พบผลลัพธ์ทั้งหมด 155 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2124/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความที่มีเงื่อนไข ไม่ถือเป็นการยอมความในคดีอาญา
โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่งว่าหากจำเลยชำระเงินตามเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้วโจทก์ก็จะถอนฟ้องคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยเกี่ยวกับเช็คพิพาทนั้นสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวไม่มีข้อความใดที่แสดงว่าโจทก์ตกลงสละสิทธิดำเนินคดีอาญากับจำเลยในทันทีแต่กลับมีเงื่อนไขที่จำเลยจะต้องปฏิบัติต่อโจทก์เสียก่อนโจทก์จึงจะถอนฟ้องคดีอาญาเมื่อจำเลยมิได้ชำระเงินให้แก่โจทก์ตามสัญญาสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ยังไม่ระงับไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2124/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความคดีแพ่ง ไม่ตัดสิทธิฟ้องคดีอาญา หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่งเกี่ยวกับเช็คที่ฟ้องจำเลยในคดีอาญาว่าจำเลยยอมผ่อนชำระเงินตามเช็คพิพาทให้แก่โจทก์เดือนละ5,000บาทหากจำเลยชำระเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้วโจทก์ก็จะถอนฟ้องคดีอาญาแต่จำเลยไม่ชำระเงินให้แก่โจทก์ดังนี้ในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวไม่มีข้อความใดที่แสดงว่าโจทก์ตกลงสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญากับจำเลยในทันทีแต่กลับมีเงื่อนไขที่จำเลยจะต้องผ่อนชำระเงินตามเช็คพิพาทให้แก่โจทก์จนครบถ้วนเสียก่อนเมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวโจทก์จึงไม่มีความผูกพันที่จะต้องถอนฟ้องคดีอาญาตามที่ตกลงกรณีหามีผลเป็นการยอมความในคดีอาญาแต่อย่างใดไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1271/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกคืนภาษีโรงเรือนโดยไม่ขอพิจารณาการประเมินใหม่ ขัดต่อก.ม.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
การที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนเงินค่าภาษีโรงเรือนที่โจทก์ได้ชำระให้จำเลยไปแล้วโดยอ้างว่าโรงเรือนของโจทก์เป็นโรงเรือนที่ได้รับงดเว้นภาษีนั้นเป็นฟ้องที่ถือได้ว่าการประเมินเรียกเก็บภาษีของเจ้าพนักงานในปีที่ขอคืนนั้นเป็นการไม่ชอบในเมื่อข้อเท็จจริงที่โจทก์จำเลยแถลงรับกันฟังเป็นยุติว่าเงินค่าภาษีในปีที่โจทก์ขอคืนนั้นโจทก์มิได้ขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา25และ26ของพ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช2475โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะนำคดีมาสู่ศาลตามที่กำหนดไว้ในมาตรา31ของกฎหมายดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1091/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สัญชาติไทยสำหรับผู้เกิดในประเทศที่ถูกถอนสัญชาติ: สิทธิในการฟ้องร้อง
มาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับผู้ที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งประสงค์จะพิสูจน์ว่าเป็นบุคคลมีสัญชาติไทย และให้สิทธิบุคคลผู้นั้นยื่นคำร้องต่อศาลได้ แต่กรณีของผู้ร้องไม่เคยออกไปนอกราชอาณาจักรเลยแต่อ้างว่าถูกสั่งถอนสัญชาติไทย ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ผู้ร้องจะร้องขอต่อศาลตามบทกฎหมายดังกล่าวไม่ได้ หากปรากฏว่ามีผู้โต้แย้งเกี่ยวกับสัญชาติของผู้ร้อง ก็ชอบที่จะดำเนินคดีอย่างมีข้อพิพาทต่อผู้ที่โต้แย้งสิทธิของผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3254/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดก: การครอบครองทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดกไม่ตัดสิทธิทายาทอื่นในการฟ้องร้อง
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอจัดการมรดกเกี่ยวกับที่ดินพิพาท ทั้งสองแปลงตามที่โจทก์ขอแบ่ง แสดงว่าที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นทรัพย์สินในกองมรดกซึ่งอยู่ระหว่างจัดการมรดกถึงแม้ว่าจำเลยจะครอบครองที่พิพาทนั้นตั้งแต่เจ้ามรดกถึงแก่กรรมแต่ผู้เดียว ก็เป็นการครอบครองทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกที่ยังไม่ได้แบ่งปันกัน และต่อมาจำเลยก็ได้เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล ดังนั้นการที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะทายาทก็ดีและในฐานะผู้จัดการมรดกก็ดี ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นด้วยจำเลยจึงจะยกอายุความหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกย่อมมีอำนาจฟ้องขอแบ่งทรัพย์พิพาทจากจำเลยได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2528)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2881/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้จัดการมรดกในการให้เช่าทรัพย์มรดก และการฟ้องร้องผู้เช่าผิดสัญญา
จำเลยทำสัญญาเช่าตึกพิพาทจากโจทก์ผู้ให้เช่าในฐานะโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ พ.หาได้เช่าจากมูลนิธิพ. ไม่ทั้งโฉนดที่ดินซึ่ง ตึกพิพาทตั้งอยู่มีชื่อโจทก์เป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์ยังไม่ได้โอนให้แก่ มูลนิธิ พ.ตาม พินัยกรรมของเจ้ามรดกจึงต้องถือว่าการจัดการทรัพย์มรดก ยังไม่เสร็จสิ้น โจทก์ยังมีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็น เพื่อให้การเป็นไปตามคำสั่งแจ้งชัด หรือโดยปริยายแห่งพินัยกรรม เพื่อจัดการมรดกดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 ผู้ให้เช่าไม่จำต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้เช่า เมื่อผู้เช่าผิดสัญญา ผู้ให้เช่าย่อมฟ้องผู้เช่าซึ่งเป็นคู่สัญญากับตนได้ และผู้เช่าจะโต้แย้งว่าผู้ให้เช่าไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่า หาได้ไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าเพราะไม่ยอมออกจากตึกที่เช่า และส่งมอบทรัพย์ที่เช่าคืนภายหลังครบกำหนดตามสัญญาแล้ว การกระทำของจำเลยถือได้ว่าเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 26/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าล่วงเวลา แม้ไม่ปฏิบัติตามระเบียบวิธีปฏิบัติของนายจ้าง นายจ้างก็ต้องจ่าย หากมีข้อตกลงเรื่องการระงับข้อพิพาท ไม่ตัดสิทธิฟ้องร้องต่อศาล
แม้โจทก์จะไม่ได้ตอกบัตรลงเวลาทำงานและไม่มีลายเซ็นรับรองของวิศวกรและโฟร์แมนในการทำงานล่วงเวลาตามข้อบังคับของจำเลยเกี่ยวกับการคำนวณค่าล่วงเวลาก็ตาม แต่ระเบียบตามข้อบังคับนี้เป็นเพียงวิธีปฏิบัติในการทำงานล่วงเวลาเพื่อเป็นหลักฐานและประโยชน์เกี่ยวกับการคำนวณค่าล่วงเวลาเท่านั้น ทั้งมิได้กำหนดยกเว้นว่าลูกจ้างคนใดไม่ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวแล้วจะไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาอีกด้วย ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยให้โจทก์ทำงานล่วงเวลา จำเลยก็จะอ้างข้อบังคับดังกล่าวเพื่อปฏิเสธไม่จ่ายค่าล่วงเวลาแก่โจทก์หาได้ไม่
สัญญาจ้างแรงงานที่มีข้อความว่า "ข้อพิพาทใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการตีความหรือการใช้บังคับของความในสัญญานี้ใด ๆ ให้นำไปเสนอเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลบรูไน คำตัดสินของทางการดังกล่าวให้ถือว่าเด็ดขาดและผูกพันระหว่างบริษัทและลูกจ้างฯลฯ" นั้น มิได้บังคับไว้โดยเด็ดขาดว่า หากคู่กรณีไม่นำข้อพิพาทเสนอต่อเจ้าหน้าที่รัฐบาลบรูไนตัดสินก่อนแล้วจะฟ้องร้องต่อศาลมิได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ค่าล่วงเวลาให้โจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงากลางซึ่งโจทก์และจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจได้
สัญญาจ้างแรงงานที่มีข้อความว่า "ข้อพิพาทใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการตีความหรือการใช้บังคับของความในสัญญานี้ใด ๆ ให้นำไปเสนอเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลบรูไน คำตัดสินของทางการดังกล่าวให้ถือว่าเด็ดขาดและผูกพันระหว่างบริษัทและลูกจ้างฯลฯ" นั้น มิได้บังคับไว้โดยเด็ดขาดว่า หากคู่กรณีไม่นำข้อพิพาทเสนอต่อเจ้าหน้าที่รัฐบาลบรูไนตัดสินก่อนแล้วจะฟ้องร้องต่อศาลมิได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ค่าล่วงเวลาให้โจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงากลางซึ่งโจทก์และจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3351/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บทบัญญัติมาตรา 13 พ.ร.บ.การรถไฟฯ ไม่ใช่ข้ออ้างปฏิเสธหนี้ แต่ใช้บังคับคดีเมื่อจำเป็น สิทธิฟ้องร้องกับบังคับคดีเป็นคนละส่วน
มาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย ๆ ไม่ใช่บทบัญญัติที่มีไว้เพื่อประโยชน์ในการปฏิเสธหนี้ในทุกกรณี แต่เป็นบทบัญญัติที่มีไว้ใช้ในชั้นบังคับคดีในกรณีที่มีความจำเป็นต้องบังคับคดีเท่านั้น ที่จำเลยยกมาตรา 13 ขึ้นต่อสู้เพื่อปฏิเสธความรับผิดไม่จ่ายค่าชดเชยตามฟ้องโดยอ้างว่าเป็นการพ้นวิสัยที่ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีจึงไม่ถูกต้อง เพราะสิทธิในการฟ้องร้องกับปัญหาในการบังคับคดีเป็นคนละเรื่องกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2044/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ประธาน-หนี้อุปกรณ์: สิทธิโจทก์เลือกฟ้องบังคับชำระหนี้ตามสัญญากู้หรือจำนองก็ได้
คำให้การของจำเลยปรากฏชัดว่าจำเลยได้ทำสัญญากู้กับโจทก์ไว้ในฐานะเป็นหนี้ประธาน ส่วนสัญญาจำนองได้ทำไว้เพียงเพื่อประกันหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ หนี้จำนองจึงเป็นเพียงหนี้อุปกรณ์ โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินให้จำเลยตามสัญญาจำนอง เมื่อจำเลยรับว่าโจทก์ได้จ่ายเงินให้จำเลยรับไปภายหลังวันทำสัญญากู้เพียง 1 วัน ก็ต้องถือว่าจำเลยได้รับเงินจากโจทก์ไปตามสัญญากู้ สัญญากู้ดังกล่าวจึงบริบูรณ์ตามกฎหมาย
เมื่อหนี้ตามสัญญากู้เป็นหนี้ประธาน และหนี้ตามสัญญาจำนองเป็นหนี้อุปกรณ์หนี้ทั้งสองประเภทจึงอาจแยกเป็นส่วนออกต่างหากจากกันได้ โดยอำนาจแห่งมูลหนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเลือกฟ้องบังคับชำระหนี้ตามสัญญากู้หรือตามสัญญาจำนองก็ได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 733 มิได้บังคับว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับจำนองได้แต่ทางเดียว
เมื่อหนี้ตามสัญญากู้เป็นหนี้ประธาน และหนี้ตามสัญญาจำนองเป็นหนี้อุปกรณ์หนี้ทั้งสองประเภทจึงอาจแยกเป็นส่วนออกต่างหากจากกันได้ โดยอำนาจแห่งมูลหนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะเลือกฟ้องบังคับชำระหนี้ตามสัญญากู้หรือตามสัญญาจำนองก็ได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 733 มิได้บังคับว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับจำนองได้แต่ทางเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3632/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานสัญญาซื้อขาย, สัญญาประนีประนอมยอมความ, การชำระหนี้ และสิทธิในการฟ้องร้องตามสัญญา
เมื่อจำเลยได้ตกลงขายข้าวโพดให้แก่โจทก์ซึ่งอยู่ต่างประเทศแล้ว จำเลยได้มีหนังสือถึงกรมการค้าต่างประเทศขออนุมัติการขายข้าวโพดรายนี้ ซึ่งหนังสือของจำเลยดังกล่าวมีลายมือชื่อของผู้จัดการบริษัทจำเลยและมีข้อความเกี่ยวกับการตกลงซื้อขายข้าวโพดรายพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยถือได้ว่าหนังสือของจำเลยดังกล่าว เป็นหลักฐานแห่งการซื้อขายข้าวโพดรายนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา456 วรรค 2 แล้ว
ข้อตกลงระหว่างตัวแทนของโจทก์กับจำเลยเกี่ยวกับจำนวน ค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องชดใช้ให้แก่โจทก์ในกรณีที่จำเลยผิดสัญญาไม่ส่งข้าวโพดให้โจทก์นั้นมีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือลายมือชื่อของตัวแทนของฝ่ายนั้น จึงจะยกขึ้นต่อสู้คดีได้
ข้อตกลงระหว่างตัวแทนของโจทก์กับจำเลยเกี่ยวกับจำนวน ค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องชดใช้ให้แก่โจทก์ในกรณีที่จำเลยผิดสัญญาไม่ส่งข้าวโพดให้โจทก์นั้นมีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือลายมือชื่อของตัวแทนของฝ่ายนั้น จึงจะยกขึ้นต่อสู้คดีได้