คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กิจการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 65 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625/2498

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งห้ามประกอบกิจการของเทศบาล: ต้องอาศัยเทศบัญญัติและโทษปรับตามกฎหมาย
มาตรา 8 พระราชบัญญัติสาธารณสุขมิได้กำหนดให้อำนาจเทศบาลสั่งห้ามการกระทำเกี่ยวกับสุขลักษณ์โดยทั่วไปแต่ให้มีอำนาจออกเทศบัญญัติหรือข้อบังคับควบคุมได้ถ้าผู้ใดไม่ปฏิบัติตามก็ชอบที่จะขอให้ลงโทษตาม มาตรา 68 จะดำเนินคดีแพ่งอย่างเดียวขอให้ห้ามมิให้ผู้กระทำผิดกระทำการต่อไปไม่ได้
อำนาจสั่งห้ามผู้กระทำผิดมิให้กระทำต่อไปตาม มาตรา 68นั้นเป็นวิธีอุปกรณ์ของโทษปรับตาม มาตรา นั้นเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1815/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจตัวแทนจัดการร้านค้าและการกู้ยืมเงินเพื่อใช้ในกิจการ
ตั้งตัวแทนจัดการร้านค้าของตัวการแล้ว ตัวการไปต่างประเทศเสียชั่วคราว ในระหว่างที่ตัวการไปอยู่ต่างประเทศนั้น ตัวแทนซึ่งเป็นผู้จัดการร้านได้กู้ยืมเงินของบุคคลภายนอกมาใช้จ่ายในกิจการค้าของร้านตัวการ ผู้ให้กู้ก็เข้าใจว่าตัวแทนมีสิทธิทำการกู้ยืมเงินไปใช้ในกิจการค้านั้นได้เช่นนี้ เข้าลักษณะตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821,822 แม้ตัวการจะไม่ได้ตั้งตัวแทนเป็นหนังสือ ตัวการก็ต้องรับผิดในจำนวนเงินที่ตัวแทนไปกู้เขามาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 576/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การควบคุมทรัพย์สินของศัตรูต่อสหประชาชาติ: จำเลยต้องจัดการและรับผิดเสมือนเป็นของตนเอง
การที่คณะกรรมการพิจารณากักคุมตัวจัดกิจการ หรือทรัพย์สินของบุคคลที่เป็นศัตรูต่อสหประชาชาติเข้าดำเนินการยึดหรือจำหน่ายทรัพย์สินในห้างบางกอกดิสเพนซารี่อันเป็นของห้างบี.กริมแอนด์โกนั้นจึงเป็นการเข้าควบคุมจัดกิจการหรือทรัพย์สินของบุคคลที่เป็นศัตรูต่อสหประชาชาติแล้ว
ความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาควบคุมจัดกิจการหรือทรัพย์สินของบุคคลที่เป็นศัตรูต่อสหประชาชาติ เป็นเรื่องควบคุมจัดกิจการและทรัพย์สินตามอำนาจในพระราชบัญญัติ ซึ่งจะต้องกระทำเป็นการเริ่มต้น ด้วยการเข้าดำเนินกิจการ และเข้าครอบครองทรัพย์สินแทนศัตรูต่อสหประชาชาติ คณะกรรมการจะต้องจัดการและรับผิด เสมือนเป็นกิจการของตนเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1871/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ที่ดินหน้าสถานีรถไฟเพื่อขายอาหารจากโรงแรม ไม่ถือว่าเกี่ยวเนื่องกับการดำเนินกิจการโรงแรม
การที่มีโรงแรมอยู่หน้าสถานีรถไฟ แล้วเจ้าของโรงแรมเช่าที่ดิน บริเวณหน้าสถานีรถไฟ เพื่อเอาอาหารจากโรงแรมไปเร่ขาย เมื่อรถไฟผ่านไปมา ของเหลือก็เอากลับไปโรงแรม ดังนี้ไม่ถือว่า ใช้ที่ดินบริเวณหน้าสถานีรถไฟนั้นเกี่ยวเนื่องกับโรงแรมในการประกอบหรือดำเนินกิจการค้าของโรงแรม จะเรียกประเมินภาษีจากเจ้าของโรงแรม ในฐานใช้ที่ดินนั้นเกี่ยวกับร้านค้าอีกไม่ได้(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/93)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 288/2488 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนกู้เงินใช้กิจการร่วมกัน หนี้ผูกพันหุ้นส่วนทุกคน เจ้าหนี้ยึดทรัพย์ได้
