พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,659 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4914-4915/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คชำระดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
เช็คทั้งสองฉบับเป็นเช็คที่จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 สั่งจ่ายชำระค่าผลประโยชน์หรือดอกเบี้ยจากการที่จำเลยที่ 1 นำเช็คไปแลกเงินสดจากโจทก์ร่วมซึ่งคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3 ต่อเดือน ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 654 กำหนดให้เรียกดอกเบี้ยเงินกู้ได้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปีเท่านั้น จึงเป็นการคิดดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้มีความผิดต่อ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 (ก) การออกเช็คทั้งสองฉบับของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4830/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยค่าชดเชยแรงงาน: ศาลยืนตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน อัตรา 15% ต่อปี แม้โจทก์มิได้ขอ
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง กำหนดให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยของจำนวนเงินค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี ไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงนำอัตราดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไปมาใช้บังคับไม่ได้ ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยของจำนวนเงินค่าชดเชยร้อยละ 15 ต่อปี โดยโจทก์มิได้ขอมาในฟ้อง จึงชอบด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4830/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยค่าชดเชย: พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 9 บังคับใช้โดยตรง ไม่ต้องอ้างอิงอัตราดอกเบี้ยทั่วไป
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง ได้กำหนดให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยของจำนวนเงิน ค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี ไว้โดยเฉพาะแล้ว จะนำอัตราดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคแรก ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไปมาใช้บังคับแก่กรณีนี้ไม่ได้ กรณีจึงไม่ใช่ ไม่มีกฎหมายเปิดช่องให้จ่ายดอกเบี้ยของจำนวนเงินค่าชดเชยร้อยละ 15 ต่อปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 470/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยสัญญาเกินอัตราที่ประกาศ หนี้เดิมยังต้องเสียดอกเบี้ยตามกฎหมาย
เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วว่าโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เพราะเกินกว่าอัตราตามประกาศของโจทก์ แต่กลับพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงิน 1,300,031.26 บาท ซึ่งมีดอกเบี้ยจำนวน 300,394.17 บาท ที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยแล้วว่าตกเป็นโมฆะรวมอยู่ด้วย คำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ถูกต้องเพราะทำให้จำเลยต้องชำระดอกเบี้ยมากไปกว่าที่ต้องรับผิดตามกฎหมายและเกินคำขอ ดังที่โจทก์ฎีกา ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 5 ย่อมมีอำนาจยกขึ้นปรับแก่คดีได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 243 (1) และมาตรา 246 การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ไปเสียทั้งหมดจึงไม่ชอบ และศาลฎีกาเห็นสมควรพิจารณาพิพากษาไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวน ส่วนดอกเบี้ยแม้โจทก์จะไม่มีสิทธิบังคับตามสัญญาเพราะตกเป็นโมฆะก็ตาม แต่เมื่อเป็นหนี้เงินจำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 470/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราที่ตกลงกัน ศาลแก้ไขคำพิพากษาให้ถูกต้องตามกฎหมาย
อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น แต่การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าธนาคารโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เพราะเกินกว่าอัตราตามประกาศของโจทก์ กลับพิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงิน 1,300,031.26 บาท ซึ่งมีดอกเบี้ยจำนวน 300,394.17 บาท ที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยแล้วว่าตกลงเป็นโมฆะรวมอยู่ด้วย จึงเป็นคำพิพากษาที่ไม่ถูกต้องเพราะทำให้จำเลยต้องชำระดอกเบี้ยมากไปกว่าที่ต้องรับผิดตามกฎหมายและเกินคำขอ จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 5 ย่อมมีอำนาจยกขึ้นปรับแก่คดีได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 243 (1) และมาตรา 246
ขณะทำสัญญากู้เงิน ธนาคารโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยซึ่งเป็นลูกค้าเงินกู้รายย่อยระยะยาวในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เป็นการคิดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราตามประกาศของโจทก์ ซึ่งกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้เพียงร้อยละ 12.25 ต่อปี ข้อตกลงในส่วนดอกเบี้ยดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับเอาดอกเบี้ยตามสัญญาจากจำเลย ดังนั้น ที่ศาลชั้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์จำนวน 1,300,031.26 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 999,178.09 บาท นับถัดจากวันชำระหนี้ครั้งสุดท้ายจนกว่าจะชำระเสร็จนั้น จึงไม่ถูกต้องเพราะเงินจำนวน 1,300,031.26 บาท ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระแก่โจทก์ดังกล่าวมีดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ที่จำเลยค้างชำระตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2541 ถึงวันฟ้องจำนวน 300,399.17 บาท รวมอยู่ด้วย
โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับดอกเบี้ยตามสัญญาเพราะตกเป็นโมฆะแต่เมื่อเป็นหนี้เงินจำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เมื่อตามสัญญากู้เงินตกลงให้ชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยเป็นรายเดือนภายในทุกวันที่ 16 ของเดือน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2540 ต่อมาวันที่ 2 ธันวาคม 2541 จำเลยชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เป็นครั้งสุดท้าย หลังจากนั้นจำเลยมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์อีก จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันที่ 17 มกราคม 2542 มิใช่ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2541
ขณะทำสัญญากู้เงิน ธนาคารโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยซึ่งเป็นลูกค้าเงินกู้รายย่อยระยะยาวในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เป็นการคิดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราตามประกาศของโจทก์ ซึ่งกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้เพียงร้อยละ 12.25 ต่อปี ข้อตกลงในส่วนดอกเบี้ยดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับเอาดอกเบี้ยตามสัญญาจากจำเลย ดังนั้น ที่ศาลชั้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์จำนวน 1,300,031.26 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 999,178.09 บาท นับถัดจากวันชำระหนี้ครั้งสุดท้ายจนกว่าจะชำระเสร็จนั้น จึงไม่ถูกต้องเพราะเงินจำนวน 1,300,031.26 บาท ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระแก่โจทก์ดังกล่าวมีดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ที่จำเลยค้างชำระตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2541 ถึงวันฟ้องจำนวน 300,399.17 บาท รวมอยู่ด้วย
โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับดอกเบี้ยตามสัญญาเพราะตกเป็นโมฆะแต่เมื่อเป็นหนี้เงินจำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เมื่อตามสัญญากู้เงินตกลงให้ชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยเป็นรายเดือนภายในทุกวันที่ 16 ของเดือน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2540 ต่อมาวันที่ 2 ธันวาคม 2541 จำเลยชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยให้แก่โจทก์เป็นครั้งสุดท้าย หลังจากนั้นจำเลยมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์อีก จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันที่ 17 มกราคม 2542 มิใช่ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2541
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 469/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับจากสัญญาประนีประนอมยอมความ: ดอกเบี้ยคิดได้เฉพาะเมื่อผิดนัด
ข้อตกลงกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์ระบุว่า หากจำเลยผิดสัญญายินยอมให้โจทก์ดำเนินคดีเรียกเงินที่ค้างชำระตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน และจำเลยยินยอมให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จากต้นเงินสุทธิค้างชำระนับแต่ผิดนัดไปจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น ข้อตกลงเช่นว่านี้ แสดงว่าถ้าจำเลยไม่ผิดนัดโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยดังกล่าวจากจำเลยดอกเบี้ยที่กำหนดไว้จึงเป็นค่าเสียหายจาการไม่ชำระหนี้ที่กำหนดไว้ล่วงหน้าจึงเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4117/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยค่าทดแทนเวนคืน: กำหนดวันจ่ายตามสัญญาและผลของการเพิ่มค่าทดแทนโดยรัฐมนตรีและศาล
ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตาม พ.ร.ฎ.ฯ กับโจทก์ได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ กันเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2536 อันเป็นกรณีที่มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้ตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ซึ่งฝ่ายจำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนตามสัญญาดังกล่าวให้แก่โจทก์ภายใน 120 วัน คือ ภายในวันที่ 29 เมษายน 2537 ตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง วันดังกล่าวนี้เป็นวันสุดท้ายที่ฝ่ายจำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินตามสัญญาดังกล่าวให้แก่โจทก์ จึงเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายตามมาตรา 26 วรรคท้าย โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยของเงินค่าทดแทนที่ดินที่รัฐมนตรีฯและศาลวินิจฉัยให้เพิ่มขึ้นนับแต่วันดังกล่าว
