พบผลลัพธ์ทั้งหมด 81 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทดลองงานและการบอกกล่าวเลิกสัญญา: สัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาไม่ต้องใช้บทบัญญัติมาตรา 582
โจทก์เป็นลูกจ้างทดลองงานของจำเลย มีข้อตกลงกำหนดให้โจทก์ทดลองปฏิบัติงานเป็นระยะเวลา 180 วัน หากผลงานเป็นที่พอใจโจทก์จะได้รับการบรรจุเป็นพนักงานประจำ สัญญานี้ไม่ใช่เป็นการจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582เมื่อสัญญามีข้อตกลงให้สิทธิจำเลยที่จะขอเลิกสัญญาโดยบอกล่าวล่วงหน้า1 วัน จึงเป็นข้อตกลงที่มีผลบังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1488/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรอการลงโทษตามกฎหมายอาญา มาตรา 56 ต้องกำหนดระยะเวลา ศาลฎีกามีอำนาจกำหนดได้หากศาลอุทธรณ์มิได้กำหนด
การรอการลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ศาลจะต้องกำหนดระยะเวลาที่ศาลรอการลงโทษไว้ แต่ต้องไม่เกิน 5 ปีนับแต่วันที่ศาลพิพากษา
เมื่อโจทก์ฎีกาโดยขอให้ศาลฎีกากำหนดเวลารอการลงโทษไปด้วย ศาลฎีกาย่อมพิพากษาในข้อนี้ได้
เมื่อโจทก์ฎีกาโดยขอให้ศาลฎีกากำหนดเวลารอการลงโทษไปด้วย ศาลฎีกาย่อมพิพากษาในข้อนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 221/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอเฉลี่ยทรัพย์หลังการขายทอดตลาด: กำหนดระยะเวลา 14 วันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2519 ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2520 อันเป็นวันภายหลังจากสิ้นระยะเวลาสิบสี่วันนับจากวันขายทอดตลาดแล้ว ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 วรรคสาม ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอเฉลี่ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 262/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาฎีกา คดีอาญา การสละสิทธิฎีกา และผลของการสิ้นสุดคดี
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะข้อที่ให้นับโทษต่อจากคดีอื่น แต่คงให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปีดังนี้ เป็นคดีที่ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ในคดีที่ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 นั้นมิได้ห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายมาก่อนก็ยังอาจมีข้อกฎหมายที่จะฎีกาได้ภายในกำหนดฎีกา การที่จำเลยแสดงเจตนาสละสิทธิที่จะฎีกาต่อไปก็จะถือว่าคดีของจำเลยถึงที่สุดเด็ดขาด ย้อนหลังไปนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หาได้ไม่
ในคดีที่ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 นั้นมิได้ห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายมาก่อนก็ยังอาจมีข้อกฎหมายที่จะฎีกาได้ภายในกำหนดฎีกา การที่จำเลยแสดงเจตนาสละสิทธิที่จะฎีกาต่อไปก็จะถือว่าคดีของจำเลยถึงที่สุดเด็ดขาด ย้อนหลังไปนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 939/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกาศคำร้องและกำหนดระยะเวลาคัดค้าน: ผู้คัดค้านต้องยื่นคำคัดค้านภายในกำหนด หากไม่ทำสิทธิในการคัดค้านหมดไป
การที่ศาลชั้นต้นประกาศคำร้องของผู้ร้องขอให้ศาลสั่งว่า ส.เป็นบุคคลไร้ความสามารถทางหนังสือพิมพ์รายวัน ถือว่าประกาศของศาลเป็นที่รู้กันทั่วไป. เมื่อประกาศครบแล้วศาลชั้นต้นเริ่มทำการไต่สวน จึงเป็นการดำเนินตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 แล้ว. ผู้คัดค้านจะอ้างว่าไม่ได้อ่านหนังสือพิมพ์ที่ศาลประกาศ ย่อมไม่ได้. เมื่อผู้คัดค้านไม่ยื่นคำคัดค้านภายในกำหนดตามที่ศาลประกาศ ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิจะยื่นคำคัดค้าน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 928/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการฟ้องแย่งการครอบครองที่เกินกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย
คู่กรณีพิพาทกันเกี่ยวกับที่ดินราคา 15,000 บาท ศาลชั้นต้นเรียกค่าขึ้นศาล 437.50 บาท เห็นได้ว่าเรียกค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์ 17,500 บาท (ราคาที่ดินรวมกับค่าเสียหาย) จำเลยจึงฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้
จำเลยเข้าไปปลูกห้องแถวในที่พิพาทโดยไม่ได้อาศัยสิทธิจากโจทก์แต่อย่างใดเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี ถือได้ว่าโจทก์ถูกแย่งการครอบครอง แต่โจทก์ไม่ได้ฟ้องเรียกคืนภายในกำหนดหนึ่งปี นับแต่วันถูกแย่งครอบครอง โจทก์หมดสิทธิฟ้องร้อง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 แล้ว
จำเลยเข้าไปปลูกห้องแถวในที่พิพาทโดยไม่ได้อาศัยสิทธิจากโจทก์แต่อย่างใดเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี ถือได้ว่าโจทก์ถูกแย่งการครอบครอง แต่โจทก์ไม่ได้ฟ้องเรียกคืนภายในกำหนดหนึ่งปี นับแต่วันถูกแย่งครอบครอง โจทก์หมดสิทธิฟ้องร้อง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 82-83/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการกำหนดระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมหลังยกคำร้องขอความเป็นอนาถา แม้มิได้อ้างอิงมาตรา 23
กรณีที่ศาลสั่งยกคำร้องไม่อนุญาตให้โจทก์ว่าความอย่างคนอนาถา และมีคำสั่ง กำหนดเวลาให้ชำระเงินค่าธรรมเนียมนั้นการกำหนดเวลาหาใช่อาศัยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ไม่แต่เป็นการกระทำเวลาโดยอาศัยอำนาจของศาลที่มีอยู่ทั่วไป ศาลฎีกามีอำนาจกำหนดเวลาให้โจทก์นำค่าธรรมเนียมมาเสียใน ระยะเวลาอันควรได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 40/2504)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 40/2504)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1172/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าจ้าง: การพิจารณาตามลักษณะการจ่ายเงินเป็นรายเดือนหรือรายปี
เงินเดือนมีลักษณะเป็นเงินค่าจ้างทำงานนั่นเอง แต่มีลักษณะจ่ายเป็นรายเดือนจึงเรียกว่าเงินเดือน
กำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(8) กับมาตรา 166 มีความสำคัญอยู่ที่ว่า เงินค่าจ้างนั้น มีกำหนดจ่ายเป็นกำหนดระยะเวลาหรือไม่ หากจ่ายเป็นกำหนดระยะเวลา ก็เข้ามาตรา 166 หากไม่มีกำหนดระยะเวลาก็เข้ามาตรา 165(8)
กำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(8) กับมาตรา 166 มีความสำคัญอยู่ที่ว่า เงินค่าจ้างนั้น มีกำหนดจ่ายเป็นกำหนดระยะเวลาหรือไม่ หากจ่ายเป็นกำหนดระยะเวลา ก็เข้ามาตรา 166 หากไม่มีกำหนดระยะเวลาก็เข้ามาตรา 165(8)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 519/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกทรัพย์ตามพินัยกรรม เริ่มนับจากเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาในพินัยกรรม
อายุความฟ้องเรียกทรัพย์ตามข้อกำหนดในพินัยกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสองนั้น ถืออายุความ1 ปีนับแต่เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามพินัยกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 485/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อคืนที่ดินภายในกำหนดระยะเวลาตามสัญญา แม้ฟ้องหลังหมดกำหนดก็ชอบ
โจทก์ขายนาให้จำเลยแล้วมีข้อสัญญากันว่า ต่อไปในวันข้างหน้าในระยะครบ 2 ปีเป็นจำนวนพ.ศ.2493 หรือ 2494 ถ้าโจทก์นำเงินมาซื้อคืนได้ จำเลยจะต้องขายนาคืนให้ นั้นย่อมหมายความว่า โจทก์มีสิทธิซื้อคืนได้ภายในระยะ 2 ปีนับแต่วันทำสัญญากันนั่นเอง สุดแต่จะไปครบ2 ปี ในปี พ.ศ.2493 หรือ พ.ศ.2494
โจทก์ฟ้องว่า ได้ไปขอซื้อนาคืนจากจำเลยในต้น พ.ศ. 2494 แต่จำเลยไม่ยอมขายคืนให้ ฯลฯ จำเลยไม่ได้ให้การกล่าวถึงหรือปฏิเสธความข้อนี้ประการใด จึงต้องถือว่าจำเลยรับในข้อเท็จจริงข้อที่โจทก์ฟ้องข้อนี้แล้ว
โจทก์ขายนาให้จำเลยโดยมีข้อสัญญากันว่า โจทก์มีสิทธิขอซื้อคืนได้ภายในกำหนด 2 ปี ครั้นต่อมาโจทก์ได้ขอซื้อคืนภายในระยะเวลา 2 ปีอันเป็นระยะเวลาที่โจทก์มีสิทธิขอซื้อคืนได้ เมื่อจำเลยไม่ยอมขาย ย่อมถือได้ว่าจำเลยผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาได้และโจทก์จะยื่นฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 2 ปีแล้ว ก็ได้เพราะโจทก์ได้ขอซื้อคืนไว้ภายในระยะ 2 ปีแล้ว
โจทก์ฟ้องว่า ได้ไปขอซื้อนาคืนจากจำเลยในต้น พ.ศ. 2494 แต่จำเลยไม่ยอมขายคืนให้ ฯลฯ จำเลยไม่ได้ให้การกล่าวถึงหรือปฏิเสธความข้อนี้ประการใด จึงต้องถือว่าจำเลยรับในข้อเท็จจริงข้อที่โจทก์ฟ้องข้อนี้แล้ว
โจทก์ขายนาให้จำเลยโดยมีข้อสัญญากันว่า โจทก์มีสิทธิขอซื้อคืนได้ภายในกำหนด 2 ปี ครั้นต่อมาโจทก์ได้ขอซื้อคืนภายในระยะเวลา 2 ปีอันเป็นระยะเวลาที่โจทก์มีสิทธิขอซื้อคืนได้ เมื่อจำเลยไม่ยอมขาย ย่อมถือได้ว่าจำเลยผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาได้และโจทก์จะยื่นฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 2 ปีแล้ว ก็ได้เพราะโจทก์ได้ขอซื้อคืนไว้ภายในระยะ 2 ปีแล้ว