คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กรอบเวลา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 69 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 42/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีใหม่เมื่อจำเลยขาดนัดโดยมีเหตุสุดวิสัยและยื่นคำขอภายในกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด
ศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีไปโดยจำเลยขาดนัด จำเลยร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่เมื่อปรากฏว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดและศาลชั้นต้นสั่งให้พิจารณาใหม่ คำสั่งนี้เป็นคำสั่งภายหลังเมื่อศาลพิพากษาแล้ว ฉะนั้น จึงไม่เป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณา โจทก์ย่อมอุทธรณ์ฎีกาได้
การที่จำเลยไปอยู่ต่างประเทศโดยไม่ทราบว่าตนถูกฟ้องและถูกศาลพิพากษาให้แพ้คดี ย่อมถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือที่ไม่อาจบังคับได้ จำเลยจึงอาจยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 208

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 762/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีอาญาปนแพ่ง: อุทธรณ์คดีแพ่งต้องใช้กรอบเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แม้ฟ้องเริ่มจากคดีอาญา
ฟ้องคดีอาญาปนคดีแพ่งศาลยกฟ้องคดีส่วนอาญา แต่ให้โจทก์ชนะในส่วนแพ่ง ดังนี้จำเลยยื่นอุทธรณ์คดีส่วนแพ่งได้ในกำหนด 1 เดือน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 มิใช่กำหนด 15 วัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2504)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 210/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่รับอุทธรณ์และการเสียค่าธรรมเนียม: กรอบเวลาและผลกระทบทางกฎหมาย
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำขอว่าความอย่างคนอนาถาของโจทก์นั้นเป็นแต่คำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์โจทก์ยังอุทธรณ์ไม่ได้.เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 232 แล้วโจทก์จะต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภายใน 10 วัน นับแต่วันที่ศาลสั่งไม่รับอุทธรณ์ตาม มาตรา 234อุทธรณ์คำสั่งฉบับแรกของโจทก์แม้จะยื่นภายในอายุความแต่โจทก์หาเสียค่าธรรมเนียมมาไม่ ย่อมถือว่าเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบส่วนอุทธรณ์คำสั่งฉบับที่ 2 ซึ่งโจทก์เสียค่าธรรมเนียมมาแล้วแม้จะถือเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ แต่ก็ยื่นเกิน 10 วันนับแต่วันที่ศาลสั่งไม่รับอุทธรณ์แล้วคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์จึงเป็นที่สุด โจทก์อุทธรณ์ต่อไปไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นระบุพยานนอกกรอบเวลาที่ศาลกำหนด และเหตุผลความล่าช้าที่ไม่สมควร
จำเลยไม่ได้ยื่นระบุพยานไว้ศาลนัดสืบพยานโจทก์ครั้งแรกแล้วมีเหตุต้องเลื่อนไปอีกเดือนครึ่งจำเลยจึงพึ่งยื่นขอระบุพยานในระหว่างสืบพยานโจทก์ครั้งหลัง โดยอ้างเหตุว่าสืบไปนั้นยังไม่เป็นเหตุอันสมควรให้ศาลรับฟังพยานโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา87,88

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 839/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดกรอบเวลาเกิดเหตุในคดีอาญา: ฟ้องระบุช่วงวัน, เหตุเกิดภายในช่วงนั้น แม้ไม่ตรงวันเป๊ะ ศาลไม่ยกฟ้อง
ฟ้องว่า จำเลยปล่อยช้างเข้าไปในเรือกสวนไร่นาของผู้เสียหาย ฯลฯ เมื่อระหว่างวันที่ 18 และ 19 เวลากลางวันและ กลางคืน แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่าเหตุเกิดเมื่อคืนวันขึ้น 15 ค่ำ จนเช้าวันแรม 1 ค่ำ ซึ่งตรงกับวันที่ 17 - 18 ก็ ปรากฎว่า ตรงกับฟ้องของโจทก์ส่วนหนึ่งแล้ว จะฟังว่าข้อเท็จจริงต่างกับคำฟ้องอันจะเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้./

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833/2485

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องลงโทษผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย ตาม พ.ร.บ.กักกันฯ 2479 โดยมีกรอบเวลาในการฟ้องคดี
ฟ้องขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.กักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้ายพ.ศ.2479. ตามฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่วันอ่านคำพิพากษาครั้งหลังถึงที่สุด.(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2485).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15324/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีใหม่: การส่งหมายที่ไม่ชอบและกรอบเวลาการยื่นคำขอจากพฤติการณ์นอกเหนือควบคุม
จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่โดยอ้างว่า ไม่จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไม่ชอบ เป็นการไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 74 (2) ให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่ได้พิจารณาคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 เบญจ คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 4 จึงไม่เป็นที่สุด ตามบทบัญญัติแห่งมาตราดังกล่าว
เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2555 พนักงานเดินหมายได้นำคำบังคับไปส่งให้แก่จำเลยที่บ้านเลขที่ 370/207 หมู่ที่ 21 ตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลยตามคำฟ้องโดยวิธีปิดหมายตามคำสั่งศาลชั้นต้น ต่อมาวันที่ 28 มกราคม 2557 จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่อ้างว่า จำเลยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 370/207 หมู่ที่ 21 ตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น แต่มิใช่ที่อยู่ที่แท้จริงเพราะจำเลยพักอาศัยอยู่ที่ราชอาณาจักรเดนมาร์กตลอดมาไม่เคยเดินทางกลับประเทศไทยเป็นเวลา 5 ปีแล้ว เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2556 ป. น้าจำเลยโทรศัพท์บอกว่าคนดูแลบ้านของจำเลยเห็นโจทก์กับพวกเข้าไปในบ้านจำเลย หลังจากตรวจสอบแล้วปรากฏว่าบ้านและที่ดินถูกยึด จำเลยติดต่อทนายความจึงทราบว่าถูกโจทก์เป็นคดีนี้ อันเป็นกล่าวอ้างว่ากรณีมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ที่ทำให้จำเลยไม่สามารถยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายในสิบห้าวันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลย ซึ่งจำเลยจะต้องบรรยายให้ชัดแจ้งว่าพฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลงเมื่อใด เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยได้ยื่นคำขอภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลงหรือไม่ แต่ในคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยดังกล่าวไม่ปรากฏว่าพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้นั้นได้สิ้นสุดลงเมื่อใด ทั้งในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2556 จำเลยได้แต่งตั้งทนายความยื่นคำร้องขอถ่ายเอกสารต่าง ๆ ในสำนวนเพื่อยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ จึงต้องถือว่าพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ดังกล่าวได้สิ้นสุดอย่างช้าในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2556 แล้ว แต่จำเลยเพิ่งยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ในวันที่ 28 มกราคม 2557 จึงพ้นกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 199 จัตวา วรรคหนึ่ง ปัญหาว่าคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13165/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีแรงงาน: การส่งหมายเรียกโดยชอบ และกรอบเวลาการขอพิจารณาคดีใหม่ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ
กรณีที่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ได้บัญญัติไว้แล้วอย่างไรต้องบังคับไปตามนั้น จะนำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับไม่ได้เพราะ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ให้นำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานโดยอนุโลมได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 เท่านั้น
ประเด็นแห่งคดีนี้ในการขอพิจารณาคดีใหม่คือจำเลยมีความจำเป็นที่ไม่อาจมาศาลได้ในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์หรือไม่ ซึ่งต้องพิจารณาเสียก่อนว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 37 โดยชอบหรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าการส่งหมายให้จำเลยชอบแล้วมีผลทางกฎหมายว่าจำเลยรู้ว่าตนถูกฟ้องคดี เท่ากับศาลแรงงานกลางวินิจฉัยประเด็นที่ว่าจำเลยรู้หรือไม่รู้ว่าถูกฟ้องคดีแล้วนั่นเอง
เมื่อศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาแล้ว ศาลแรงงานกลางกำหนดวันเวลานัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์โดยออกหมายเรียกให้จำเลยมาศาลในวันเวลานัดพร้อมส่งสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยวิธีปิดหมายโดยชอบ ถือว่าจำเลยได้รับหมายเรียกให้มาศาลตามมาตรา 37 แล้ว เมื่อจำเลยไม่มาตามกำหนดโดยไม่แจ้งให้ศาลแรงงานทราบเหตุที่ไม่มา และศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาตัดสินคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียว ซึ่งเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรา 40 วรรคสอง จำเลยจึงต้องยื่นคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดตามมาตรา 41 เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่เกินระยะเวลาดังกล่าว ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13974/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินจากคดียาเสพติด: กรอบเวลา 1 ปี และการแยกพิจารณาผู้ต้องหา
แม้ทรัพย์สินรายการที่ 2 และที่ 3 ที่ผู้ร้องขอให้ศาลสั่งริบ คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินจะเคยมีคำสั่งให้ตรวจสอบตามคำสั่งที่ 1036/2546 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2546 ซึ่งเป็นการตรวจสอบทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1255/2547 ของศาลชั้นต้น รวมทั้งมีบันทึกของเจ้าพนักงานตำรวจ เรื่องการตรวจยึดทรัพย์สินที่ได้มาเนื่องจากการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2546 ว่า เจ้าพนักงานตำรวจได้ตรวจยึดทรัพย์สินทั้งสองรายการไว้แล้วก็ตาม แต่บันทึกการตรวจยึดทรัพย์สินของเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวไม่ใช่คำสั่งยึดทรัพย์ของคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินตามมาตรา 22 จึงถือไม่ได้ว่าคณะกรรมการดังกล่าวได้มีคำสั่งยึดทรัพย์ทั้งสองรายการไว้แล้วในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1255/2547 แต่เมื่อคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินได้มีคำสั่งที่ 346/2549 ลงวันที่ 3 มีนาคม 2549 ให้ยึดทรัพย์ทั้งสองรายการไว้ในคดีที่ผู้คัดค้านทั้งสองถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดครั้งใหม่เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2547 จนผู้คัดค้านทั้งสองถูกฟ้องต่อศาลชั้นต้น และศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาลงโทษผู้คัดค้านที่ 1 ที่ให้การรับสารภาพเป็นคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1975/2547 เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2547 แต่สำหรับผู้คัดค้านที่ 2 ที่ให้การปฏิเสธได้ถูกแยกฟ้องเป็นคดีใหม่ และศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2548 เป็นคดีหมายเลขแดงที่ 4053/2547 ระยะเวลา 1 ปี ในกรณีของผู้คัดค้านที่ 1 จึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายน 2547 และในกรณีของผู้คัดค้านที่ 2 เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2548 เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2549 จึงพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1975/2547 มีคำพิพากษาลงโทษผู้คัดค้านที่ 1 ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจที่จะร้องขอให้ริบทรัพย์สินในส่วนที่เป็นของผู้คัดค้านที่ 1 คงมีอำนาจร้องขอให้ริบทรัพย์สินในส่วนที่เป็นของผู้คัดค้านที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6770/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุพิเศษและดำเนินการภายในกรอบเวลาที่ศาลอนุญาต หากไม่ดำเนินการตามขั้นตอน ศาลไม่รับวินิจฉัย
การขอขยายหรือย่นระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและศาลได้มีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย เมื่อคดีนี้ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและโจทก์ร่วมประสงค์จะให้อัยการสูงสุดรับรองให้ใช้สิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ โจทก์ร่วมชอบที่จะดำเนินการภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ทันที แต่โจทก์ร่วมก็ไม่ได้ดำเนินการแต่อย่างใด เมื่อใกล้วันครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์โจทก์ร่วมกลับยื่นคำร้องให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเท่านั้น ภายหลังเมื่อผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง โจทก์ร่วมจึงยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์อ้างว่า เพื่อจะดำเนินการขอให้อัยการสูงสุดรับรองให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นความบกพร่องของโจทก์ร่วมเอง ถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษอันจะเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
โจทก์ร่วมฎีกาขอให้ศาลฎีกาใช้อำนาจทั่วไปขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้โจทก์ร่วมและให้โอกาสโจทก์ร่วมได้ใช้สิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลได้อย่างเต็มที่นั้น เมื่อตามคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมอ้างเหตุเพื่อขอให้อัยการสูงสุดรับรองให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง มิได้ขอให้ศาลใช้อำนาจทั่วไปตามกฎหมาย ฎีกาของโจทก์ร่วมจึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 แม้ศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์ร่วมในข้อนี้มาก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
of 7