พบผลลัพธ์ทั้งหมด 79 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 700/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทกฎหมายอาญาเพื่อประโยชน์จำเลย: เลือกบทที่มีโทษเบากว่าได้
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162 มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูง 7 ปี ไม่มีขั้นต่ำ ย่อมเป็นกฎหมายที่มีส่วนเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่า กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 230 ซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูง 10 ปี และคั่นต่ำ 5 ปี
การที่ศาลจะใช้ดุลยพินิจกำหนดโทษจำเลยมากน้อยเท่าใด ก็ชอบที่จะปรับบทเสียก่อนว่า ควรต้องลดโทษจำเลยด้วยบทมาตราใด ปรับบทตามกฎหมายแล้วจึงใช้ดุลยพินิจกำหนดโทษได้ภายในอัตราโทษที่บัญญัติไว้ในบทมาตรานั้น
การใช้กฎหมายที่มีส่วนเป็นคุณแก่จำเลย อันเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ย่อมเป็นผลถึงจำเลยซึ่งไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาด้วย
การที่ศาลจะใช้ดุลยพินิจกำหนดโทษจำเลยมากน้อยเท่าใด ก็ชอบที่จะปรับบทเสียก่อนว่า ควรต้องลดโทษจำเลยด้วยบทมาตราใด ปรับบทตามกฎหมายแล้วจึงใช้ดุลยพินิจกำหนดโทษได้ภายในอัตราโทษที่บัญญัติไว้ในบทมาตรานั้น
การใช้กฎหมายที่มีส่วนเป็นคุณแก่จำเลย อันเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ย่อมเป็นผลถึงจำเลยซึ่งไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 700/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทกฎหมายอาญาเพื่อประโยชน์แก่จำเลย: เลือกใช้บทที่มีอัตราโทษเบากว่า
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162 มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูง7 ปี ไม่มีขั้นต่ำ ย่อมเป็นกฎหมายที่มีส่วนเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่ากฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 230 ซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูง 10 ปีและชั้นต่ำ 5 ปี
การที่ศาลจะใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำเลยมากน้อยเท่าใดก็ชอบที่จะปรับบทเสียก่อนว่า ควรต้องลดโทษจำเลยด้วยบทมาตราใด ปรับบทตามกฎหมายแล้วจึงใช้ดุลพินิจกำหนดโทษได้ภายในอัตราโทษที่บัญญัติไว้ในบทมาตรานั้น
การใช้กฎหมายที่มีส่วนเป็นคุณแก่จำเลย อันเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ย่อมเป็นผลถึงจำเลยซึ่งไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาด้วย
การที่ศาลจะใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำเลยมากน้อยเท่าใดก็ชอบที่จะปรับบทเสียก่อนว่า ควรต้องลดโทษจำเลยด้วยบทมาตราใด ปรับบทตามกฎหมายแล้วจึงใช้ดุลพินิจกำหนดโทษได้ภายในอัตราโทษที่บัญญัติไว้ในบทมาตรานั้น
การใช้กฎหมายที่มีส่วนเป็นคุณแก่จำเลย อันเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ย่อมเป็นผลถึงจำเลยซึ่งไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1446/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลดโทษผู้กระทำผิดอายุไม่เกิน 20 ปี ตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ก.ม.ลักษณะอาญา (ฉบับที่ 14) แม้ประกาศใช้หลังเกิดเหตุ
พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ก.ม.ลักษณะอาญา (ฉะบับที่ 14) พ.ศ.2494 มาตรา 7 ที่ว่า " ผู้ใดอายุกว่าสิบเจ็ดขวบแต่ยังไม่เกินยี่สิบขวบกระทำการอันกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด ถ้าศาลเห็นสมควรจะลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ลง 1 ใน 3 หรือกึ่งหนึ่งก็ได้ " แม้ พ.ร.บ.นี้จะประกาศใช้ภายหลังการกระทำผิดของจำเลยก็ดี แต่ถ้าคดียังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล ศาลนั้นก็มีอำนาจที่จะยก พ.ร.บ.นี้ขึ้นปรับบทให้เป็นคุณแก่จำเลยได้ตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5851/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษคดียาเสพติด: โจทก์ต้องอ้างบทบัญญัติมาตรา 7 พ.ร.บ.มาตรการปราบปรามยาเสพติดในคำฟ้องจึงจะปรับบทลงโทษได้
พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 7 เป็นกฎหมายพิเศษที่กำหนดโทษให้ผู้กระทำความผิดฐานพยายามต้องระวางโทษเท่ากับความผิดสำเร็จซึ่งเป็นผลร้ายแก่จำเลยทั้งสามเนื่องจากต้องรับโทษสูงขึ้นกว่าการกระทำความผิดขั้นพยายามทั่วๆ ไป เมื่อโจทก์มิได้อ้างมาตรา 7 ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้อง ย่อมไม่อาจนำมาปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสามโดยต้องถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามบทบัญญัติมาตรานี้ ทั้งยังเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง และวรรคสี่ ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2550 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตและหลอกลวงเพื่อเรียกเงิน แม้ศาลล่างไม่ปรับบทมาตรา 157 ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทได้
จำเลยทั้งสองตรวจรับงานโครงการก่อสร้างฝายน้ำล้นคอนกรีตเสริมเหล็กบ้านหนองบัวเงิน และมีการวางฎีกาเบิกจ่ายเงินให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด น. แล้วก่อนที่จำเลยทั้งสองจะเรียกเงินจากผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงมิใช่เป็นการเรียกทรัพย์สินสำหรับตนเองเพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่ตาม ป.อ. มาตรา 149 แต่การที่จำเลยทั้งสองตรวจรับงานโครงการก่อสร้างฝายน้ำล้นคอนกรีตเสริมเหล็กบ้านหนองบัวเงินเรียบร้อยแล้วกลับมาหลอกลวงผู้เสียหายว่ายังไม่ได้ตรวจรับงานดังกล่าวเพื่อเรียกเงินจากผู้เสียหาย ย่อมเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157
ฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 157 มาด้วย และศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 แต่ไม่ปรับบทมาตราดังกล่าวโดยเห็นว่าเมื่อเป็นความผิดซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้วก็ไม่เป็นความผิดบททั่วไปอีก เป็นการไม่ถูกต้อง เพราะเมื่อศาลล่างทั้งสองฟังว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 149 อันเป็นบทเฉพาะแล้ว ที่ถูกต้องระบุว่าไม่จำต้องปรับบทตามมาตรา 157 อันเป็นบททั่วไปอีก ดังนั้น ในกรณีเช่นนี้ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจปรับบทให้ถูกต้องและลงโทษจำเลยทั้งสองตามมาตรา 157 ได้ แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา เนื่องจากเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ทั้งมิใช่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสองโดยที่โจทก์มิได้ฎีกาในทำนองนั้น
ฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 157 มาด้วย และศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 แต่ไม่ปรับบทมาตราดังกล่าวโดยเห็นว่าเมื่อเป็นความผิดซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้วก็ไม่เป็นความผิดบททั่วไปอีก เป็นการไม่ถูกต้อง เพราะเมื่อศาลล่างทั้งสองฟังว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 149 อันเป็นบทเฉพาะแล้ว ที่ถูกต้องระบุว่าไม่จำต้องปรับบทตามมาตรา 157 อันเป็นบททั่วไปอีก ดังนั้น ในกรณีเช่นนี้ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจปรับบทให้ถูกต้องและลงโทษจำเลยทั้งสองตามมาตรา 157 ได้ แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา เนื่องจากเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ทั้งมิใช่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสองโดยที่โจทก์มิได้ฎีกาในทำนองนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16075/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิด พ.ร.บ.เลือกตั้ง: การแจ้งเท็จต่อ กกต. และการปรับบทความผิด
จำเลยร้องคัดค้านการเลือกตั้งต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดนครพนม กล่าวหาโจทก์ทั้งสองกระทำความผิดต่อกฎหมายเลือกตั้งโดยให้ตัวแทนจ่ายเงินให้แก่ ว. และ บ. เป็นการตอบแทนที่ไปฟังโจทก์ทั้งสองปราศรัยหาเสียงเพื่อลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่โจทก์ทั้งสอง เพื่อให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของโจทก์ทั้งสอง และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ซึ่งเป็นการกระทำคราวเดียวกัน แม้ผลจะเกิดกับโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 ซึ่งได้รับการเลือกตั้งคนละตำแหน่งกันก็เป็นความผิดกระทงเดียว
ตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 114 วรรคสาม แบ่งเป็นสี่วรรค วรรคหนึ่ง เป็นความผิดที่กระทำการอันเป็นเท็จ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจผิดว่าผู้สมัครผู้ใดกระทำการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.นี้ วรรคสอง ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการกลั่นแกล้งให้ผู้สมัครนั้นถูกเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง ส่วนวรรคสาม ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการแจ้งหรือให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งตามกฎหมายดังกล่าวกำหนดโทษและให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งแก่ผู้กระทำความผิดหนักเบาแตกต่างกัน สำหรับคณะกรรมการการเลือกตั้งนั้นตามมาตรา 4 ให้คำนิยามหมายความว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 หมวดที่ 1 คณะกรรมการการเลือกตั้ง มาตรา 6 คณะกรรมการการเลือกตั้งตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญมีองค์ประกอบตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ที่ใช้บังคับในขณะเกิดเหตุ หมวด 11 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ส่วนที่ 1 องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ 1. คณะกรรมการการเลือกตั้ง มาตรา 229 คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกสี่คน ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง หมายถึงคณะกรรมการการเลือกตั้งที่อยู่ในส่วนกลาง หรือกรุงเทพมหานคร ส่วนคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดมิได้อยู่ในความหมายคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งการกระทำของจำเลยต้องปรับบทความผิดตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 114 วรรคสอง
ตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 114 วรรคสาม แบ่งเป็นสี่วรรค วรรคหนึ่ง เป็นความผิดที่กระทำการอันเป็นเท็จ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจผิดว่าผู้สมัครผู้ใดกระทำการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.นี้ วรรคสอง ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการกลั่นแกล้งให้ผู้สมัครนั้นถูกเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง ส่วนวรรคสาม ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการแจ้งหรือให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งตามกฎหมายดังกล่าวกำหนดโทษและให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งแก่ผู้กระทำความผิดหนักเบาแตกต่างกัน สำหรับคณะกรรมการการเลือกตั้งนั้นตามมาตรา 4 ให้คำนิยามหมายความว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550 หมวดที่ 1 คณะกรรมการการเลือกตั้ง มาตรา 6 คณะกรรมการการเลือกตั้งตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญมีองค์ประกอบตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ที่ใช้บังคับในขณะเกิดเหตุ หมวด 11 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ส่วนที่ 1 องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ 1. คณะกรรมการการเลือกตั้ง มาตรา 229 คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกสี่คน ดังนั้น จึงเห็นได้ว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง หมายถึงคณะกรรมการการเลือกตั้งที่อยู่ในส่วนกลาง หรือกรุงเทพมหานคร ส่วนคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดมิได้อยู่ในความหมายคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งการกระทำของจำเลยต้องปรับบทความผิดตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 114 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15315/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมเอกสารสิทธิเพื่อขอสินเชื่อธนาคาร ผู้เสียหายมีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์ และการปรับบทมาตรา 265
มีผู้ปลอมสัญญาจะซื้อจะขายโดยมีการปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมในฐานะผู้จะขายแล้วนำเอกสารปลอมดังกล่าวไปใช้ติดต่อขอกู้เงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ย่อมทำให้โจทก์ร่วมได้รับความเสียหายฐานปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม โจทก์ร่วมย่อมเป็นผู้เสียหายมีอำนาจยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้
ความผิดฐานใช้เอกสารปลอมตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบด้วยเอกสารหลายประเภท ดังที่บัญญัติว่า "ผู้ใดใช้หรืออ้างเอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตามมาตรา 264 มาตรา 265 มาตรา 266 หรือมาตรา 267 ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ" เมื่อเอกสารที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ใช้เป็นเอกสารสิทธิอันเกิดจากการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 265 จึงต้องปรับบทและนำโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 265 มาใช้บังคับแก่คดี ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 83 ให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 265 นั้น จึงเป็นการไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและปรับบทกฎหมายให้ถูกต้อง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ความผิดฐานใช้เอกสารปลอมตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบด้วยเอกสารหลายประเภท ดังที่บัญญัติว่า "ผู้ใดใช้หรืออ้างเอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตามมาตรา 264 มาตรา 265 มาตรา 266 หรือมาตรา 267 ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ" เมื่อเอกสารที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ใช้เป็นเอกสารสิทธิอันเกิดจากการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 265 จึงต้องปรับบทและนำโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 265 มาใช้บังคับแก่คดี ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 83 ให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 265 นั้น จึงเป็นการไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและปรับบทกฎหมายให้ถูกต้อง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13093/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดหลายกรรม และการปรับบท ป.อ. มาตรา 91 เพื่อเรียงกระทงลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน และบรรยายฟ้องต่อไปแยกการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองที่กระทำต่อผู้เสียหายแต่ละคนเป็นข้อๆ ถือว่าโจทก์ฟ้องประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทั้งสองทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป เมื่อจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพตามฟ้อง ย่อมหมายความว่าจำเลยทั้งสองรับว่ากระทำความผิดหลายกรรมต่างกันตามที่โจทก์บรรยายฟ้อง
ศาลชั้นต้นเรียงกระทงลงโทษโดยมิได้ปรับบทตาม ป.อ. มาตรา 91 และศาลอุทธรณ์ภาค 4 มิได้แก้ไขเป็นการมิชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 ประกอบด้วยมาตรา 225
ศาลชั้นต้นเรียงกระทงลงโทษโดยมิได้ปรับบทตาม ป.อ. มาตรา 91 และศาลอุทธรณ์ภาค 4 มิได้แก้ไขเป็นการมิชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8029/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพนักงานเบียดบังทรัพย์ในหน่วยงานรัฐ: การปรับบทและขอบเขตความผิดตามกฎหมายอาญา
จำเลยเป็นพนักงานบัญชีระดับ 5 ประจำแผนกบัญชีและการเงินของสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นหน่วยงานของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา คงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 เมื่อจำเลยเป็นพนักงานเบียดบังตัวทรัพย์ที่อยู่ในหน้าที่คือเอาทรัพย์นั้นเองเป็นประโยชน์ของตนหรือผู้อื่นโดยทุจริต ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต จำเลยจึงมีความผิดตามมาตรา 4, 11 และไม่ผิดมาตรา 8 เพราะไม่เป็นการที่จำเลยใช้อำนาจหน้าที่โดยทุจริตหาประโยชน์อื่นนอกเหนือจากตัวทรัพย์นั้น โดยมิได้เอาทรัพย์นั้นไป ปัญหาเรื่องการปรับบทลงโทษจำเลยเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้เสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9323/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความและบทลงโทษ: การปรับบทกฎหมายที่แก้ไขใหม่ในคดีเลือกตั้ง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 52 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิด มีบทกำหนดโทษตามมาตรา 88 ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดห้าปี แต่กฎหมายที่ใช้ภายหลังกระทำความผิด คือ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 17 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 มาตรา 20 ยังคงบัญญัติให้การกระทำตามฟ้องเป็นความผิดอยู่และมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 101 และมาตรา 137 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับตามลำดับ ซึ่งมีระวางโทษเท่ากัน คือ จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี กฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดจึงเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่า แต่เมื่อกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิด มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี คดีความผิดฐานดังกล่าวจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (3) คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดนับถึงวันฟ้องเกินกว่า 10 ปี แล้ว คดีของโจทก์ในข้อหาดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) ชอบที่ศาลจะต้องยกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดข้อหาดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง
ส่วนโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 51 ซึ่งมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 93 ทวิ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี ส่วน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 71 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 มาตรา 83 ยังคงบัญญัติให้การกระทำตามฟ้องเป็นความผิดอยู่ และมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 101 และมาตรา 137 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับตามลำดับ ซึ่งมีระวางโทษเท่ากัน คือ จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี โทษปรับตามกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดเป็นคุณกว่าโทษปรับตามกฎหมายที่ใช้ภายหลัง แต่โทษจำคุกตามกฎหมายที่ใช้ภายหลังเป็นคุณกว่าโทษจำคุกตามกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิด จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 วรรคแรก
ปัญหาเรื่องอายุความและการปรับบทลงโทษเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ส่วนโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 51 ซึ่งมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 93 ทวิ ระวางโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี ส่วน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 71 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 มาตรา 83 ยังคงบัญญัติให้การกระทำตามฟ้องเป็นความผิดอยู่ และมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 101 และมาตรา 137 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับตามลำดับ ซึ่งมีระวางโทษเท่ากัน คือ จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดสิบปี โทษปรับตามกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดเป็นคุณกว่าโทษปรับตามกฎหมายที่ใช้ภายหลัง แต่โทษจำคุกตามกฎหมายที่ใช้ภายหลังเป็นคุณกว่าโทษจำคุกตามกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิด จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 วรรคแรก
ปัญหาเรื่องอายุความและการปรับบทลงโทษเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225