คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ตีความ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 230 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1851/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความพิกัดอัตราศุลกากร: พิจารณาส่วนประกอบหลักของสินค้าเพื่อจัดประเภทอากรที่ถูกต้อง
หลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ภาค 1 มีสาระสำคัญว่า ของชนิดใดประกอบด้วยวัตถุหรือสารตั้งแต่หนึ่งชนิดขึ้นไปและเห็นได้ว่าอาจจัดเข้าได้ 2 ประเภท กรณีไม่อาจจัดเข้าในประเภทที่ระบุไว้โดยชัดแจ้ง ให้จัดเข้าในประเภทของวัตถุหรือส่วนควบที่มีลักษณะอันเป็นสาระสำคัญสำหรับของชนิดนั้น เมื่อสายคาดลดไขมันหน้าท้องโดยใช้ไฟฟ้ามีขดลวดไฟฟ้าซึ่งเป็นวัตถุอันเป็นสาระสำคัญของสินค้าจึงต้องจัดประเภทสินค้านี้ตามขดลวดไฟฟ้า ทั้งไม่มีข้อยกเว้นตามหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากรให้จัดสินค้าดังกล่าวเข้าในประเภทของวัตถุที่ไม่ใช่สาระสำคัญ ดังนั้น ที่โจทก์จัดสายคาดลดไขมันหน้าท้องโดยใช้ไฟฟ้าเข้าในประเภทที่ 39.07 ตามประเภทวัตถุที่ใช้ทำด้านนอกซึ่งไม่ปรากฏว่าเป็นวัตถุส่วนที่เป็นสาระสำคัญ จึงไม่ชอบด้วยหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 176/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความพิกัดอัตราศุลกากร เศษเหล็ก vs. แผ่นเหล็ก พิจารณาจากสภาพและกรรมวิธีการผลิต
เหล็กแผ่นสินค้าที่โจทก์นำเข้าเป็นเหล็กแผ่นที่ผลิตไม่ได้มาตรฐานถูกตัดออก บริษัทผู้ขายขายเหล็กพิพาทอย่างเป็นเศษเหล็ก โจทก์นำเหล็กดังกล่าวไปตัดซอยเป็นแผ่นเล็ก ๆ และเผาให้ร้อนรีดเป็นเหล็กเส้นตามขนาดและมาตรฐานที่ตลาดต้องการ และนำออกจำหน่ายทั้งหมดโดยมิได้นำไปขายเป็นเหล็กแผ่น เหล็กพิพาทจึงจัดอยู่ในประเภทพิกัดที่ 73.03 มิใช่ประเภทพิกัดที่ 73.13

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1417/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความพิกัดอัตราศุลกากรต้องตามความหมายในประเภทสินค้านั้น หรือหมายเหตุที่เกี่ยวข้อง การจำแนกประเภทกระจกตามกรรมวิธีผลิต
การตีความพิกัดอัตราศุลกากรในการจำแนกประเภทสินค้าตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ต้องเป็นไปตามความหมายในประเภทของสินค้านั้น หรือตามความหมายของหมายเหตุหรือตอนที่เกี่ยวกับสินค้านั้น ๆ จะตีความนอกเหนือไปจากความหมายที่ระบุไว้ในพิกัดหรือหมายเหตุในหมวดหรือตอนที่เกี่ยวกับสินค้านั้น ๆ ไม่ได้
พิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.05 มีความหมายว่า แผ่นกระจกหรือแผ่นแก้วที่ทำเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยกรรมวิธียืดหรือเป่าเพียง 2 วิธี และยังมิได้มีการตกแต่ง
พิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.06 มีความหมายว่า แผ่นกระจกหรือแผ่นแก้วที่ทำเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยกรรมวิธี หล่อ รีด ยืดหรือเป่าและขัดผิวให้เรียบแล้วไม่ว่าจะขัดผิวโดยกรรมวิธีอย่างไร และกระจกนั้นจะมีสภาพใสเป็นมันเงาหรือไม่อย่างหนึ่ง และแผ่นกระจกหรือแผ่นแก้วที่ทำเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยกรรมวิธี หล่อ รีด ยืดหรือเป่า และทำให้ใส่แล้วไม่ว่าจะทำโดยกรรมวิธีอย่างไรและกระทำในขั้นตอนใดของการผลิตอีกอย่างหนึ่ง เพราะตามพิกัดดังกล่าวระหว่างข้อความว่าขัดผิวกับทำให้ใสแล้วใช้คำว่า "หรือ"
กระจกชีทที่โจทก์นำเข้ามามีกรรมวิธีในการผลิตโดยดึงน้ำแก้วที่หลอมเหลวในเบ้าหลอมขึ้นเป็นแผ่นกระจกในแนวตั้ง แผ่นกระจกที่ผ่านออกมามีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า สภาพของผิวกระจกเรียบและใสทั้งสองด้าน เนื่องจากน้ำแก้วที่หลอมเหลวไหลผ่านไปบนผิวโลหะหลอมเหลวในอ่างโลหะหลอมเหลวที่มีการควบคุมอุณหภูมิจนแผ่นกระจกเย็นลง สินค้าดังกล่าวจึงจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.06

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1417/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความพิกัดอัตราศุลกากรต้องตามความหมายของประเภทสินค้าและหมายเหตุ หากไม่มีข้อความกำหนดอื่น การตีความตามตัวอักษร
การตีความพิกัดอัตราศุลกากรในการจำแนกประเภทสินค้าตามพระราชกำหนด พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ต้องเป็นไปตามความหมายในประเภทของสินค้านั้น หรือตามความหมายของหมายเหตุหรือตอนที่เกี่ยวกับสินค้านั้น ๆ จะตีความนอกเหนือไปจากความหมายที่ระบุไว้ในพิกัดหรือหมายเหตุในหมวดหรือตอนที่เกี่ยวกับสินค้านั้น ๆไม่ได้ พิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.05 มีความหมายว่า แผ่นกระจกหรือแผ่นแก้วที่ทำเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยกรรมวิธียืดหรือเป่าเพียง 2 วิธีและยังมิได้มีการตกแต่ง พิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 70.06 มีความหมายว่า แผ่นกระจกหรือแผ่นแก้วที่ทำเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยกรรมวิธี หล่อ รีด ยืดหรือเป่าและขัดผิวให้เรียบร้อยแล้วไม่ว่าจะขัดผิวโดยกรรมวิธีอย่างไร และกระจกนั้นจะมีสภาพใสเป็นมันเงาหรือไม่อย่างหนึ่งและแผ่นกระจกหรือแผ่นแก้วที่ทำเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยกรรมวิธีหล่อ รีด ยืดหรือเป่า และทำให้ใสแล้วไม่ว่าจะทำโดยกรรมวิธีอย่างไรและกระทำในขั้นตอนใดของการผลิตอีกอย่างหนึ่งเพราะตามพิกัดดังกล่าวระหว่างข้อความว่าขัดผิวกับทำให้ใสแล้วใช้คำว่า "หรือ" กระจกชีท ที่โจทก์นำเข้ามีกรรมวิธีในการผลิตโดยดึงน้ำแก้วที่หลอมเหลวในเบ้าหลอมขึ้นเป็นแผ่นกระจกในแนวตั้ง แผ่นกระจกที่ผ่านออกมามีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า สภาพของผิวกระจกเรียบและใสทั้งสองด้าน เนื่องจากน้ำแก้วที่หลอมเหลวไหลผ่านไปบนผิวโลหะ หลอมเหลวในอ่างโลหะหลอมเหลวที่มีการควบคุมอุณหภูมิจนแผ่นกระจก เย็นลง สินค้าดังกล่าวจึงจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่70.06

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 378/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความพิกัดอัตราศุลกากรแผ่นเพลทกับฟิล์ม: สินค้าใดได้รับการลดหย่อนอากร
กรรมวิธีในการทำภาพในแผ่นแม่พิมพ์หรือเพลท จะต้องใช้ฟิล์มโพสซิติปทาบกับแผ่นเพลท แล้วปิดด้วยกระจกอัดให้ฟิล์มสนิทนแน่นกับแผ่นเพลทโดยวิธีดูดลม จากนั้นจึงฉายแสงอุลตราไวโอเลตผ่านฟิล์ม แล้วนำแผ่นเพลทไปล้างด้วยสารละลายจึงจะปรากฏภาพบนแม่พิมพ์หรือเพลทนั้น ดังนั้น เมื่อโจทก์นำเข้าแผ่นอะลูมิเนียมเคลือบสารไวแสงใช้ทำเป็นแม่พิมพ์ สินค้าดังกล่าวจึงเป็นแผ่นเพลทสำหรับใช้ทำแม่พิมพ์ มิใช่ฟิล์มสำหรับใช้ในการทำแม่พิมพ์ตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 37.01 ข. จึงมิได้รับการลดอัตราอากรจากอัตราร้อยละ 40 ลงเหลือร้อยละ 10 ตามประกาศกระทรวงการคลังที่ ศก.4/2515 ลงวันที่ 7 กรกฎาคม 2515 ที่ใช้บังคับขณะนำเข้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 378/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความ "ฟิล์ม" ในประกาศลดอัตราอากรศุลกากร กรณีแผ่นอะลูมิเนียมเคลือบสารไวแสง ไม่เข้าข่ายได้รับการลดหย่อน
