พบผลลัพธ์ทั้งหมด 324 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1483/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องหนี้ - เพียงพอเมื่อระบุหนี้มีอยู่จริงและบังคับได้
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยออกเช็คให้แก่โจทก์เพื่อเป็นการชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายนั้น แม้ไม่ได้ระบุไว้ด้วยว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าอะไรและบังคับได้ตามกฎหมายอย่างไร ก็เป็นการเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าอะไรและบังคับได้ตามกฎหมายอย่างไรเป็นรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบในชั้นไต่สวนมูลฟ้องหรือชั้นพิจารณา ไม่จำเป็นต้องบรรยายมาในฟ้อง ฟ้องโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 158 ( 5) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3525/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องเรื่องตัวแทนเชิดและการพิพากษาคดีนอกเหนือจากประเด็นที่ได้ยกขึ้นในฟ้อง
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เชิดตัวเองออกเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 หรือจำเลยที่ 2 และที่ 3 เชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 แต่อย่างใด และที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามยินยอมแสดงออกยอมรับให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการกิจการเข้าหุ้นส่วนกันนั้น ก็มีความหมายเพียงว่า จำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนสามัญที่จำเลยทั้งสามเข้าหุ้นส่วนกันนั้นเท่านั้น มิได้หมายความว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2และที่ 3 อีกด้วย คดีจึงไม่มีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2และที่ 3 หรือไม่ ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยทั้งสามมิได้ตกลงเข้าเป็นหุ้นส่วนกันตามฟ้อง แต่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์โดยได้รับชำระราคาที่ดินและตึกแถวพิพาทนั้นจากโจทก์ครบถ้วนแล้ว จะพิพากษาว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของตน ขายที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ และพิพากษาให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 โอนที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 2 และที่ 3ไม่ได้ เป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นฟ้องขับไล่โจทก์ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง
ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นฟ้องขับไล่โจทก์ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3145/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความเสียหายร้ายแรงมีผลต่อการลงโทษฐานพยายามฆ่า หากไม่บรรยายฟ้องศาลต้องลงโทษเฉพาะเจตนาทำร้ายร่างกาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานพยายามฆ่าผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,80 โดยมิได้บรรยายฟ้องว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสอย่างไร ดังนั้นเมื่อข้อเท็จจริงในทางพิจารณาฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่า ศาลจึงไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(8) ได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 คงลงโทษได้เพียงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3058/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดฐานข่มขืนใจผู้อื่น (มาตรา 309) ต้องระบุรายละเอียดการข่มขืนใจให้ชัดเจน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ใช้มีดปลายแหลมเป็นอาวุธจี้ขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อร่างกายผู้เสียหาย และฉุดบังคับผู้เสียหายไปกับจำเลย แล้วบังคับจับกดให้ผู้เสียหายนอนลงกับพื้นดิน โดยผู้เสียหายอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า จำเลยข่มขืนใจผู้เสียหายให้ไม่กระทำการใดหรือจำยอมต่อสิ่งใดโดยทำให้ผู้เสียหายกลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพของผู้เสียหายจนผู้เสียหายต้องจำยอมต่อสิ่งนั้น เป็นการบรรยายการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ตลอดจนข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 158(5)จึงครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 309 วรรคสอง แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2172/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหมิ่นประมาท: การบรรยายฟ้อง & การเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย
จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหาย เพราะการเป็นผู้เสียหายจะต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย โดยมิได้กล่าวไว้อย่างชัดแจ้งว่าศาลอุทธรณ์ภาค 2วินิจฉัยเรื่องผู้เสียหายไม่ถูกต้องอย่างไร และการเป็นผู้เสียหายจะต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 195, 225ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกล่าวใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่ 3และใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่ 3 โดยวิธีการโฆษณาด้วยเอกสาร เป็นการบรรยายฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 แล้ว ส่วนเรื่องที่ว่าบุคคลที่ 3 เป็นใครจำเลยกระทำการหมิ่นประมาทโจทก์ในลักษณะของการโฆษณาอย่างไรแค่ไหนเพียงใดจำเลยมีส่วนเกี่ยวข้องกับการโฆษณาหมิ่นประมาทตามฟ้องที่ไหนเมื่อใดนั้น เป็นราย-ละเอียดที่โจทก์นำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ในความผิดฐานหมิ่นประมาทนั้น เมื่อจำเลยผิดตาม ป.อ.มาตรา 328 แล้ว ก็ไม่จำต้องยกมาตรา 326 ขึ้นปรับบทลงโทษอีก
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกล่าวใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่ 3และใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่ 3 โดยวิธีการโฆษณาด้วยเอกสาร เป็นการบรรยายฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 แล้ว ส่วนเรื่องที่ว่าบุคคลที่ 3 เป็นใครจำเลยกระทำการหมิ่นประมาทโจทก์ในลักษณะของการโฆษณาอย่างไรแค่ไหนเพียงใดจำเลยมีส่วนเกี่ยวข้องกับการโฆษณาหมิ่นประมาทตามฟ้องที่ไหนเมื่อใดนั้น เป็นราย-ละเอียดที่โจทก์นำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ในความผิดฐานหมิ่นประมาทนั้น เมื่อจำเลยผิดตาม ป.อ.มาตรา 328 แล้ว ก็ไม่จำต้องยกมาตรา 326 ขึ้นปรับบทลงโทษอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2133/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีเช็คต้องระบุหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย มิฉะนั้นฟ้องไม่สมบูรณ์
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้โดยมิได้ระบุว่าเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายด้วยนั้นเป็นการบรรยายฟ้องที่ขาดองค์ประกอบของความผิด ตามมาตรา 4 ของพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534คำฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 690/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องวันเกิดเหตุ: เพียงพอต่อการเข้าใจของจำเลย
บรรยายฟ้องว่า เหตุเกิดประมาณต้นเดือนกันยายน 2532 เวลากลางวัน วันใดไม่แน่ชัดนั้น ในชั้นพิจารณาโจทก์ก็นำสืบเกี่ยวกับวันเกิดเหตุเช่นเดียวกับที่กล่าวในฟ้อง จำเลยเองก็นำสืบอ้างฐานที่อยู่แสดงว่าไม่ได้หลงข้อต่อสู้แต่อย่างใด จึงเป็นการบรรยายฟ้องเกี่ยวกับวันกระทำความผิดพอที่จำเลยจะเข้าใจได้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 690/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องวันกระทำผิดไม่ชัดเจนเพียงใด จำเลยยังเข้าใจได้ ถือใช้ได้
บรรยายฟ้องว่า เหตุเกิดประมาณต้นเดือนกันยายน 2532 เวลากลางวันวันใดไม่แน่ชัดนั้น ในชั้นพิจารณาโจทก์ก็นำสืบเกี่ยวกับวันเกิดเหตุเช่นเดียวกับที่กล่าวในฟ้อง จำเลยเองก็นำสืบอ้างฐานที่อยู่แสดงว่าไม่ได้หลงข้อต่อสู้แต่อย่างใด จึงเป็นการบรรยายฟ้องเกี่ยวกับวันกระทำความผิดพอที่จำเลยจะเข้าใจได้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความเสียหายทางกายที่ต้องป่วยเจ็บเกิน 20 วัน และความเห็นแพทย์ที่สอดคล้อง
การที่แพทย์ลงความเห็นว่า เมื่อได้รับการรักษาและไม่มีอาการแทรกซ้อนจะหายภายใน 8 สัปดาห์สำหรับผู้เสียหายที่ 2 และ 6 สัปดาห์สำหรับผู้เสียหายที่ 3 นั้น หมายความว่าผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 ต้องป่วยเจ็บเป็นเวลาเกินกว่า 20 วัน การป่วยเจ็บนี้ย่อมหมายความรวมถึงอาจป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาหรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้ด้วย ดังนั้นการที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 ได้รับอันตรายแก่กายถึงสาหัสต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวัน และจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวันนั้น จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ถูกต้องสมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา158 (5) แล้ว ไม่จำเป็นที่แพทย์ต้องลงความเห็นว่า ผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 ต้องป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวัน หรือประกอบกรณียกิจไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน เพราะผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 จะป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวันหรือประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวันหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงซึ่งเป็นรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา การบรรยายฟ้องโจทก์และความเห็นของแพทย์ดังกล่าวมาข้างต้นมิได้ขัดกันหรือขัดต่อข้อเท็จจริงแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4807/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องอาญาต้องครบถ้วนตามกฎหมาย หากไม่ครบถ้วนศาลไม่มีอำนาจลงโทษตามข้อเท็จจริงที่ต่างจากฟ้อง
การที่ศาลจะมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความแตกต่างกับฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192ได้นั้นจะต้องเป็นเรื่องที่คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายมาถูกต้องครบถ้วนตามมาตรา 158(1)-(7) เสียก่อน หากเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลจะต้องพิพากษายกฟ้องโดยไม่จำต้องพิจารณาสืบพยานคู่ความแต่อย่างใด และกรณีดังกล่าวศาลย่อมไม่มีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 ได้