คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ปรับบทลงโทษ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 148 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษจากประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 เป็นมาตรา 391 เมื่อการกระทำไม่ถึงอันตรายแก่กาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295ทางพิจารณาปรากฏว่า โจทก์ร่วมที่ 2 ถูกจำเลยกับพวกรุมทำร้ายได้รับบาดเจ็บแต่ไม่เป็นอันตรายแก่กาย ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 295ศาลก็ปรับบทลงโทษตามมาตรา 391 ซึ่งเป็นการกระทำความผิดส่วนหนึ่งของบทมาตราที่ขอให้ลงโทษมาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 739/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษในความผิดพรากผู้เยาว์ แม้ฟ้องตามมาตราอื่น หากพยานหลักฐานฟังได้ว่าเข้าข่ายความผิดอื่นที่มีโทษเบากว่า
การพรากผู้เยาว์กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด ไม่ว่าผู้เยาว์จะเต็มใจไปด้วยหรือไม่ แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา318 แต่ทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดตาม ป.อ. มาตรา 319ศาลย่อมปรับบทลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 319 ซึ่งมีโทษเบากว่าได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5100/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนกระทำชำเราต่อเนื่อง – การปรับบทลงโทษ – ข้อจำกัดการฎีกาข้อเท็จจริง – ทำร้ายร่างกาย
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำเลยข้อหาทำร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 จำคุก 20 วันเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลล่างให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218บัญญัติห้ามมิให้คู่ความฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยฎีกาว่าไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้องเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยข่มขืนกระทำชำเราโจทก์ร่วมสองครั้งในเวลาใกล้เคียงกันและสถานที่เกิดเหตุครั้งแรกกับครั้งหลังห่างกันเพียงประมาณ 300 เมตรเจตนาในการข่มขืนกระทำชำเราทั้งสองครั้งยังต่อเนื่องกันอยู่หาได้ขาดตอนไม่ จึงเป็นความผิดกรรมเดียว แม้จำเลยไม่ฎีกาในปัญหาข้อนี้แต่การปรับบทลงโทษจำเลยเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3186/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ ต้องเป็นไปตามคำขอท้ายฟ้อง และการปรับบทลงโทษตามมาตรา 70
แม้ตามฟ้องโจทก์ระบุว่า จำเลยเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองอาคารพิพาทแต่ก็ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า จำเลยได้กระทำผิดในฐานะผู้ดำเนินการตามความหมายของมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ ทั้งมิได้อ้างมาตรา 69 ซึ่งเป็นบทลงโทษเฉพาะผู้ดำเนินการมาในคำขอท้ายฟ้อง ศาลย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์
มาตรา 70 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ที่บัญญัติว่า "ถ้าการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เป็นการกระทำเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม... ต้องระวางโทษ...หมายรวมความผิดทุกอย่างที่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารหากมีลักษณะต้องตามที่บัญญัติไว้อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ลงโทษตามมาตรานี้ได้ หาจำต้องเป็นความผิดที่เกี่ยวกับตัวอาคารโดยตรงไม่ เมื่อจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม มาตรา44 ซึ่งจะต้องถูกลงโทษตามมาตรา 67 และอาคารที่จำเลยกระทำผิดเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม ศาลจึงนำมาตรา 70 มาปรับบทลงโทษแก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3186/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ ต้องไม่เกินคำขอของโจทก์ และการปรับบทลงโทษตามมาตรา 70
แม้ตามฟ้องโจทก์ระบุว่า จำเลยเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองอาคารพิพาทแต่ก็ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า จำเลยได้กระทำผิดในฐานะผู้ดำเนินการตามความหมายของมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ ทั้งมิได้อ้างมาตรา 69 ซึ่งเป็นบทลงโทษเฉพาะผู้ดำเนินการมาในคำขอท้ายฟ้อง ศาลย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์ มาตรา 70 พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ ที่บัญญัติว่า "ถ้า การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. นี้ เป็นการกระทำอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม...ต้องระวางโทษ..." หมายรวมความผิดทุกอย่างที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ หากมีลักษณะต้องตามที่บัญญัติไว้อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ลงโทษตามมาตรานี้ได้หาจำต้องเป็นความผิดที่เกี่ยวกับตัวอาคารโดยตรงไม่ เมื่อจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 44 ซึ่งจะต้องถูกลงโทษตามมาตรา 67 และอาคารที่จำเลยกระทำผิดเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม ศาลจึงนำมาตรา 70 มาปรับบทลงโทษแก่จำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3186/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการลงโทษตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร: การลงโทษเกินคำขอ และการปรับบทลงโทษอาคารพาณิชย์
แม้ตาม ฟ้องโจทก์ระบุว่า จำเลยเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองอาคารพิพาทแต่ ก็ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า จำเลยได้ กระทำผิดในฐานะ ผู้ดำเนินการตาม ความหมายของมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ ทั้งมิได้อ้างมาตรา 69 ซึ่ง เป็นบทลงโทษเฉพาะผู้ดำเนินการมาในคำขอท้ายฟ้อง ศาลย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์ มาตรา 70 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522ที่บัญญัติว่า "ถ้า การกระทำความผิดตาม พระราชบัญญัตินี้ เป็นการกระทำเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม... ต้อง ระวางโทษ...หมายรวมความผิดทุกอย่างที่เป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคารหากมีลักษณะต้องตาม ที่บัญญัติไว้อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ลงโทษตาม มาตรานี้ได้ หาจำต้องเป็นความผิดที่เกี่ยวกับตัว อาคารโดยตรงไม่ เมื่อจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม มาตรา 44ซึ่ง จะต้องถูกลงโทษตาม มาตรา 67 และอาคารที่จำเลยกระทำผิดเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม ศาลจึงนำมาตรา 70 มาปรับบทลงโทษแก่จำเลยได้ .

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3104/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากผู้เยาว์เพื่ออนาจาร: ศาลปรับบทลงโทษจากความผิดฐานพรากผู้เยาว์โดยผู้เยาว์เต็มใจไป
คดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยบังคับขู่เข็ญพาผู้เสียหายไปและข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย ที่ผู้เสียหายอ้างว่าจำเลยหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายไว้จึงไม่มีเหตุผล ปัญหานี้แม้จะไม่มีประเด็นขึ้นสู่ศาลฎีกาโดยตรง เพราะข้อหาหน่วงเหนี่ยวกักขังยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำคุก1 ปี อันต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218ก็ตาม แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยไม่ได้กระทำความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังเสียแล้วจึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย การที่จำเลยพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารจะโดยลักษณะที่ผู้เยาว์เต็มใจไปด้วยหรือไม่ก็ตาม ป.อ. บัญญัติเป็นความผิดทั้งสิ้น หากแต่กำหนดโทษหนักเบาต่างกันเท่านั้น กล่าวคือเมื่อผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วยก็เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 318วรรคท้าย ทางพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 319 ศาลย่อมปรับบทลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 319 ซึ่งมีโทษเบากว่าได้มิใช่เป็นเรื่องข้อเท็จจริงในทางพิจารณาต่างกับฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2335/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษผิดพลาดในคดีอาวุธปืน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้บังคับ
ศาลอุทธรณ์ปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ มาตรา 78โดยระบุวรรคหนึ่ง ซึ่งไม่ถูกต้องเพราะมาตราดังกล่าวที่ใช้บังคับขณะเกิดเหตุบัญญัติไว้เพียงวรรคเดียว ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1992/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษอาญา – มาตรา 341 และ 343 ต้องระบุวรรคความผิดให้ชัดเจน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 341 และ 343จำเลยให้การรับสารภาพ ดังนี้ จะปรับบทลงโทษทั้งสองมาตราโดยไม่ระบุว่ามาตรา 343 เป็นความผิดวรรคใด นั้นไม่ ถูกต้อง เพราะเมื่อลงโทษตาม มาตรา 343 แล้วก็ไม่ต้องปรับบทลงโทษตาม มาตรา 341 อีกแต่ ต้อง ระบุวรรคด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1166/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ แม้ฟ้องอ้างกฎหมายเดิม ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษตามกฎหมายใหม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทำการประมงโดย ไม่ได้รับอนุญาตคำขอท้ายฟ้องระบุอ้าง พ.ร.บ. การประมงฯ มาตรา 20 ซึ่ง เป็นบทมาตราความผิด และมาตรา 62 ทวิ ซึ่ง เป็นบทกำหนดโทษและอ้างประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 105 ข้อ 4 ซึ่ง แก้ไขมาตรา62 ทวิ แต่ ในขณะที่จำเลยกระทำผิดได้ มี พ.ร.บ. การประมง (ฉบับที่ 3)ออกใช้ บังคับแล้ว โดย แก้ไขมาตรา 62 ทวิ แม้โจทก์ จะมิได้อ้างพ.ร.บ. การประมง (ฉบับที่ 3)ฯ แต่ ได้ อ้างกฎหมายเดิม ซึ่งมีความผิดอยู่ ถือ ว่าฟ้อง โจทก์ได้ อ้างมาตราที่ลงโทษจำเลยมาสมบูรณ์แล้ว ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 2 ตาม กฎหมายที่แก้ไขใหม่ได้และการปรับบทลงโทษดังกล่าวมี ผลถึง จำเลยที่ 1 ซึ่ง ไม่มีฝ่ายใดฎีกาด้วย แต่ โทษที่ลงแก่จำเลยที่ 1 คงยุติไปตาม คำพิพากษาศาลอุทธรณ์.
of 15