การที่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งกู้เงินเขามาใช้ในกิจการค้าขายของหุ้นส่วน ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนย่อมมีความผูกพันในกิจการนั้นๆ
เมื่อศาลพิพากษาให้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งรับผิดในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนแล้ว เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีอำนาจยึดทรัพย์ที่เป็นของหุ้นส่วนได้ หุ้นส่วนอื่นไม่มีอำนาจร้องขัดทรัพย์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3-4/2487 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียน
การพิจารนาว่ากิจการที่ผู้จัดการห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทเบียนทำไปจะหยู่ไนทางการค้าของหุ้นส่วนหรือไม่จะต้องพิเคราะห์ถึงสภาพของกิจการของห้างหุ้นส่วนนั้นประกอบกับประเพนีที่ห้างหุ้นส่วนที่มีลักสนะเช่นเดียวกันย่อมปติบัติกันหยู่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14701/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของที่ดิน vs. เสรีภาพประกอบอาชีพ: การคุ้มครองจากความเสียหายจากการประกอบกิจการ
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาให้จำเลยออกระเบียบแก่บุคคลที่มาใช้บริการสนามกอล์ฟของจำเลย ห้ามมิให้ใช้ไม้กอล์ฟที่มีประสิทธิภาพตีไกล เช่น หัวไม้ 1 ห้ามมิให้ตั้งทีสูงเกิน 45 มิลลิเมตร ที่บริเวณชั้น 1 และกำหนดเวลาเปิดปิดตั้งแต่ 8 ถึง 20.30 นาฬิกา เป็นการคุ้มครองสิทธิของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 421, 1337, 1337 และ 1374 เพื่อระงับยับยั้งมิให้การใช้สิทธิของจำเลยก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ไม่เป็นการจำกัดเสรีภาพในการประกอบอาชีพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 5 และมาตรา 43 วรรคหนึ่ง และเป็นการพิพากษาบังคับให้จำเลยในฐานะผู้ประกอบกิจการสนามฝึกซ้อมกอล์ฟโดยตรงให้กระทำการและเป็นผู้ออกระเบียบ มิใช่เป็นการบังคับบุคคลภายนอกซึ่งสภาพแห่งหนี้เปิดช่องให้กระทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12972/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกตามพินัยกรรม: เจตนาของผู้มอบมรดกสำคัญกว่ารูปแบบทรัพย์สิน
ตามพินัยกรรมข้อ 22 มีข้อความระบุให้สถานีบริการน้ำมันพร้อมที่ดินได้แก่ ช. ผู้เป็นทายาท เมื่อ ช. ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรจึงเป็นทายาทผู้รับโอนทรัพย์มรดกจาก ช. ชอบที่จะใช้สิทธิของทายาทในการอ้างอายุความมรดกยันโจทก์ผู้เป็นทายาทได้
เดิมโรงน้ำแข็ง โรงเรือนและอาคารปลูกสร้างอยู่ในที่ดินแปลงใหญ่ ต่อมาเจ้ามรดกได้แบ่งแยกที่ดินออกเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 11295 เป็นที่ตั้งสถานีบริการน้ำมัน และโฉนดเลขที่ 11296 เป็นที่ตั้งโรงน้ำแข็ง ขณะเจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ได้ใช้ในกิจการทุกอย่างของเจ้ามรดก และเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวยังคงใช้ในกิจการร่วมกันตลอดมา โดยโจทก์ช่วยดูแลกิจการโรงน้ำแข็งและสถานีบริการน้ำมันของเจ้ามรดก และที่ดินโฉนดเลขที่ 11295 บางส่วนให้บริษัท ท. เช่า จึงถือว่าโจทก์ครอบครองทรัพย์มรดกที่ดินตามพินัยกรรมซึ่งยังไม่ได้แบ่งกัน ส่วนที่ดินที่ให้บริษัท ท. เช่านั้น ถือว่าผู้เช่าครอบครองแทนทายาทรวมทั้งโจทก์ด้วย ดังนั้นแม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปี นับแต่เมื่อทายาทได้รู้หรือควรรู้ถึงความตายของเจ้ามรดก หรือกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย โจทก์ผู้เป็นทายาทยังมีสิทธิเรียกร้องขอให้แบ่งทรัพย์มรดกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1748 และ 1754
การตีความข้อใดข้อหนึ่งในพินัยกรรมที่อาจตีความได้เป็นหลายนัย ให้ถือเอาตามนัยที่จะสำเร็จผลตามความประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรมนั้นได้ดีที่สุดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1684 และต้องเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษรตามมาตรา 171 จึงต้องพิจารณาจากข้อความที่กำหนดในพินัยกรรมเพื่อหาเจตนาที่แท้จริงของผู้ทำพินัยกรรมว่าเป็นเช่นไร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20102/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัด: การลงแรงช่วยเหลือครอบครัวไม่ถือเป็นข้อตกลงเป็นหุ้นส่วน
การเป็นหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012 นั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกันด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น สัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจึงต้องเป็นการตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกันด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้นโดยชัดแจ้ง โจทก์ทั้งเจ็ดเป็นบุตรของ ส. โดย ส. ประกอบอาชีพค้าขายมาก่อนโจทก์ทั้งเจ็ดกำเนิด ส. ให้การอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่โจทก์ทั้งเจ็ดในฐานะบิดากระทำต่อบุตร เมื่อโจทก์ทั้งเจ็ดเติบโตได้ช่วย ส. ค้าขายจนกระทั่งโจทก์ทั้งเจ็ดแต่งงานมีครอบครัวแล้วแยกครอบครัวไป ไม่ปรากฏโดยชัดแจ้งว่า ส. ตกลงร่วมค้าขายกับโจทก์ทั้งเจ็ดโดยให้โจทก์ทั้งเจ็ดลงแรงเป็นหุ้นและประสงค์แบ่งเงินกำไรกัน หรือหากต้องขาดทุนโจทก์ทั้งเจ็ดต้องรับผิดชอบอย่างไร การที่โจทก์ทั้งเจ็ดช่วยด้วยแรงงานจึงไม่เป็นการลงหุ้นด้วยแรง คงเป็นความสัมพันธ์ในครอบครัวระหว่างบิดาและบุตร การที่บุตรไม่แยกไปประกอบกิจการของตนเองแต่สมัครใจอยู่ช่วยเหลือและอาศัยกับบิดาต่อไป หาทำให้กิจการของบิดาเป็นกิจการของครอบครัวอันจะถือว่าเป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนระหว่างบุตรและบิดาโดยปริยายไม่ โจทก์ทั้งเจ็ดจึงไม่เป็นหุ้นส่วนกับ ส. ตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8131/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหยุดงานชั่วคราวต้องมีเหตุจำเป็นสำคัญกระทบต่อกิจการ มิใช่แค่ความไม่แน่นอนทางการค้า
โจทก์สั่งให้ลูกจ้างหยุดงานชั่วคราวเป็นบางวันเป็นระยะๆ อ้างว่าโจทก์ประสบปัญหาการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้าลดลงซึ่งไม่มีความแน่นอน แม้โจทก์จะอ้างว่าลูกค้าจะสั่งซื้อสินค้าเป็นรายสัปดาห์โจทก์จะทราบการสั่งซื้อล่วงหน้าเพียง 3 วัน ถึง 5 วัน ก็เป็นเรื่องปกติของการค้าที่อาจจะมีความไม่แน่นอนบ้าง โจทก์ควรจะต้องวางแผนการบริหารกิจการของโจทก์ล่วงหน้า มิใช่นำสาเหตุดังกล่าวมาสั่งให้ลูกจ้างหยุดทำงานชั่วคราว จึงยังมิใช่เหตุจำเป็นถึงขนาดต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 75 วรรคหนึ่ง
of 7