คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แรงงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 77 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 192/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยค่าทดแทนจากอุบัติเหตุทางแรงงาน: ผลผูกพันสัญญาประนีประนอม และกรอบเวลาอุทธรณ์
นายอำเภอ เจ้าหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยเงินค่าทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ซึ่งออกตามความในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 ได้วินิจฉัยให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างของผู้ตายจ่ายเงินค่าทดแทนและค่าทำศพแก่โจทก์ซึ่งเป็นภริยาผู้อยู่ในอุปการะของผู้ตาย จำเลยอุทธรณ์ต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเจ้าหน้าที่ซึ่งกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย ว่านายอำเภอไม่มีสิทธิวินิจฉัยให้จำเลยจ่ายเงินรายนี้ เพราะโจทก์ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และรับเงินค่าทดแทนไปจากจำเลยแล้วผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมมีสิทธิวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้ได้เพราะเป็นการวินิจฉัยว่าจำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนหรือไม่ต้องจ่ายนั่นเอง หาเป็นการวินิจฉัยนอกเหนืออำนาจไม่
ผู้ว่าราชการจังหวัดวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยว่า เหตุที่ผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะเกิดระเบิดเป็นอุบัติเหตุ และสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยเป็นโมฆะจำเลยไม่นำคดีมาสู่ศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันรับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินค่าทดแทนฯ ข้อ 14 ต้องถือว่าเรื่องเป็นอันยุติตามคำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่ เมื่อโจทก์มาฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายเงินค่าทดแทนนั้น จำเลยจะโต้แย้งอีกว่า เหตุเกิดเพราะความประมาทของผู้ตาย และสัญญาประนีประนอมยอมความมีผลบังคับใช้ได้ หาได้ไม่
โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนไปจากจำเลยจำนวนหนึ่งตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้ผู้ว่าราชการจังหวัดจะวินิจฉัยว่าสัญญานั้นเป็นโมฆะ และจำเลยจะโต้แย้งในชั้นศาลอีกมิได้แต่เงินค่าทดแทนที่โจทก์ได้รับไปแล้วก็ชอบที่จะหักออกจากเงินที่จำเลยจะต้องจ่ายให้โจทก์ได้
(วรรคสองวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 22/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2482

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรมการอำเภอในการเรียกใช้แรงงานและสิ่งของจากราษฎรเพื่อซ่อมแซมสาธารณูปโภค
อำเภอสั่งให้ราษฎรหาไม้ซ่อมแซมสพานสาธารณราษฎรไม่ยอมนำมาดังนี้+ว่าราษฎรขัดคำสั่ง+พนักงาน,
ราชบัญญัติปกครองท้องที่ +18มิได้ให้อำนาจกรมการ+เกณฑ์วัตถุสิ่งของจากราษฎรมาใช้ในการซ่อมแซมสาธารณ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1121-1129/2482

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งให้ทำงานโยธาแทนเงินรัชชูปการ: การบังคับชำระหนี้ด้วยแรงงาน
คำสั่งนายอำเภอที่ให้จำเลยผู้ค้างเงินรัชชูปการ + ปีทำงานโยธาของหลวงแทนเงินรัชชูปการที่ค้างมีกำหนด 30 วันนั้นเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายจำเลยขัดขืนไม่ทำตามมีความผิดฐานขัดขืนคำสั่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6/2478

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกร้องค่าจ้างแรงงาน
เรียกค่าจ้างแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 412/2475

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้แรงงานของเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว และการเบิกจ่ายเงินที่ไม่ถูกต้อง
นายตรวจทางรถไฟเอาคนงานที่ทำงานรัฐบาลไปทำงานส่วนตัวแล้วจดเบิกเงินรัฐบาลไม่มีผิดตามมาตราข้างบน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 400/2475

