คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รอการลงโทษ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 620 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3716/2567

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาชอบด้วยกฎหมายเมื่อศาลขยายเวลาให้ยื่นคำร้องอนุญาตฎีกาได้ และศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจรอการลงโทษจำคุกได้
โจทก์ร่วมยื่นฎีกาพร้อมคำร้องขออนุญาตฎีกาเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2566 ภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้ ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องขออนุญาตฎีกาว่า พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า คดีนี้เป็นคดีที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 มิใช่เป็นกรณีที่ต้องขออนุญาตฎีกาต่อศาลฎีกา แต่เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเห็นสมควรให้โจทก์ร่วมดำเนินการยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาให้ถูกต้องภายใน 15 วัน มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ร่วมทิ้งคำร้อง อันเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรขยายระยะเวลายื่นฎีกาออกไปอีก 15 วัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 19 สิงหาคม 2566 โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขออนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงอันเป็นคำร้องที่ถูกต้องวันที่ 18 สิงหาคม 2566 ภายในกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้ เมื่อผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง คำสั่งรับฎีกาโจทก์ร่วมของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959/2567

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฆ่าโดยบันดาลโทสะจากเหตุลักทรัพย์ ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนและให้รอการลงโทษ
ผู้ตายและผู้เสียหายเข้ามาลักผลปาล์มในสวนของบุตรชายจำเลย การลักทรัพย์เป็นการประทุษร้ายต่อทรัพย์สินและเป็นการละเมิดต่อสิทธิในความเป็นเจ้าของทรัพย์ เป็นการกระทำที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน โดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของผู้อื่น ไม่เป็นธรรมต่อเจ้าของผลผลิตและผู้เกี่ยวข้องที่ต้องลงทุนลงแรง เมื่อจำเลยมีหน้าที่เฝ้าดูแลสวนป่าให้บุตรชายมาพบเห็นการกระทำของผู้ตายและผู้เสียหายซึ่งหน้า ย่อมต้องเกิดโทสะและมีอำนาจที่จะปกป้องติดตามจับกุมผู้ตายและผู้เสียหายเพื่อนำทรัพย์สินคืนมาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 79 แม้จะได้ความว่าจำเลยตะโกนบอกให้ผู้ตายและผู้เสียหายหยุด โดยผู้ตายและผู้เสียหายได้ทิ้งผลปาล์มที่ลักมาแล้วและพยายามหลบหนีออกจากที่เกิดเหตุ แต่ผู้ตายและผู้เสียหายไม่ยอมหยุดกลับรีบขับรถจักรยานยนต์หลบหนีโดยมิได้รู้สำนึกในการกระทำผิดของตน ย่อมต้องสร้างความไม่พอใจและก่อให้เกิดโทสะแก่จำเลยยิ่งขึ้นจนเป็นเหตุให้จำเลยจำต้องใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและผู้เสียหาย ซึ่งโทสะของจำเลยนี้ยังคงมีอยู่ต่อเนื่องตราบเท่าที่บุคคลทั้งสองยังพยายามหลบหนี การใช้อาวุธปืนยิงของจำเลยในขณะที่ถูกข่มเหงรังแกจากการถูกผู้ตายและผู้เสียหายเข้ามาลักทรัพย์และมีโทสะอยู่เช่นนี้ จึงนับเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2659/2567

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิดฉ้อโกงประชาชนและพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ การพิสูจน์การกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน และการลดโทษรอการลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยโดยทุจริตหลอกลวงผู้เสียหายด้วยการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จผ่านทางโปรแกรมเฟซบุ๊กตามฟ้อง เสนอขายสินค้าซึ่งความจริงแล้วจำเลยไม่มีเจตนาขายสินค้าดังกล่าวทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินค่าสินค้าให้แก่จำเลย แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องกล่าวหาด้วยว่าเป็นการหลอกลวงเสนอขายสินค้าต่อประชาชนอันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 343 และไม่ได้บรรยายว่าการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวนั้นน่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน ส่วนบัญชีเฟซบุ๊กตามฟ้อง โจทก์ก็ไม่บรรยายว่าเฟซบุ๊กดังกล่าวเปิดเป็นสาธารณะที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ อันจะถือได้ว่าเป็นการหลอกลวงประชาชน และการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จดังกล่าวน่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน โจทก์จึงบรรยายฟ้องไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตาม ป.อ. มาตรา 343 และฐานนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 วรรคหนึ่ง (1) จึงไม่อาจลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 343 และปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 วรรคหนึ่ง (1) ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ได้ฎีกาปัญหานี้มา ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่พฤติการณ์การกระทำความผิดของจำเลยตามฟ้องเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 และฐานนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จอันเป็นการกระทำต่อบุคคลใดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 วรรคสอง ซึ่งจำเลยให้การรับสารภาพ ย่อมลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวได้
การกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ. มาตรา 91 ไม่ได้บัญญัติว่าการกระทำหลายกรรมนั้นจะเกิดขึ้นในวาระเดียวกันไม่ได้ การกระทำในวันและเวลาเดียวกันหรือต่อเนื่องในคราวเดียวกันก็อาจจะเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันได้ คดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ตามฟ้องว่าจำเลยหลอกลวงโดยการส่งข้อความเสนอขายสินค้าให้แก่ผู้เสียหายผ่านทางบัญชีเฟซบุ๊กตามฟ้องรวม 2 ครั้ง และผู้เสียหายซื้อสินค้าต่างชนิดกัน 2 ครั้ง เป็นการหลอกลวงผู้เสียหายเพื่อให้ได้เงินจากผู้เสียหายในการซื้อสินค้าต่างชนิดกันรวม 2 ครั้ง จึงเป็นความผิด 2 กรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2515/2567 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักเกณฑ์การรอการลงโทษจำคุกตาม ป.อ. มาตรา 56 วรรคหนึ่ง (2) พิจารณาโทษจำคุกสุทธิก่อนบวกโทษคดีอื่น
หลักเกณฑ์การรอการลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 56 วรรคหนึ่ง (2) ต้องพิจารณาโทษจำคุกในความผิดที่ได้กระทำในคดีนั้น ๆ ว่าต้องคำพิพากษาให้จำคุกเกิน 6 เดือนหรือไม่ ซึ่งหมายถึงโทษจำคุกสุทธิก่อนบวกโทษที่รอการลงโทษในคดีอื่นเท่านั้น ดังนั้น เมื่อคดีก่อนศาลลงโทษจำเลยที่ 5 ให้จำคุกไม่เกิน 6 เดือน แม้ศาลคดีก่อนจะนำโทษจำคุกของจำเลยที่ 5 ที่รอการลงโทษไว้ในคดีอื่นมาบวกคดีละ 4 เดือน เป็นจำคุก 14 เดือน ก็ยังถือว่าอยู่ในเงื่อนไขหลักเกณฑ์ที่จะรอการลงโทษจำคุกตาม ป.อ. มาตรา 56 วรรคหนึ่ง (2) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2515/2567

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เกณฑ์รอการลงโทษมาตรา 56: พิจารณาโทษจำคุกสุทธิก่อนบวกโทษคดีอื่น
หลักเกณฑ์การรอการลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 56 วรรคหนึ่ง (2) ต้องพิจารณาโทษจำคุกในความผิดที่ได้กระทำในคดีนั้น ๆ ว่าต้องคำพิพากษาให้จำคุกเกิน 6 เดือนหรือไม่ ซึ่งหมายถึงโทษจำคุกสุทธิก่อนบวกโทษที่รอการลงโทษในคดีอื่นเท่านั้น ดังนั้น เมื่อคดีก่อนศาลลงโทษจำเลยที่ 5 ให้จำคุกไม่เกิน 6 เดือน แม้ศาลคดีก่อนจะนำโทษจำคุกของจำเลยที่ 5 ที่รอการลงโทษไว้ในคดีอื่นมาบวกคดีละ 4 เดือน เป็นจำคุก 14 เดือน ก็ยังถือว่าอยู่ในเงื่อนไขหลักเกณฑ์ที่จะรอการลงโทษจำคุกตาม ป.อ. มาตรา 56 วรรคหนึ่ง (2) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2086/2567

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อความเท็จเพื่อจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัท ไม่ถึงขั้นใช้เอกสารเท็จ ศาลฎีกาแก้โทษปรับและรอการลงโทษ
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยว่าจำเลยมอบอำนาจให้ ม. ยืนคำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมกรรมการของบริษัท ด. โดยมีกรรมการเข้าใหม่ 1 คน คือ พ. และกรรมการออกจากตำแหน่ง 2 คน คือ โจทก์ทั้งสองแสดงว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นเพียงแต่แจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อนายทะเบียน เพื่อให้จดข้อความอันเป็นเท็จนั้นลงในทะเบียนสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดสมุทรสงครามเท่านั้น มิใช่เป็นเรื่องการนำเอกสารทางทะเบียนอันจดข้อความเท็จดังกล่าวไปใช้แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยตามที่โจทก์กล่าวมาในคำฟ้อง จึงไม่เป็นความผิดฐานใช้เอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชนหรือเอกสารราชการตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคหนึ่ง มาตรา 267 ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 7 วินิจฉัยมาในปัญหาข้อนี้ถูกต้องแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 911/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดหลายกรรม การลงโทษตามกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุด และการรอการลงโทษ
จำเลยที่ 1 ฎีกาทำนองว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้อง อันเป็นการขัดแย้งกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 1 จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมาตรา 252 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าบ้านจัดให้มีการเล่นพนันสนุกเกอร์ โดยไม่ได้รับอนุญาต และจำเลยทั้งยี่สิบเอ็ดร่วมกันเล่นพนันสนุกเกอร์ ซึ่งสภาพแห่งการกระทำผิดของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำที่มีเจตนาแยกต่างหากจากกันได้ และเป็นความผิดอยู่ในตัวเองไม่เกี่ยวข้องกัน เมื่อจำเลยที่ 1 จัดให้มีการเล่น จึงเป็นความผิดสำเร็จไปแล้วกรรมหนึ่ง และเมื่อจำเลยที่ 1 เข้าร่วมเล่นการพนันสนุกเกอร์ด้วย อันมีเจตนาเข้าพนันเอาเงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นกับผู้ร่วมเล่นคนอื่น จึงเป็นความผิดสำเร็จอีกกรรมหนึ่ง การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงมีความผิดหลายกรรมต่างกัน
ความผิดตาม พ.ร.บ.การพนันและความผิดตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน จำเลยทั้งยี่สิบเอ็ดมีเจตนาเพื่อร่วมกันเล่นการพนันซึ่งเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน อันเป็นเจตนาเดียวกัน การกระทำของจำเลยทั้งยี่สิบเอ็ดจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท มิใช่หลายกรรมต่างกัน ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน จึงเป็นการไม่ชอบ จำเลยที่ 1 จัดให้มีการเล่นพนันและร่วมเล่นการพนันก็เป็นความผิดตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในแต่ละฐานความผิดด้วย แต่เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทในแต่ละฐานความผิดดังกล่าว กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 และกรณีเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ถึงที่ 21 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213, 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 เมื่อลงโทษบทหนักตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน จึงไม่อาจจ่ายสินบนนำจับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 745/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาโทษจำคุกหลังรับสารภาพ และดุลพินิจศาลในการรอการลงโทษ
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง มิได้ถือเอาอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายบัญญัติเป็นข้อสำคัญแต่ถือเอาอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปเป็นเกณฑ์ กล่าวคือในความผิดฐานใดที่มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป หรือความผิดที่มีโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือโทษประหารชีวิตสถานเดียว แม้จำเลยให้การรับสารภาพ กฎหมายก็บังคับให้ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงจึงจะพิพากษาลงโทษจำเลยได้ คดีนี้เมื่อข้อหาความผิดตามที่โจทก์ฟ้องมีอัตราโทษอย่างสูงจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีหกเดือนถึงสิบปีหกเดือน ถึงแม้โทษจำคุกสิบปีหกเดือนนี้จะเป็นโทษที่หนักกว่าโทษจำคุกห้าปีแต่ก็เป็นอัตราโทษอย่างสูง ส่วนอัตราโทษอย่างต่ำในความผิดฐานนี้ให้จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีหกเดือนขึ้นไป ซึ่งศาลอาจลงโทษจำคุกจำเลยต่ำกว่าโทษจำคุกสิบปีหกเดือนลงมาจนถึงจำคุกหนึ่งปีหกเดือนก็ได้ การที่ศาลชั้นต้นวางโทษจำคุกจำเลย 6 ปี แล้วลดโทษให้กึ่งหนึ่งเนื่องจากจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง จึงพิพากษาลงโทษจำคุก 3 ปี โดยไม่ได้สืบพยานโจทก์ประกอบคำให้การรับสารภาพของจำเลยนั้น ย่อมชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ส่วนที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษนั้น แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งไม่รับฎีกาข้อนี้ของจำเลยเนื่องจากเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่เมื่อศาลฎีกาได้รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยข้ออื่นในปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาด้วยว่าโทษที่ศาลอุทธรณ์ลงโทษแก่จำเลยนั้นเหมาะสมหรือไม่ เพียงใด และมีเหตุรอการลงโทษให้แก่จำเลยหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3546/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษ ต้องกระทำผิดภายในระยะเวลาที่รอการลงโทษเท่านั้น
ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก บัญญัติว่า "เมื่อความปรากฏแก่ศาลเอง หรือความปรากฏตามคำแถลงของโจทก์หรือเจ้าพนักงานว่า ภายในเวลาที่ศาลกำหนดตามมาตรา 56 ผู้ที่ถูกศาลพิพากษาได้กระทำความผิดอันมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ และศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุกสำหรับความผิดนั้น ให้ศาลที่พิพากษาคดีหลังกำหนดโทษที่รอการกำหนดไว้ในคดีก่อนบวกเข้ากับโทษในคดีหลัง หรือบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลัง แล้วแต่กรณี" ดังนั้น เมื่อคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1193/2560 ของศาลจังหวัดภูเขียว ศาลมีคำพิพากษาลงโทษจำเลยให้จำคุก 1 ปี 6 เดือน และปรับ 30,000 บาท เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2560 คดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1930/2560 ของศาลจังหวัดภูเขียว ศาลมีคำพิพากษาลงโทษจำเลยให้จำคุก 1 ปี 6 เดือน และปรับ 40,000 บาท เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2560 และคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1582/2560 ของศาลจังหวัดภูเขียว ศาลมีคำพิพากษาลงโทษจำเลยให้จำคุก 4 ปี 6 เดือน และปรับ 120,000 บาท เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2561 โดยศาลในทั้งสามคดีรอการลงโทษจำคุกจำเลยไว้มีกำหนดคดีละ 2 ปี ทั้งนี้ การที่ศาลที่พิพากษาคดีหลังจะนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษจำเลยไว้ในคดีก่อนทั้งสามคดีมาบวกเข้ากับโทษจำคุกจำเลยในคดีหลังได้ จะต้องได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดในคดีหลังในระหว่างเวลาที่ยังอยู่ภายในกำหนดเวลาการรอการลงโทษจำคุกจำเลยในคดีก่อน แต่คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถจัดหางานหรือส่งไปฝึกงานในต่างประเทศ และฐานฉ้อโกง อันเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตั้งแต่วันที่ 23 กรกฎาคม 2561 ถึงวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 โดยความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวล้วนเป็นความผิดสำเร็จเมื่อผู้กระทำความผิดลงมือหลอกลวงและได้ไปซึ่งทรัพย์สินของผู้เสียหาย มิใช่ความผิดต่อเนื่องกัน การบรรยายฟ้องของโจทก์จึงเท่ากับกล่าวอ้างว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องทั้งภายในเวลาที่ศาลรอการลงโทษและภายหลังจากนั้น กรณีจึงมิต้องตาม ป.อ. มาตรา 58 วรรคแรก และไม่อาจนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนทั้งสามคดีมาบวกเข้ากับโทษจำคุกของจำคุกของจำเลยในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2951/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรอการลงโทษจำคุกและริบรถยนต์ในคดีครอบครองยาอันตรายเพื่อจำหน่าย ศาลฎีกาแก้ไขโทษและไม่ริบรถ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองร่วมกันมียาแก้ไอซึ่งมีส่วนผสมของไดเฟนไฮดรามีนและคลอร์เฟนิรามีน มาลีเอต อันเป็นยาแผนปัจจุบันชนิดยาอันตรายจำพวกฮิสตามีนและแอนติฮิสตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายแก่บุคคลทั่วไป เพื่อประโยชน์ในทางการค้า โดยไม่ได้รับใบอนุญาต และไม่ได้รับการยกเว้นใด ๆ อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และขอให้ยึดรถกระบะของกลางที่จำเลยทั้งสองใช้เป็นยานพาหนะไปรับและส่งยาแก้ไอให้แก่ลูกค้า เมื่อคดีมิได้มีการสืบพยานและข้อเท็จจริงตามฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้ใช้รถกระบะของกลางไปรับและส่งยาแก้ไอของกลางในลักษณะอย่างไร ทั้งรถกระบะโดยสภาพแล้วก็เป็นยานพาหนะที่บุคคลทั่วไปใช้เป็นยานพาหนะสัญจรตามธรรมดาในชีวิตประจำวัน รถกระบะของกลางจึงมิได้เป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ หรือยานพาหนะที่จำเลยสองได้ใช้ในการกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้องโดยตรง จึงไม่อาจริบรถกระบะของกลาง ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1) ได้ กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นอ้างและวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
of 62