พบผลลัพธ์ทั้งหมด 117 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2289/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากความบกพร่องของเจ้าหน้าที่รัฐในการดูแลรักษาความปลอดภัยทางถนน และการประเมินความประมาทของผู้ขับขี่
น.ขับรถบรรทุกของโจทก์ผู้เป็นนายจ้างบรรทุกลังคอนเทนเนอร์ของบริษัท ช.ซึ่งรวมกับความสูงของรถบรรทุกแล้ว สูง 4.90 เมตรมาตามถนนราชปรารถมุ่งหน้าไปรังสิต เมื่อจะลอดใต้สะพานลอยสำหรับให้คนข้ามถนนที่จำเลยสร้างขึ้นและติดป้ายแสดงความสูงว่า5 เมตร แต่ความจริงส่วนที่ใกล้เกาะกลางถนนมีความสูงจากพื้นถนน 4.90 เมตร น. ให้ ท. คนท้ายรถลงจากรถไปคอยดูว่ารถจะแล่นลอดใต้สะพานไปได้หรือไม่แล้ว น.ขับรถไปช้า ๆ ตามคำสั่งของ ท.เมื่อ ท.บอกให้หยุด น.ได้เหยียบห้ามล้อหยุดรถทันที แต่แรงเฉื่อยของสินค้าที่บรรทุกหนักทำให้รถแล่นไปอีกและส่วนสูงสุดของสินค้าเฉี่ยวชนคานสะพานลอยสินค้าที่โจทก์รับจ้างบรรทุกมาเสียหาย การกระทำดังกล่าวเป็นการใช้ความระมัดระวังแล้ว การที่จำเลยได้ทำการเสริมถนนให้เป็นหลังเต่าสูงขึ้นกว่าเดิมเพื่อป้องกันน้ำท่วมทำให้ความสูงของสะพานลอยน้อยกว่า 5 เมตร และจำเลยไม่ได้เปลี่ยนป้ายบอกความสูงของสะพานที่เกิดเหตุให้ตรงกับความเป็นจริง ทำให้ น.เชื่อว่าสะพานนั้นมีความสูง 5 เมตร ตามที่ปิดป้ายบอกไว้ เช่น สะพานลอย 6 สะพานที่ น.ขับลอดผ่านมาแล้ว การกระทำของจำเลยเป็นการประมาทเลินเล่อจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ผู้รับช่วงสิทธิจากบริษัท ข.
การที่ น.มิได้ขับรถในช่องทางเดินรถด้านซ้ายซึ่งติดกับขอบทางเท้าแต่ขับคร่อมเส้นแบ่งครึ่งช่องทางเดินรถช่องซ้ายและช่องขวาและบรรทุกสินค้าสูงกว่า 3 เมตร จากพื้นถนนโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร อันเป็นการฝ่าฝืนกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 4(พ.ศ. 2522) ข้อ 1(3) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 จนเป็นเหตุให้เกิดชนคานใต้สะพานลอยนั้นเป็นเพียงความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกซึ่งมิได้เป็นผลโดยตรงที่ก่อให้เกิดการละเมิดดังกล่าว และรถบรรทุกสิ่งของอาจจะบรรทุกสิ่งของสูงเกินกว่า 3 เมตร ได้หากได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ การที่โจทก์ใช้รถบรรทุกคอนเทนเนอร์สูงเกินกว่า 3 เมตร จึงมิได้เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามของกฎหมายที่บัญญัติห้ามโดยเด็ดขาด โจทก์จึงมิได้ประมาทเลินเล่อแต่อย่างใด.(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2530 ทั้งสองวรรค)
การที่ น.มิได้ขับรถในช่องทางเดินรถด้านซ้ายซึ่งติดกับขอบทางเท้าแต่ขับคร่อมเส้นแบ่งครึ่งช่องทางเดินรถช่องซ้ายและช่องขวาและบรรทุกสินค้าสูงกว่า 3 เมตร จากพื้นถนนโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร อันเป็นการฝ่าฝืนกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่ 4(พ.ศ. 2522) ข้อ 1(3) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 จนเป็นเหตุให้เกิดชนคานใต้สะพานลอยนั้นเป็นเพียงความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกซึ่งมิได้เป็นผลโดยตรงที่ก่อให้เกิดการละเมิดดังกล่าว และรถบรรทุกสิ่งของอาจจะบรรทุกสิ่งของสูงเกินกว่า 3 เมตร ได้หากได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ การที่โจทก์ใช้รถบรรทุกคอนเทนเนอร์สูงเกินกว่า 3 เมตร จึงมิได้เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามของกฎหมายที่บัญญัติห้ามโดยเด็ดขาด โจทก์จึงมิได้ประมาทเลินเล่อแต่อย่างใด.(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2530 ทั้งสองวรรค)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 909/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ทรัพย์สินที่ร่ำรวยผิดปกติของเจ้าหน้าที่รัฐ ต้องพิจารณาทั้งมูลค่าและที่มาของทรัพย์สิน
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราบการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ.2518 มาตรา 20 วรรคสามที่บัญญัติว่า "บรรดาทรัพย์สินที่คณะกรรมการวินิจฉัยว่าเป็นทรัพย์สินที่ร่ำรวยขึ้นโดยผิดปกตินั้น ให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ศาลวินิจฉัยสั่งว่าทรัพย์สินนั้นเป็นของแผ่นดิน เว้นแต่ผู้นั้นจะแสดงให้ศาลเห็นว่าตนได้ทรัพย์สินนั้นมาในทางที่ชอบ.........." นั้น เห็นได้ว่าการขอให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ร่ำรวยผิดปกติเป็นของแผ่นดินได้ เฉพาะกรณีที่ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ (คณะกรรมการ ป.ป.ป.) วินิจฉัยว่าเป็นทรัพย์สินที่ร่ำรวยขึ้นโดยผิดปกติเท่านั้น และให้ศาลเป็นผู้วินิจฉัยเสียก่อนที่จะมีคำสั่ง มิได้หมายความว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ ป.ป.ป. ที่ว่าทรัพย์สินใดเป็นทรัพย์สินที่ร่ำรวยขึ้นผิดปกติเป็นที่สุด ศาลจะต้องสั่งให้ ทรัพย์สินของผู้นั้นเป็นของแผ่นดินและวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ซึ่งเท่ากับเป็นการแปลกฎหมายห้ามมิให้ศาลตรวจสอบการใช้อำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ป. อันเป็นองค์กรฝ่ายบริหาร ย่อมไม่ชอบ และหากฟังไม่ได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่ร่ำรวยขั้นโดยผิดปกติแล้ว ศาลก็ไม่อาจสั่งให้ทรัพย์สินนั้นเป็นของแผ่นดินได้ โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นหาต้องพิสูจน์ว่าได้ทรัพย์สินมาในทางที่ชอบไม่
ทรัพย์สินที่ร่ำรวยขึ้นโดยผิดปกตินั้นหมายถึงทรัพย์สินที่มีจำนวนมากผิดปกติ เมื่อคำนึงถึงฐานะและรายได้ของเจ้าหน้าที่ของรัฐเจ้าของทรีพย์สินนั้น ซึ่งอาจได้มาในทางที่ชอบและไม่ชอบหรือทั้งสองอย่างรวมกัน ศาลจะสั่งให้เป็นของแผ่นดินได้ เฉพาะทรัพย์สินที่ได้มาในทางที่ไม่ชอบ การสั่งว่าทรัพย์สินใดเป็นทรัพย์ที่ร่ำรวยขึ้นโดยผิดปกติหรือไม่ จึงไม่ใช่พิจารณาจากเหตุที่ทรัพย์สินนั้นได้มาในทางที่ชอบหรือไม่ชอบแต่อย่างใด
พนักงานอัยการผู้ร้องอ้างว่า ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับโอนหุ้นจากบริษัทการยินแอร์ - สยาม จำกัด จำนวน 198,000 หุ้น มีมูลค่าตามที่จดทะเบียนไว้ หุ้นละ 100 บาท ถือว่าผู้คัดค้านมีทรัพย์สินราคา 19,800,000 บาท อันเป็นทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านร่ำรวยขึ้นผิดปกติ ผู้คัดค้านโต้แย้งว่าขณะที่รับโอนหุ้นมานั้น หุ้นทั้งหมดไม่มีมูลค่า มีราคาไม่เกิน 2 บาท ดังนี้ เมื่อพยานหลักฐานของผู้คัดค้านฟังได้ว่าหุ้นดังกล่าวไม่มีราคาถึงหุ้นละ 100 บาท ตามมูลค่าหุ้นที่จดทะเบียนไว้ แต่จะมีราคาเท่าใด ผู้ร้องไม่นำสืบให้ปรากฏ กรณีจึงไม่อาจฟังได้ว่าหุ้นดังกล่าวเป็นทรัพน์สินที่ร่ำรวยขึ้นผิดปกติดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง ศาลไม่อาจสั่งให้ทรัพย์สินของผู้คัดค้านเป็นของแผ่นดินได้
