พบผลลัพธ์ทั้งหมด 558 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5155/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับเนื่องจากยื่นซ้ำประเด็นที่เคยวินิจฉัยแล้ว และการยื่นฎีกาไม่ถูกต้องตามขั้นตอน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลย โดยเห็นว่าอุทธรณ์ของจำเลยเรียงโดยนักโทษซึ่งไม่มีอำนาจเรียงคำฟ้องอุทธรณ์ คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยยื่นฎีกาต่อศาลชั้นต้น แต่ศาลชั้นต้นไม่รับฎีกาของจำเลย โดยเห็นว่าฎีกาของจำเลยเป็นการคัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ไม่ต้องด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216 เช่นนี้ หากจำเลยประสงค์จะให้ศาลรับฎีกาของจำเลยไว้พิจารณา จำเลยชอบที่จะยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาของศาลชั้นต้นต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 224 แต่จำเลยกลับยื่นฎีกาฉบับที่ 2 และที่ 3 ที่มีเนื้อหาเช่นเดียวกับฎีกาฉบับแรกซ้ำมาอีก ซึ่งศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยทั้งสองฉบับนี้ โดยเห็นว่าไม่ปรากฏว่าเป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฯ อย่างไร แม้ต่อมาจำเลยจะยื่นฎีกาฉบับที่ 4 ที่เป็นเหตุแห่งคดีนี้ภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยมา แต่ฎีกาของจำเลยนี้ก็มีเนื้อหาเช่นเดียวกันกับฎีกาของจำเลยฉบับแรก เพียงแต่เพิ่มเติมรายละเอียดของผลคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฯ เท่านั้น การยื่นฎีกาของจำเลยครั้งหลังนี้จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับประเด็นที่ได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดในฎีกาฉบับแรกแล้ว ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลายื่นฎีกาและการวินิจฉัยข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของศาล
ศาลจังหวัดกำแพงเพชรอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ให้จำเลยฟังวันที่ 1 กรกฎาคม 2562 แล้วศาลชั้นต้นจึงอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ให้โจทก์และทนายจำเลยฟังวันที่ 12 กรกฎาคม 2562 ต้องถือว่าศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ให้จำเลยฟังตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 ไม่ใช่วันที่อ่านให้ทนายจำเลยฟัง จำเลยมีอำนาจยื่นฎีกาภายในหนึ่งเดือน นับแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง จึงต้องยื่นฎีกาภายในวันที่ 1 สิงหาคม 2562 การที่ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาในวันที่ 6 สิงหาคม 2562 ซึ่งล่วงเลยกำหนดระยะเวลายื่นฎีกาของจำเลย โดยไม่มีพฤติการณ์พิเศษและไม่ใช่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบ จำเลยไม่มีสิทธิยื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ให้จำเลยฟัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6442/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการใช้รายงานสืบเสาะและพินิจ: พิจารณาโทษได้ แต่ไม่ใช่วินิจฉัยข้อเท็จจริง
แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีอำนาจที่จะนำข้อเท็จจริงตามรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติมาประกอบดุลพินิจในการกำหนดโทษแก่จำเลย แต่ไม่อาจนำมารับฟังในฐานะพยานหลักฐานเพื่อวินิจฉัยการกระทำของจำเลยที่ถูกฟ้องด้วยไม่ โดยหากเห็นว่าการกระทำของจำเลยตามรายงานการสืบเสาะและพินิจขัดแย้งกับคำฟ้องของโจทก์และคำรับสารภาพของจำเลย ก็ชอบแต่จะให้ศาลชั้นต้นสืบพยานเพิ่มเติมให้ชัดแจ้ง คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7069/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขข้อบกพร่องของอุทธรณ์และการวินิจฉัยสิทธิอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะพิจารณาต่อไป
อุทธรณ์ของผู้ร้องที่ 2 ที่ ป. ซึ่งถูกถอนออกจากการเป็นทนายความลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์และผู้เรียง/พิมพ์ โดยไม่ได้รับแต่งตั้งให้มีอำนาจใช้สิทธิอุทธรณ์นั้น ถือเป็นคำฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องที่ 2 ลงชื่อในอุทธรณ์ของผู้ร้องที่ 2 ได้ และให้ศาลชั้นต้นดำเนินการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังเท่ากับศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ผู้ร้องที่ 2 แก้ไขข้อบกพร่องนั้นแล้ว อุทธรณ์ของผู้ร้องที่ 2 จึงเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ร้องที่ 2 ต่อไป ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยและพิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ร้องที่ 2 นั้น เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ตามลำดับชั้นศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4952/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องเคลือบคลุม จำเลยไม่ต่อสู้ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมิได้ ศาลฎีกาพิพากษากลับ
คำฟ้องต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง การบรรยายฟ้องจึงต้องให้ได้ความว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลใดตามกฎหมายแพ่งพร้อมข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับ หากจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายยื่นคำให้การต่อสู้คดีเห็นว่าคำฟ้องบกพร่องตรงไหน อย่างไร ก็จะต้องให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้ว่าคำฟ้องนั้นเคลือบคลุม ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าใครเป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์บรรทุกคันที่จำเลยรับประกันภัย และมิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าผู้ขับรถยนต์บรรทุกมีนิติสัมพันธ์อย่างไรกับผู้เอาประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดของผู้ขับรถยนต์บรรทุก คำฟ้องของโจทก์จึงขาดสาระสำคัญอันเป็นประเด็นแห่งคดีที่จะทำให้จำเลยต้องรับผิดนั้น จึงเป็นการวินิจฉัยว่าเป็นคำฟ้องเคลือบคลุมนั่นเอง แต่ปัญหาว่าคำฟ้องเคลือบคลุมหรือไม่ หาใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยได้เองไม่ หากแต่จำเลยจะต้องยกขึ้นต่อสู้โดยชัดแจ้งเป็นประเด็นไว้ในคำให้การ ซึ่งจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมแต่อย่างใด ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ยกขึ้นวินิจฉัยดังกล่าวจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1800/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานในคดีแรงงาน: การเชื่อมโยงพยานหลักฐานกับประเด็นแห่งคดีและการวินิจฉัยเหตุผลที่ชัดเจน
การที่ศาลจะรับฟังพยานหลักฐานใดย่อมจะต้องพิจารณาว่าพยานหลักฐานนั้นเกี่ยวกับประเด็นในคดีหรือไม่ หากพยานหลักฐานใดไม่เกี่ยวกับประเด็นหรือนอกประเด็น แม้คู่ความจะนำสืบกล่าวอ้างพยานหลักฐานนั้นต่อศาล ศาลย่อมมีอำนาจที่จะไม่รับฟังพยานหลักฐานนั้น
โจทก์บรรยายคำฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันทุจริตต่อโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 ตั้งระบบอัตโนมัติในเครื่องคอมพิวเตอร์และบันทึกข้อมูลในระบบว่ามีการหักเงินบางส่วนของบัญชีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ แล้วนำไปตั้งพักไว้ในบัญชีตั้งพักของธนาคารโจทก์ หลังจากนั้นได้ล้างรายการเงินฝากของโจทก์โดยจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจ แล้วโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ได้เบิกถอนเงินจากบัญชีของตนไป การที่โจทก์นำสืบถึงการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่เกี่ยวข้องกับค่าตรวจสอบบัญชี จำนวน 700,000 บาท เศษ โดยมีการระบุถึงรหัสประจำตัวพนักงานของจำเลยที่ 2 เป็นผู้บันทึกข้อมูล และจำเลยที่ 1 เป็นผู้อนุมัติรายการต่อศาลแรงงานกลาง จึงเป็นการนำสืบถึงรายละเอียดในการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสอง เนื่องจากเป็นเรื่องความเป็นมาที่โจทก์ตรวจพบการทุจริตของจำเลยทั้งสองก่อนหน้าที่จะมีการกระทำผิดตามคำฟ้อง และอาจใช้สนับสนุนพยานหลักฐานโจทก์เกี่ยวกับการทุจริตของจำเลยที่ 2 ไม่ใช่การนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยพยานหลักฐานขัดกับสำนวน เนื่องจากพยานหลักฐานโจทก์ฟังได้ว่าพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 เป็นการร่วมกันกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 กระทำความผิดหรือรู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 1 กระทำความผิด อันเป็นการร่วมกันกระทำทุจริตและผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ เป็นอุทธรณ์ที่ขอให้ศาลอุทธรณ์คดีชํานัญพิเศษวินิจฉัยว่าคำพิพากษาศาลแรงงานกลางชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 หรือไม่ อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง คำพิพากษาศาลแรงงานกลางในส่วนของการวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีจะต้องมีเหตุผลแห่งคำวินิจฉัย เพื่อให้ทราบว่าศาลแรงงานได้นำข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดเป็นหลักในการวินิจฉัยคดีและถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในการรับฟังพยานหลักฐานและการแปลความบทบัญญัติของกฎหมายหรือไม่ คดีนี้ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า มีการล้างรายการเงินฝากในบัญชีตั้งพัก เพื่อโอนเงินมาเข้าบัญชีของจำเลยทั้งสองกับพวก โดยในส่วนของจำเลยที่ 2 ได้รับโอนเงินของโจทก์เข้าบัญชีถึง 2 ครั้ง จำนวน 240,000 บาท และ 250,000 บาท แต่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยลอย ๆ เพียงว่า โจทก์ไม่มีพยานบุคคลมานำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันกระทำความผิด มิได้วินิจฉัยถึงพยานเอกสารอื่นว่าไม่อาจรับฟังเชื่อมโยงว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันทุจริตเงินตามคำฟ้องเพราะเหตุใด นอกจากนั้น เงินที่โอนเข้าบัญชีจำเลยที่ 2 รวมสองครั้งมิใช่เงินจำนวนเล็กน้อย จำเลยที่ 2 ย่อมต้องให้ความสำคัญและย่อมทราบว่าเงินดังกล่าวมีที่มาอย่างไร แต่ศาลแรงงานกลางกลับวินิจฉัยเพียงว่าเงินที่เข้าบัญชีจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ได้ถอนให้จำเลยที่ 1 ไป จึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 เอาเงินของโจทก์ไปโดยทุจริตเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ แต่ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมกันกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 หรือรู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 1 กระทำความผิดเท่านั้น โดยไม่วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ทราบถึงที่มาของการโอนเงินดังกล่าวอย่างไร เพื่อให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 หรือไม่ เช่นนี้ แม้คำพิพากษาศาลแรงงานกลางจะยังไม่ถึงกับเป็นการวินิจฉัยขัดกับพยานหลักฐานในสำนวนดังที่โจทก์อุทธรณ์ แต่ก็เป็นคำพิพากษาที่มิได้แสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปและคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีพร้อมด้วยเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยในประเด็นว่า จำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมกระทำละเมิดกับจำเลยที่ 1 หรือรู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ จึงเป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง
โจทก์บรรยายคำฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันทุจริตต่อโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 ตั้งระบบอัตโนมัติในเครื่องคอมพิวเตอร์และบันทึกข้อมูลในระบบว่ามีการหักเงินบางส่วนของบัญชีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ แล้วนำไปตั้งพักไว้ในบัญชีตั้งพักของธนาคารโจทก์ หลังจากนั้นได้ล้างรายการเงินฝากของโจทก์โดยจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจ แล้วโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ได้เบิกถอนเงินจากบัญชีของตนไป การที่โจทก์นำสืบถึงการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่เกี่ยวข้องกับค่าตรวจสอบบัญชี จำนวน 700,000 บาท เศษ โดยมีการระบุถึงรหัสประจำตัวพนักงานของจำเลยที่ 2 เป็นผู้บันทึกข้อมูล และจำเลยที่ 1 เป็นผู้อนุมัติรายการต่อศาลแรงงานกลาง จึงเป็นการนำสืบถึงรายละเอียดในการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสอง เนื่องจากเป็นเรื่องความเป็นมาที่โจทก์ตรวจพบการทุจริตของจำเลยทั้งสองก่อนหน้าที่จะมีการกระทำผิดตามคำฟ้อง และอาจใช้สนับสนุนพยานหลักฐานโจทก์เกี่ยวกับการทุจริตของจำเลยที่ 2 ไม่ใช่การนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยพยานหลักฐานขัดกับสำนวน เนื่องจากพยานหลักฐานโจทก์ฟังได้ว่าพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 เป็นการร่วมกันกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 กระทำความผิดหรือรู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 1 กระทำความผิด อันเป็นการร่วมกันกระทำทุจริตและผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ เป็นอุทธรณ์ที่ขอให้ศาลอุทธรณ์คดีชํานัญพิเศษวินิจฉัยว่าคำพิพากษาศาลแรงงานกลางชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 หรือไม่ อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง คำพิพากษาศาลแรงงานกลางในส่วนของการวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีจะต้องมีเหตุผลแห่งคำวินิจฉัย เพื่อให้ทราบว่าศาลแรงงานได้นำข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดเป็นหลักในการวินิจฉัยคดีและถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในการรับฟังพยานหลักฐานและการแปลความบทบัญญัติของกฎหมายหรือไม่ คดีนี้ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า มีการล้างรายการเงินฝากในบัญชีตั้งพัก เพื่อโอนเงินมาเข้าบัญชีของจำเลยทั้งสองกับพวก โดยในส่วนของจำเลยที่ 2 ได้รับโอนเงินของโจทก์เข้าบัญชีถึง 2 ครั้ง จำนวน 240,000 บาท และ 250,000 บาท แต่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยลอย ๆ เพียงว่า โจทก์ไม่มีพยานบุคคลมานำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันกระทำความผิด มิได้วินิจฉัยถึงพยานเอกสารอื่นว่าไม่อาจรับฟังเชื่อมโยงว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันทุจริตเงินตามคำฟ้องเพราะเหตุใด นอกจากนั้น เงินที่โอนเข้าบัญชีจำเลยที่ 2 รวมสองครั้งมิใช่เงินจำนวนเล็กน้อย จำเลยที่ 2 ย่อมต้องให้ความสำคัญและย่อมทราบว่าเงินดังกล่าวมีที่มาอย่างไร แต่ศาลแรงงานกลางกลับวินิจฉัยเพียงว่าเงินที่เข้าบัญชีจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ได้ถอนให้จำเลยที่ 1 ไป จึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 เอาเงินของโจทก์ไปโดยทุจริตเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ แต่ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมกันกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 หรือรู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 1 กระทำความผิดเท่านั้น โดยไม่วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ทราบถึงที่มาของการโอนเงินดังกล่าวอย่างไร เพื่อให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 หรือไม่ เช่นนี้ แม้คำพิพากษาศาลแรงงานกลางจะยังไม่ถึงกับเป็นการวินิจฉัยขัดกับพยานหลักฐานในสำนวนดังที่โจทก์อุทธรณ์ แต่ก็เป็นคำพิพากษาที่มิได้แสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปและคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีพร้อมด้วยเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยในประเด็นว่า จำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมกระทำละเมิดกับจำเลยที่ 1 หรือรู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ จึงเป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3151/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายสาหัส และการวินิจฉัยความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่า
พวกของจำเลยทั้งสามรุมทำร้ายผู้เสียหายทั้งสอง โดย ณ. ใช้อาวุธมีดแทงผู้เสียหายที่ 1 หลายครั้งเป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 1 ได้รับอันตรายสาหัส ส่วนจำเลยที่ 2 ใช้อาวุธปืนตีศีรษะผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเจตนาของจำเลยที่ 2 เป็นคนละเจตนากับ ณ. ที่ใช้อาวุธมีดแทงผู้เสียหายที่ 1 โดยมีเจตนาฆ่า ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 รู้เห็นหรือคบคิดกับ ณ. ในการใช้อาวุธมีดแทงผู้เสียหายที่ 1 จำเลยที่ 2 ย่อมไม่ต้องรับผิดในผลของการกระทำของ ณ. เมื่อตามผลการชันสูตรบาลแผลไม่ปรากฏบาดแผลจากการใช้อาวุธปืนตี คงมีเฉพาะบาดแผลที่ถูกแทง และทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายที่ 1 ได้รับอันตรายแก่การจากการกระทำของจำเลยที่ 2 แต่อย่างใด จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจตาม ป.อ. มาตรา 391 เท่านั้น เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 กับพวกในความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบ 80 ความผิดดังกล่าวย่อมรวมถึงการใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจด้วย ถือได้ว่าการกระทำตามฟ้องรวมการกระทำหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 2 ในการกระทำความผิดที่พิจารณาได้ความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1656/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายงานเยาวชนใช้ได้เฉพาะข้อมูลพื้นฐาน การวินิจฉัยความผิดต้องใช้พยานหลักฐาน การกระทำหลายกรรมต่างกันต้องลงโทษทุกกรรม
แม้รายงานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเยาวชนของสถานพินิจจะมีความสำคัญแก่การพิพากษาคดี เนื่องจากพ.ร.บ. ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 131 บัญญัติไว้มีใจความว่า ศาลจะพิพากษาลงโทษหรือใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนได้ต่อเมื่อได้รับทราบรายงานดังกล่าวแล้ว แต่ก็มีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อให้ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ตลอดจนสิ่งแวดล้อมทั้งปวงเกี่ยวกับจำเลย บิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลซึ่งจำเลยอาศัยอยู่ด้วย หรือบุคคลซึ่งให้การศึกษา ให้ทำการงาน หรือ มีความเกี่ยวข้องตามมาตรา 115 เข้าสู่สำนวนคดี โดยมาตรา 118 บัญญัติไว้ชัดเจนว่า การพิจารณาคดีอาญา ที่เด็กหรือเยาวชนเป็นจำเลย ศาลจะรับฟังรายงานเกี่ยวกับข้อเท็จจริงตามมาตรา 115 ที่มิใช่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดที่ถูกฟ้องโดยไม่ต้องมีพยานบุคคลประกอบรายงานนั้นก็ได้ เพื่อเสนอรายงานและความเห็นต่อศาลเกี่ยวกับการลงโทษ หรือการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแก่จำเลยเท่านั้น หากศาลจะฟังข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดที่ถูกฟ้อง ศาลจะรับฟังรายงานดังกล่าวโดยไม่มีพยานบุคคลประกอบไม่ได้ เพราะข้อเท็จจริงตามรายงานมิใช่ข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการสืบพยานของคู่ความ จึงไม่สามารถนำมารับฟัง ในฐานะเป็นพยานหลักฐานที่จะนำมาวินิจฉัยเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยได้ การที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษรับฟังรายงานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเยาวชนของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กรุงเทพมหานคร แล้วเชื่อว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดกรรมเดียวนั้น จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย