คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หลักเกณฑ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 105 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2152/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโดยอาศัยหลักเกณฑ์อื่นเมื่อไม่มีบัญชี และการรับสภาพหนี้ของโจทก์
แม้ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดที่กำหนดให้ใช้หลักเกณฑ์การคำนวณเงินได้ของโจทก์สำหรับปี พ.ศ. 2528 โดยอาศัยเงินได้สำหรับปีพ.ศ. 2530 เป็นฐาน แต่เมื่อโจทก์ไม่มีบัญชีหรือพยานหลักฐานใด ๆ ให้จำเลยตรวจสอบได้ และในที่สุดโจทก์ก็ยอมรับสภาพหนี้ตามที่พนักงานตรวจสอบของจำเลยแจ้งยอดหนี้ภาษีอากรให้ทราบ การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินตลอดจนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งสืบเนื่องต่อมาจากการรับสภาพหนี้ของโจทก์ดังกล่าว ย่อมชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงต้องชำระหนี้ภาษีอากรดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1527/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน การปรับค่ารายปีตามหลักเกณฑ์และสภาพจริง
ค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช 2475 มาตรา 18 หมายความถึงค่ารายปีของปีก่อนถัดจากปีที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำลังประเมิน มิใช่หมายความถึงค่ารายปีของปีก่อน ๆ นั้นขึ้นไป ทั้งกฎหมายก็มิได้มีความหมายว่าให้นำค่ารายปีของปีที่ล่วงแล้วมาเป็นค่ารายปีของปีต่อมาโดยตรงเป็นเพียงแต่นำมาเป็นหลักการคำนวณเท่านั้น เพราะค่ารายปีในปีต่อมาอาจจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงแล้วแต่พฤติการณ์และความเป็นจริง
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของโรงงานโจทก์ พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินได้ปฏิบัติไปตามขั้นตอนของกฎหมาย และตามหนังสือสั่งการของกรุงเทพมหานคร ทั้งเป็นการให้ความเป็นธรรมแก่โจทก์โดยส่งเจ้าหน้าที่ออกไปตรวจสอบเกี่ยวกับขนาด สภาพโรงงานของโจทก์เพื่อจะนำมาพิจารณาเทียบกัน พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินมิได้กระทำการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของโจทก์เพิ่มขึ้นตามใจชอบ โดยไม่มีหลักเกณฑ์และการปรับค่ารายปีนั้นพนักงานประเมินก็ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นแต่ละปีมิได้เพิ่มขึ้นครั้งเดียวให้ถึงอัตราที่อยู่ในอัตราเดียวกับบริษัทอื่น ๆ เมื่อพนักงานประเมินปรับค่ารายปีของโจทก์อยู่ในระดับเดียวกับบริษัทอื่น ๆ แล้ว พนักงานประเมินก็มิได้เพิ่มค่ารายปีและจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินของโจทก์เพิ่มขึ้น ดังนั้นการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินของโจทก์เพิ่มขึ้นทุกปีดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อพิรุธทำให้เห็นว่าการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของพนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินเป็นไปโดยมิชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินบำเหน็จและค่าชดเชย การเปลี่ยนแปลงระเบียบ และหลักเกณฑ์การจ่ายที่แตกต่างกัน
ระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้างฯเป็น ระเบียบของคณะรัฐมนตรีให้ใช้แก่ลูกจ้างทั่วไปแต่ก็ มิได้หมายความว่ารัฐวิสาหกิจจะมีระเบียบเรื่องนี้ของตนเองโดยเฉพาะไม่ได้แม้เดิมจำเลยจะใช้ระเบียบดังกล่าวซึ่งการจ่ายเงินบำเหน็จตามระเบียบนี้มีค่าชดเชยรวมอยู่ ด้วยก็ตามแต่เมื่อขณะโจทก์ออกจากงานจำเลยได้ออก ข้อบังคับองค์การจำเลยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จมาใช้บังคับถือได้ว่าจำเลยมิได้นำระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จฯมาใช้ บังคับอีกต่อไปทั้งข้อบังคับของจำเลยก็มิได้มีข้อความดังระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จฯและหลักเกณฑ์การ จ่ายเงินบำเหน็จตามข้อบังคับของจำเลยก็แตกต่างกับหลักเกณฑ์ การจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานจึงถือไม่ได้ว่าบำเหน็จที่จำเลย จ่ายให้โจทก์มีค่าชดเชยรวมอยู่ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3541/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินทดแทนกับการจ่ายค่าชดเชย: แม้เปลี่ยนชื่อ แต่หลักเกณฑ์เดิมยังไม่ถือเป็นค่าชดเชยตามกฎหมาย
เงินทดแทนที่จำเลยจ่ายแก่โจทก์เมื่อเลิกจ้างมีหลักเกณฑ์แตกต่างจากค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นเงินประเภทอื่นที่นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง แม้จำเลยจะแก้ไขระเบียบเกี่ยวกับการจ่ายเงินนั้นจาก "เงินทดแทน" เป็น "ค่าชดเชย " แต่หลักเกณฑ์การจ่ายและการได้มาซึ่งสิทธิก็ยังเป็นไปตามเดิม จึงหาทำให้เงินดังกล่าวกลายเป็นค่าชดเชยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3541/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินทดแทนกับการจ่ายค่าชดเชย: หลักเกณฑ์ที่แตกต่างกัน แม้เปลี่ยนชื่อเรียกก็ไม่ถือเป็นค่าชดเชย
เงินทดแทนที่จำเลยจ่ายแก่โจทก์เมื่อเลิกจ้างมีหลักเกณฑ์แตกต่างจากค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นเงินประเภทอื่นที่นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง แม้จำเลยจะแก้ไขระเบียบเกี่ยวกับการจ่ายเงินนั้นจาก "เงินทดแทน" เป็น "ค่าชดเชย" แต่หลักเกณฑ์การจ่ายและการได้มาซึ่งสิทธิก็ยังเป็นไปตามเดิม จึงหาทำให้เงินดังกล่าวกลายเป็นค่าชดเชยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3620/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งสิทธิเรียกร้องเงินทดแทนด้วยวาจาไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และสิทธิได้รับเงินทดแทนเป็นสิทธิเฉพาะตัว
โจทก์แจ้งต่อเจ้าหน้าที่สำนักงานกองทุนเงินทดแทนด้วยวาจาขอรับเงินค่าทดแทนโดยมิได้ยื่นคำร้องตามแบบ เป็นการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและวิธีการที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบ การจ่ายเงินทดแทน ฯ ข้อ 15 วรรคสอง กำหนดไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าทดแทน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 50 กำหนดตัวผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทนไว้ว่าถ้าไม่มีผู้มีสิทธิตามวรรคหนึ่ง สิทธิที่จะได้รับค่าทดแทนจึงจะได้แก่ผู้มีสิทธิตามวรรคสอง มิได้หมายความว่าเมื่อผู้มีสิทธิตามวรรคหนึ่งได้รับค่าทดแทนไปบางส่วนแล้วต่อมาผู้นั้นหมดสิทธิลง บุคคลตามวรรคสองเข้ารับเงินทดแทนส่วนที่เหลือต่อไปได้
สิทธิได้รับค่าทดแทนเป็นสิทธิเฉพาะตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1732/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คณะกรรมการลูกจ้าง: การเลือกตั้งที่ไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ กฎหมายแรงงาน
จำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์กับพวกมิได้เป็นคณะกรรมการลูกจ้างที่ถูกต้องตามกฎหมายเพราะ ผู้สมัครและผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ปฏิบัติงานอยู่ในจังหวัดอื่นนอกจังหวัดขอนแก่นด้วย มิได้เป็นการเลือกตั้งโดยลูกจ้างทั้งหมดของจำเลยในจังหวัดขอนแก่นจำนวนกรรมการที่ได้รับเลือกตั้ง มีมากกว่าที่กฎหมายกำหนด และหน่วยงานที่โจทก์กับพวกจัดให้มีการเลือกตั้งเป็นเพียงกองกองหนึ่งของจำเลยเท่านั้นการเลือกตั้ง จึงไม่ชอบโจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยจัดให้มีการประชุมดังนี้ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์กับพวกขอให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการลูกจ้าง ในเขตพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ซึ่งจำเลยก็ยินยอมแต่วันเลือกตั้งโจทก์กระทำผิดข้อตกลง โดยมีพนักงานจากจังหวัดอื่นร่วมทำการเลือกตั้งและพนักงานในจังหวัดขอนแก่นอีกจำนวนหนึ่งไม่รู้เห็นด้วยนับว่าเป็นการไม่ชอบเป็นเหตุผลเพียงพอที่ฝ่ายจำเลยจะปฏิเสธไม่จัดให้มีการประชุมหารือ ระหว่างพวกโจทก์กับจำเลยนั้นเป็นการที่มิได้วินิจฉัยตามประเด็นที่จำเลยยกขึ้นต่อสู้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 899-910/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเพราะเกษียณอายุ: ค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย และหลักเกณฑ์การจ่าย
พระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ ใช้สำหรับพิจารณาว่า คุณสมบัติของพนักงานรัฐวิสาหกิจมีอย่างไรบ้าง การที่รัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นนายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานเพราะขาดคุณสมบัติในเรื่องอายุนั้นประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ มิได้ยกเว้นไว้ว่าไม่ให้ถือเป็นการเลิกจ้างซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชย จึงเป็นการเลิกจ้างตามประกาศดังกล่าว
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46กำหนดบทนิยามคำว่า "การเลิกจ้าง" ไว้ และได้ระบุเจาะจงลงไปด้วยว่า "การเลิกจ้างตามข้อนี้" แสดงว่าให้ใช้แก่เรื่องค่าชดเชยตามประกาศนี้เท่านั้น มิได้มุ่งหมายให้นำไปใช้แก่เรื่องอื่นหรือกฎหมายอื่นด้วย การแปลคำว่า "เลิกจ้าง" ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา31 จึงไม่จำต้องพลอยแปลตามข้อ 46 ด้วย
(การที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ(ฉบับที่6) กลับไปใช้ข้อความตาม (ฉบับที่ 2) โดยไม่มีข้อความให้รวมเอากรณีลูกจ้างต้องพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุเป็นการเลิกจ้างลูกจ้างด้วยดังเช่น (ฉบับที่ 5) นั้นอาจเป็นเพราะเห็นบทนิยามคำว่า "การเลิกจ้าง" ตามที่เคยใช้อยู่นั้น ครอบคลุมถึงกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างพ้นจากตำแหน่งเพราะเกษียณอายุอยู่แล้วก็ได้ เพราะมิได้ระบุยกเว้นไว้เป็นพิเศษแต่อย่างใด จะถือว่ากฎหมายมีเจตนารมณ์ที่จะเปลี่ยนหลักการยังไม่ได้
นายจ้างหามีอำนาจที่จะกำหนดหลักเกณฑ์ในการจ่ายค่าชดเชยขึ้นเองให้ขัดแย้งกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน อันมีสภาพบังคับเป็นกฎหมายไม่
แม้นายจ้างจะได้กำหนดเป็นข้อตกลงซึ่งลูกจ้างทราบดีแล้วตั้งแต่สมัครเข้าทำงานว่า เมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ก็จะให้พ้นจากตำแหน่งไป ก็ถือไม่ได้ว่ามีการกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนแล้ว เพราะเป็นเรื่องกำหนดคุณสมบัติลูกจ้างเป็นการทั่วไป
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46และข้อ 47 ไม่ปรากฏชัดว่ามีเจตนารมณ์ในการกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยเพื่อเป็นการช่วยเหลือให้ลูกจ้างมีเงินยังชีพในระหว่างหางานใหม่เนื่องจากต้องออกจากงานโดยไม่รู้ตัว
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 ไม่ได้บัญญัติถึงสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และยังไม่มีกฎหมายใดๆ บัญญัติไว้เป็นพิเศษเกี่ยวกับอายุความในเรื่องนี้ จึงต้องถือว่ามีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164
ค่าชดเชยเป็นเงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างจึงเป็นหนี้เงินซึ่งกฎหมายกำหนดเวลาชำระไว้แน่นอนแล้วโดยลูกจ้างมิพักต้องทวงถามอีกเมื่อจำเลยมิได้จ่ายให้ตามกำหนดเวลาที่กฎหมายบังคับไว้ จึงต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 479/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าชดเชยและเงินบำเหน็จเมื่อเลิกจ้าง จำเป็นต้องพิจารณาหลักเกณฑ์ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องควบคู่กัน
ความผิดพลาดในการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างประจำเมื่อเลิกจ้างเกิดขึ้น เพราะนายจ้างใช้บทกฎหมายเกี่ยวกับค่าชดเชยไม่ถูกต้อง ตามหลักเกณฑ์ของค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน แล้ว นายจ้างก็หักเงินบำเหน็จที่จ่ายให้ลูกจ้างรับไปแล้วออกจากจำนวนค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2791/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจที่ประชุมใหญ่สหกรณ์ในการกำหนดหลักเกณฑ์จ่ายโบนัส: สิทธิและขอบเขตตามกฎหมายและข้อบังคับ
ตาม พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 กับข้อบังคับของชุมนุมสหกรณ์ แสดงว่าที่ประชุมใหญ่ของจำเลยมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดหลักเกณฑ์ในการ จ่ายเงินโบนัสได้ตามที่เห็นสมควร ดังนั้น การที่ที่ประชุมใหญ่ลงมติอนุมัติตามข้อเสนอของคณะกรรมการดำเนินการของจำเลยให้จ่ายโบนัสแก่พนักงานโดยมีหลักเกณฑ์ว่าต้องมีตัวอยู่กับจำเลยในวันที่ที่ประชุมอนุมัตินั้น จึงอยู่ในอำนาจที่จะกระทำได้โดยชอบ
of 11