ทรัพย์สินที่ร่ำรวยขึ้นโดยผิดปกตินั้นหมายถึงทรัพย์สินที่มีจำนวนมากผิดปกติ เมื่อคำนึงถึงฐานะและรายได้ของเจ้าหน้าที่ของรัฐเจ้าของทรีพย์สินนั้น ซึ่งอาจได้มาในทางที่ชอบและไม่ชอบหรือทั้งสองอย่างรวมกัน ศาลจะสั่งให้เป็นของแผ่นดินได้ เฉพาะทรัพย์สินที่ได้มาในทางที่ไม่ชอบ การสั่งว่าทรัพย์สินใดเป็นทรัพย์ที่ร่ำรวยขึ้นโดยผิดปกติหรือไม่ จึงไม่ใช่พิจารณาจากเหตุที่ทรัพย์สินนั้นได้มาในทางที่ชอบหรือไม่ชอบแต่อย่างใด
พนักงานอัยการผู้ร้องอ้างว่า ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับโอนหุ้นจากบริษัทการยินแอร์ - สยาม จำกัด จำนวน 198,000 หุ้น มีมูลค่าตามที่จดทะเบียนไว้ หุ้นละ 100 บาท ถือว่าผู้คัดค้านมีทรัพย์สินราคา 19,800,000 บาท อันเป็นทรัพย์สินที่ผู้คัดค้านร่ำรวยขึ้นผิดปกติ ผู้คัดค้านโต้แย้งว่าขณะที่รับโอนหุ้นมานั้น หุ้นทั้งหมดไม่มีมูลค่า มีราคาไม่เกิน 2 บาท ดังนี้ เมื่อพยานหลักฐานของผู้คัดค้านฟังได้ว่าหุ้นดังกล่าวไม่มีราคาถึงหุ้นละ 100 บาท ตามมูลค่าหุ้นที่จดทะเบียนไว้ แต่จะมีราคาเท่าใด ผู้ร้องไม่นำสืบให้ปรากฏ กรณีจึงไม่อาจฟังได้ว่าหุ้นดังกล่าวเป็นทรัพน์สินที่ร่ำรวยขึ้นผิดปกติดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง ศาลไม่อาจสั่งให้ทรัพย์สินของผู้คัดค้านเป็นของแผ่นดินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 300/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติหน้าที่มิชอบช่วยเหลือผู้กระทำผิดตัดไม้ในเขตป่าสงวน มีความผิดตามมาตรา 200
จำเลยที่ 1 เป็นนายอำเภอ จึงเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2และเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติซึ่งเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาด้วยในการจับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับป่าสงวนแห่งชาติจำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจสืบสวนสอบสวนความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ ความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ หรือความผิดอาญาอื่นใดที่เกิดขึ้นภายในเขตอำนาจของตนได้ระเบียบของกระทรวงมหาดไทยที่ให้ตำรวจเป็นผู้ทำการสอบสวนฝ่ายเดียวนั้นเป็นแต่ระเบียบภายในกระทรวง หาได้ลบล้างอำนาจตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ไม่ จำเลยที่ 1 เป็นผู้ไปจับกุมผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติ ป่าไม้และพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติด้วยตนเองได้ทั้งผู้ต้องหาและไม้กับรถยนต์มาเป็นของกลาง การที่จำเลยที่ 1 สั่งให้สิบตำรวจเอกพ. ทำบันทึกว่าได้แต่ไม้ของกลางอย่างเดียว แสดงว่าจำเลยที่ 1 ประสงค์จะช่วยผู้กระทำความผิดไม่ให้ต้องรับโทษและในการที่เจ้าหน้าที่ตำรวจปล่อยผู้ต้องหาไปนั้น จำเลยที่ 1 ได้เป็นผู้สั่งการและรู้เห็นด้วย การกระทำของจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200 จำเลยที่ 2 เป็นป่าไม้อำเภอ ได้ร่วมไปจับกุมผู้ต้องหากับจำเลยที่ 1 ด้วย ชั้นแรกจำเลยที่ 2 ได้ให้สิบตำรวจเอก พ. เขียนบันทึกการจับกุมว่าได้ผู้ต้องหา 7 คน แต่ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้สั่งให้ทำบันทึกการจับกุมขึ้นใหม่ว่าจับผู้ต้องหาไม่ได้เลย และให้ผู้ร่วมจับกุมรวมทั้งจำเลยที่ 2 ลงชื่อไว้ การที่จำเลยที่ 2 ยอมลงชื่อในบันทึกการจับกุมฉบับหลังนั้น จำเลยที่ 2 ย่อมทราบอยู่แล้วว่าบันทึกฉบับนี้ทำขึ้นฝ่าฝืนต่อความจริงเพื่อจะช่วยเหลือผู้ต้องหาที่ถูกจับมิให้ต้องรับโทษ จำเลยที่ 2 ทราบดีว่าคำสั่งของจำเลยที่ 1 เป็นคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 2 จะอ้างว่ากระทำตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาหาได้ไม่ จำเลยที่ 2 ย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200 เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ด้วย ทั้งจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นสารวัตรปกครองป้องกัน และจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนต่างทราบแล้วว่า ผู้ต้องหาทั้ง 7 คนที่ถูกจับมาต้องหาว่ากระทำผิดฐานลักลอบตัดไม้ในป่า แต่แทนที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 จะดำเนินคดีแก่ผู้ต้องหาในข้อหาดังกล่าว จำเลยที่ 3 กลับตั้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ต้องหาเหล่านี้ว่ากระทำผิดฐานขับขี่รถยนต์ไม่มีใบอนุญาตขับขี่และไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนติดตัวและให้จำเลยที่ 4 ทำการเปรียบเทียบปรับแล้วปล่อยผู้ต้องหาและรถของกลางไป การกระทำของจำเลยที่ 3 และที่ 4จึงเป็นการกระทำการในตำแหน่งอันเป็นการมิชอบเพื่อจะช่วยเหลือผู้กระทำผิดมิให้ต้องรับโทษ จำเลยที่ 3 ที่ 4 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200 และที่จำเลยที่ 3ที่ 4 อ้างว่าปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชานั้นเมื่อคำสั่งของผู้บังคับบัญชาในเรื่องนี้มิใช่คำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายซึ่งจำเลยที่ 3 ที่ 4 ทราบดีอยู่แล้วจึงจะอ้างมาเป็นเหตุยกเว้นโทษหาได้ไม่ จำเลยที่ 5 เป็นสารวัตรใหญ่ซึ่งทราบดีว่าในการจับกุมผู้ลักลอบตัดไม้รายนี้ นอกจากไม้แล้วยังได้ตัวผู้ต้องหาและได้รถยนต์บรรทุกไม้มาเป็นของกลางด้วย แต่จำเลยที่ 5กลับบิดเบือนข้อเท็จจริงว่าไม่มีผู้กระทำผิดและให้มีการเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหาในข้อหาอื่นที่มิใช่ข้อหาเกี่ยวกับการลักลอบตัดไม้ และเป็นผู้สรุปความเห็นให้งดการสอบสวนเสนอต่อผู้กำกับการตำรวจว่าจับไม้ไม่ได้ตัวผู้กระทำผิด ได้แต่ไม้ของกลาง การกระทำของจำเลยที่ 5 ดังกล่าวจึงเป็นการร่วมกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ช่วยเจ้าของรถยนต์เจ้าของไม้ และช่วยผู้ต้องหาที่ถูกจับมิให้ต้องรับโทษหรือรับโทษน้อยลงอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2418/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่รัฐร่วมกันแก้ไขคุณสมบัติผู้สมัครสอบครู ทำให้ผู้สอบได้รายอื่นเสียประโยชน์ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157
นายกเทศมนตรีและปลัดเทศบาลซึ่งเป็นเจ้าพนักงานได้ร่วมกันออกประกาศเพิ่มเติมคุณวุฒิของผู้สมัครสอบแข่งขันภายหลังครบระยะเวลารับสมัคร เพื่อแสดงว่า ส.มีวุฒิตามประกาศรับสมัครสอบคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นพนักงานครูเทศบาล ซึ่งตามประกาศเดิมแล้ว ส.