จำเลยได้นำเข้าแผ่นอะลูมิเนียมเคลือบสารไวแสงหรือแผ่นเพลทสำหรับใช้ในการทำแม่พิมพ์ โดยกรรมวิธีในการทำภาพให้ปรากฏบนแผ่นเพลทดังกล่าวจะต้องใช้ฟิล์มโพสซิติป ทาบกับแผ่นเพลท แล้วปิดด้วยกระจกอัดแน่นโดยใช้วิธีดูด เพื่อให้ฟิล์มสนิทแน่นกับแผ่นเพลท จากนั้นก็จะฉายแสงอุลตร้าไวโอเลต ผ่านฟิล์มนั้นและนำแผ่นเพลท ไปล้างด้วยสารละลายที่เป็นด่าง ก็จะปรากฏภาพบนแผ่นเพลท ที่จะนำไปใช้เป็นแม่พิมพ์ได้ แผ่นเพลท ที่จำเลยนำเข้าจึงมิใช่ฟิล์มสำหรับใช้ในการทำแม่พิมพ์ไม่ได้รับการลดอัตราอากรขาเข้าจากร้อยละ 40 ลงเหลือร้อยละ 10 ตามประกาศกระทรวงการคลังที่ ศก.4/2515 ลงวันที่ 7กรกฎาคม 2515 ที่ใช้บังคับในขณะนำเข้า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 378/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความพิกัดอัตราศุลกากร: แผ่นเพลท vs. ฟิล์มสำหรับทำแม่พิมพ์ และสิทธิในการลดหย่อนอัตราอากร
กรรมวิธีในการทำภาพในแผ่นแม่พิมพ์หรือเพลท จะต้องใช้ฟิล์มโพสซิติปทาบกับแผ่นเพลท แล้วปิดด้วยกระจกอัดให้ฟิล์มสนิทนแน่นกับแผ่นเพลทโดยวิธีดูดลม จากนั้นจึงฉายแสงอุลตราไวโอเลตผ่านฟิล์ม แล้วนำแผ่นเพลทไปล้างด้วยสารละลายจึงจะปรากฏภาพบนแม่พิมพ์หรือเพลทนั้น ดังนั้น เมื่อโจทก์นำเข้าแผ่นอะลูมิเนียมเคลือบสารไวแสงใช้ทำเป็นแม่พิมพ์ สินค้าดังกล่าวจึงเป็นแผ่นเพลทสำหรับใช้ทำแม่พิมพ์ มิใช่ฟิล์มสำหรับใช้ในการทำแม่พิมพ์ตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทที่ 37.01ข. จึงมิได้รับการลดอัตราอากรจากอัตราร้อยละ 40 ลงเหลือร้อยละ 10 ตามประกาศกระทรวงการคลังที่ ศก.4/2515 ลงวันที่ 7 กรกฎาคม2515 ที่ใช้บังคับขณะนำเข้า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2641/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความบทลงโทษคดียาเสพติด: การปรับบทตามกฎหมายแก้ไขเมื่อปริมาณยาเสพติดไม่เข้าข่าย
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 69 วรรคสามขยายความมาตรา 69 วรรคสอง เฉพาะความผิดฐานจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ซึ่งเป็นมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน ที่มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกินหนึ่งร้อยกรัม
จำเลยมีมูลฝิ่นหนัก 8.5 กรัม ไว้ในครอบครอง จึงต้องวางอัตราโทษตามมาตรา 69 วรรคหนึ่ง ศาลล่างวางโทษจำเลยตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่2) พ.ศ.2528 ซึ่งเป็นบทแก้ไขพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 69 วรรคสามและวรรคสี่ด้วยนั้นไม่ถูก ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเป็นไม่ปรับบทลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่2) พ.ศ.2528 มาตรา 6.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2158/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความ 'ของมีค่า' ตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 620: เครื่องรับโทรทัศน์ไม่เข้าข่าย
คำว่า 'ของมีค่า' ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 620 หมายถึงทรัพย์สินที่มีคุณค่าอันมีลักษณะพิเศษทำนองเดียวกับเงินทองตรา ธนบัตร ฯลฯ เครื่องรับโทรทัศน์ เป็นเพียงทรัพย์สินตามธรรมดาทั่ว ๆ ไปเท่านั้น ถึงแม้ราคาจะค่อนข้างสูงก็ถือไม่ได้ว่าเป็นของมีค่าตามความหมายแห่งบทบัญญัติดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 691/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความบทลงโทษหนักขึ้นเฉพาะผู้กระทำผิดโดยตรงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี
มาตรา340ตรีเป็นบทลงโทษผู้กระทำความผิดตามมาตรา339,339ทวิ,340หรือ340ทวิหนักขึ้นจึงต้องตีความโดยเคร่งครัดคือหมายความเฉพาะตัวผู้กระทำตามที่ระบุไว้ในมาตรา340ตรีเท่านั้นการที่พวกของจำเลย2คนกระทำผิดโดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะแต่จำเลยไม่ได้ใช้ยานพาหนะในการกระทำความผิดจำเลยจึงไม่มีความผิดตามมาตรา340ตรีคงมีความผิดตามมาตรา340วรรคสอง.
of 23