ส่วนเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงนั้น หากคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับให้แก่โจทก์ด้วยแล้ว ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ ผู้ดำเนินการตาม พ.ร.ฎ.ฯ กับโจทก์ก็น่าจะทำสัญญาเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนส่วนนี้ในวันเดียวกันกับที่ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ (ที่ดินที่ถูกเวนคืน) และต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนส่วนนี้ภายในวันที่ 29 เมษายน 2537 เช่นกัน แม้คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ไม่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์ แต่เมื่อรัฐมนตรีฯได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์และศาลได้วินิจฉัยเพิ่มเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์แล้ว กรณีพอถือได้ว่ารัฐมนตรีและศาลได้วินิจฉัยให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนส่วนนี้เพิ่มขึ้นตามมาตรา 26 วรรคท้าย โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินแต่ต้องไม่เกินอัตราที่โจทก์ขอด้วยในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่าย คือวันที่ 29 เมษายน 2537 เช่นกัน
ส่วนเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงนั้น หากคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับให้แก่โจทก์ด้วยแล้ว ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ ผู้ดำเนินการตาม พ.ร.ฎ.ฯ กับโจทก์ก็น่าจะทำสัญญาเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนส่วนนี้ในวันเดียวกันกับที่ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ (ที่ดินที่ถูกเวนคืน) และต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนส่วนนี้ภายในวันที่ 29 เมษายน 2537 เช่นกัน แม้คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ไม่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์ แต่เมื่อรัฐมนตรีฯได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์และศาลได้วินิจฉัยเพิ่มเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์แล้ว กรณีพอถือได้ว่ารัฐมนตรีและศาลได้วินิจฉัยให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนส่วนนี้เพิ่มขึ้นตามมาตรา 26 วรรคท้าย โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินแต่ต้องไม่เกินอัตราที่โจทก์ขอด้วยในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่าย คือวันที่ 29 เมษายน 2537 เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 410/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยผิดกฎหมาย: โจทก์ผิดนัดชำระดอกเบี้ยตามเช็ค จำเลยขอคิดดอกเบี้ยเพิ่มไม่ได้
เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คที่โจทก์สั่งจ่ายชำระหนี้แก่จำเลย โจทก์ก็ต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดคือวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน แต่โจทก์ชำระเฉพาะต้นเงินตามเช็คให้แก่จำเลยเท่านั้น ส่วนดอกเบี้ยโจทก์มิได้ชำระ และศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์รับผิดตามที่จำเลยฟ้องแย้งในส่วนของดอกเบี้ยดังกล่าว แม้เงินที่โจทก์จะต้องรับผิดจะเป็นหนี้เงินและการที่โจทก์ไม่ยอมชำระทำให้จำเลยเสียหายก็ตาม แต่หนี้ดังกล่าวก็เป็นหนี้เงินในส่วนที่เป็นดอกเบี้ยมิใช่หนี้เงินในส่วนที่เป็นต้นเงิน จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์โดยคิดเป็นดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของหนี้เงินดังกล่าวอีก เพราะมีลักษณะเป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4015/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับประกันภัยค้ำจุน: ดอกเบี้ยเริ่มนับแต่วันฟ้อง ไม่ใช่ วันทำละเมิด
จำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุน มีความผูกพันที่จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ไม่ใช่ผู้ทำละเมิดหรือต้องร่วมรับผิดกับผู้ละเมิด เมื่อกรมธรรม์เพียงแต่กำหนดวงเงินความเสียหายที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดโดยมิได้ระบุให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดเช่นเดียวกับผู้ทำละเมิด จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันที่ทำละเมิด ประกอบกับหนี้หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนมิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน และโจทก์ไม่ได้ทวงถามให้จำเลยที่ 3 ชำระหนี้ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ตกเป็นผู้ผิดนัดมาก่อนที่โจทก์จะนำคดีมาฟ้อง จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4015/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับประกันภัยค้ำจุนไม่ต้องรับผิดดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิด หากกรมธรรม์ไม่ได้ระบุให้ร่วมรับผิด
จำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุน ไม่ใช่ผู้ทำละเมิดหรือต้องร่วมรับผิดกับผู้ทำละเมิด เมื่อกรมธรรม์เพียงแต่กำหนดวงเงินความเสียหายที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดโดยมิได้ระบุให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดเช่นเดียวกับผู้ทำละเมิด จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันที่ทำละเมิด ประกอบกับหนี้หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนมิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน และโจทก์ไม่ได้ทวงถามให้จำเลยที่ 3 ชำระหนี้ จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป