คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
หุ้นส่วน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 346 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3574/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเกี่ยวกับการเข้าหุ้นส่วนรายเดียวกัน ย่อมเกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม ศาลรับไว้พิจารณาได้
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงเป็นหุ้นส่วนกันประกอบกิจการระเบิดหินและย่อยหิน โดยโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างนำเครื่องมือเครื่องใช้มาลงทุนร่วมกัน ให้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2เป็นผู้ดำเนินการ แต่จำเลยที่ 1 นำเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเลยที่ 1 นำมาลงทุนร่วมกับโจทก์ไปใช้หาผลประโยชน์ในสถานที่อื่นโดยพลการอันเป็นการผิดข้อตกลง ทำให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งกำไรลดลงขอให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนและตั้งผู้ชำระบัญชี และให้จำเลยทั้งสองใช้เงินกำไรที่โจทก์ควรจะได้ จำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งว่าโจทก์นำเครื่องโม่หินที่มีสภาพเก่าและทรุดโทรมมาลงทุนต้องเสียเวลาซ่อมทุกเดือน เป็นเหตุให้ได้ผลิตผลไม่มากเท่าที่ควรทำให้จำเลยที่ 1ได้รับส่วนแบ่งกำไรน้อยลงจากที่เคยได้รับ ขอให้โจทก์ใช้เงินกำไรที่จำเลยที่ 1 ได้รับน้อยลง เช่นนี้ ฟ้องเดิมกับฟ้องแย้งเป็นเรื่องการเข้าหุ้นส่วนรายเดียวกัน มูลกรณีเดียวกัน ฟ้องแย้งจึงเกี่ยวกับฟ้องเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3530/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกหุ้นส่วน-ชำระบัญชี: การแบ่งทรัพย์สินและกำไรต้องทำหลังชำระบัญชี
การที่โจทก์ถอนตัวออกจากหุ้นส่วน และจำเลยยินยอมให้โจทก์ถอนตัวโดยคืนเงินลงทุนให้ ถือได้ว่าโจทก์จำเลยตกลงเลิกหุ้นส่วนกัน แต่ยังไม่ได้ตกลงเรื่องแบ่งปันผลกำไรที่ยังเหลือและทรัพย์สิน ย่อมต้องจัดให้มีการชำระบัญชีกันก่อนตามป.พ.พ. มาตรา 1061 ที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินปันผลกำไรและส่วนแบ่งในทรัพย์สินของหุ้นส่วนโดยอาศัยหลักฐานตามภาพถ่ายบัญชีรับจ่ายซึ่งเป็นรายการที่ไม่ชัดแจ้ง และจำเลยยังโต้เถียงอยู่ จึงฟ้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3530/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกหุ้นส่วนต้องชำระบัญชี การฟ้องเรียกทรัพย์สินโดยไม่มีการชำระบัญชีก่อนเป็นเรื่องที่ไม่ชอบ
การที่โจทก์ถอนตัวออกจากหุ้นส่วน และจำเลยยินยอมให้โจทก์ถอนตัวโดยคืนเงินลงทุนให้ ถือได้ว่าโจทก์จำเลยตกลงเลิกหุ้นส่วนกันแต่ยังไม่ได้ตกลงเรื่องแบ่งปันผลกำไรที่ยังเหลือและทรัพย์สินย่อมต้องจัดให้มีการชำระบัญชีกันก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1061 ที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินปันผลกำไรและส่วนแบ่งในทรัพย์สินของหุ้นส่วนโดยอาศัยหลักฐานตามภาพถ่ายบัญชีรับจ่ายซึ่งเป็นรายการที่ไม่ชัดแจ้ง และจำเลยยังโต้เถียงอยู่ จึงฟ้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2366/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้เป็นผลจากการซื้อขายหุ้นส่วนในที่ดิน ประเด็นความรับผิดตามสัญญา
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์กับ จ. เข้าหุ้นส่วนซื้อที่ดินมาเพื่อจัดสรรขาย ต่อมา จ. ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ จ. ได้โอนที่ดินให้จำเลยที่ 2 และขอออกโฉนดที่ดินให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวโจทก์และจำเลยทั้งสองได้ตกลงกันให้โจทก์มีหุ้น 1 ใน 3 และคิดบัญชีแบ่งหุ้นกัน โจทก์ตกลงขายหุ้นส่วนของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้มอบให้โจทก์ โดยยอมผ่อนชำระเงินให้โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ชำระเงินไม่ครบ จึงขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินที่เหลือให้โจทก์ จำเลยทั้งสองให้การว่า จ.ไม่เคยเข้าหุ้นส่วนกับโจทก์ จำเลยทั้งสองไม่เคยตกลงให้โจทก์เข้าหุ้นในที่ดิน 1 ใน 3 และไม่เคยตกลงซื้อหุ้นและทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้โจทก์ไว้ ศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้เพียงว่า โจทก์กับ จ. เป็นหุ้นส่วนโดยชอบหรือไม่และจำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์แยกประเด็นขึ้นวินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดตามหนังสือรับสภาพหนี้ต่อโจทก์เพียงใดหรือไม่และฟังว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองตกลงแบ่งหุ้นกัน แล้วโจทก์ขายหุ้นให้จำเลยทั้งสอง จำเลยที่ 1ทำหนังสือรับสภาพหนี้กับสั่งจ่ายเช็คชำระหนี้ให้โจทก์แต่ชำระยังไม่ครบ จึงเป็นการที่วินิจฉัยปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับประเด็นในคำฟ้องและคำให้การนั่นเอง หาเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 528/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการ ตัวแทน และความรับผิดร่วมกันของหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดในสัญญาซื้อขาย
จำเลยที่ 1 ได้มอบหมายให้ ส. เป็นตัวแทนในการก่อสร้างและสั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในฐานะเป็นตัวการ และจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด แม้โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวการและ ส. เป็นตัวแทนจำเลยที่ 1ในการซื้อสินค้าจากโจทก์ โจทก์ก็นำสืบในข้อนี้ได้ เพราะเป็นการนำสืบอธิบายข้อเท็จจริงในรายละเอียดเนื่องจากในการติดต่อทำสัญญาซื้อขายกันอาจกระทำโดยตนเองหรือโดยมีตัวแทนไปติดต่อทำสัญญาซื้อขายแทนก็ได้ และศาลวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ได้ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4327/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ข้อเท็จจริงก่อนวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายในคดีหุ้นส่วนและกรรมสิทธิ์รวม
โจทก์ทั้งหกและจำเลยทั้งสองได้นำเงินมาลงหุ้นซื้อที่ดินมาขายแบ่งกำไรกัน จำเลยทั้งสองได้ยึดถือที่ดินและมีชื่อในโฉนดแทนส่วนของโจทก์ทั้งหกต่อมาจำเลยนำที่ดินไปจำนอง ให้เช่า และกล่าวอ้างว่าเป็นของจำเลยทั้งสองโดยโจทก์ทั้งหกไม่มีส่วนเป็นเจ้าของ ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายว่า โจทก์ทั้งหกและจำเลยทั้งสองเข้าหุ้นเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ โจทก์ทั้งหกยังมิได้บอกเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญเมื่อสิ้นรอบปีในทางบัญชีเงินและบอกกล่าวล่วงหน้าหกเดือน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1056 จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธทั้งในฐานะการเป็นหุ้นส่วนและการเป็นเจ้าของรวม ศาลชั้นต้นจึงต้องฟังพยานหลักฐานของคู่ความต่อไปให้เสร็จสิ้นเสียก่อนที่จะด่วนวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4260/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน, หนี้ส่วนแบ่งกำไร, และความรับผิดของหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด
การที่บัญชีกำไรขาดทุนที่ผู้ชำระบัญชีจัดทำขึ้นนั้น จัดทำขึ้นจากหลักฐานไม่ตรงกับความเป็นจริง แม้เมื่อผู้ชำระบัญชีจัดทำบัญชีเสร็จ เจ้าหนี้ทั้งสองมิได้โต้แย้งบัญชีดังกล่าวต่อศาลและเมื่อผู้ชำระบัญชีขอให้ห้างฯ ล้มละลาย ลูกหนี้ก็มิได้คัดค้านว่าห้างฯมีกำไร ทั้งยังร่วมกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของห้างฯ ร้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตามห้างฯ ก็ตาม แต่เจ้าหนี้ทั้งสองมิได้รับรองบัญชีดังกล่าว คงมีแต่ผู้ชำระบัญชีและผู้สอบบัญชีฝ่ายลูกหนี้ลงชื่อรับรอง การที่เจ้าหนี้ทั้งสองมิได้รับรองบัญชีดังกล่าวย่อมไม่เป็นการตัดสิทธิเจ้าหนี้ทั้งสองที่จะกล่าวอ้างในคดีนี้ว่าบัญชีที่ผู้ชำระบัญชีจัดทำขึ้นไม่ถูกต้อง และในคดีที่ผู้ชำระบัญชีร้องขอให้ห้างฯ ล้มละลายนั้น พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 88 วรรคสอง บัญญัติว่าเมื่อผู้ชำระบัญชีมีคำร้องขอ ให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดทันที เจ้าหนี้ทั้งสองจึงไม่มีโอกาสคัดค้าน ส่วนที่เจ้าหนี้ไปร่วมกับเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตามห้างฯ ก็ถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยชอบเพื่อเยียวยาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในกรณีที่ห้างฯ มีทรัพย์สินไม่พอชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ทั้งสอง จะถือว่าเป็นการยอมรับบัญชีที่ผู้ชำระบัญชีจัดทำขึ้นแล้วมิได้
ห้างฯ มีกำไรสุทธิในวันเลิกห้างฯ 7,813,932.48 บาท เจ้าหนี้ทั้งสองมีหุ้นรวมกันร้อยละ 30 มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเงินปันผลกำไรของห้างฯ เป็นเงิน2,344,179.74 บาท ส่วนแบ่งเงินปันผลกำไรดังกล่าวเป็นเงินที่เจ้าหนี้ทั้งสองมีสิทธิได้รับจากห้างฯ เมื่อปรากฏว่าห้างฯ ไม่อาจชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่เจ้าหนี้ทั้งสองได้ลูกหนี้ในฐานะหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดซึ่งต้องร่วมรับผิดในหนี้ของห้างฯ โดยไม่จำกัดจำนวน ย่อมต้องร่วมรับผิดต่อเจ้าหนี้ทั้งสอง เจ้าหนี้ทั้งสองมีสิทธิขอรับชำระหนี้เงินจำนวนดังกล่าวจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้
การชำระบัญชีอันเป็นมูลเหตุให้เกิดหนี้ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในชั้นชำระบัญชีที่เจ้าหนี้ทั้งสองขอรับชำระหนี้ เกิดขึ้นจากข้อตกลงของเจ้าหนี้ทั้งสองและลูกหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งของศาลชั้นต้น เพื่อประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย ทั้งสองฝ่ายย่อมต้องรับผิดชอบในค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายดังกล่าวร่วมกัน
สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับการเลิกห้างมีข้อความว่ากิจการ ทรัพย์สินและโรงน้ำแข็งของห้าง ให้ประมูลขายทอดตลาดนำเงินมอบแก่ผู้ชำระบัญชีเพื่อจัดการตามส่วน แต่ต่อมามีคำพิพากษาฎีกาคดีระหว่างเจ้าหนี้ร่วม โจทก์ และผู้ชำระบัญชีกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของห้างฯ จำเลย ให้ผู้ชำระบัญชีและเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์ของห้างฯ รับเงิน 50,000 บาท จากเจ้าหนี้ร่วม แล้วให้จดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 1089 อันเป็นทรัพย์สินของห้างฯ คืนให้แก่เจ้าหนี้ร่วมโดยปลอดจากการจำนอง หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และผู้ชำระบัญชีของห้างฯ ไม่มีเงินจากกองทรัพย์สินของห้างฯ พอที่จะทำการไถ่ถอนจำนอง ให้ลูกหนี้ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างฯรับผิดในหนี้ของห้างฯ ลูกหนี้จึงต้องผูกพันตามคำพิพากษาฎีกาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2838/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความขัดแย้งระหว่างหุ้นส่วนและการเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญ
โจทก์จำเลยตกลงเข้าหุ้นประกอบกิจการโรงกลึงเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน การที่โจทก์จำเลยขัดแย้งกันโดยจำเลยไม่ให้โจทก์มีสิทธิสั่งจ่ายเงินและไม่แบ่งผลกำไรให้โจทก์ แต่กลับนำเงินไปจ่ายล่วงหน้าสำหรับรถยนต์ที่จำเลยซื้อ และจำเลยไม่ได้ทำบัญชีรายรับรายจ่ายของกิจการโรงกลึงไว้ทั้งยังปฏิเสธว่าโจทก์มิใช่หุ้นส่วนกับจำเลย เช่นนี้ ถือได้ว่าผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ปรองดองกันเหลือวิสัยที่ห้างหุ้นส่วนจะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ จึงมีเหตุที่ศาลจะพิพากษาให้เลิกห้างหุ้นส่วนตามที่โจทก์ฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำแนกประเภทสินค้าเพื่อเสียอากร: หีบใส่เงินจัดอยู่ในพิกัดอัตราอากรใด และความรับผิดของหุ้นส่วน
พ.ร.ก. พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ภาค 2 พิกัดอัตราอากรขาเข้า ตอนที่ 83 ประเภทพิกัดที่ 83.03 ระบุว่าตู้นิรภัยกำปั่นห้องนิรภัย ที่หุ้มหรือเสริมให้มั่นคง ผนังด้านต่าง ๆ ที่ใช้บุห้องนิรภัยและประตูห้องนิรภัย หีบใส่เงินและหีบเก็บเอกสารและสิ่งที่คล้ายกันทำด้วยโลหะสามัญ ลักษณะของตามประเภทพิกัดนี้เห็นได้ว่าล้วนแต่เป็นของที่มีลักษณะมั่นคงแข็งแรงทั้งสิ้น ดังนั้นหีบใส่เงินที่จะจัดเข้าพิกัดประเภทนี้ได้ต้องมีลักษณะมั่นคงแข็งแรงขนาดใหญ่น้ำหนักมากการขนย้ายเคลื่อนที่จะกระทำได้ยากลำบากทั้งจะต้องกันไฟหรือกันโจรกรรมได้ด้วย หีบใส่เงินที่จำเลยนำเข้ามีลักษณะไม่มั่นคงแข็งแรง ไม่อาจป้องกันไฟหรือการโจรกรรมได้เลยไม่เหมือนกับของต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในประเภทพิกัดดังกล่าวแต่จัดเป็นของใช้ในบ้านเรือนทำด้วยเหล็กตามประเภทพิกัดที่ 73.38ข. แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด แต่ปรากฏจากใบขนสินค้าขาเข้าว่า จำเลยที่ 2 ลงชื่อในช่องผู้นำเข้าแทนจำเลยที่ 1 และระบุไว้ด้วยว่าเป็นผู้จัดการ ถือได้ว่าเป็นการสอดเข้าไปจัดการงานของห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย พ.ร.บ.ศุลกากรและ ป.รัษฎากรบัญญัติให้เรียกเงินเพิ่มของค่าอากรขาเข้าและของเงินภาษีที่ต้องชำระ แต่มิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระตามลำดับซึ่งเป็นทางแก้สำหรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ค่าภาษีอากรที่ค้างไว้โดยเฉพาะและโจทก์ได้คำนวณเงินเพิ่มดังกล่าวจนครบถ้วนมาในฟ้องแล้ว จึงจะนำ ป.พ.พ. มาตรา 224ว่าด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมาเรียกร้องเอากับจำเลยอีกหาได้ไม่โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยของเงินอากรขาเข้า ภาษีการค้าภาษีบำรุงเทศบาลและเงินเพิ่ม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 548/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของหุ้นส่วน vs. ตัวแทน และข้อยกเว้นกรมธรรม์ประกันภัย กรณีผู้ขับไม่มีใบอนุญาต
โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดเนื่องจาก พ. เป็นผู้ขับรถของจำเลยที่ 1 และขณะเกิดเหตุปฏิบัติงานในกิจการของจำเลยที่ 1 ซึ่งพอถือได้ว่าโจทก์มุ่งหมายให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดในฐานะที่ พ. เป็นตัวแทนหรือลูกจ้างของจำเลยที่ 1 เท่านั้น ไม่อาจแปลว่ามุ่งหมายให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดในฐานะหุ้นส่วนของ พ.ด้วยเมื่อจำเลยที่1ให้การต่อสู้คดีว่าพ.ไม่ใช่ลูกจ้างปฏิบัติงานในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 และศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทในชั้นชี้สองสถานเพียงว่า พ. เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และกระทำในทางการที่จ้างหรือไม่โจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้าน คดีจึงมีประเด็นพิพาทในส่วนที่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 1 เพียงเท่าที่ศาลชั้นต้นกำหนด การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์เนื่องจากเป็นหุ้นส่วนกับ พ.และ พ. ก่อเหตุละเมิดขณะกระทำภายในขอบวัตถุประสงค์ของหุ้นส่วนจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น กรมธรรม์ตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนมีเงื่อนไขยกเว้นไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจากการขับขี่โดยบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ขับรถยนต์ตามกฎหมายหรือเคยได้รับแต่ถูกตัดสิทธิตามกฎหมาย แต่ พ.ซึ่งขับรถคันที่จำเลยที่ 1 เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 2 ในวันเกิดเหตุเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ของกรมตำรวจ ย่อมมีความรู้ความสามารถในการขับรถยนต์ได้ แม้ไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถของกรมการขนส่งทางบก ก็จะถือว่าเป็นการผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยมิได้จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์
of 35