มีวุฒิไม่ตรงตามที่ทางราชการกำหนด เมื่อ ส. สอบได้และได้รับการบรรจุแต่งตั้งแล้ว ย่อมทำให้ผู้ที่สอบได้อื่นแต่ยังไม่ได้รับการบรรจุได้รับความเสียหายการกระทำของเจ้าพนักงานดังกล่าวเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 898/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความผิดฐานเบียดบังเงินของเจ้าหน้าที่รัฐ: การแยกเป็นหลายกรรม และข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยเบียดบังเอาเงินไปคราวเดียวทั้งหมดเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 เพียงกรรมเดียวให้จำคุก 5 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่เพียงว่า การที่จำเลยได้เบียดบังเอาเงินไปแต่ละงวดเป็นความผิดงวดละกรรม รวม 13 กรรมให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 และยังคงลงโทษจำเลยกระทงละไม่เกิน 5 ปีนั้น เป็นการแก้ไขเล็กน้อยต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1997/2521)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3231-3233/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่เจ้าหน้าที่รัฐในการจัดซื้อที่ดินต้องระมัดระวัง ป้องกันความเสียหายจากการซื้อขายที่ไม่สุจริต
การที่คณะรัฐมนตรีมีมติเกี่ยวกับการจัดซื้อที่ดินให้ทางราชการว่า "การจัดซื้อควรติดต่อโดยตรงกับเจ้าของที่ดินด้วย" นั้น คำว่า "ควร" ไม่ได้หมายความว่า ผู้มีหน้าที่จัดซื้อที่ดินไม่จำต้องติดต่อโดยตรงกับเจ้าของที่ดินทุกรายเสมอไป เพราะเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดซื้อที่ดินย่อมต้องมีหน้าที่รับผิดชอบในการป้องกันรักษาประโยชน์ของรัฐมิให้เกิดเสียหาย เพื่อป้องกันมิให้ผู้ใดฉวยโอกาสแสวงหาผลประโยชน์ในการเป็นนายหน้าเสนอขายที่ดินให้แก่ทางราชการโดยที่ตนเองมิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
แม้จำเลยจะถูกฟ้องในคดีอาญาข้อหาเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการจัดซื้อที่ดินโดยมิชอบและทุจริต และมีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีส่วนอาญาให้ยกฟ้องแล้วก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ฟ้องเป็นคดีแพ่งให้จำเลยรับผิดในมูลละเมิดอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อจึงเป็นข้อเท็จจริงคนละประเด็นต่างหากจากคดีอาญาศาลมีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำโดยประมาทนั้นได้ไม่เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46
แม้จำเลยจะถูกฟ้องในคดีอาญาข้อหาเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการจัดซื้อที่ดินโดยมิชอบและทุจริต และมีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีส่วนอาญาให้ยกฟ้องแล้วก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ฟ้องเป็นคดีแพ่งให้จำเลยรับผิดในมูลละเมิดอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อจึงเป็นข้อเท็จจริงคนละประเด็นต่างหากจากคดีอาญาศาลมีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำโดยประมาทนั้นได้ไม่เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3231-3233/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าหน้าที่รัฐในการจัดซื้อที่ดิน – ประมาทเลินเล่อและผลประโยชน์ทับซ้อน
การที่คณะรัฐมนตรีมีมติเกี่ยวกับการจัดซื้อที่ดินให้ทางราชการว่า 'การจัดซื้อควรติดต่อโดยตรงกับเจ้าของที่ดินด้วย' นั้น คำว่า 'ควร' ไม่ได้หมายความว่า ผู้มีหน้าที่จัดซื้อที่ดินไม่จำต้องติดต่อโดยตรงกับเจ้าของที่ดินทุกรายเสมอไป เพราะเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดซื้อที่ดินย่อมต้องมีหน้าที่รับผิดชอบในการป้องกันรักษาประโยชน์ของรัฐมิให้เกิดเสียหาย เพื่อป้องกันมิให้ผู้ใดฉวยโอกาสแสวงหาผลประโยชน์ในการเป็นนายหน้าเสนอขายที่ดินให้แก่ทางราชการ โดยที่ตนเองมิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
แม้จำเลยจะถูกฟ้องในคดีอาญาข้อหาเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการจัดซื้อที่ดินโดยมิชอบและทุจริต และมีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีส่วนอาญาให้ยกฟ้องแล้วก็ ตาม แต่เมื่อโจทก์ฟ้องเป็นคดีแพ่งให้จำเลยรับผิดในมูลละเมิดอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อจึงเป็นข้อเท็จจริงคนละประเด็นต่างหากจากคดีอาญา ศาลมีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำโดยประมาทนั้นได้ ไม่เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46
แม้จำเลยจะถูกฟ้องในคดีอาญาข้อหาเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการจัดซื้อที่ดินโดยมิชอบและทุจริต และมีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีส่วนอาญาให้ยกฟ้องแล้วก็ ตาม แต่เมื่อโจทก์ฟ้องเป็นคดีแพ่งให้จำเลยรับผิดในมูลละเมิดอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อจึงเป็นข้อเท็จจริงคนละประเด็นต่างหากจากคดีอาญา ศาลมีอำนาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำโดยประมาทนั้นได้ ไม่เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 280/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดเจ้าหน้าที่รัฐจากความบกพร่องในการปฏิบัติตามระเบียบ
ระเบียบการเก็บรักษาเงินคงคลังฯนั้นหากเจ้าหน้าที่ไม่ปฏิบัติตามก็มีแต่รับผิดทางวินัย แต่จะเป็นละเมิดหรือไม่แล้วแต่ขาดความระวังอันควรต้องใช้ในพฤติการณ์เช่นนั้นหรือไม่ เมื่อผู้บังคับบัญชาและคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินปล่อยให้ทำผิดระเบียบตามที่เคยทำกันมา ความบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ยังไม่ถึงขนาดเป็นประมาทเลินเล่อก็ไม่มีความรับผิดทางละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2202/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าหน้าที่รัฐและหน่วยงานต่อความเสียหายจากอุบัติเหตุทางละเมิด
พลตำรวจขับรถวิทยุตำรวจทางหลวงทำละเมิดในการขับรถตามหน้าที่ ถือว่าเป็นผู้แทนกรมตำรวจและกรมทางหลวง ทั้ง2 กรมต้องร่วมรับผิดกับพลตำรวจด้วย
โจทก์หลายคนถูกจำเลยขับรถชนโดยประมาท โจทก์ฟ้องมาในคดีเดียวกัน โจทก์ที่ 5 เรียกค่าเสียหายไม่เกิน 50,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้ ศาลฎีกาคืนค่าธรรมเนียมชั้นฎีกาสำหรับโจทก์ที่ 5 แก่จำเลย
โจทก์หลายคนถูกจำเลยขับรถชนโดยประมาท โจทก์ฟ้องมาในคดีเดียวกัน โจทก์ที่ 5 เรียกค่าเสียหายไม่เกิน 50,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้ ศาลฎีกาคืนค่าธรรมเนียมชั้นฎีกาสำหรับโจทก์ที่ 5 แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1270/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต แม้ยังไม่ได้จ่ายเงิน ก็เป็นความผิด
องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกตั้งพนักงานในสังกัดเป็นกรรมการตรวจรับงานขององค์การ กรรมการลงชื่อตรวจรับว่าถูกต้องจึงได้รับอนุมัติให้จ่ายค่าจ้าง ความจริงไม่ได้ทำงานเลย แม้ยังไม่ได้จ่ายเงิน ก็เป็นความผิดตามมาตรา 157