พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,035 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6432/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาดและการชำระค่าธรรมเนียมศาลที่ไม่ครบถ้วน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจสั่งให้ชำระได้
แม้การยื่นคำร้องขอให้ยกเลิกกระบวนวิธีการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีต่อศาลชั้นต้น ผู้ร้องจะต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลขณะยื่นคำร้องตามท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 2(3) จำนวน 20 บาท และค่าคำสั่งตามตาราง 2(7) อีกจำนวน 50 บาทก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องดังกล่าวต่อศาลชั้นต้นโดยเสียเฉพาะค่าคำร้อง 20 บาท ศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งให้รับคำร้องและทำการไต่สวนตลอดจนมีคำสั่งชี้ขาดไปแล้ว โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์มีพฤติการณ์จงใจจะหลีกเลี่ยงไม่ยอมเสียค่าธรรมเนียมศาลให้ครบถ้วนแต่อย่างใด เมื่อความปรากฏในชั้นพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมศาลให้ครบถ้วนตามท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6095/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอน น.ส.3ก. ที่ทับทางสาธารณประโยชน์ และการพิพากษาเกินคำขอ ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในส่วนที่ทับที่ดินของโจทก์ จำเลยกล่าวแก้ข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ ซึ่งหากศาลพิพากษาให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามคำขอของโจทก์ก็ย่อมเป็นผลให้โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทกลับคืนมา คดีของโจทก์ในส่วนที่ขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่อ้างว่าออกทับที่ดินของโจทก์จึงเป็นคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อที่ดินมีราคา 32,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
โจทก์ขอให้เปิดทางสาธารณประโยชน์ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยมิได้มีคำขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในส่วนที่ทับทางเกวียนแต่ประการใด ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะส่วนที่ทับทางเกวียน จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง และปัญหานี้เป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นมาแก้ไขให้ถูกต้องได้
โจทก์ขอให้เปิดทางสาธารณประโยชน์ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยมิได้มีคำขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในส่วนที่ทับทางเกวียนแต่ประการใด ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์เฉพาะส่วนที่ทับทางเกวียน จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง และปัญหานี้เป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นมาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5941/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้จำนองบังคับคดีได้เหนือทรัพย์สินแม้เป็นสินสมรส หากการจำนองสมบูรณ์และไม่มีเหตุเพิกถอน
ผู้ร้องและจำเลยเป็นสามีภริยากัน ระหว่างสมรสจำเลยซื้อที่ดินอันเป็นทรัพย์พิพาทจาก พ. และจำนองไว้กับบริษัทโจทก์โดยผู้ร้องมิได้ให้ความยินยอมเมื่อจำเลยผิดนัดโจทก์จึงฟ้องบังคับคดียึดทรัพย์พิพาทออกขายทอดตลาด นอกจากนี้โจทก์และจำเลยยังถูกผู้ร้องฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจำนองทรัพย์พิพาทจนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าโจทก์รับจำนองทรัพย์พิพาทไว้โดยสุจริตไม่มีเหตุเพิกถอนนิติกรรมจำนองระหว่างโจทก์กับจำเลย ซึ่งผลคดีตามคำพิพากษาย่อมผูกพันคู่ความทั้งหมดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ฉะนั้นเมื่อผู้ร้องไม่อาจขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองทรัพย์พิพาทได้ นิติกรรมจำนองทรัพย์พิพาทจึงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำนองย่อมมีสิทธิบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์พิพาทได้ทั้งหมด เพราะสิทธิจำนองย่อมครอบไปถึงบรรดาทรัพย์สินซึ่งจำนองหมดทุกสิ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 716 และเป็นทรัพยสิทธิใช้ยันแก่บุคคลทั่วไปได้ คำพิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางที่ให้จำเลยแบ่งทรัพย์พิพาทซึ่งเป็นสินสมรสให้แก่ผู้ร้อง ตามที่ผู้ร้องฟ้องหย่าจำเลยและขอแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยานั้น ก็มีผลผูกพันเฉพาะผู้ร้องกับจำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดี หามีผลต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอกันเงินสินสมรสส่วนของตนจากการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5689/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องทุกข์หลังคดีถึงที่สุด และการเพิกถอนการอ่านคำพิพากษาลับหลัง จำเป็นต้องไต่สวนก่อน
การขอถอนคำร้องทุกข์ที่จะทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (2) นั้น ต้องถอนคำร้องทุกข์ก่อนคดีถึงที่สุด
จำเลยยื่นคำร้องอ้างว่าศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาลับหสังจำเลยเป็นการไม่ชอบ เพราะการส่งหมายแจ้งวันนัดไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอนการอ่านคำพิพากษา ศาลชั้นต้นชอบที่จะทำการไต่สวนคำร้องก่อนว่าเป็นจริงตามที่จำเลยกล่าวอ้างหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยทำเป็นคำฟ้องอุทธรณ์โดยอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบ เมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนและมีคำสั่งว่าการอ่านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นชอบหรือไม่เสียก่อน โดยไม่จำต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลย การที่ศาลอุทธรณ์มิได้มีคำสั่งดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบเช่นกัน ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
จำเลยยื่นคำร้องอ้างว่าศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาลับหสังจำเลยเป็นการไม่ชอบ เพราะการส่งหมายแจ้งวันนัดไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอนการอ่านคำพิพากษา ศาลชั้นต้นชอบที่จะทำการไต่สวนคำร้องก่อนว่าเป็นจริงตามที่จำเลยกล่าวอ้างหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยทำเป็นคำฟ้องอุทธรณ์โดยอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบ เมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะมีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนและมีคำสั่งว่าการอ่านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นชอบหรือไม่เสียก่อน โดยไม่จำต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลย การที่ศาลอุทธรณ์มิได้มีคำสั่งดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบเช่นกัน ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4835/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องหลังทนายความถูกเพิกถอน และผลกระทบต่อความยุติธรรมในการพิจารณาคดี
ป. เป็นผู้เรียงคำฟ้องและลงลายมือชื่อเป็นโจทก์ในคำฟ้องในขณะที่ขาดจากการเป็นทนายความตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 แต่โจทก์ก็แต่ง ว. เป็นทนายความคนใหม่เข้ามาดำเนินคดีแทนโจทก์หลังจากฟ้องเพียง 1 เดือนเศษ และ ว. ดำเนินคดีแทนโจทก์ตลอดมาโดยที่ ป. ไม่ได้เข้ายุ่งเกี่ยวกับคดีทั้งสิ้น เมื่อศาลชั้นต้นสั่งให้แก้ไขคำฟ้องโดยให้โจทก์ทำคำฟ้องขึ้นใหม่และให้โจทก์ลงชื่อในคำฟ้องโดยมีเงื่อนไขให้คำฟ้องใหม่มีข้อความเช่นเดียวกับคำฟ้องเดิม คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงไม่ก่อให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้เปรียบหรือเสียเปรียบทางเชิงคดีอันจะทำให้ความยุติธรรมเสื่อมเสียไป จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยความยุติธรรมตามเจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27
คำสั่งรับคำฟ้องฉบับใหม่ของศาลชั้นต้นเป็นคำสั่งเกี่ยวกับคดีที่เสนอคำฟ้องนั้นและไม่ใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 และมาตรา 228 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านไว้จึงอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ได้ตามมาตรา 226
คำสั่งรับคำฟ้องฉบับใหม่ของศาลชั้นต้นเป็นคำสั่งเกี่ยวกับคดีที่เสนอคำฟ้องนั้นและไม่ใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 และมาตรา 228 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านไว้จึงอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ได้ตามมาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4547/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รถยนต์: การซื้อขายที่ขัดแย้งกันระหว่างผู้ขายเดิมกับผู้ซื้อรายใหม่ ศาลสั่งเพิกถอนการจดทะเบียน
คำเสนอขายรถยนต์พิพาทมี ส. ลงชื่อโดยมิได้ประทับตราสำคัญของบริษัทจำเลยที่ 1 ให้ถูกต้องตามที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองแต่กรรมการของบริษัทมีเพียง ส. เท่านั้น ส. จึงมิได้เสนอขายเป็นส่วนตัว แม้จะมิได้ประทับตราของบริษัทจำเลยที่ 1ในคำเสนอขายแต่การที่จำเลยที่ 1 เข้ารับประโยชน์โดยส่งมอบรถยนต์พิพาทให้แก่ อ. ผู้เช่าซื้อ และเป็นผู้รับชำระราคาจากโจทก์ แสดงว่า ส. ทำคำเสนอขายรถยนต์พิพาทต่อโจทก์ในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 และถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ให้สัตยาบันการกระทำของ ส. แล้ว การซื้อขายรถยนต์พิพาทจึงมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย และเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ตกเป็นของโจทก์เมื่อได้ตกลงซื้อขายและชำระราคาให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว แม้จะไม่ได้จดทะเบียนรถยนต์พิพาทเป็นชื่อของโจทก์ ก็หาทำให้การซื้อขายไม่สมบูรณ์ เพราะทะเบียนรถยนต์ไม่ใช่หลักฐานแห่งกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย เป็นเพียงหลักฐานที่กำหนดขึ้นเพื่อความสะดวกในการควบคุมของเจ้าพนักงานเท่านั้น
การที่จำเลยที่ 1 นำรถยนต์พิพาทที่ขายให้โจทก์แล้วไปขายให้แก่จำเลยที่ 2 อีกแม้จำเลยที่ 2 จะซื้อโดยสุจริตและจดทะเบียนต่อกรมการขนส่งทางบก ระบุชื่อจำเลยที่ 2เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ก็หาทำให้จำเลยที่ 2 มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทไม่ เพราะกรรมสิทธิ์เป็นของโจทก์มิใช่ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่มีกรรมสิทธิ์ที่จะโอนให้แก่ผู้ใดได้อีกและการที่จำเลยที่ 1 นำรถยนต์พิพาทไปขายให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 บัญญัติไว้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนรถยนต์ที่จำเลยทั้งสองยื่นคำขอต่อกรมการขนส่งทางบกได้ แต่จะขอให้เพิกถอนการซื้อขายระหว่างจำเลยทั้งสองไม่ได้เพราะจำเลยที่ 2 ซื้อรถยนต์พิพาทโดยสุจริต สัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยทั้งสองบังคับคู่สัญญาได้ เพียงแต่ไม่อาจใช้ยันโจทก์เท่านั้น
การที่จำเลยที่ 1 นำรถยนต์พิพาทที่ขายให้โจทก์แล้วไปขายให้แก่จำเลยที่ 2 อีกแม้จำเลยที่ 2 จะซื้อโดยสุจริตและจดทะเบียนต่อกรมการขนส่งทางบก ระบุชื่อจำเลยที่ 2เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ก็หาทำให้จำเลยที่ 2 มีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทไม่ เพราะกรรมสิทธิ์เป็นของโจทก์มิใช่ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่มีกรรมสิทธิ์ที่จะโอนให้แก่ผู้ใดได้อีกและการที่จำเลยที่ 1 นำรถยนต์พิพาทไปขายให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 บัญญัติไว้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนรถยนต์ที่จำเลยทั้งสองยื่นคำขอต่อกรมการขนส่งทางบกได้ แต่จะขอให้เพิกถอนการซื้อขายระหว่างจำเลยทั้งสองไม่ได้เพราะจำเลยที่ 2 ซื้อรถยนต์พิพาทโดยสุจริต สัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยทั้งสองบังคับคู่สัญญาได้ เพียงแต่ไม่อาจใช้ยันโจทก์เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4241/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด: หน้าที่ชำระราคาเมื่อศาลยกคำขอเพิกถอน และสิทธิของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีฯข้อ 85 กำหนดให้ผู้ซื้อทรัพย์ต้องชำระเงินทันที เว้นแต่ทรัพย์ซึ่งมีราคาตั้งแต่ 1,000บาทขึ้นไป เจ้าพนักงานอาจผ่อนผันให้ผู้ซื้อทรัพย์วางเงินมัดจำไม่เกินร้อยละ 25 ของราคาซื้อและทำสัญญาใช้เงินที่ค้างชำระภายในเวลาไม่เกิน 15 วัน ก็ได้นั้น ปรากฏว่าผู้ร้องได้ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวทุกประการโดยชำระราคาค่าเช่าซื้อทรัพย์ครบถ้วนแล้ว แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ขายทอดตลาดให้ผู้ร้องได้เนื่องจากจำเลยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด แม้ผู้ร้องจะได้รับเงินค่าซื้อทรัพย์คืนไปจำนวน 2,090,000 บาท เงินส่วนที่เหลือก็เป็นเงินที่ผู้ร้องวางไว้เป็นการชำระหนี้ส่วนหนึ่งของราคาทั้งหมด มิใช่เงินมัดจำที่วางไว้ในการซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดแต่อย่างใด เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้ยกคำขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของจำเลยแล้ว ผู้ร้องมีหน้าที่นำเงินค่าซื้อทรัพย์ที่รับคืนไปจำนวน2,090,000 บาทไปชำระแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงที่ซื้อ หากผู้ร้องไม่นำเงินดังกล่าวมาชำระแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามระยะเวลาที่กำหนด ผู้ร้องจึงตกเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องรับผิดชำระราคาส่วนที่ขาดอยู่ หากการขายทอดตลาดครั้งใหม่ได้ราคาต่ำกว่าราคาที่ผู้ร้องประมูลได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 516 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จึงมีสิทธิยึดเงินจำนวน 110,000 บาท ไว้เป็นประกันราคาทรัพย์ที่จะขายทอดตลาดครั้งใหม่ได้ ผู้ร้องไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและขอเงินจำนวน 110,000 บาทคืนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2755/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งทางปกครองต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติราชการ หากไม่ให้โอกาสคู่กรณีโต้แย้ง สั่งเพิกถอนได้
ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ มาตรา 4 บัญญัติว่า"พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่ ...(3) การพิจารณาของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีในงานทางนโยบายโดยตรง" ซึ่งงานทางนโยบายโดยตรงนั้น แม้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ แต่เมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ หมวด 5 เห็นได้ว่า งานทางนโยบายของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี คือ งานในส่วนที่เป็นการกำหนดทิศทางหรือการพิจารณาสั่งการเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายในการบริหารราชการแผ่นดิน หาใช่งานที่มีลักษณะเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการตามปกติไม่ การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยผู้รักษาการตาม พระราชบัญญัติคนเข้าเมืองฯ ใช้อำนาจที่ตนมีอยู่ตามมาตรา 16 ไม่อนุญาตให้โจทก์เข้ามาในราชอาณาจักรจึงไม่ใช่การปฏิบัติงานทางนโยบายโดยตรงตาม พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ มาตรา 4(3) อีกทั้งไม่ใช่งานเกี่ยวกับราชการทหารหรือเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ทางยุทธการร่วมกับทหารในการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจากภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในประเทศตามมาตรา 4(7) แต่เป็นการพิจารณาและออกคำสั่งทางปกครองตามบทบัญญัติของกฎหมายซึ่งไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา 4(3) และ (7) ของพระราชบัญญัติดังกล่าว และต้องอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 30 เมื่อจำเลยที่ 1 พิจารณาและออกคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้พำนักอยู่ในประเทศไทยเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้ให้โอกาสโจทก์ทราบข้อเท็จจริงก่อนและไม่ให้โอกาสโจทก์โต้แย้งแสดงพยานหลักฐานเพื่อหักล้างข้อมูลที่จำเลยที่ 1 อาศัยเป็นเหตุในการออกคำสั่งดังกล่าว การพิจารณาและออกคำสั่งของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายและอาจถูกเพิกถอนเสียได้ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ มาตรา 50
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 201/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: การชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมไม่ใช่การให้โดยเสน่หา
การที่ลูกหนี้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมให้แก่ธนาคารผู้คัดค้าน แม้จะเป็นการชำระหนี้เพื่อให้หนี้ระงับก็ตาม แต่เป็นการชำระหนี้ที่สืบเนื่องมาจากการที่ผู้คัดค้านให้จำเลยกู้เงินและกู้เบิกเงินเกินบัญชี จึงเป็นการที่จำเลยได้รับประโยชน์จากการนำเงินที่รับอนุมัติให้กู้ไปใช้ในธุรกิจของจำเลย การชำระหนี้ของจำเลยดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นการทำให้โดยเสน่หาหรือให้เปล่า ย่อมถือได้ว่าการชำระหนี้ของจำเลยเป็นการชำระหนี้โดยมีค่าตอบแทน
การที่ผู้คัดค้านฎีกาว่า ผู้คัดค้านได้รับชำระหนี้จากจำเลยโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน และการชำระหนี้ดังกล่าวหาได้เป็นการเลือกปฏิบัติโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นแต่อย่างใดนั้น เป็นข้อที่ผู้คัดค้านเพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกาโดยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งไว้จึงยุติไปตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัย ก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 153 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
การที่ผู้คัดค้านฎีกาว่า ผู้คัดค้านได้รับชำระหนี้จากจำเลยโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน และการชำระหนี้ดังกล่าวหาได้เป็นการเลือกปฏิบัติโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นแต่อย่างใดนั้น เป็นข้อที่ผู้คัดค้านเพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกาโดยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งไว้จึงยุติไปตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัย ก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 153 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 193/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการถอนเงินตามคำสั่งศาลเพิกถอนการอายัดก่อนพิพากษา การถอนเกินจำนวนที่ศาลสั่งต้องคืน
โจทก์ทั้งสามฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้เลิกห้างจำเลยที่ 1 และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดเงินฝากในธนาคารของจำเลยที่ 1 ไว้ก่อนพิพากษาตามคำร้องของโจทก์ทั้งสาม จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการอายัดดังกล่าวศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้เพิกถอนการอายัดเงินก่อนพิพากษาโดยคิดตามอัตราส่วนการลงหุ้นระหว่างโจทก์ทั้งสามกับจำเลยที่ 2 โดยแบ่งเป็น9 ส่วน และให้เพิกถอนเพียง 4 ส่วนใน 9 ส่วน เป็นเงิน 26,492,000 บาทเพื่อให้จำเลยที่ 2 มีโอกาสใช้เงินหมุนเวียนดำเนินกิจการของห้างจำเลยที่ 1ต่อไปได้ แม้ตามคำร้องของจำเลยที่ 2 จะแสดงรายละเอียดว่าเงินที่ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการอายัด 4 ส่วนนั้น เป็นเงิน 48,496,745.08 บาทก็ตามแต่เมื่อศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการอายัดเพียง 26,492,000 บาท ซึ่งจำเลยที่ 2มิได้โต้แย้งในยอดเงินดังกล่าว แสดงว่าจำเลยที่ 2 เห็นด้วยกับจำนวนเงินที่ศาลสั่งให้เพิกถอนการอายัดนั้นว่าเพียงพอที่จะนำไปใช้หมุนเวียนในกิจการของจำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 2 จึงไม่อาจถอนเงินเกินกว่าจำนวนที่ศาลสั่งได้แม้ส่วนที่เกินจะเป็นเงินดอกเบี้ยของเงินฝากที่ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการอายัดก็ตาม แต่เงินดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลและจะเป็นประโยชน์แก่โจทก์ทั้งสามและจำเลยที่ 2 เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้เลิกห้างและมีการชำระบัญชีต่อไป จำเลยที่ 2 จึงต้องนำเงินส่วนที่ถอนจากธนาคารเกินไปมาคืน