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักยอกแรงงาน - การเบิกจ่ายเงินเดือนรัฐบาลโดยมิชอบ
ถือเกณฑ์โทษอย่างสูงนับอายุความ
วิธีพิจารณาอาชญา
จำเลยไม่ยกอายุความต่อสู้ศาลอาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15113/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานและอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
โจทก์บรรยายฟ้องและมีคำขอท้ายคำฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดปทุมธานี ที่มีคำสั่งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจากจำเลย และให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวแก่โจทก์ คำฟ้องของโจทก์จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะเพิกถอนหรือทำลายคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานนั้น ซึ่งตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เมื่อพนักงานตรวจแรงงานได้มีคำสั่งตามมาตรา 124 แล้ว ถ้านายจ้าง ลูกจ้าง หรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายไม่พอใจคำสั่งนั้น ให้นำคดีไปสู่ศาลได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง" และวรรคสอง บัญญัติว่า "ในกรณีที่นายจ้าง ลูกจ้าง หรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตาย ไม่นำคดีไปสู่ศาลภายในกำหนด ให้คำสั่งนั้นเป็นที่สุด"
จำเลยเลิกจ้างโจทก์ โจทก์จึงยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดปทุมธานี พนักงานตรวจแรงงานสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วมีคำสั่งว่า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า โจทก์ทราบคำสั่งนั้นเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2550 แล้วโจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2550 โดยฟ้องโจทก์มีคำขอให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดปทุมธานี จึงเป็นกรณีแปลความได้ว่า โจทก์ไม่พอใจคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานและนำคดีไปสู่ศาลภายในกำหนดระยะเวลาสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 วรรคหนึ่ง แล้ว ซึ่งศาลแรงงานกลางย่อมต้องเรียกพนักงานตรวจแรงงาน ซึ่งเป็นผู้ออกคำสั่งเข้ามาในคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) (ข) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 การที่ศาลแรงงานกลางมิได้เรียกพนักงานตรวจแรงงานเข้ามาในคดี จึงทำให้การพิจารณาพิพากษาคดีไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแก่โจทก์ ก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ได้มีการจดทะเบียนจัดตั้งกองทุนชื่อ "กองทุนสำรองเลี้ยงชีพธนชาติทวีค่า ซึ่งจดทะเบียนแล้ว" กองทุนสำรองเลี้ยงชีพดังกล่าวจึงเป็นนิติบุคคลต่างหากจากจำเลยตาม พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530 กำหนดให้ผู้จัดการกองทุนมีหน้าที่จ่ายเงินจากกองทุนให้โจทก์ จำเลยจึงไม่มีอำนาจจัดการกองทุน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15022/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องเฉพาะตัวจากการบังคับคดีแรงงาน การอายัดเงินและเฉลี่ยหนี้ต้องเป็นไปตามสิทธิของเจ้าหนี้แต่ละราย
แม้ศาลจะมีคำสั่งรวมการพิจารณาพิพากษาคดีระหว่างโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 6 และที่ 15 กับโจทก์ที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 ที่ 8 ที่ 13 และที่ 16 เข้าด้วยกัน ทั้งออกคำบังคับและออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีฉบับเดียวกันก็ตาม แต่สิทธิเรียกร้องของโจทก์แต่ละรายเป็นสิทธิที่เกิดจากสัญญาจ้างแรงงานของโจทก์แต่ละคน จึงเป็นสิทธิเฉพาะตัว โจทก์ทั้งหมดมิได้เป็นเจ้าหนี้ร่วมกัน การที่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 6 และที่ 15 ขออายัดเงินต่อสิทธิเรียกร้องจากบุคคลภายนอก และแจ้งแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีว่ายินดีรับเงินตามจำนวนที่บุคคลภายนอกแจ้งมา เป็นการบังคับคดีเฉพาะตัว เมื่อโจทก์ที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 ที่ 8 ที่ 13 และที่ 16 มิได้ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยหนี้ของตนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 โจทก์ที่ 3 ที่ 4 ที่ 7 ที่ 8 ที่ 13 และที่ 16 จึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับส่วนเฉลี่ยจากเงินจำนวนดังกล่าว การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำบัญชีและจ่ายเงินแก่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 5 ที่ 6 และที่ 15 จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13581/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้างในการเลือกฟ้องคดีแรงงาน หรือยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน และการถอนคำร้องก่อนฟ้องคดี
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 123 ถึง 125 มีลักษณะกำหนดให้ลูกจ้างจะต้องเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่งระหว่างใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลแรงงานหรือจะยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานก็ได้แต่เพียงทางเดียว จะใช้สิทธิพร้อมกันทั้งสองทางไม่ได้ แม้โจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแล้ว ก็ไม่มีบทบัญญัติใดบังคับให้โจทก์ต้องดำเนินการให้สิ้นสุดกระบวนการโดยจะถอนคำร้องแล้วมาใช้สิทธิทางศาลอีกไม่ได้ ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแล้วถอนคำร้องดังกล่าวก่อนยื่นคำฟ้องคดีนี้ในขณะยื่นคำฟ้องจึงไม่มีคำร้องอยู่ในระหว่างการพิจารณาของพนักงานตรวจแรงงาน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2470/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาประเภทสัญญาจ้างแรงงานหรือจ้างทำของ ต้องดูที่เจตนาและข้อเท็จจริงในการทำงาน ไม่ใช่แค่ข้อความในสัญญา
การพิจารณาว่าสัญญาใดเป็นสัญญาจ้างแรงงานหรือจ้างทำของต้องพิจารณาถึงข้อเท็จจริงในการทำงานของนายจ้างลูกจ้างจึงจะทราบเจตนาในการทำสัญญาว่าคู่สัญญาเจตนาทำสัญญาจ้างแรงงานหรือสัญญาจ้างทำของ
แม้สัญญาจ้างหาโฆษณาระหว่างโจทก์กับจำเลยมีรายละเอียดมุ่งถึงผลสำเร็จของการหาโฆษณาให้แก่หนังสือพิมพ์บ้านเมืองของจำเลยให้ได้ตามเป้าประสงค์ในสัญญาว่าโจทก์กับพวกต้องหาโฆษณาจากบุคคลภายนอกมาตีพิมพ์โดยคิดค่าโฆษณามีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 25 ล้านบาท และ 32 ล้านบาท ภายในกำหนด 10 เดือน และ 12 เดือน แต่ในทางปฏิบัติเมื่อโจทก์กับพวกไม่สามารถหาโฆษณาได้ตามเป้าประสงค์ จำเลยก็ผ่อนผันให้แก่โจทก์กับพวก ทั้งยังจ่ายเงินเดือนและค่านายหน้าให้ตามสัญญา เมื่อครบกำหนดตามสัญญาแล้วจำเลยยังทำสัญญาจ้างโจทก์กับพวกต่ออีก แสดงว่าเจตนาของจำเลยในการทำสัญญาจ้างโจทก์หาโฆษณาไม่ได้มุ่งถึงความสำเร็จของการงานที่ว่าจ้างเป็นสำคัญ จำเลยกำหนดให้โจทก์มีตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายโฆษณาและมอบบัตรประจำตัวพนักงานแก่โจทก์ พวกของโจทก์มีตำแหน่งในฝ่ายโฆษณาทั้งสิ้น โจทก์มีอำนาจลงโทษตักเตือนลูกจ้างที่กระทำผิดแทนจำเลยได้ แสดงถึงอำนาจบังคับบัญชาที่จำเลยมีต่อโจทก์กับพวก นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นการจ้างแรงงาน
of 8