พบผลลัพธ์ทั้งหมด 423 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2120/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอม: การติดตั้งสิ่งปลูกสร้างและจอดรถไม่ทำให้ประโยชน์ใช้สอยทางภาระจำยอมลดลงหรือเสื่อมความสะดวก
++ เรื่อง ภาระจำยอม
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 60 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 60 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2091/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมในที่ดิน แม้ผู้ซื้อที่ดินใหม่โดยสุจริตก็ไม่อาจต่อสู้ให้ภาระจำยอมสิ้นสุดลงได้ หากภาระจำยอมยังมิได้ถูกยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลง
คดีแดงที่ 2091-2092/2542
ศาลฎีกาพิพากษาว่า ทางเดินพิพาทกว้างประมาณ 80 เซนติเมตรยาวตลอดแนวทางเดินในที่ดินของจำเลยที่ 1 ยาวประมาณ 91 เมตร และในที่ดินของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ยาวประมาณ 63 เมตร และ 72.50 เมตร ตามลำดับเป็นทางภาระจำยอม ให้จำเลยทั้งเจ็ดจดทะเบียนภาระจำยอมแก่โจทก์ทั้งเจ็ด เพื่อที่ดินโฉนดเลขที่ 1275 หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งเจ็ด ให้จำเลยทั้งเจ็ดรื้อสิ่งก่อสร้างใด ๆ ที่ได้กระทำลงบนทางพิพาทให้จำเลยทั้งเจ็ดทำสะพานไม้ให้อยู่ในสภาพเดิมโดยค่าใช้จ่ายของจำเลยทั้งเจ็ด และให้ยกฟ้องจำเลยร่วม คดีอยู่ระหว่างการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ยกเลิกการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีอ้างว่า ผู้ร้องรายที่1 และที่ 2 ซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยที่ 1 นั้น แม้ผู้ร้องจะมิได้เป็นคู่ความในคดีและรับโอนที่ดินซึ่งเป็นภารยทรัพย์จากจำเลยทั้งเจ็ดโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต ผู้ร้องรายที่ 1 และที่ 2 ก็จะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภาระจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินนั้นต้องสิ้นไปเพราะเหตุที่มิได้จดทะเบียนภาระจำยอมหาได้ไม่
ส่วนที่ผู้ร้องอ้างว่า โดยสภาพปัจจุบันทางภาระจำยอมตามแนวทางที่กำหนดไว้เดิมในคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้วแปรสภาพไปตั้งแต่ก่อนที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้ว จึงหมดประโยชน์ที่จะใช้และไม่เป็นประโยชน์ใด ๆ แก่สามยทรัพย์แล้วนั้น ภาระจำยอมจะสิ้นไปก็แต่เมื่อภารยทรัพย์หรือสามยทรัพย์สลายไปทั้งหมดหรือมิได้ใช้สิบปี ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1397 หรือมาตรา 1399 กรณีเป็นเรื่องที่ผู้ร้องกับจำเลยจะต้องดำเนินการขอให้ย้ายภาระจำยอมหรือขอให้ภารยทรัพย์บางส่วนพ้นจากภาระจำยอมตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1392 หรือมาตรา 1394ผู้ร้องย่อมไม่อาจอ้างว่าสภาพแห่งการบังคับคดีไม่เปิดช่องให้ทำได้ทั้งไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายทั้งผู้ร้องไม่อาจขอให้ยกเลิกการบังคับคดีในคดีนี้ได้เพราะ
ศาลฎีกาพิพากษาว่า ทางเดินพิพาทกว้างประมาณ 80 เซนติเมตรยาวตลอดแนวทางเดินในที่ดินของจำเลยที่ 1 ยาวประมาณ 91 เมตร และในที่ดินของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 ยาวประมาณ 63 เมตร และ 72.50 เมตร ตามลำดับเป็นทางภาระจำยอม ให้จำเลยทั้งเจ็ดจดทะเบียนภาระจำยอมแก่โจทก์ทั้งเจ็ด เพื่อที่ดินโฉนดเลขที่ 1275 หากไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งเจ็ด ให้จำเลยทั้งเจ็ดรื้อสิ่งก่อสร้างใด ๆ ที่ได้กระทำลงบนทางพิพาทให้จำเลยทั้งเจ็ดทำสะพานไม้ให้อยู่ในสภาพเดิมโดยค่าใช้จ่ายของจำเลยทั้งเจ็ด และให้ยกฟ้องจำเลยร่วม คดีอยู่ระหว่างการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ยกเลิกการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีอ้างว่า ผู้ร้องรายที่1 และที่ 2 ซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยที่ 1 นั้น แม้ผู้ร้องจะมิได้เป็นคู่ความในคดีและรับโอนที่ดินซึ่งเป็นภารยทรัพย์จากจำเลยทั้งเจ็ดโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต ผู้ร้องรายที่ 1 และที่ 2 ก็จะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภาระจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินนั้นต้องสิ้นไปเพราะเหตุที่มิได้จดทะเบียนภาระจำยอมหาได้ไม่
ส่วนที่ผู้ร้องอ้างว่า โดยสภาพปัจจุบันทางภาระจำยอมตามแนวทางที่กำหนดไว้เดิมในคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้วแปรสภาพไปตั้งแต่ก่อนที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้ว จึงหมดประโยชน์ที่จะใช้และไม่เป็นประโยชน์ใด ๆ แก่สามยทรัพย์แล้วนั้น ภาระจำยอมจะสิ้นไปก็แต่เมื่อภารยทรัพย์หรือสามยทรัพย์สลายไปทั้งหมดหรือมิได้ใช้สิบปี ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1397 หรือมาตรา 1399 กรณีเป็นเรื่องที่ผู้ร้องกับจำเลยจะต้องดำเนินการขอให้ย้ายภาระจำยอมหรือขอให้ภารยทรัพย์บางส่วนพ้นจากภาระจำยอมตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1392 หรือมาตรา 1394ผู้ร้องย่อมไม่อาจอ้างว่าสภาพแห่งการบังคับคดีไม่เปิดช่องให้ทำได้ทั้งไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายทั้งผู้ร้องไม่อาจขอให้ยกเลิกการบังคับคดีในคดีนี้ได้เพราะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1224/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องทางเดินเมื่อแบ่งแยกที่ดิน: เจ้าของที่ดินแบ่งแยกไม่มีสิทธิเรียกร้องทางเดินเพิ่มบนที่ดินเดิม
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 151470 มีอาณาเขตทิศตะวันออกติดที่ดินโฉนดเลขที่ 181640 ของจำเลย ที่ดินของโจทก์แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดที่ 4383 ซึ่งด้านทิศใต้ของที่ดินแปลงดังกล่าวติดคลองบางกรวยอันเป็นทางสาธารณะ ที่ดินของจำเลยด้านทิศตะวันออกติดทางสาธารณะ ปี 2536 จำเลยจดทะเบียนภาระจำยอมที่ดินของจำเลยด้านทิศใต้เป็นทางเดินกว้างประมาณ 3 เมตรตลอดแนว ออกสู่ทางสาธารณะแก่ที่ดินโฉนดที่ 4383 และที่ดินโฉนดเลขที่ 135087ที่ดินของโจทก์แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดที่ 4383 ซึ่งอยู่ติดคลองบางกรวยอันเป็นทางสาธารณะอยู่แล้ว แม้โจทก์จะมีความจำเป็นต้องเดินทางโดยใช้รถยนต์เป็นพาหนะไม่สะดวกที่จะเดินทางโดยทางเรือ แต่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350 บัญญัติให้เจ้าของที่ดินแปลงที่แบ่งแยกเรียกร้องเอาทางเดินได้เฉพาะบนที่ดินแปลงที่ได้แบ่งแยกกัน ดังนี้โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยเปิดทางพิพาทเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะได้อีก
การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า ที่ดินของโจทก์แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดที่ 4383 ซึ่งอยู่ติดคลองบางกรวยอันเป็นทางสาธารณะ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินผ่านที่ดินแปลงดังกล่าวตาม ป.พ.พ.มาตรา 1350 ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเพื่อเรียกร้องเอาทางเดินในที่ดินของจำเลย เป็นการวินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน โดยวินิจฉัยจากเป็นข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ แม้โจทก์จะมิได้ฟ้องและจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)
การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า ที่ดินของโจทก์แบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดที่ 4383 ซึ่งอยู่ติดคลองบางกรวยอันเป็นทางสาธารณะ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินผ่านที่ดินแปลงดังกล่าวตาม ป.พ.พ.มาตรา 1350 ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเพื่อเรียกร้องเอาทางเดินในที่ดินของจำเลย เป็นการวินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน โดยวินิจฉัยจากเป็นข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ แม้โจทก์จะมิได้ฟ้องและจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ ศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน, การจัดสรรที่ดิน, ภาระจำยอม, สาธารณูปโภค, สิทธิผู้ซื้อ
แม้คำฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายว่าสัญญาใดจริงสัญญาใดปลอม หากแต่โจทก์ได้บรรยายโดยชัดแจ้งว่า สัญญาตัวจริงหรือสัญญาซึ่งเจตนาให้มีผลผูกพันกันระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งห้าคือ สัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมกัน ส่วนสัญญา 3 ฉบับตามฟ้องทำขึ้นอำพรางสัญญาซื้อขายที่แท้จริงเพื่อช่วยเหลือให้จำเลยทั้งห้าเสียภาษีน้อยลง สำหรับจำนวนเงินที่ซื้อขายตามสัญญาตัวจริง และสัญญาที่ทำขึ้นไว้เพื่ออำพรางจะเป็นจำนวนเงินเท่าใดนั้น ไม่เป็นประเด็นข้ออ้างแห่งคดีของโจทก์และเป็นเพียงรายละเอียดที่สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ทั้งจำเลยทั้งห้าก็เข้าใจและให้การต่อสู้คดีตามฟ้องของโจทก์ได้ถูกต้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
แม้จำเลยทั้งห้าจะไม่ได้รับอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินจากคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ก็ตาม ก็เป็นเพียงการดำเนินการฝ่าฝืนกฎหมายที่มีความมุ่งหมายส่วนหนึ่งที่จะติดตามควบคุมเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินเท่านั้น การดำเนินการของจำเลยทั้งห้าซึ่งต้องด้วยหลักเกณฑ์การจัดสรรที่ดินย่อมต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายที่ให้มีการจัดให้มีสาธารณูปโภค โดยมีความมุ่งหมายส่วนหนึ่งเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค และให้ถือว่าสาธารณูปโภคดังกล่าวตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร เพราะมิฉะนั้นแล้วประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ซึ่งเป็นกฎหมายควบคุมการจัดสรรที่ดินก็จะไร้ความหมายหรือขาดสภาพบังคับหากยอมให้การดำเนินการที่เป็นการจัดสรรที่ดินที่ฝ่าฝืนกฎหมายอยู่นอกเหนือการควบคุมหรือไม่ต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายบังคับ
แม้จำเลยทั้งห้าจะไม่ได้รับอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดินจากคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ก็ตาม ก็เป็นเพียงการดำเนินการฝ่าฝืนกฎหมายที่มีความมุ่งหมายส่วนหนึ่งที่จะติดตามควบคุมเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินเท่านั้น การดำเนินการของจำเลยทั้งห้าซึ่งต้องด้วยหลักเกณฑ์การจัดสรรที่ดินย่อมต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายที่ให้มีการจัดให้มีสาธารณูปโภค โดยมีความมุ่งหมายส่วนหนึ่งเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค และให้ถือว่าสาธารณูปโภคดังกล่าวตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร เพราะมิฉะนั้นแล้วประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ซึ่งเป็นกฎหมายควบคุมการจัดสรรที่ดินก็จะไร้ความหมายหรือขาดสภาพบังคับหากยอมให้การดำเนินการที่เป็นการจัดสรรที่ดินที่ฝ่าฝืนกฎหมายอยู่นอกเหนือการควบคุมหรือไม่ต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตภาระจำยอมต้องสอดคล้องกับคำฟ้องและข้อเท็จจริงที่ได้มีการอ้างถึง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าที่ดินของจำเลยตกอยู่ในภาระจำยอมจำเลยไม่อุทธรณ์ ปัญหาว่าที่ดินจำเลยตกอยู่ในภาระจำยอมหรือไม่จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างเฉพาะด้านหลังตึกแถวเท่านั้นว่าทางภาระจำยอมเป็นทางเดินด้วย ส่วนทางด้านข้างของตึกแถวทางทิศตะวันตกนั้น โจทก์มิได้กล่าวอ้างว่ามีทางภาระจำยอมที่เป็นทางเดิน คงอ้างแต่เพียงว่ากันสาดของของด้านข้างตึกแถวทางทิศตะวันตกยื่นล้ำเข้ามาในที่ดินจำเลยที่ 1เพื่อใช้บังแดดบังฝนโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเพื่อเป็นกันสาดบังแดดบังฝนติดต่อกันมาเกิน 10 ปี โจทก์จึงได้สิทธิแนวเขตกันสาดเป็นภาระ-จำยอมโดยกฎหมาย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับภาระจำยอมทางด้านข้างตึกแถวทิศตะวันตกจึงควรมีความกว้างเท่ากับแนวกันสาดทางด้านข้างตึกแถวทิศตะวันตกเท่านั้น และเมื่อกันสาดด้านนี้กว้างเพียง 59 เซ็นติเมตร การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดว่าที่ดินจำเลยที่ 1 ทางด้านข้างตึกทิศตะวันตกตกเป็นภาระจำยอม โดยมีความกว้าง 1 เมตร จึงเกินไปจากความกว้างของกันสาดตามคำฟ้อง ศาลฎีกาจึงสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง คือ 59 เซ็นติเมตร
คำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างเฉพาะด้านหลังตึกแถวเท่านั้นว่าทางภาระจำยอมเป็นทางเดินด้วย ส่วนทางด้านข้างของตึกแถวทางทิศตะวันตกนั้น โจทก์มิได้กล่าวอ้างว่ามีทางภาระจำยอมที่เป็นทางเดิน คงอ้างแต่เพียงว่ากันสาดของของด้านข้างตึกแถวทางทิศตะวันตกยื่นล้ำเข้ามาในที่ดินจำเลยที่ 1เพื่อใช้บังแดดบังฝนโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเพื่อเป็นกันสาดบังแดดบังฝนติดต่อกันมาเกิน 10 ปี โจทก์จึงได้สิทธิแนวเขตกันสาดเป็นภาระ-จำยอมโดยกฎหมาย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับภาระจำยอมทางด้านข้างตึกแถวทิศตะวันตกจึงควรมีความกว้างเท่ากับแนวกันสาดทางด้านข้างตึกแถวทิศตะวันตกเท่านั้น และเมื่อกันสาดด้านนี้กว้างเพียง 59 เซ็นติเมตร การที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดว่าที่ดินจำเลยที่ 1 ทางด้านข้างตึกทิศตะวันตกตกเป็นภาระจำยอม โดยมีความกว้าง 1 เมตร จึงเกินไปจากความกว้างของกันสาดตามคำฟ้อง ศาลฎีกาจึงสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง คือ 59 เซ็นติเมตร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งแยกที่ดินเป็นภาระจำยอม ไม่ถือเป็นการฉ้อฉล โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเพิกถอน
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแปลงหนึ่งต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ขอแบ่งแยกที่ดินแปลงดังกล่าวออกเป็นที่ดินอีกโฉนดหนึ่งเนื้อที่ 18 ตารางวาและจดทะเบียนภารจำยอมเป็นทางเดินให้แก่ที่ดินแปลงอื่น เมื่อทางภารจำยอมที่จำเลยที่ 1 แบ่งแยกออกไปจากที่ดินซึ่งโจทก์ทำสัญญาจะซื้อเป็นทางภารจำยอมที่มีมาแต่เดิม การแบ่งแยกทางภารจำยอมของจำเลยที่ 1 ออกจากที่ดินซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องโอนขายแก่โจทก์ จึงมิใช่การฉ้อฉลโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนภารจำยอมของจำเลยที่ 1 สัญญาจะซื้อจะขายที่มีการวางมัดจำเป็นการชำระหนี้บางส่วน การฟ้องร้องบังคับตามสัญญาไม่จำต้องใช้เอกสารเป็นหลักฐาน และไม่ใช่กรณีที่กฎหมายบังคับให้นำเอกสารมาแสดงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94ศาลจึงสามารถรับฟังคำพยานบุคคลหักล้างพยานเอกสารได้ คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนภารจำยอมของจำเลยที่ 1 ก่อน แล้วจึงขอให้จำเลยที่ 1 ไปดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์เมื่อศาลมีคำวินิจฉัยไม่ให้เพิกถอนการจดทะเบียนภารจำยอมแล้วศาลจึงไม่จำต้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องบังคับภาระจำยอมสงวนเฉพาะเจ้าของสามยทรัพย์ การโอนสิทธิทำให้ขาดอำนาจฟ้อง
ภาระจำยอมย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์เท่านั้น โดยอสังหาริมทรัพย์ที่ได้สิทธิภาระจำยอมนั้นเรียกสามยทรัพย์ ส่วนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกอยู่ในภาระจำยอมนั้นเรียกภารยทรัพย์ ผู้ที่จะฟ้องบังคับภาระจำยอมได้จึงต้องเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น เมื่อปรากฏว่าขณะฟ้องคดีนี้โจทก์ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินสามยทรัพย์ให้บุคคลอื่นไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยผู้เป็นเจ้าของภารยทรัพย์ แม้ตามสัญญาให้ทางผ่านที่ดินระบุว่า หากที่ดินของโจทก์ได้โอนไปยังบุคคลหนึ่งบุคคลใด จ.ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทเดิมยินยอมให้ใช้ทางนั้นเป็นทางผ่านสัญจรไปมาได้ก็ตาม และบุคคลภายนอกผู้รับโอนที่ดินจากโจทก์ไปจะมีสิทธิอย่างไรก็เป็นเรื่องที่บุคคลภายนอกผู้รับโอนที่ดินจากโจทก์ไปจะไปใช้สิทธินั้นเองเมื่อยังไม่ปรากฏชัดแจ้งว่ามีการไม่ชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกนั้น โจทก์ที่ 1 ย่อมไม่มีอำนาจใช้สิทธิดังกล่าวนั้นแทนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7419/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเงินค่าทดแทนเวนคืนสำหรับภาระจำยอม: การพิจารณาผู้รับประโยชน์และหน้าที่ของเจ้าหน้าที่
บุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 (6) แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 คือบุคคลผู้เสียสิทธิในการใช้ทางตามมาตรา 1349 แห่ง ป.พ.พ. ซึ่งเป็นกรณีเกี่ยวกับทางจำเป็นโดยเฉพาะ ไม่รวมถึงผู้ได้สิทธิในการใช้ทางเป็นภาระจำยอมโดยประการอื่น และเมื่อมาตรา 29 บัญญัติถึงทรัพยสิทธิอย่างอื่นเหนืออสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนไว้แล้วซึ่งทางภาระจำยอมในคดีนี้เป็นทรัพยสิทธิอย่างหนึ่ง จึงต้องบังคับตามบทบัญญัติที่มีบัญญัติไว้โดยเฉพาะ ไม่อาจนำมาตรา 18 (6) มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ในฐานะที่เป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งได้ ดังนั้น ในกรณีที่เจ้าของที่ดินสามยทรัพย์ได้สิทธิในภาระจำยอมเหนือที่ดินแปลงอื่นโดยทางอื่นนอกจากบทบัญญัติมาตรา 18 (6) จึงต้องบังคับตามมาตรา 29
มาตรา 16 และมาตรา 29 กำหนดให้ผู้รับประโยชน์จากทรัพยสิทธิจะต้องมาขอรับชดใช้จากเงินค่าทดแทนสำหรับอสังหาริมทรัพย์นั้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง และระหว่างเวลา 60 วันนั้น ถ้าผู้รับประโยชน์จาก ทรัพยสิทธิมาขอรับชดใช้จากเงินค่าทดแทนและตกลงกับเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้นได้จึงจะจ่ายเงินค่าทดแทนให้ตามที่คู่กรณีตกลงกัน หากคู่กรณีตกลงกันไม่ได้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ จะต้องนำเงินค่าทดแทนนั้นไปวางทรัพย์ตามมาตรา 31 แต่ในกรณีผู้รับประโยชน์จาก ทรัพยสิทธิมิได้ขอรับชดใช้จากเงินค่าทดแทนสำหรับอสังหาริมทรัพย์นั้นภายในระยะเวลา ก็ไม่มีกรณีที่คู่กรณีจะตกลงกัน เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ก็จะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบ มิใช่ว่าคู่กรณีจะต้องตกลงกันก่อนจึงจะมารับเงินจำนวนดังกล่าวได้ จำเลยจึงมีหน้าที่จ่ายเงินค่าทดแทน เมื่อจำเลยนำเงินค่าทดแทนไปวางทรัพย์ ณ สำนักงานออมสิน โจทก์จึงชอบที่จะได้รับเงินดอกเบี้ยจากการวางทรัพย์นั้น
มาตรา 16 และมาตรา 29 กำหนดให้ผู้รับประโยชน์จากทรัพยสิทธิจะต้องมาขอรับชดใช้จากเงินค่าทดแทนสำหรับอสังหาริมทรัพย์นั้นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง และระหว่างเวลา 60 วันนั้น ถ้าผู้รับประโยชน์จาก ทรัพยสิทธิมาขอรับชดใช้จากเงินค่าทดแทนและตกลงกับเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้นได้จึงจะจ่ายเงินค่าทดแทนให้ตามที่คู่กรณีตกลงกัน หากคู่กรณีตกลงกันไม่ได้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ จะต้องนำเงินค่าทดแทนนั้นไปวางทรัพย์ตามมาตรา 31 แต่ในกรณีผู้รับประโยชน์จาก ทรัพยสิทธิมิได้ขอรับชดใช้จากเงินค่าทดแทนสำหรับอสังหาริมทรัพย์นั้นภายในระยะเวลา ก็ไม่มีกรณีที่คู่กรณีจะตกลงกัน เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ก็จะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบ มิใช่ว่าคู่กรณีจะต้องตกลงกันก่อนจึงจะมารับเงินจำนวนดังกล่าวได้ จำเลยจึงมีหน้าที่จ่ายเงินค่าทดแทน เมื่อจำเลยนำเงินค่าทดแทนไปวางทรัพย์ ณ สำนักงานออมสิน โจทก์จึงชอบที่จะได้รับเงินดอกเบี้ยจากการวางทรัพย์นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7284/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินและภาระจำยอม: การอุทธรณ์คดีที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยปลูกสร้างตึกผนังร่วมรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ตามแนวหลักเขตโฉนดที่ดินร่วมตลอดแนว ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างผนังร่วมที่จำเลยปลูกสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยไม่ได้ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ก่อนทำการปลูกสร้างจำเลยรังวัดตรวจสอบแนวเขตที่ดินแล้ว หากอาคารของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ก็ย่อมตกเป็นภาระจำยอม เพราะจำเลยปลูกสร้างอาคารโดยสุจริต เป็นคดีที่มีคำขอไม่มีทุนทรัพย์และมีทุนทรัพย์รวมกันอยู่ด้วย แต่เมื่อคำขอในส่วนที่ให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง แม้ที่ดินพิพาทจะมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน50,000 บาท คดีก็ไม่ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7284/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินและภาระจำยอม: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ต้องห้ามมิชอบ
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยปลูกสร้างตึกผนังร่วมรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ตามแนวหลักเขตโฉนดที่ดินร่วมตลอดแนว ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างผนังร่วมที่จำเลยปลูกสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยไม่ได้ปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ก่อนทำการปลูกสร้างจำเลยรังวัดตรวจสอบแนวเขตที่ดินแล้ว หากอาคารของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ก็ย่อมตกเป็นภาระจำยอมเพราะจำเลยปลูกสร้างอาคารโดยสุจริต เป็นคดีที่มีคำขอไม่มีทุนทรัพย์และมีทุนทรัพย์รวมกันอยู่ด้วย แต่เมื่อคำขอในส่วนที่ให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง แม้ที่ดินพิพาทจะมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท คดีก็ไม่ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง