหรือแก้ไขแบบแปลนในระหว่างเจรจากัน ก็เป็นเรื่องที่โจทก์กระทำไปเพื่อจูงใจให้ธนาคารจำเลยเช่าอาคารพิพาท หรือเชื่อว่าสำนักงานใหญ่ธนาคารจำเลยจะอนุมัติให้เช่าอาคารพิพาท โจทก์จึงจะเรียกค่าเสียหายจำเลยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงความคิดเห็นเพื่อปกป้องส่วนได้เสียในการเจรจา ไม่เข้าข่ายหมิ่นประมาท
จำเลยเป็นผู้มีส่วนได้เสียจากการเช่าที่ดินของวัด ได้พูดกับโจทก์ว่าไปหลอกลวงพระ โดยพูดต่อหน้าผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ให้มีการเจรจาไกล่เกลี่ยในเรื่องการปลูกสร้างตึกแถวในที่ดินของวัด ดังนี้ ถือว่าเป็นการกล่าวในฐานะที่ตนมีส่วนได้เสียและเพื่อความเป็นธรรมในฐานะที่ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนฝ่ายคู่พิพาทกับโจทก์ จึงเป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความที่ถูกกล่าวหาโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรมป้องกันส่วนได้เสียของตน จำเลยไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงความคิดเห็นเพื่อปกป้องส่วนได้เสียในการเจรจา ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
จำเลยเป็นผู้มีส่วนได้เสียจากการเช่าที่ดินของวัดได้พูดกับโจทก์ว่าไปหลอกลวงพระโดยพูดต่อหน้าผู้ว่าราชการจังหวัดที่ให้มีการเจรจาไกล่เกลี่ยในเรื่องการปลูกสร้างตึกแถวในที่ดินของวัดดังนี้ ถือว่าเป็นการกล่าวในฐานะที่ตนมีส่วนได้เสียและเพื่อความเป็นธรรมในฐานะที่ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้แทนฝ่ายคู่พิพาทกับโจทก์จึงเป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความที่ถูกกล่าวหาโดยสุจริตเพื่อความชอบธรรมป้องกันส่วนได้เสียของตนจำเลยไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1896/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละประโยชน์แห่งอายุความรับมรดกจากการยอมรับเจรจาแบ่งทรัพย์หลังเจ้ามรดกเสียชีวิต
การที่จำเลยยอมรับจะแบ่งทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกซึ่งตกอยู่กับจำเลยให้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและสืบสิทธิของทายาทของเจ้ามรดก เป็นเวลาหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายไปกว่า 20 ปี แล้วนั้น ถือว่าจำเลยละประโยชน์แห่งอายุความในเมื่ออายุความครบบริบูรณ์แล้ว จำเลยจะยกอายุความขึ้นสู้ไม่ได้ (อ้างฎีกาที่ 1607/2505)
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์พิพาทโดยอ้างว่าเจ้ามรดกยกให้ก่อนตาย ทางพิจารณาฟังได้ว่าทรัพย์พิพาทยังไม่ได้ยกให้แก่ใคร เป็นมรดกที่โจทก์จำเลยจะได้รับร่วมกับทายาทอื่น ศาลย่อมพิพากษาให้แบ่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพนักงานอัยการฟ้องแทนผู้เยาว์ & อายุความมรดกเมื่อจำเลยยังเจรจาแบ่งมรดกอยู่
พนักงานอัยการมีสิทธิยกคดีขึ้นกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534 ได้โดยผู้เยาว์ไม่ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน
จำเลยไม่ได้ปฏิเสธว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับมรดกเสียเลยแต่ยอมให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดกโดยเกี่ยงกันในเรื่องจำนวนเนื้อที่ที่จะแบ่งให้มากหรือน้อยเท่านั้นจนกระทั่งล่วงเลยกำหนดอายุความมรดก 1 ปี ก็ยังโต้เถียงกันแต่ในเรื่องจำนวนเนื้อที่ และขัดข้องในการที่ให้โจทก์บางคนซึ่งเป็นผู้เยาว์ต้องมีผู้แทนโดยชอบธรรมร้องขออนุญาตต่อศาลก่อนเท่านั้น ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความโดยปริยายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 192 จำเลยจึงยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้
ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 บัญญัติให้ผู้เยาว์จะเสนอข้อหาต่อศาลได้โดยได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน และการให้ความยินยอมเช่นนี้ต้องทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลนั้นเพื่อรวมไว้ในสำนวนความ ก็เป็นเรื่องที่ผู้เยาว์ใช้สิทธิฟ้องร้องนั่นเอง
of 7