พบผลลัพธ์ทั้งหมด 382 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาแก้ไขเปลี่ยนแปลงจำนวนเงิน ไม่กระทบผลผูกพันเดิมของการกู้ยืม
จำเลยทำหนังสือสัญญากู้ยืมฉบับพิพาทจากโจทก์ 30,000 บาทต่อมาโจทก์แก้ไขจำนวนเงินในสัญญาเป็น 60,000 บาท โดยไม่เป็นความจริงแล้วโจทก์นำสัญญานั้นมาฟ้อง ดังนี้ เมื่อปรากฏว่า สัญญากู้ยืมฉบับพิพาทจำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ กู้ยืมเงินโจทก์ 30,000 บาท เป็นหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือซึ่งจำเลยต้องรับผิด แม้ภายหลังโจทก์แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้ให้สูงขึ้น จึงทำให้สัญญากู้ยืมเงินฉบับพิพาทเป็นเอกสารปลอม ก็ไม่ทำให้หลักฐานการกู้ยืมเงินที่ทำไว้แต่เดิมและมีผลสมบูรณ์อยู่แล้วต้องเสียไป ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยรับผิดตามจำนวนเงินเท่าที่จำเลยกู้ไปจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3381/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งทนายความโดยลายพิมพ์นิ้วมือไม่สมบูรณ์ การแก้ไขคำฟ้อง และการดำเนินคดีแทนโจทก์
ลายพิมพ์นิ้วมือของโจทก์ผู้แต่งทนายความในใบแต่งทนายความมีบุคคลเพียงคนเดียวรับรองลายพิมพ์นิ้วมือ ย่อมไม่เสมอกับลงลายมือชื่อ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 9 วรรคสอง มีผลเท่ากับการแต่งตั้งทนายความของโจทก์ยังบกพร่องไม่สมบูรณ์ทนายความผู้นั้นจึงยังไม่มีอำนาจทำการแทนในฐานะทนายความของโจทก์ และไม่มีอำนาจลงลายมือชื่อในช่องโจทก์ท้ายคำฟ้องแทนโจทก์ได้ เท่ากับคำฟ้องไม่มีลายมือชื่อโจทก์ กรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งให้ทำมาใหม่หรือแก้ไขเพิ่มเติมได้ ตามป.วิ.พ.มาตรา 18 วรรคสอง และการแก้ไขเพิ่มเติมนี้อาจกระทำได้หลายประการเช่น ให้โจทก์มาลงลายมือชื่อในช่องโจทก์ท้ายคำฟ้อง หรือในช่องผู้แต่งทนายความในใบแต่งทนายความ หรือให้ผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์จัดให้ผู้รู้เห็นการพิมพ์ลายนิ้วมือของโจทก์ในใบแต่งทนายความมาลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือดังกล่าว
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในคำฟ้องโดยให้ตัวโจทก์มาลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความต่อหน้าศาล แต่ตัวโจทก์ได้ถึงแก่กรรมเสียก่อน แต่เมื่อมีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์แล้ว บุคคลดังกล่าวย่อมมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาแทนโจทก์ได้ รวมทั้งมีอำนาจแก้ไขข้อบกพร่องของใบแต่งทนายแทนโจทก์ด้วย นอกจากนี้ผู้เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ยังได้แต่งตั้งทนายความคนเดียวกันกับที่โจทก์แต่งตั้งไว้ จึงเป็นผลให้ทนายความผู้นั้นมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้แทนโจทก์ได้ และทำให้คำฟ้องคดีนี้มีลายมือชื่อของทนายความผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์มาตั้งแต่ต้นโดยไม่จำเป็นต้องให้ทนายความผู้นี้ลงลายมือชื่อในช่องโจทก์ท้ายคำฟ้องอีกคำฟ้องโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 18 และ 67 (5) ที่ศาลชั้นต้นจะต้องรับไว้พิจารณา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องในคำฟ้องโดยให้ตัวโจทก์มาลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความต่อหน้าศาล แต่ตัวโจทก์ได้ถึงแก่กรรมเสียก่อน แต่เมื่อมีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์แล้ว บุคคลดังกล่าวย่อมมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาแทนโจทก์ได้ รวมทั้งมีอำนาจแก้ไขข้อบกพร่องของใบแต่งทนายแทนโจทก์ด้วย นอกจากนี้ผู้เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ยังได้แต่งตั้งทนายความคนเดียวกันกับที่โจทก์แต่งตั้งไว้ จึงเป็นผลให้ทนายความผู้นั้นมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้แทนโจทก์ได้ และทำให้คำฟ้องคดีนี้มีลายมือชื่อของทนายความผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์มาตั้งแต่ต้นโดยไม่จำเป็นต้องให้ทนายความผู้นี้ลงลายมือชื่อในช่องโจทก์ท้ายคำฟ้องอีกคำฟ้องโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 18 และ 67 (5) ที่ศาลชั้นต้นจะต้องรับไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2227/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอม ทางจำเป็น ความถูกต้องของระยะทางในคำพิพากษา
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่า ทางพิพาทยาวประมาณ 400 เมตร ทางด้านทิศตะวันออกของที่ดินของจำเลยขนานตลอดแนวยาวจากทางด้านทิศเหนือมาทางด้านทิศใต้บนที่ดินของจำเลย เป็นภาระจำยอมและทางจำเป็นของที่ดินโจทก์ ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ ทั้งที่ความยาวของที่ดินของจำเลยมีความยาวเพียงประมาณ 27 เมตร เท่านั้น คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองในส่วนนี้ถือได้ว่าเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไขให้ถูกต้อง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 143 โดยให้ตัดข้อความที่ว่ายาวประมาณ 400 เมตร ออกจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1683/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพ.ร.บ.อาวุธปืน: การจำกัดโทษฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน การแก้ไขโทษที่ศาลล่างพิพากษาผิด
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 7,72 วรรคหนึ่งและวรรคสองให้ลงโทษตามมาตรา 72 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดย่อมไม่ถูกต้อง เพราะความผิดตามมาตรา 72 วรรคสองต้องเป็นเพียงกรณีมีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยมิได้รับใบอนุญาตเท่านั้น แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยมิได้รับใบอนุญาต การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามมาตรา 7,72 วรรคหนึ่ง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่าในความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยมิได้รับใบอนุญาตจำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯมาตรา 7,72 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1427/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อผิดพลาดในคำพิพากษาศาลแรงงาน: แก้ไขจำนวนเงินค่าจ้างค้างจ่ายจากความผิดพลาดในการเขียน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ21,500 บาท ในการทำงานตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2540 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม2540 โจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างเป็นเงิน 86,000 บาท แต่จำเลยจ่ายค่าจ้างให้เพียง 7,200 บาท ยังคงค้างจ่ายอีกเป็นเงิน 78,800 บาท โจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่ยอมจ่าย ดังนี้คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายไว้อย่างชัดแจ้งว่า โจทก์มีสิทธิได้รับค่าจ้างระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2540 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2540 เป็นเวลา 4เดือน รวมเป็นเงิน 86,000 บาท จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์แล้ว 7,200 บาท คงค้างอีก 78,800 บาท และเงินจำนวนที่ค้างอยู่นี้โจทก์บรรยายฟ้องยืนยันว่าได้ทวงถามแล้วซึ่งแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์ว่าประสงค์จะได้รับเงินจำนวนดังกล่าว หาใช่ต้องการได้รับเพียงจำนวน 7,880 บาท ตามที่ระบุในคำขอท้ายคำฟ้องไม่ เหตุที่คำขอท้ายคำฟ้องระบุจำนวนเงินไว้ 7,880 บาท จึงเกิดจากความพลั้งเผลอเขียนตัวเลขผิดพลาดไป เป็นเหตุให้ศาลแรงงานพิพากษาให้โจทก์ได้รับเงิน 7,880 บาท ผิดพลาดตามไปด้วยอันเป็นกรณีคำพิพากษามีข้อผิดพลาดเล็กน้อย และคู่ความไม่ได้อุทธรณ์ โจทก์จึงชอบที่จะร้องขอให้ศาลแรงงานมีคำสั่งแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นให้ถูกต้องได้ โดยแก้ไขจำนวนเงินในคำพิพากษาจาก 7,880 บาท เป็น 78,800 บาท ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 143ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6879/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษในคดีเกี่ยวกับยาเสพติดและการห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคหนึ่ง, 67 เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ.มาตรา 90 จำคุกจำเลย 5 ปี เพิ่มโทษจำเลยกึ่งหนึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 97 คงจำคุก 7 ปี 6 เดือน คำขอนอกจากนั้นให้ยก ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ไม่เพิ่มโทษกึ่งหนึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 97 ริบของกลาง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้เพิ่มโทษจำเลย เป็นไม่เพิ่มโทษกับให้ริบของกลางเท่านั้น โดยมิได้แก้บทมาตราแห่งความผิดตามฟ้อง จึงเป็นการแก้เฉพาะในเรื่องโทษ อันเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดเดิมไม่เกิน 5 ปี จำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6828/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินจากการครอบครองทำประโยชน์ต่อเนื่องและการแก้ไข น.ส.3 ก. เมื่อออกทับที่ดินเดิม
โจทก์ได้รับการยกให้ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่าจากบิดาโจทก์ และได้ครอบครองทำนาในที่ดินพิพาทตลอดมาตั้งแต่ปี 2515 และเพิ่งมีเหตุพิพาทกับจำเลยในปี 2536เว้นไม่ได้ทำปี 2522 และโจทก์เป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่ของที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทจึงเป็นของโจทก์ โจทก์ฟ้องว่า จำเลยออก น.ส.3 ก. ทับที่ดินพิพาทเนื้อที่ประมาณ 12 ไร่ แต่ทางพิจารณาได้ความว่า ตาม น.ส.3 ก. ดังกล่าวยังคลุมถึงที่ดินของจำเลยด้วย และการเพิกถอน น.ส.3 ก. ต้องเพิกถอนทั้งฉบับ ซึ่งย่อมกระทบ ถึงสิทธิของจำเลยในส่วนที่ดินที่เป็นของจำเลย จึงไม่มีเหตุเพิกถอน น.ส.3 ก. ฉบับดังกล่าวได้ แต่เมื่อศาลฎีกา ฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ และ น.ส.3 ก. ของจำเลย ออกทับที่ดินพิพาท จำเลยต้องแก้ไข น.ส.3 ก. ฉบับดังกล่าว ให้มีผลคลุมเฉพาะที่ดินของจำเลยเท่านั้น การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอน น.ส.3 ก. เฉพาะส่วนที่ทับที่ดินพิพาท ย่อมมีผลทำนองเดียวกับการแก้ไข น.ส.3 ก. ไม่ให้มีผลคลุมถึงที่ดินพิพาท คงให้มีผลคลุมถึงเฉพาะที่ดินส่วนของจำเลยเท่านั้น ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้จำเลยไปขอแก้ไขได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6466/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้องอุทธรณ์ที่ผิดรูปแบบ และอำนาจศาลในการย้อนสำนวนเพื่อแก้ไขกระบวนการ
ฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่ทนายความลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์โดยที่จำเลยยังมิได้ยื่นใบแต่งทนายความตั้งทนายความผู้นั้นเป็นทนายจำเลยเท่ากับเป็นฟ้องอุทธรณ์ที่ยังมิได้ลงลายมือชื่อจำเลยผู้อุทธรณ์ จึงเป็นฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ถูกต้องในส่วนที่เป็นรูปแบบซึ่งสามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยแก้ไขฟ้องอุทธรณ์ให้ถูกต้องเสียก่อน ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 161 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นกลับสั่งรับฟ้องอุทธรณ์ของจำเลย และศาลอุทธรณ์พบข้อผิดพลาดในการดำเนินกระบวนพิจารณาของคู่ความและศาลชั้นต้นดังกล่าวแล้ว ก็ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาให้ถูกต้องได้ ด้วยการให้จำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์หรือยื่นใบแต่งทนายความตั้งทนายความที่ลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์เป็นทนายจำเลย และกรณีนี้ก็หาได้ล่วงเลยเวลาที่ควรปฏิบัติไม่ ทั้งไม่ต้องด้วยความยุติธรรมที่จะให้จำเลยเสียสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาในชั้นอุทธรณ์อันเนื่องมาแต่ข้อผิดพลาดในการดำเนินกระบวนพิจารณาของคู่ความและศาลชั้นต้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์จำเลยเพราะเหตุที่จำเลยมิได้ยื่นใบแต่งทนายความจำเลย ย่อมเป็นการไม่ชอบ ประกอบกับคดีนี้จำเลยอุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษ และผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยต่อไป จึงมีเหตุสมควร ให้ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้จำเลยแก้ไขฟ้องอุทธรณ์ให้ถูกต้อง แล้วดำเนินการต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5393/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำขอ – จำเลยไม่ได้ขอให้ลงโทษ แต่ศาลลงโทษ – ศาลฎีกาแก้ไข
โจทก์มิได้ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตาม ป.อ.มาตรา 371การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามบทกฎหมายมาตราดังกล่าวเป็นการพิพากษาเกินคำขอ และศาลอุทธรณ์มิได้แก้ไข จึงไม่ชอบ แม้จำเลยที่ 1 มิได้ฎีกาแต่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4306/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขสภาพการจ้างชั่วคราวต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ โดยต้องแจ้งข้อเรียกร้องและเจรจา
แม้การแก้ไขเปลี่ยนแปลงวันเวลาทำงานของจำเลยเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสภาพการจ้างเพียงชั่วคราวก็ตาม กรณีก็ต้องอยู่ภายใต้บังคับของพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 13 มาตรา 16 และมาตรา 18กล่าวคือ จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างต้องแจ้งข้อเรียกร้องเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบและทั้งสองฝ่ายต้องเจรจากันภายใน 3 วัน นับแต่วันที่ได้รับข้อเรียกร้อง หากเป็นที่ตกลงกันก็ต้องทำข้อตกลงเป็นหนังสือลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่าย ทั้งต้องปิดประกาศข้อตกลงดังกล่าวและนำไปจดทะเบียนตามกฎหมายดังกล่าวด้วย จึงจะถือว่าเป็นการแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ชอบด้วยกฎหมาย
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงจากโจทก์และจำเลยรวบรัดเกินไป จำเลยจึงไม่สามารถชี้แจงข้อเท็จจริง และส่งเอกสารประกอบได้ทั้งหมด ทำให้การรับฟังข้อเท็จจริงไม่สมบูรณ์และครบถ้วน เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ขัดต่อวิธีพิจารณา สมควรที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่นั้น เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจการงดสืบพยานและการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงจากโจทก์และจำเลยรวบรัดเกินไป จำเลยจึงไม่สามารถชี้แจงข้อเท็จจริง และส่งเอกสารประกอบได้ทั้งหมด ทำให้การรับฟังข้อเท็จจริงไม่สมบูรณ์และครบถ้วน เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ขัดต่อวิธีพิจารณา สมควรที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่นั้น เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจการงดสืบพยานและการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง