คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจ้ามรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 74 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 210/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับมรดกเกิดขึ้นเมื่อใด: ทายาทต้องมีสิทธิในขณะเจ้ามรดกตาย
เจ้ามรดกตาย มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาททันที บุคคลธรรมดาที่จะเป็นทายาทและมีสิทธิรับมรดกของบุคคลใด นอกจากจะต้องมีสภาพหรือสามารถมีสิทธิตาม มาตรา1604 แล้วยังต้องมีสิทธิที่จะรับมรดกในขณะที่เจ้ามรดกตายด้วย บุตรในกรณีที่มีคำพิพากษาว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายนั้นมีผลนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด ถ้าในขณะที่คำพิพากษาถึงที่สุดนั้น เป็นเวลาภายหลังเจ้ามรดกตายแล้ว และไม่มีมรดกจะรับก็ไม่มีทางจะให้เด็กนั้นได้รับมรดกได้
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกของบิดาโดยอ้างข้อที่ศาลพิพากษา ว่าเป็นบุตรเท่านั้น ไม่มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาว่าเมื่อก่อนบิดาตาย บิดาได้รับรองโจทก์ว่าเป็นบุตร อันจะทำให้มีสิทธิรับมรดกตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 หรือไม่ คงมีประเด็นข้อเถียงว่าคำสั่งของศาลที่แสดงไว้นั้น จะมีผลแก่โจทก์ในทางรับมรดกอย่างไรหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 183/2489 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในมรดกของบุตรนอกสมรสเมื่อมารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับเจ้ามรดก
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมฤดก ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยและเจ้ามฤดกมิได้เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีสิทธิได้รับมฤดก ดังนี้ ไม่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัว ตามความหมายใน ป.ม.วิ.แพ่ง ม.248 วรรค 2 จำเลยฎีกาไม่ได้
บุตรของหญิงอันเกิดแต่ขายที่มิได้สมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ถือว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของชายนั้น ผู้ร้องสอดขอแบ่งมฤดกโดยอ้างว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายอันเกิดแต่เจ้ามฤดกและจำเลยซึ่งเป็นมารดา เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎว่าจำเลยมิได้เป็นภริยาชายโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็ไม่ถือว่าผู้ร้องเป็นบุตรอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามฤดก ศาลไม่แบ่งมฤดกให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 183/2489

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในมรดกของบุตรนอกสมรสเมื่อมารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับเจ้ามรดก
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดก ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยและเจ้ามรดกมิได้เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายไม่มีสิทธิได้รับมรดก ดังนี้ ไม่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัวตามความหมายในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา248 วรรค 2 จำเลยฎีกาไม่ได้
บุตรของหญิงอันเกิดแต่ชายที่มิได้สมรสกันโดยถูกต้องตามกฎหมายไม่ถือว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของชายนั้นผู้ร้องสอดขอแบ่งมรดกโดยอ้างว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายอันเกิดแต่เจ้ามรดกและจำเลยซึ่งเป็นมารดา เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยมิได้เป็นภริยาชายโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็ไม่ถือว่าผู้ร้องเป็นบุตรอันชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดก ศาลไม่แบ่งมรดกให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 920/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์มรดกเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรมก่อนใช้ พ.ร.บ.บัพ 6: การฟ้องขับไล่และการแบ่งมรดก
คดีที่เจ้ามรดกได้วายชนม์มานานกว่า 10 ปีก่อนไช้ ป.พ.พ.บัพ 6 ต้องไช้กดหมายลักสนะมรดกบังคับคดีที่ฟ้องขอไห้ขับไล่และห้ามเกี่ยวข้องไนที่รายพิพาทเมื่อปรากตว่าที่พิพาทนั้นเปนมรดกที่โจทและจำเลยมีส่วนได้และปรากตว่ามีผู้รับมรดกอื่นอีกสาลพิพากสายกฟ้องโดยไม่ตัดสินแบ่งก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 834/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดภูมิลำเนาเจ้ามรดกชาวต่างชาติ และอายุความการแบ่งมรดก
คนบังคับเดนมาร์คแต่งงานกับหญิงไทย ตามกฎหมายไทยย่อมเป็นสามีภริยากันโดยถูกต้อง. มรดกซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ต้องเป็นไปตามภูมิลำเนาของเจ้ามรดก. ผู้จัดการมรดกมีฐานะเป็นตัวแทนทายาททุกคน จึงยกอายุความเสียสิทธิมาใช้ยันแก่ทายาทมิได้. ทายาทเข้าครอบครองมรดกภายใน 1 ปีแต่วันเจ้ามรดกตายและสงวนไว้เป็นของกลางร่วมกันโดยยังไม่ได้แบ่งปันกัน ย่อมฟ้องขอแบ่งเมื่อพ้นกำหนด 1 ปีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 476/2485

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกทรัพย์คืนหลังเจ้ามรดกทำพินัยกรรม: ไม่ใช่การเพิกถอนพินัยกรรม
โจทก์ฟ้องว่าฝากทรัพย์เจ้ามรดกไว้. เจ้ามรดกไปทำพินัยกรรมยกให้จำเลย จึงขอให้คืนดังนี้เป็นเรื่องเรียกทรัพย์คืน ไม่ใช่เรื่องขอให้เพิกถอนพินัยกรรม. จึงไม่มีประเด็นถึงอายุความตาม มาตรา 1710.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1029/2485

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความพินัยกรรมต้องคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดก
การตีความในพินัยกรรมต้องพยายามให้ได้เจตนาอันใกล้เคียงของเจ้ามรดกเสมอ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13384/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเจ้ามรดก: การได้รู้ถึงการตายของลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม
ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม ได้ระบุห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องเจ้ามรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกซึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าวต้องเป็นการได้รู้หรือควรได้รู้อย่างแน่นอนและมีหลักฐานยืนยันได้ การที่โจทก์มีหนังสือทวงถามลงวันที่ 18 มกราคม 2545 ให้จ่าสิบตำรวจ ก. ชำระหนี้และบอกเลิกสัญญา และได้ส่งให้จ่าสิบตำรวจ ก. ที่ภูมิลำเนาเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2545 ตามใบตอบรับทางไปรษณีย์และซองจดหมาย ซึ่งไม่มีผู้รับแต่มีข้อความเขียนระบุไว้ที่ซองจดหมายว่าจ่าสิบตำรวจ ก. ถึงแก่ความตายแล้วโดยไม่ปรากฏว่าใครเป็นผู้แจ้งให้ผู้ส่งจดหมายบันทึกข้อความดังกล่าว กรณีดังกล่าวจึงยังไม่เป็นการแน่นอนว่าจ่าสิบตำรวจ ก. ถึงแก่ความตาย ต่อมาเมื่อโจทก์ตรวจสอบข้อมูลทางทะเบียนในวันที่ 1 สิงหาคม 2546 ตามแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรมีข้อความระบุว่า จำหน่ายชื่อจ่าสิบตำรวจ ก. จากทะเบียนบ้านเนื่องจากตายเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2545 จึงต้องฟังว่าโจทก์เจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงการตายของจ่าสิบตำรวจ ก. เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2546 เมื่อโจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2547 ยังไม่พ้น 1 ปี สิทธิเรียกร้องต่อกองมรดกของจ่าสิบตำรวจ ก. ตามฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามมาตรา 1754 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6494/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีละเมิดหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต: เริ่มนับเมื่อใด
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการที่ ก. ลูกจ้างกระทำละเมิดและกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน คดีระหว่างโจทก์และ ก. จึงมีอายุความสิบปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 แต่เมื่อ ก. ถึงแก่ความตาย กรณีจึงต้องบังคับตามมาตรา 1754 วรรคสาม ซึ่งหมายถึงกรณีที่เจ้าหนี้ทราบแล้วว่าตนมีสิทธิเรียกร้องต่อเจ้ามรดก แม้อายุความตามสิทธิเรียกร้องนั้นยาวกว่าหนึ่งปี เจ้าหนี้ก็จะต้องฟ้องภายในหนึ่งปีนับแต่เจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก โจทก์แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด คณะกรรมการสอบสวนทำการสอบสวนแล้วเห็นว่า ก. ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายและให้ยุติเรื่องเพราะ ก. ถึงแก่ความตาย จากนั้นได้รายงานผลการสอบสวนต่อผู้อำนวยการของโจทก์ซึ่งมีอำนาจในการบริหารกิจการและเป็นผู้แทนของโจทก์ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกตาม พ.ร.บ.ธนาคารออมสิน พ.ศ.2489 มาตรา 16, 17 ผู้อำนวยการของโจทก์พิจารณาเห็นชอบให้ดำเนินการต่อไปเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2553 ตามเอกสารซึ่งมีข้อความระบุว่า ก. ได้เสียชีวิตไปตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2547 ย่อมถือได้ว่าโจทก์รู้ถึงสิทธิเรียกร้องและรู้ตัวผู้ที่โจทก์จะพึงใช้สิทธิเรียกร้องให้ใช้ค่าสินไหมทดแทน และโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของ ก. ซึ่งเป็นเจ้ามรดกตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม 2553 แล้ว ไม่ใช่นับแต่วันที่ 12 พฤศจิกายน 2553 ซึ่งเป็นวันที่ผู้อำนวยการของโจทก์พิจารณาเห็นชอบให้ดำเนินการตามความเห็นของกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 27 เมษายน 2554 คดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2739/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกต้องรอคำสั่งศาลให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญก่อน
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 บัญญัติว่า "ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกก็ได้ ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) เมื่อเจ้ามรดกตาย..." หมายความว่าในขณะยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกต้องปรากฏว่าเจ้ามรดกถึงแก่ความตายแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงตามคำร้องขอและตามทางไต่สวนได้ความว่า ขณะยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกของ บ. ศาลยังมิได้มีคำสั่งว่า บ. เป็นคนสาบสูญ จึงถือไม่ได้ว่า บ. ถึงแก่ความตายแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 61 และ 62 ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกของ บ. มาพร้อมกับขอให้ศาลสั่งให้ บ. เป็นคนสาบสูญ
of 8